3.12.14

“สวรรค์ 35 มม.” Once Upon a Celluloid Planet

อัลบั้มภาพ “สวรรค์ 35 มม.”
Once Upon a Celluloid Planet : Where Cinema Ruled
Hearts & Houses of Films in Thailand



ย้อนดูภาพเก่าที่เคยถ่ายไว้ อินเดียน่า โจนส์, เดอะ เปียโน, หมีเพื่อนเดอะ, นิกิต้า, พั้ลพ์ ฟิคชั่น, ลีออง เดอะโปรเฟสชั่นแนล, ชินด์เลอร์ ลิสต์ โรงหนังที่เคยฉายหนังเหล่านี้ล้มตายไปเกือบหมด วัฒนธรรมหนังแบบแผ่นฟิล์มที่เคยมีความสำคัญมากในยุคหนึ่งเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอล หนังสือเล่มนี้คือบทบันทึกภาพจำส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์โรงภาพยนตร์ไทยประเภทใบเลี้ยงเดี่ยว หรือโรงหนังแสตนด์อโลน

นี่คือหนังสือรวมภาพถ่ายโรงหนังแสตนด์อโลนในประเทศไทย , ภาพอุปกรณ์และองค์ประกอบอื่นๆ ที่แวดล้อมวัฒนธรรมการชมภาพยนตร์ในสมัยที่วัฒนธรรมหนังฉายฟิล์มยังเฟื่องฟูและได้รับความนิยม ที่ผู้ถ่ายภาพบันทึกไว้ตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปัจจุบัน

ถ่ายภาพโดย สนธยา ทรัพย์เย็น / โมรีมาตย์ ระเด่นอาหมัด

Gone are the golden days of the Stand-Alone Cinemas. This photo album contains many photos from FILMVIRUS personal archive, from the period of Indiana Jones, La Femme Nikita, The Piano, Schindler’s List, Leon: The Professional, Pulp Fiction to their decline. From North to South, East and West, the scatter of their remains. No matter dead or alive these cinemas meant something for us all.

Photos by Sonthaya Subyen and Morimart Raden-Ahmad


 
พร้อมกับบทความรับเชิญพิเศษ

จดหมายเหตุความทรงจำจากผู้ทรงคุณวุฒิในวงการวรรณกรรมและภาพยนตร์ โดย
1. สุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ
2. แดนอรัญ แสงทอง ศิลปินศิลปาธร และ อัศวินวรรณกรรมเหรียญอิสริยาภรณ์ของฝรั่งเศส
3. อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์รางวัล Palm d’ Or เมืองคานส์และรางวัลนานาชาติอีกมากมาย,
ศิลปินศิลปาธร และ เหรียญอิสริยาภรณ์ของฝรั่งเศส 2 ครั้ง
4. Fred Kelemen ผู้กำกับชาวเยอรมัน เจ้าของผลงานหนังกลางคืนสุดหมองหม่น
5. มโนธรรม เทียมเทียบรัตน์ นักวิจารณ์ภาพยนตร์ ผู้คร่ำหวอดกับงานวิจารณ์หนังมายาวนานกว่า 20 ปี
6. ปราบดา หยุ่น นักเขียนรางวัลซีไรต์ เจ้าของร้านหนังสือ Bookmoby และบรรณาธิการสำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น
7. อุทิศ เหมะมูล นักเขียนรางวัลซีไรต์ และบรรณาธิการนิตยสารปรากฏและไรเตอร์


รายละเอียดของหนังสือ
ความหนา 516 หน้า กระดาษอาร์ตสี (ทั้งเล่ม)
ปกแข็ง เย็บกี่, หุ้มแจ๊คเก็ต (all in color, hard cover, 516 pages)
ขนาด 21.5 x 18.8 ซม.
เนื้อหาสองภาษา texts in Thai / English


หนังสือพิมพ์จำนวนจำกัด วางขายเฉพาะบางร้าน เช่น คิโนะคุนิยะ, เอเชียบุ๊คส์, บุ๊คโมบี้ หรือร้านซีเอ็ดเฉพาะบางสาขา 

ติดต่อสั่งซื้อได้ที่ บริษัท เคล็ดไทย จำกัด ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 006-2-25481-5

หากประสบปัญหา สอบถามได้ที่ เฟซบุ๊ค bookvirus & filmvirus



ประวัติผู้บันทึกภาพ

1. สนธยา ทรัพย์เย็น บรรณาธิการหนังสือ FilmVirus / BookVirus รวมทั้งเป็นผู้ก่อตั้งดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ฉายหนังให้ชมฟรีตั้งแต่ปี 2538 ที่ร้านดวงกมลซีคอนสแควร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, หอศิลป์กรุงเทพ ฯ, The Reading Room ฯลฯ

2. โมรีมาตย์ ระเด่นอาหมัด ผู้จัดการดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) บรรณาธิการสำนักพิมพ์ฟุ้ง และมีผลงานภาพถ่ายลงในนิตยสาร



บางภาพในหนังสืออยู่ในคลิปหนัง “ภูตเงาเฝ้าฝัน” Phantoms of Sleepless Cinema เรื่องนี้ (แต่ภาพในหนังสือเป็นภาพสี)

The clip below is our film-in progress about the same subject, but on the different emphasis.



