15.9.11

French Oldies is back! ฟิล์มไวรัสจัดพานหนังฝรั่งเศสคืนเรือน

นานทีได้คืนเหย้ากับเขาอีกสักที หลังจากงาน "ปฏิบัติการหนังทุนน้อย" และ "งานเทศกาลหนังนับญาติ (ฝรั่งเศส-เยอรมัน)" เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ซึ่งคราวนี้ก็เป็นโปรแกรมหนังชุดสับเซ็ตขนาดเล็กของอันที่เพิ่งจบไปที่ธรรมศาสตร์นั่นเอง (http://dkfilmhouse.blogspot.com/2011/08/que-reste-t-il-de-nos-amours.html)โดยได้ฤกษ์ดีอีกหน ย้อนกลับไปยังสำนักงานใหญ่ของฝรั่งเศสอีกครั้ง ในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ 16, 17, 18 กย. นี้ที่สมาคมฝรั่งเศส ถ. สาทรใต้

ทั้งหมดเป็นโปรแกรมหนังฝรั่งเศสก่อนยุคนิวเวฟ 60 ที่ บิ๊ก คนขยันเป็นธุระจัดให้ชม

ในงานมีทั้งหนังของ Jean Renoir, Jean Vigo และ Alexandre Astruc

เชิญมาชมได้ ก่อนที่สมาคมฝรั่งเศสจะย้ายนิวาสถานในปีหน้า

ชมฟรี เช่นเดิม - Admission Free

โปรแกรมที่นี่:http://bangkok101.com/2011/09/prenouvelle-vague-weekend/

9.9.11

Romania Model (ฉายหนัง + สนทนาภาพยนตร์โรมาเนีย)

The Reading Room และ Filmvirus

เสนอโปรแกรม Romania Model โดยฉายภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Videograms of a Revolution และ Autobiography of Nicolae Caucescu

ตามด้วยการเสวนาเกี่ยวกับแง่มุมต่างๆของการปฏิวัติโรมาเนีย โดย อาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และเคโกะ เซ ดำเนินการสนทนาโดย วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา / Filmsick (ชมฟรี)

The Reading Room and Filmvirus presents

"Romania Model" program: screenings of two documentaries:

"Videograms of a Revolution" +
"Autobiography of Nicolae Caucescu"

followed by a talk on Romanian Revolution, Nicolae Caucescu, and the media by Assistant Prof. Suthachai Yimprasert and Keiko Sei

on Saturday, September 24th, 2011
at The Reading Room, Silom soi 19 (Admission Free)

27.8.11

Jorge Luis Borges หอสมุดบาเบล และเรื่องสั้นอื่น ๆ - bookvirus ฟุ้ง 08

อ่านเอกภพ ท่องวงกต

ถ้าไม่มีนักเขียนอย่าง ฆอรเฆ ลูอิส บอร์เฆส คงไม่มี Post-Modern

Jorge Luis Borges เปรียบได้ดั่งรากเหง้าอิทธิพลงานเขียนของ Italo Calvino, Umberto Eco, Orhan Pamuk, Julio Cortazar, Alain Robbe-Grillet และคนสำคัญอีกหลาย ๆ คน

รออ่านงานแปลหนังสือเขาได้ที่ bookvirus ฟุ้ง 08 หรือ

The library of Babel, the garden of forking paths and the other stories
หอสมุดบาเบล สวนแห่งทางแพร่ง และเรื่องสั้นอื่นๆ

Jorge Luis Borges
สิงห์ สุวรรณกิจ แปล

คำนิยมโดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา

หอสมุดบาเบล สวนแห่งทางแพร่ง และเรื่องสั้นอื่นๆ - bookvirus ฟุ้ง 08 รวมเรื่องที่ยังไม่เคยแปลซึ่งเป็นแนวคิดเชิงเขาวงกตวรรณกรรมตามแบบฉบับที่นักอ่านทั่วโลกคุ้นเคย - ไม่ใช่เรื่องที่ แดนอรัญ แสงทอง (aka เชน จรัสเวียง) เคยแปลลงใน bookvirus 2 และ เพชฌฆาตข้างถนน

ระหว่างนี้อ่านแปลบทสัมภาษณ์ของ บอรเฆส ไปก่อนใน bookvirus เล่ม 2

คาดว่าน่าจะออกทันงานหนังสือตุลาคม 2554

10.8.11

Que Reste-t-il de nos amours หนังฝรั่งเศสยุคก่อนนิวเวฝ

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เชิญชม

Que Reste-t-il de nos amours
"the years before new wave revolution"

