27.9.07

อีกหนึ่งในกลุ่ม French New Wave ที่ถูกละลืม - Jacques Rivette

ฌ้ากส์ รีแวตต์ กับหนัง 2 เรื่องที่หาดูยากที่สุด


เรื่องแรกทำจากนิยาย La religieuse ของ Denis Diderot (เจ้าของนิยาย Jacques le Fataliste ที่มีอิทธิพลต่อแนวทางงานเขียนของ Milan Kundera มากที่สุด จน มิลาน คุนเดอร่า ต้องแต่งบทละคร Jacques and His Master เพื่อมาคารวะ (และย้อนศร)


อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Denis Diderot (เดอนีส์ ดีเดโรต์) ได้จาก “บุ๊คไวรัส เล่ม 1” (Bookvirus 01) ของ สนธยา ทรัพย์เย็น สำนักพิมพ์ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส)

เรื่องที่ 2 Haut Bas Fragile (Up Down Fragile) หนังเพลงสไตล์พิรี้พิไรเฉไฉไก่กาตามแบรนด์ ฌ้ากส์ รีแวตต์ โดยเฉพาะ ฟังเพลงน่ารัก ท่าเต้นกุ๊กไก่ ได้ในวันและเวลาตามนี้ (หรือย้อนอ่านเรื่องย่อได้ในหน้าก่อน ๆ)

อาทิตย์ที่ 30 กันยายน 2550

12.30 น. La religieuse [The Nun] (1966) กำกับโดย Jacques Rivette

14.30 น. Up, Down, Fragile (1995) กำกับโดย Jacques Rivette

(อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้กำกับ Jacques Rivette ได้ใน The 8 Mastersฟิล์มไวรัส / openbooks)

14.9.07

เรื่องสั้นของ Michelangelo Antonioni

เรื่องสั้นของ Michelangelo Antonioni

โฆษณาเองก็ได้ง่ายวุ้ย


เรื่องสั้น 2 เรื่องของ ผู้กำกับ Michelangelo Antonioni ที่เพิ่งล่วงลับไปไม่นาน

เรื่องสั้น “โทรเลขสองฉบับ” (Two Telegrams) ที่มีแปลใน Bookvirus เล่ม 2

และ เรื่องสั้น “ขอบฟ้าเหตุการณ์” (The Event Horizon) ที่แปลลง Filmvirus เล่ม 1


เขียนดีถึงอยากให้อ่าน

มีใครแถวนี้เคยอ่านบ้างไหมเนี่ย

ดูหนังสือ Filmvirus ได้ที่นี่:

Filmvirus 01

http://dkfilmhouse.blogspot.com/2007/08/filmvirus-collection-part-1.html

Bookvirus 02

http://dkfilmhouse.blogspot.com/2007/08/filmvirus-collection-part-2.html

และอ่านบทวิจารณ์ La Notte ของผู้กำกับ อันโตนีโอนี่ ได้ที่ บล้อก นิมิตวิกาล (ภาษาไทย)

http://twilightvirus.blogspot.com/2007/09/1-la-notte-night-michelangelo-antonioni.html

11.9.07

โปรแกรมทอง Nouvelle Vague

Nouvelle Vague
ภาพยนตร์ปี 1990 ของผู้กำกับระดับปรมาจารย์ชาวฝรั่งเศส Jean-Luc Godard
หนังเรื่องที่เคยติดอันดับ 1 ใน 150 อันดับหนังยอดเยี่ยมแห่งทศวรรษ 90 ที่ไม่ได้รับการจัดจำหน่ายในอเมริกา จากการจัดอันดับของนิตยสาร Film Comment เมื่อเดือนกรกฏาคม / สิงหาคม 1997

http://www.filmlinc.com/fcm/7-8-97/poll1.htm

ถัดจากอันดับหนึ่งซึ่งเริ่มด้วย Nouvelle Vague ของ Godard ตามมาด้วย

งานของ Leos Carax, Abbas Kiarostami, Olivier Assayas, Aki Kaurismaki, Michelangelo Antonioni, Hou Hsiao-hsien, Victor Erice, Manuel de Oliveira, John Woo, Theo Angelopoulos, Edward Yang, Wong Kar-wai, Eric Rohmer, Federico Fellini, Stanley Kwan, Akira Kurosawa, Maurice Pialat, Pascale Ferran, Alain Resnais, Mohsen Makhmalbaf, Chantal Akerman, Wim Wenders, Alexandr Sokurov, Marcel Ophuls, Tsai Ming-liang, Bertrand Tavernier, Clara Law, Eliseo Subiela, Joao César Monteiro และอื่น ๆ อีกมาก

ติดตามชม Nouvelle Vague หนังที่หาดูได้ยากมากและยังไม่มีการผลิตในรูปแบบ DVD ในอเมริกา

หาดูได้ที่เดียวในโปรแกรมภาพยนตร์ของ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส)

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2550 เวลา 12.30 น. จากนั้นตามด้วย Passion ของ Godard ในเวลา 14.30 น.