นิทรากาล รวม ๖ เรื่องสั้นนาทีวิกฤต (นิมิตวิกาล 02)

นิทรากาลรวม ๖ เรื่องสั้นนาทีวิกฤต
(นิมิตวิกาล 02)
bookvirus pandora



แดนอรัญ แสงทอง, ศรีดาวเรือง และ อรจิรา โกลากุล ผนึกพลังแปล 6 เรื่องสั้นที่หาอ่านได้ยาก

ฝั่งที่สามของแม่น้ำ (จูเอา จิมาเรซ ฮอซ่า : แดนอรัญ แสงทอง)
กาเบรียล-เออร์เนสท์ (ซาคิ : ศรีดาวเรือง)
มีดโกนน่ะมันของข้า, แต่คอหอยน่ะมันของเอ็ง (แฮร์นานโด เตเลซ : แดนอรัญ แสงทอง)
กล่องอธิษฐาน : ซิลเวีย แพล็ธ (อรจิรา โกลากุล)
ร้อนคลั่ง (ดับเบิลยู.เอฟ.ฮาร์วีย์ : แดนอรัญ แสงทอง)
เกมบิลเลียดมรณะ (อัลฟองส์ โดเดต์ : แดนอรัญ แสงทอง)

ติดต่อสั่งซื้อที่ inbox เฟซบุ๊ค bookvirus & filmvirus


“นิมิตวิกาล – 5 อัญมณี” (bookvirus 14)



เรื่องสั้น 5 เรื่องที่ปรากฏในหนังสือ “นิมิตวิกาล – 5 อัญมณี” (bookvirus 14)
ภาพเหมือนในกรอบรูปไข่ / เอ็ดการ์ อัลลัน โพ – แดนอรัญ แสงทอง แปล
ผู้สร้าง / นาธาเนียล ฮอร์ธอร์น – สุชาติ สวัสดิ์ศรี แปล
นิยายรักของอาภรณ์ชุดเก่า / เฮนรี่ เจมส์ – ภัควดี วีระภาสพงษ์ แปล
ห้องสีเหลืองกับผู้หญิงคนนั้น / ชาร์ล็อตต์ เพอร์กิน กิลแมน – จิระนันท์ พิตรปรีชา แปล
ชิงชัง / จอห์น เดวี่ส์ เบเรสฟอร์ด – ธิติยา ชีรานนท์ แปล

และเรื่องพิเศษคือ เรื่องที่ 6 (หรือ อัญมณีเม็ดที่ 6)
มือซนของพันตรี / อัลฟองโซ เรเยส / ธิติยา ชีรานนท์

ทั้งนี้หากปราศจากการสนับสนุนของสปอนเซอร์ทุกท่าน
คงไม่มีวันนี้ของ “นิมิตวิกาล ๐๑” ๕ อัญมณี (bookvirus 14)

* * * ติดต่อสั่งซื้อที่ inbox เฟซบุ๊ค bookvirus & filmvirus

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนการจัดพิมพ์ทุกท่านด้วยมิตรไมตรี
โดยเฉพาะ
คุณ เวียง – วชิระ บัวสนธ์ และสำนักพิมพ์สามัญชน
คุณ ทรงธรรม ตระกูลสว่างภาพ
คุณ ญาณิศา เตียวแสงสุข
คุณ สมุด ทีทรรศน์
คุณ ศุภลักษณ์ เอกกิตติวงษ์
คุณ พรพิมล ลิ่มเจริญ
คุณ สิทธิวัฒน์ เรืองพงศธร

12.2.14

ขอบคุณสปอนเซอร์ นิมิตวิกาล ๐๑ ห้าอัญมณี (ตอนแรก)

บุ๊คไวรัส ขอขอบคุณสปอนเซอร์และคนอ่านทุกท่านที่ร่วมกันสนับสนุนหนังสือ นิมิตวิกาล ๐๑ ห้าอัญมณี (bookvirus 14)

และขอขอบคุณเป็นพิเศษ สำหรับคุณ เวียง วชิระ บัวสนธ์ แห่งสำนักพิมพ์สามัญชน พร้อมกับผู้ประมูลหนังสือ "สีแดงกับสีดำ" ทุกท่านที่ทำให้สำนักพิมพ์อิสระแบบบุ๊คไวรัส ต่ออายุการทำงานไปได้อีกนิด

ส่วนรายชื่อสปอนเซอร์จะนำมาลงอย่างรายละเอียดในโอกาสต่อไปค่ะ โปรดติดตาม




บทหนัง ความเศร้าของภูตผี โดย แดนอรัญ แสงทอง จัดสร้างโดย ฟิล์มไวรัส

บทหนังโดมิโน่ ความเศร้าของภูตผี ของ แดนอรัญ แสงทอง
ที่ FilmVirus จัดสร้างโดยเงินระดมทุนประมาณหนึ่งแสนกว่าบาท


หาอ่านได้จากนิตยสารปรากฏ


ปรากฏ 01

วารสารวรรณกรรมไทยร่วมสมัย
Thai Contemporary Literary Journal
ฉบับที่1 (ม.ค.-มิ.ย.57)

จัดพิมพ์โดยสำนักศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย

แจกฟรี ที่หอศิลป์ปทุมวัน
และดาวน์โหลดให้อ่านฟรี ที่นี่ http://bookmoby.com/2014/02/11/prakod-01/

ฉลอง 19 ปี FilmVirus โปรแกรมหนังควบ Double Bill


FILMVIRUS DOUBLE BILL


ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เชิญชม โปรแกรมภาพยนตร์ Filmviirus Double Bill คัดสรรโดยคอหนังหลายท่าน

ทุกวันอาทิตย์ระหว่างวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2557 -27 เมษายน 2557 ตั้งแต่เวลา 12:30 น. เป็นต้นไป

ณ ห้องเรวัต พุทธินันท์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุด ปรีดี พนมยงค์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0-2613-3530

ชมฟรี!!! (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณาแต่งกายสุภาพ)