ทุกวันอาทิตย์ระหว่างวันที่ 17 กรกฏาคม – 25 กันยายน 2554 ตั้งแต่เวลา 12:30 น. เป็นต้นไป
ณ ห้องเรวัต พุทธินันท์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุด ปรีดี พนมยงค์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0-2613-3530
ชมฟรี!!! (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณาแต่งกายสุภาพ)

* เปลี่ยนแปลงวันฉายใหม่ *

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฏาคม
12.30 น. Pepe le Moko (1937) กำกับโดย Julien Duvivier (94min)
14.30 น. Le Grand Jeu (1934) กำกับโดย Jacques Feyder (120min)

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฏาคม
12.30 น. Port of Shadows (1938) กำกับโดย Marcel Carne (91min)
14.30 น. Le Crime de Monsieur Lange (1936) กำกับโดย Jean Renoir (80min)

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม
12.30 น. A Nous la Liberte (1931) กำกับโดย Rene Clair (104min)
14.30 น. Jour de Fete (1949) กำกับโดย Jacques Tati (70min)

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม
12.30 น. The Story of a Cheat (1936) กำกับโดย Sacha Guitry (81min)
14.30 น. Cesar (1936) กำกับโดย Marcel Pagnol (168min)
วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม
12.30 น. Beauty and the Beast (1946) กำกับโดย Jean Cocteau (96min)
14.30 น. Le Silence de la Mer (1949) กำกับโดย Jean-Pierre Melville (88min)

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม
12.30 น. Casque d’Or (1952) กำกับโดย Jacques Becker (96min)
14.30 น. The Earrings of Madame de... (1953) กำกับโดย Max Ophuls (104min)

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน
12.30 น. The Love of a Woman (1953) กำกับโดย Jean Gremillon (104min)
14.30 น. Four Bags Full (1956) กำกับโดย Claude Autant-Lara (80min)

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน
12.30 น. The Human Pyramid (1961) กำกับโดย Jean Rouch (90min)
14.30 น. Farrebique (1946) กำกับโดย Georges Rouquier (90min)

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน
12.30 น. Bad Liaisons (1955) กำกับโดย Alexandre Astruc (84min)
14.30 น. The Ladies of the Bois de Boulogne (1945) กำกับโดย Robert Bresson (86min)

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน
12.00น. Napoléon *Restoration Version (1927) กำกับโดย Abel Gance (313min)

เรื่องย่อภาพยนตร์

Napoléon (1927) – Abel Gance (*Kevin Brownlow Restoration Version)
ภาพยนตร์มหากาพย์ประวัติศาสตร์ร่ายเรื่องราวชีวิตของยอดนักรบแห่งฝรั่งเศส Napoléon Bonaparte ไล่เรียงจากวัยเยาว์แห่งการเรียนรู้สู่การเติบโตเป็นขุนศึกผู้ยิ่งใหญ่ของโลก ถ่ายทอดผ่านมุมมองของยอดผู้กำกับยุคบุคเบิกผู้แผ้วทางแก่วงการภาพยนตร์ฝรั่งเศส Abel Gance ที่ความตั้งใจแรกเริ่มของGance นั้นต้องการร้อยเรียงเรื่อราวของ Napoléon อย่างสมบูรณ์ที่สุดเป็นภาพยนตร์ซีรีย์ความยาวกว่า 10 ชั่วโมง ก่อนที่ปัญหาทางการเงินจะรุมเร้าทำให้ต้องลดทอนขนาดลงไป ภาพยนตร์มีความยาว 6 ชั่วโมงครึ่งเมื่อครั้งเปิดตัวรอบปฐมทัศน์ในปารีส ก่อนที่จะถูกหั่นหลังเหลือเพียงแค่ 1 ชั่วโมงครึ่งในการออกฉายในอเมริกา เวลาล่วงเลยไปกว่า 70 ปี ภาพยนตร์เวอร์ชั่นดั้งเดิมถูกตีตราสาปสูญ จนกระทั่งเมื่อต้นปี 2000 ภาพยนตร์อันทรงคุณค่าเรื่องเอกของโลกก็ฟื้นคืนชีพอีกครั้ง โดยการสืบค้นของ Kevin Brownlowผู้กำกับและนักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ชาวอังกฤษ ออกมาเป็นเวอร์ชั่นที่มีความใกล้เคียงกับความตั้งใจแรกเริ่มของ Gance มากที่สุด