ชมโปรแกรมภาพยนตร์ตลอดเดือนกันยายนได้ที่นี่

http://dkfilmhouse.blogspot.com/2007/08/2550.html

6.9.07

Fred Kelemen Masterclass in Bangkok

Fred Kelemen Masterclass in Bangkok

Ingmar Bergman ตายไปแล้วก็ดี Michelangelo Antonioni ตายไปแล้วไม่ดี


แต่เรายังมี Fred Kelemen ที่ฟ้าประทานมาให้


Fred Kelemen จะไม่ใช่แค่ตัวสำรองที่มาเมืองไทยในงาน World Film Festival of Bangkok เพื่อเป็นตัวแทน Bela Tarr เท่านั้น

แต่เขายังเป็นหนึ่งใน auteur คนสำคัญของหนัง The Man from London อีกด้วย


ถ้าคุณยังไม่รู้จักหนังอย่าง Abendland (Nightfall), Fate, Frost และ Krisana (Fallen) คุณคงเข้าใจว่าโลกหนังศิลปะแนว poetic สุดสิ้นแล้วที่ Andrey Tarkovsky แต่ช้าก่อน รอจนคุณได้ดูหนังของ Fred Kelemen ที่จัดว่าหาดูได้ยากที่สุดในโลกเสียก่อน


อย่าพลาดงาน Fred Kelemen Masterclass อบรมภาพยนตร์ 4 วันกับ Fred Kelemen เร็ว ๆนี้ (พร้อมงานละครเวทีของ Fred Kelemen) จัดโดย ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) สถาบันเกอเธ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ และ เทศกาล World Film Festival of Bangkok ครั้งที่ 5


อ่านเกี่ยวกับ Fred Kelemen ได้จาก ฟิล์มไวรัส 2

(More info about Fred Kelemen on FILMVIRUS 2)

สมัครได้ตั้งแต่ตอนนี้ที่ filmvirus@yahoo.com

5.9.07

sydney underground film festival

Sydney Underground Film Festival ครั้งที่ 1 ปีที่ 1 เทศกาลหนังใต้ดินที่รวมความดิบ ห่าม ประหลาดพิลึก และเป็นตัวของตัวเอง ที่ประเทศออสเตรเลียกำลังจะเริ่มแล้ว ระหว่างวันที่ 7-10 กันยายน นี้! พร้อมด้วยการจัดเสวนา และประกวดหนังจากนานาชาติ



เสริมด้วย Mini Retrospective ของคู่สามีภรรยา The Cantrills

เปิดงานด้วยหนัง Out Yonder-Neighbor Boy ของ David Lynch (เดวิด ลิ้นช์), Tin Man ของ Ivan Kavanagh, Pop Kitsch ของ Paul Winkler และ Meet Me in Wichita ของ Martha Colburn

เกี่ยวข้องอย่างไรกับ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส)

คอยติดตามโปรแกรมภาพยนตร์ Sydney Underground Film Festival ในเมืองไทย เร็ว ๆ นี้

คนไทยคนไหนส่งหนังไปประกวดให้รอลุ้นได้เลย


(ภาพจากวงดนตรี Coda เปิดงานเทศกาลที่จะแสดงในวันศุกร์ที่ 7 กันยายน)

เว็บไซต์: http://www.sydneyundergroundfilmfestival.com/

3.9.07

Apichatpong Weerasethakul retrospective at NFT London

ฉายหนังของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ครบชุด ที่อังกฤษ

(Apichatpong Weerasethakul retrospective at NFT)

ไม่ง่ายนักที่คนทำหนังวัยไม่เกิน 40 จะได้รับเกียรติฉายหนัง retrospective ในงานระดับโลก

และที่ NFT (National Film Theatre) แห่งลอนดอน เดือนกันยายน 2550 นี้ ก็จะจัดฉายหนังของเจ้ยแบบครบชุด ทั้งหนังสั้นหนังยาว รวมทั้ง Syndromes and A Century ที่จะได้ฉายหลายรอบ ก่อนออกฉายตามโรงหนังทั่วไปในรอบปกติ (เราขโมยภาพประกอบของญี่ปุ่นมา)

2.9.07

A Brighter Summer Day และ The Terrorizers (Re-Run)


(ภาพจากหน้าจุดประกาย - กรุงเทพธุรกิจ ฯ วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2543)

A Brighter Summer Day และ The Terrorizers กลับมาฉายใหม่ปี 2550
โปรแกรมหนัง เอ็ดเวิร์ด หยาง (Edward Yang)
ค้นโปรแกรมได้ที่ http://dkfilmhouse.blogspot.com/2007/08/edward-yang-alexander-kluge.html

หรืออ่านเกี่ยวกับ เอ็ดเวิร์ด หยาง (Edward Yang) ได้ที่
Filmax ฉบับเดือนสิงหาคม 2550 (หน้าปก นิโคล คิดแมน จาก Invasion)
A Brighter Summer Day เคยติดอันดับ 1 ใน 5 หนังดีที่ไม่ได้รับการจัดจำหน่ายในอเมริกา

Blog Archive

คนลักหลับ

My photo
Filmvirus เป็นนามปากกาเดิมของสนธยา ทรัพย์เย็น จากคอลัมน์ “นิมิตวิกาล” ที่ใช้ในนิตยสาร Filmview ปี 2537 ต่อมาในปี 2538 สนธยาได้ก่อตั้ง “ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์” หรือ DK.Filmhouse (Filmvirus) จัดฉายหนังด้อยโอกาสให้ผู้สนใจชมฟรี พร้อมจัดพิมพ์หนังสือด้านหนัง และวรรณกรรม ชุด Filmvirus / Bookvirus (ส่วนหนังสือ “คนของหนัง” ปี 2533 นั้นเป็นผลงานก่อนตั้งฟิล์มไวรัส) ส่วนผลงานอื่นๆ ปี 2548 เป็นกรรมการเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok , ปี 2552 กรรมการ Sydney Underground Film Festival, งาน Thai Short Film and Video Festival ของมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 1 และปี 2548-2549 เป็นเจ้าภาพร่วมจัดเทศกาลประกวดหนังนานาชาติ 15/15 Film Festival, Australia