ฉายหนังกันมาก็หลายปี ในที่สุดชาว Filmvirus ขอจัดโปรแกรมตามใจตัวเองสักครั้งหนึ่ง โดยมีข้อเสนอง่าๆยเช่นให้บรรดาทีมคัดเลือกหนังช่วยกันเลือกโปรแกรมหนังควบของตัวเอง เลือกเอาหนังที่ตัวเองอยากฉายมากที่สุดมาคนละสองเรื่อง และจัดโปรแกรมให้ทุกท่านชมแบบไม่สนใจอะไรมากไปกว่าความอยากฉายและน่คือโปรแกรมหนังควบโดยชาวFilmvirus ที่มีตั้งแต่ โปรแกรมควบหนังทดลองสองประเทศ หนังใต้ดินอังกฤษ หนังปินอยตบกัน หนังยากูซ่าญี่ปุ่น หนังการเมืองข้ามประเทศ หนังคาวบอยตกสำรวจ หนังยุโรปบ้าระห่ำ ไปจนถึง หนังอเมริกันอินดี้โคดๆ

23/2/57 Selected by Md. J. : Experimental Territories

12.30 : HSP: There is No Escape From the Terrors Of the Mind(2013, Rouzbeh Rashidi, Ireland, 120min)
14.45 : Birth Of Seanema(2004, Sasithorn Ariyavicha, Thailand, 70min)

2/3/57 Selected by Mr. G.: Introducing Jack Bond and Jane Arden

12.30 : Separation (1968 , Jack Bond ,UK)
14.30 : The Other Side of the Underneath (1972 ,Jane Arden ,UK)

9/3/7 Selected by Mr.W. :Soap Save the World

12.30 : All Be Damned (1990 ,Lino Brocka, Philippines)
14.30 : Working Girl (1984 ,Ishamel Bernal , Philippines)




16/3/57 Selected by Mr. R. : Eurocentric Cinema

12.30 : Dillinger is Dead (1969, Marco Ferreri, Italy )
14.30 : Dossier 51 (1978 , Michel Deville , Italy )

23/3/57 Selected by Mr. Cy. : Cinema Politics

12.30 : Silent Wedding (2008 ,Horatiu Malale , Romania)
14.30 : After the Battle (2012 ,Yousry Nasrallah, Egypt)

30/3/57 Selected by Mr. Cc . : Japanese Gangster

12.30 : Battles Without Honor And Humanity (1973 , Kinji Fukasaku , Japan)
14.30 : A Colt Is My Passport (1967 , Takashi Nomura, Japan)




20/4/57 Selected by Ms. M. : Late Cowboy

12.30 : Purgatory (1999, Uli Edel, US)
14.30 : The Shootist (1976,Don Siegel , US)

27/4/53 Selected by Mr. S. : A Little Gem

12.30 : The Dish & the Spoon (2011, Alison Bagnall , US)
14.30 : Housekeeping (1987 , Bill Forsyth ,US)





HSP: There is No Escape From the Terrors Of the Mind (2013, Rouzbeh Rashidi, Ireland, 120min)

เรื่องย่อจากเว็บไซต์ของผู้กำกับ
“ไม่มีหนทางใดที่จะหลบหนีได้ ไม่ว่าจะอยู่ตรงจุดไหนของโลก ไม่มีทางที่จะหลบหนีใบหน้า ไม่มีทางที่จะหลบหนีมโนภาพ ไม่มีทางที่จะหลบหนีกล้องที่คอยเฝ้ามองอยู่ตลอดเวลา ไม่มีทางที่จะหลบหนีหน้ากาก ไม่มีทางที่จะหลบหนีการสะท้อนกึกก้องกันไปมาระหว่างภาพและเสียงที่ไหลซ้อนทับกัน ไม่มีทางที่จะหลบหนีภาพยนตร์ ไม่มีทางที่จะหลบหนีความน่าสะพรึงกลัวแห่งจิตใจ”

รุซเบห์ ราชิดีเป็นผู้กำกับชาวอิหร่านที่มาทำงานอยู่ในไอร์แลนด์ เขาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนักทำหนังทดลองในไอร์แลนด์รุ่นใหม่ ที่มี Maximilian Le Cain, Dean Kavanagh, Esperanza Callado, Alan Lambert และ Michael Higgins รวมอยู่ด้วย รุซเบห์ทำหนังยาวมาแล้ว 23 เรื่อง ซึ่งเป็นหนังทดลองทั้งหมด และแต่ละเรื่องก็มีสไตล์แตกต่างกันไป หนังเรื่องที่นำมาฉายนี้มีจุดเด่นตรงการเล่นกับบรรยากาศลึกลับของหนังสยองขวัญ โดยไม่มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน ผู้ชมแต่ละคนสามารถผูกโยงเรื่องราวต่างๆได้เองตามใจชอบจากภาพ, เสียง และฉากต่างๆที่ตัวเองได้เห็น ถ้าหากคุณชื่นชอบบรรยากาศในหนังของ Jean Rollin แต่ไม่ชอบเนื้อเรื่องในหนังของเขา บางทีคุณอาจจะเหมาะสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้

Birth Of the Seanema (2004, Sasithorn Ariyavicha, Thailand, 70min)

เรื่องย่อจากสูจิบัตรเทศกาลหนังสั้นปี 2004

“ทะเลคือที่ๆเก็บงำความทรงจำทั้งหมดของสรรพสิ่งทั้งมวลในโลก มันถักใยบางๆระหว่างความทรงจำ ความฝัน ความรู้สึกของผู้คน และสรรพสิ่งในเมืองแห่งหนึ่ง ผ่านภาพจากเสี้ยวส่วนเล็กๆของความทรงจำที่รั่วผ่านรอยร้าวของมัน”

วิวัฒน์ “ฟิล์มซิค” เลิศวิวัฒน์วงศา นักวิจารณ์ภาพยนตร์ชื่อดัง เขียนถึงหนังเรื่องนี้ว่า “เราอาจกล่าวได้ว่านี่คือหนังที่พูดถึงการก่อกำเนิดของภาพยนตร์ โดยมีธาตุเบื้องต้นเพียงธาตุเดียว นั้นคือ -ภาพ- ภาพจากหลากหลายสถานที่ หลากหลายสาระเนื้อหา หากทั้งหมดถูกร้อยเชื่อมกันอย่างคลุมเครือ โดยมีเส้นด้ายบางๆเป็นเรื่องเล่าจากตัวอักขระที่เราไม่รู้จัก...( นี่เป็น)ภาพยนตร์ที่ยืนอยู่ตรงชายขอบของความจริงกับความฝัน ภาพเคลื่อนไหวกับภาพนิ่ง การตื่นรู้และการหลับไหล การฝันกลางวันและการนอนไม่หลับ สิ่งที่สาบสูญและสิ่งซึ่งเพิ่งเกิดใหม่ ”
แนะนำชมเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ชื่นชอบภาพยนตร์ของธีรนิติ์ เสียงเสนาะ, วชร กัณหา, เฉลิมเกียรติ แซ่หย่อง และธณัฐชัย บรรดาศักดิ์

Introducing: Jack Bond / Jane Arden





สัปดาห์นี้ ฟิล์มไวรัสขอแนะนำสองคนทำหนังใต้ดินอังกฤษที่ตกสำรวจจากทุกสำนัก Jack Bond และ Jane Arden คู่รักที่ทำหนังหนักข้อในช่วงทศวรรษที่ 60s-70s การทำงานของสองคนรักจบลงด้วยโศกนาฏกรรมเนื่องจาก Jane Arden ได้ฆ่าตัวตายหลังจากทำหนังเรื่องสุดท้าย หลังจากนั้นหนังของทั้งคู่จึงไม่ถูกนำมาฉายอีกเลย จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการรีมาสเตอร์และนำกลับมาฉายใหม่จนออกดีวีดี Jack Bond สมัยหนุ่มๆ เริ่มต้นจากการทำงานโทรทัศน์, เขาเคยทำสารคดีสัมภาษณ์ Salvador Dali ก่อนจะผันตัวมาทำหนังเองเมื่อเขาได้พบกับ Jane Arden นักเขียน นักแสดง และหัวหน้าคณะละครแนวทดลองสุดขั้ว เมื่อพบรัก ทั้งคู่ได้สร้างงานอาวองการ์ดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1965-1979 (ในช่วงยุคพีคมากๆ ของทั้งคู่ Bond นั้นกำกับมิวสิควีดีโอของ The Pet Shop Boys ส่วนหนังของ Bond-Arden เรื่องสุดท้ายนั้นได้รับเกียรติเป็นหนังเปิดเทศกาลหนังลอนดอนเลยทีเดียว) หากคุณคิดว่าคุณชอบหนังที่ดูแล้วบอกว่า "ไม่รู้เรื่องอัลไลกันอีกแล้วชีวิตนี้" ถ้าคุณชอบหนัง "ผู้หญิงจิตแตกเป็นเสี่ยงๆ" นี่คือสัปดาห์ของคุณ

Separation (1968 , Jack Bond ,UK)

กำกับโดย Jack Bond เขียนบทและนำแสดงโดย Jane Arden

"คุณเกิดผิดประเทศ" Louise Malle เคยบอกกับ Jack Bond เอาไว้ ซึ่งดูจากหนังเรื่องนี้ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น Separation เป็นหนังที่ไม่ได้ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์หนังอังกฤษ แต่ถ้าเราดูมันตอนนี้ เราก็อาจมองได้ว่านี่คือจดหมายโต้ตอบกับ Alphaville ในแบบผู้หญิง โลกขาวดำที่เหมือนกึ่งอนาคตถูกออกแบบมาเพื่อนำเสนอสภาพจิตที่แตกเป็นเสี่ยงๆ ของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังเผชิญหน้ากับชีวิตสมรสที่พังทลาย หนังดำเนินเรื่อง, เท่าที่จะเล่าเป็นเรื่องเป็นราวได้, ผ่านทีมงานวิทยาศาสตร์ที่นำผู้หญิงจิตแตกนางนี้ (Jane Arden) มานั่งวิเคราะห์ว่ามีอะไรอยู่ในหัวในใจของเธอบ้าง หนังเต็มไปด้วยภาษาภาพ/เสียงที่รุนแรงมากๆ ในแบบที่ดูแล้วก็คิดว่า "ทำไมไม่มีใครเคยใช้ภาพ/เสียงแบบนี้มาก่อนนะ" การเล่าเรื่องวกวนฉงนสนเท่ห์ไม่ลำดับเวลาถูกออกแบบเพื่อนำเสนอบุคคลิกที่แตกต่างหลากหลายในมนุษย์นางหนึ่งไปพร้อมๆ กับการซึมซับลอนดอนในยุค 60 ที่ดูเหมือนโลกกึ่งอนาคต แถมท้ายด้วยซาวนด์แทรกของวง Procal Harum

The Other Side of the Underneath (1972 ,Jane Arden ,UK)

กำกับและเขียนบทโดย Jane Arden โปรดิวซ์โดย Jack Bond

ราวกับว่า Separation นั้นรู้เรื่องเกินไป (ทั้งที่มันแทบจะไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว) Jane Arden ตัดสินใจเขยิบความบ้าคลั่งให้ชิดขอบหรือล้นขอบไปเลยผ่านเรื่องราวของผู้หญิงที่ถูกลากออกจากทะเลสาปแล้วไปเข้าร่วมกลุ่มบำบัดในทัศนียภาพต่างจังหวัด โดยมีผู้นำกลุ่ม (Arden) ซึ่งก็ไม่น่าจะมีสภาพจิตที่ปกตินัก แต่เธอก็เป็นผู้นำให้คณะผู้ป่วยเข้าสู่เส้นทางของความชิบหาย ทีมนักแสดงส่วนใหญ่ของเรื่องนี้มาจากคณะละคร Holocaust Theatre Company ของ Arden ซึ่งในภายหลังนักแสดงให้สัมภาษณ์ว่าพวกเธอใช้ยา LSD ขณะถ่ายหนัง ภาพผู้หญิงกรีดร้องอย่างบ้าคลั่งในหนังเรื่องนีอาจทัดเทียมกับหนังหญิงจิตแตกทั้งหลายไม่ว่าจะ Possession หรือ The Devils หรือหนังของ Alejandro Jodorowsky นี่คือหนังที่ทำให้เห็นถึงกระบวนการที่ปัญญาชนเฟมินิสต์สุดขั้วปรารถนาที่จะเข้าใจตัวเธอเองผู้ซับซ้อนแตกเป็นเสี่ยง เข้มแข็งแกร่งกล้า ปฏิวัติและศิโรราบในขณะเดียวกัน หนังเรื่องนี้ทำให้ Jane Arden นั้นขึ้นชื่อว่าเป็นผู้กำกับหญิงคนเดียวในประเทศอังกฤษที่ได้ทำหนังขนาดยาวในยุค 70






All Be Damned (1990 ,Lino Brocka, Philippines)

นี่คือเรื่องของสองลูกพี่ลูกน้อง นางลูซินด้ามาจากสลัมแต่ตอนนี้ได้เป็นถึงเมียสส. ในขณะที่ เทเรซ่า ยังคงตกอับดิ้นรนอยู่ วันหนึ่ง เทเรซ่าและสามีมาของความช่วยเหลือนางลูซินดาถึงบ้าน นางก็ให้ความช่วยเหลืออย่างดีโดยที่เทเรซ่าไม่รู้เลยว่า เรนัลโต้สามีของเธอ เป็นคนรักเก่าของลูซินด้า ลูซินด้าพยายามแลกเปลี่ยนรักจากแฟนเก่ายากจนที่ลืมไม่ลงกับความช่วยเหลือของเธอ ในขณะที่ เจอรัลด์ สามีจอมเจ้าชู้ของลูซินด้าก็อยากจะเคลมเทเรซ่า สองผัวเมียยากจนถูกบีบคั้นให้ตกเป็นเหยื่อของสองผัวเมียร่ำรวย ที่พยายามจะเอาประโยชน์และพยายามพรากผัสพรสกเมีย นางลูซินด้า ยังมีแม่ที่หล่อนชิงชังเที่ยวเวียนมาขอเงิน และหล่อนพยายามหลบหน้าลืมกำพืดตัวเอง วันหนึ่งหล่อนแสร้งใช้ให้ชู้รักอีกคนของหล่อนไปข่มขืนเทเรซ่าเพื่อให้ผัวเมียแยกทางแต่เรื่องกลับไม่เป็นไปตามแผนแล้วไปสู่จุดของโศกนาฏกรรม

นี่สิหนังน้ำเน่าระดับช่องเจ็ดต้องยอมแพ้ของ Lino Brocka ผู้กำกับคนสำคัญของฟิลิปปินส์

Working Girls (1984 ,Ishamel Bernal , Philippines)

อีกหนึ่งหนังน้ำเน่าเลอค่ารวดาวสาวปินอยที่ว่าด้วยเรื่องสาวออฟฟิซเบญจรงค์ห้าสี ที่ต่างก็มีชีวิตเป็นของตัวเอง คาร์ลาเป็สาวแบงค์ที่การงานกำลังก้าวหน้า เธอเป็นกิ๊กกับราอูล เสือผู้หญิงตัวแสบที่นอกจากฟาดเธอยังฟาดอิซาเบลจนตั้งท้องด้วย หากราอูลก็ยะงพยายามคั่ว อแมนด้า สาวทำงานนายหน้าอสังหา ที่กำลังแขั้นกับบริษัทของนิมฟา สาวแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่หาเงินด้วยการขายเครื่องเพชรให้บรรลูกจ้างในออฟฟิศทั้งสองแริษัท โดยจะมาเก็บเงินพร้อมเสนอสินค้าใหม่ทุกสัปดาห์ วันหนึ่ง โรสมีเงินไม่พอจ่ายนิมฟา เธอจึงไปขายตัวมาจ่ายหนี้ ในขณะที่แอนน์อาจจะไม่มีปัญหาารเงินแต่มีปัญหาครอบครัวเพราะผัวกำลังจะขอเลิก ในขณะเดียวกันยังมีซูซานสาวร่านที่ล่าแต้มเรื่อเปื่อยในออฟิศอีกต่างหาก

กองทัพนักแสดงหญิงพาเหรดกันมาแสดงภาพสาวทำงานรูปแบบต่าๆงที่ร้ายกาจ มีเลือดมีเนื้อและงดงามนี่คือหนังที่อาจจะหรืออาจจะไม่เฟมินิสต์ก้ได้ แต่มันฉายภาพผู้หญิงในโลกสมัยใหม่ ชัยชนะและความพ่ายแพ้ของเธอออกมาอย่างหมดจดงดงาม โดฝีมือของ Ishmael Bernal อีกหนึ่งผู้กำกับที่สำคัญเท่าเทียมกับ Lino Brocka

Silent Wedding (2008 ,Horatiu Malale , Romania )




บ่าวสาวก็คงจัดงานรื่นเริงฉลองมงคลสมรสกันไปได้อยู่หรอก ชาวบ้านญาติพี่น้องในหมู่บ้านเล็กๆ ของโรมาเนียแห่งนี้ก็คงจะได้รื่นเริงกับงานแต่งอยู่หรอก ถ้าเกิดว่าโรมาเนียไม่ได้อยู่ใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต และถ้าเกิดว่า โจเซฟ สตาลิน ไม่มาตายเอาในวันนี้พอดี - ทั้งชาวบ้านและคนดูจึงได้แต่รื่นเริงกันแบบลักลั่น ก็คนสำคัญของชาติตายไปแบบนี้จะมาจัดงานรื่นเริงกันได้ไง!

After the Battle (2012 ,Yousry Nasrallah, Egypt)

เฟมินิสต์สาวของมวลชนปฏิวัติที่กำลังจะหย่าผัว สานสัมพันธ์กับชายเลี้ยงอูฐวัยกลางคนผู้ถูกตราหน้าว่าเป็นปฏิปักษ์ เพราะเขาขี่อูฐเข้าโจมตีมวลชนก่อนมูบารัคจะถูกโค่น แล้วดันถูกกล้องสำนักข่าวรัสเซียถ่ายเห็นหน้าซะชัดเจน - เรื่องรักของทั้งคู่ถูกเล่าผสานไปกับบรรยากาศการเมืองหลังชัยชนะที่โค่นล้มฮอสนีย์ มูบารัค ความแตกต่างทางชนชั้นและวัฒนธรรมเชิงสังคมของผู้คน ซึ่งกลายเป็นการทำนายอันแม่นยำ เมื่อการรัฐประหารโค่นล้มโมฮัมเหมด มอร์ซี ที่ชนะเลือกตั้ง ได้ยืนยันอย่างเป็นรูปธรรมว่างานของฝ่ายประชาธิปไตยไม่ได้จบลงหลังชัยชนะอันหอมหวานของอาหรับสปริง

Dillinger e Morto (1969, Marco Ferreri)

Marco Ferreri คือออเตอร์อิตาลีตกสำรวจที่ในยุค 60-70 เขาถือว่าเป็นผู้กับยุโรปตัวร้ายที่แผลงทธิ์เดชอย่างหาตัวจับยาก หนังของเขามักสร้างความอื้อฉาวตามงานพรีเมียร์เทศกาลหนังของยุคสมัยนั้น ๆ (จนอาจเรียกได้ว่าเขาคล้ายกับลารฺส ฟอน เทรียร์สมัยก่อน) หนังของเขาหลายเรื่องทำเอาคนดูสะดุ้งจนต้องเยือนหน้าหนีอย่าง Le Grande Bouffe (1973) เรื่องของชาย 4 คนที่นัดกันมาฆ่าตัวตายโดยการกินแล้วไม่ขี้ ทำเอา อิงกริด เบิร์กแมน ประธานกรรมการเทศกาลหนังเมืองคานส์ปีนั้นดูเสร็จออกจากโรงมาสาปส่งหนังว่า ‘Disgusting!’ The Last Woman (1976) ทำเอาแฟนหนังพระเอกเจอราร์ด เดอปาร์ดิเยอช็อกด้วยฉากใช้มีดหั่นเนื้อตัดจู๋ตัวเอง! House of Smiles (1991) หนังชนะเลิศหมีทองคำก็ว่าด้วยคนแก่แอบเล่นเซ็กส์ในบ้านพักคนชรา!
Dillinger e Morto เป็นหนังเกี่ยวกับวิศวะหนุ่มที่ทำงานดึกกลับบ้านมาเมียหลับ เลยต้องไปทำอาหารทานเอง แม้เรื่องราวจะดูไม่แรง แต่นี่เป็นหนังเกี่ยวกับผู้ชายทำงานเลทกลับบ้านดึกจนเมียหลับแล้วต้องทำอาหารทานเองที่ดีที่สุดในโลกภาพยนตร์ ถ้าฉากจบดูแล้วไม่ตกเก้าอี้นี่ก็แปลว่าคุณยืนดู

Le Dossier 51 (1978, Michel Deville)





แม้ Michel Deville จะเป็นผู้กำกับฝรั่งเศสที่ขึ้นทำเนียบว่าเป็นเจ้าของรางวัล Prix Louis Delluc ถึง 2 ครั้ง (อันเป็นรางวัลที่ถือว่ามีเกียรติที่สุดภายในฝรั่งเศส โดยในปัจจุบันมีคนที่ได้รางวัล 2 ครั้งอยู่เพียง 5 คนตั้งแต่มีการแจกกันมาตั้งแต่ปี 1937) แต่กระนั้นเลย Deville ก็ไม่ใช่ผู้กำกับฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียง เขาเริ่มทำหนังพร้อม ๆ กับกลุ่มนิวเวฟ แต่หนังของเขาก็ตลาดและ ‘ปกติ’ เกินกว่าจะเป็นนิวเวฟ พอมาในยุค 70 หนังของเขาก็เป็น genre และปรุงแต่งมากเกินกว่าพวกโพสต์นิวเวฟ และหลังจากนั้นเขาก็แก่และหวือหวาน้อยกว่ากลุ่ม cinema du look เสียแล้ว Deville เหมือนผู้กำกับอีกหลายคนในฝรั่งเศสที่ตกหล่นทางประวัติศาสตร์เพราะยืนอยู่นอกกระแสหลักในแต่ละยุค

Le Dossier 51 คือภาพยนตร์ที่มาก่อนกาล มันกล้าหาญชาญชัยและบ้าบิ่นสุด ๆ มันเป็นเรื่องขององค์กรลับที่พยายามจะแทรกซึมเข้าไปหา ‘ท่านทูต’ ท่านหนึ่งเพื่อเอาข้อมูลลับของท่านทูตมาแบล็กเมล์ ในยุคสมัยที่กระบวนการทำงานของสายลับหรือตำรวจสืบสวนเป็นหัวข้อยอดฮิตของซีรียส์ทีวีหรือภาพยนตร์ แต่ Le Dossier 51 ผลักการถ่ายทอดกระบวนการทำงานขององค์กรลับใด ๆ ให้ไปสุดทางที่สุดจนเราไม่เห็นมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อใด ๆ นอกจากหมากและเบี้ยของกระบวนการที่ไม่ไยไพสิ่งใดนอกจากเป้าหมาย อาจเรียกได้ว่านี่คือหนังที่นำเสนอมนุษย์ได้อย่างเลือดเย็นที่สุดเรื่องหนึ่งของโลกภาพยนตร์

Battles Without Honor And Humanity (1973, Kinji Fukasaku , Japan)





หนังเอพิคยากูซ่าเรื่องสำคัญโดยเจ้าพ่อหนังยากูซ่า Kinji Fukasaku เล่าเรื่องลากยาวหลายสิบปี จากไอ้หนุ่มหลังสงครามที่รวมตัวกับเพื่อนๆตั้งแกงค์ยากูซ่า และชีวิตลากยาวหลายทศวรรษที่พาเราไปชมนาฏกรรมของเลือดปืน ความตาย แบบไม่มีลิมิตและไม่มีศักดิ์ศรีอะไรทั้งสิ้น ว่ากันว่านี่คือหนึ่งในหนังยากูซ่าที่สำคัญที่สุด สไตล์จัดจ้านที่สุด แลเดือดที่สุดเรื่องหนึ่ง

A Colt Is My Passport (1967 , Takashi Nomura, Japan)

หนึ่งในหนังแถวหน้าของหนังแอคชั่นจากบริษัทนิคคัทสุอันโด่งดังเล่าเรื่องของสองมือปืนที่หลังจากทำงานใหญ่ก็ต้องโดนตามเก็บตามระเบียบ ทำให้ทั้งคู่ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้กับองค์กรของตนเอง นี่เป็นหนังเรื่องแรกๆของ Joe Shishido ฮีโร่เลือดเดือดที่กลายเป็ขวัญใจชาวญี่ปุ่นไปตลอดยุค70’s อันเป็นยุคเฟื่องฟูของนิคคัตสุ

Purgatory (1999, Uli Edel, US)






หนังคาวบอยลงทีวีเรื่องนี้มีดีอย่างไรวานให้คุณมาพิสูจน์ นี่คือเรื่องของแกงค์โฉดปล้นธนาคาร ที่จู่ๆฆ่าผู้หญิงคนหนึ่งตายโดยบังเอิญ ชาวแกงค์ใจชั่วจึงหนีเตลิดฝ่าพายุทรายออกนอกเมืองแล้วได้พบกับเมืองประหลาชื่อ เรฟูจี ในเมืองนี้ไม่มีใครพกปืน สบถ หรือก่อเรื่องก่อราว และหากระฆังของโบสถ์ตีเมื่อไหร่ พวกชาวเมืองที่หน้าตาคุ้นๆจะรีบไปโบสถ์ทันทีไม่มีอิดออด หนำซ้ำดูเหมือนชาวเมืองจะไม่อยากมีเรื่อง อะไรยังไงก็ได้ ว่าแต่ว่านี่มันคือแดนสวรรค์ของชาวแกงค์โจรใจบาป หรือมันคือนรกแห่งศีลธรรมกันแน่ !

The Shootist (1976, Don Siegel , US)

หนังเรื่องสุดท้าของ จอห์น เวย์น ที่เป็นเหมือนบทสรุปคำอำลาชีวิตอันรุ่งโรจน์ชั่วนิรันดร์ของดาราคาวบอยที่ยิ่งใหญ่ที่สดในโลกคนนี้ หนังเล่าเรื่องของมือืนแก่ใกล้ตาย ที่กะจะมาใช้ชีวิตสุขสงบสู้รบกับมะเร็งในเมืองเล็กๆสงบๆ แต่ก็ไม่วายต้องสู้รบกับนายอำเภอที่กลัวเขาจะมาก่อเรื่อง คู่แค้นเก่าที่มาดหมายจะมาล้างแค้น นักข่าวหนังสือพิมพ์ที่จะมาเขียนเรื่องของเขา พวกคนอยากดำงที่จะมาฆ่ามือปืนเพื่อสร้างชื่อ หรือสาวที่กะจะรวยทางลัดด้วยการขต่งานกับเขาจะได้เอาชีวิตของหล่อนไปเขียนหนังสอเมียม่ายของมือปืน เขาเช่าห้องของสองแม่ลูกและเริ่มผูกพันกับลูกชายของแม่ม่าย ในช่วงเวลาท้ายๆของเขา หนึ่งในหนังคาวบอยคลาสสิคจากทศวรรษที่ 70ที่เป็นสมือนคำอำลา การจบส้ิน กลายๆของของหนังคาวบอย

The Dish and the Spoon (2011, Alison Bagnall , US)





หนังน่ารักน่าใคร่เล่าเรื่องของสาวใหญ่ที่สามีดันมีกิ๊กเลยฟูมฟายเสียใจจะขับรถไปหาเบียร์กินให้เมาปลิ้นลืมทุกข์แต่ดันไปเจอกับหนุ่มน้อยหน้าตาท่าทางยังกะบ๊อบ ดีแลน นอนหนาวรวยรินอยู่ในตึกร้าง ไอ้หนุ่มอุตส่าห์ตามแฟนมาจากอังกฤษเพื่อจะรู้ว่าเธอมาเที่ยวกับแฟนใหม่ คนถูกทิ้งสองคนเลยมากองกันอยู่ในบ้านไม่ริมทะเล เล่นเกมความสัมพันธ์ประหลาดพิลึกของสาวใหญ่กับหนุ่มน้อย ที่อบอุ่น น่ารัก เจ็บปวด และงดงาม

ที่จริงมันเป็นเรื่องง่ายๆ แต่มันอาจจะง่ายเกินไปเราเลยไม่ค่อยเห้นมันถูกเล่าออกมาอย่างง่ายๆ มันเป็นเรื่องคนแปลกหน้าสองคนที่ใช้ชีวิตช่วงที่หลุดคว้างออกจากโลกไปด้วยกัน โดยไม่มีอะไรมากกว่านั้น เวลาเราเห็นหนังที่ขึ้นต้นด้วยความสัมพันธ์ของสาวแก่กับหนุ่มรุ่นกระทง มันก็ไม่วายจะหลายเป้นอะไรระหว่าง คนขี้แพ้สองคนช่วยกันคลายปมในอดีตของตัวเองในรูปรอยของ พลาโตนิคเฟรนด์ชิป ไม่อย่างนั้นก็เป็นหนังในทำนองข้ามขอบศีละรรมแก่ปรารถนาเด็ฏ เด็กยั่วสาวแก่ ความสัมพันธ์ที่ต้องท้าทายกับสังคมรอบข้างสารพันปัญหาดราม่าที่โถมเข้ามาในความสัมพันธ์ข้ามเส้นที่ยอมรับได้ของสังคม น้อยครั้งที่เราจะได้เห็นหนังมหัศจรรย์อย่าง Harold and Maude แต่หนังเรื่องนี้ไม่ได้มหัศจรรย์ มันเป็นหนังง่ายๆ ที่ง่ายจนมหัศจรรย์ นี่แหละความมหัศจรรยื คือมันไม่มีอะไรมหัศจรรย์เล

นี่คืองานเดบิวท์ชิ้นแรกของ Alison Bagnall คนเขียนบทBuffalo ’66 งานของเธออบอุ่น นุ่มนวลมาก ๆ พร้อมการแสดงแสนพิเศษโดยเจ้าแม่อินดี้ที่ทุกคนรัก Greta Gerwig

Housekeeping (1987 , Bill Forsyth ,US)





เรื่องของสองศรีพี่น้องที่อาศัยอยู่กับยายในบ้านริมทะเลสาบ ที่ที่แม่ฆ่าตัวตายด้วยการโดดทะเลสาบ จนเมื่อยายตาย วันหนึ่งป้าซิลวีก็มารับเด็กๆไปอยู่ด้วย ป้าซิลวีเป็นคนเพี้ยนแบบที่คนทั้งเมืองไม่รู้จะทำไง เธอชอบเก็บกระป๋อง นอนตามม้านั่งในสวนสาธารณะ เก็ยสะสมหนังสือพิมพ์ งานบ้านก็ทำไม่เป็น จะทำครัวก็เหือบทำไฟไหม้บ้าน แม้จะเป็นคนอบอุ่นเปี่ยมอารมณ์ขัน ป้าซิลวีก็ยังเป็นเพียงเด็กไม่รู้จักโตที่พึ่งพาไม่ได้ จนเมื่อคนพี่ที่อยากเป็นคนสามัญดาษดื่นเสียที เสือกไสไล่ส่งป้าออกไปจากบ้าน ซิลวีจึงเริ่มต้นเล่าเรื่องการเดินทางอันแสนวิเศษเมื่อครั้งเธอยังเป็นเด็กให้หลานสาวคนเล็กของเธอฟัง เรื่องราวสุกสว่างปลอบประโลมอนังดงามจากคุรป้าเพี้ยพิลึกของพวกเธอ

ภาพยนตร์โดย Bill Forsyth เจ้าของเดียวกับ Local Hero อันลือชื่อ

คนลักหลับ

My photo
Filmvirus เป็นนามปากกาเดิมของสนธยา ทรัพย์เย็น จากคอลัมน์ “นิมิตวิกาล” ที่ใช้ในนิตยสาร Filmview ปี 2537 ต่อมาในปี 2538 สนธยาได้ก่อตั้ง “ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์” หรือ DK.Filmhouse (Filmvirus) จัดฉายหนังด้อยโอกาสให้ผู้สนใจชมฟรี พร้อมจัดพิมพ์หนังสือด้านหนัง และวรรณกรรม ชุด Filmvirus / Bookvirus (ส่วนหนังสือ “คนของหนัง” ปี 2533 นั้นเป็นผลงานก่อนตั้งฟิล์มไวรัส) ส่วนผลงานอื่นๆ ปี 2548 เป็นกรรมการเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok , ปี 2552 กรรมการ Sydney Underground Film Festival, งาน Thai Short Film and Video Festival ของมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 1 และปี 2548-2549 เป็นเจ้าภาพร่วมจัดเทศกาลประกวดหนังนานาชาติ 15/15 Film Festival, Australia