Farrebique (1946) - Georges Rouquie
สารคดีจับจ้องภาพชีวิตรายวันเอื่อยนิ่งที่ขึงเหนี่ยวไว้ด้วยวัฎฎะแห่งชีวิตที่ผันเปลี่ยนฉายซ้ำเป็นวังเวียน ของครอบครัวเกษตรกรรมในที่ดินผืนจ้อยแห่งFarrebique

The Human Pyramid (1961) - Jean Rouch
การเหยียบย่างเข้าสู่ประตูโรงเรียนของสาวน้อยหน้าแฉล้มนามว่าNadine ก่อแรงกระเพื่อมส่งผลสู่ความเปลี่ยนแปลงแก่เหล่าวัยกระทงคะนอง แห่งโรงเรียนสหเชื้อชาติปนเปทั้งฝรั่งเศสและชาวผิวดำพื้นเมืองใน Ivory Coast หนุ่มน้อยใหญ่ทั้งตาน้ำข้าวและผิวสีต่างหลงเสน่ห์ในตัวสาวน้อย และเป็นเธอนั่นเองที่เป็นตัวประสานความสัมพันธ์ของสองเชื้อชาติ
Jean Rouch นักมนุษวิทยาและนักทำหนังสารคดีมือฉมังเจ้าสำนักวิชา cinema verite เดินอาดเข้าสู่รั้วโรงเรียน เขาชักชวนกลุ่มนักเรียนสองผิวสีและบอกเล่าจุดประสงค์ของการสร้างหนังเพื่อพินิจความเป็นมนุษย์ โดยเหล่านักเรียนสองเชื้อชาติต่างแยกย้ายกันถกถึงมุมมองต่ออีกเชื้อชาติ จนกระทั่งบทบาทในภาพยนตร์ต่างผุดออกมาจากสิ่งที่พวกเขารับรู้และนึกคิดต่อกันและกันนั่นเอง

Beauty and the Beast (1946) - Jean Cocteau
คหบดีหลงเข้าสู่ปราสาทนิรนาม โชคร้ายที่ดินแดนพิศวงแห่งนั้นแท้จริงแล้วคือนิวาสถานของอสูรโฉมโฉด หนำซ้ำกุหลาบที่เผลอหยิบติดมืออย่างไม่ได้ตั้งใจได้สร้างความเดือดดาลแก่อสูรร้ายยิ่งนัก มันยื่นข้อเสนอให้เขานำพาหญิงสาวรูปงามมาเป็นกำนัล มิฉนั้นความตายเพียงเท่านั้นที่จะได้รับกลับไป มีเพียงแค่ Belle ลูกสาวคนสุดท้องโฉมงามที่เสนอตัวเดินทางฝ่าพงไพรสู่เงาทมึน อสูรหลงรัก Belle อย่างจับใจ ขณะเดียวกันเธอก็พยายามที่จะพิสูจน์ถึงจิตใจอันพิสุทธิ์ที่แอบซ่อนในรูปโฉมชั่ว

Le Silence de la Mer (1949) - Jean-Pierre Melville
ในหมู่บ้านชนบทของฝรั่งเศสภายใต้ม่านหมอของเยอรมันนี Werner นายพลแห่งกองทัพนาซีถูกส่งตัวมาพำนักในบ้านของหลังเขื่องของครอบครัวชนชั้นกลางที่มีเพียงสองลุงหลานสาวอาศัยอยู่ ทุกเมื่อเชื่อวันนายพลหนุ่มมักแวะเวียนเข้ามาทักทายพูดคุยถึงดนตรีวรรณกรรม ความประทับใจต่อฝรั่งเศส และลงท้ายด้วยคำกล่าวลา ทว่าทั้งคู่นั้นปฏิบัติต่อการมีอยู่ของเขาราวกับอากาศธาตุ เหตุการณ์ดำเนินไปเช่นเดียวกับการหมุนวนของฉากตอนจากม้วนเทป โดยไม่มีทีท่าของความโอนอ่อนจากสองลุงหลาน จนกระทั่งถึงวันที่ Werner ได้รับภารกิจออกไปสู่แนวหน้าในสมรภูมิ

The Story of a Cheat (1936) - Sacha Guitry
เรื่องราวชีวิตชุลมุนยุ่งขิงของนักพนันเสเพลจากปากคำบอกเล่าของเจ้าตัว เริ่มด้วยวัยเด็กทะโมนที่ถูกดัดนิสัยงดมื้อเย็น ทว่าเห็ดพิษในอาหารมื้อนั้นเองส่งผลให้ทั้งครอบครัวจบชีวิตลงทั้งหมด เขาจึงต้องระหกระเหสู่พักอาศัยกับสองลุงป้าเจ้ากี้เจ้าการผู้หวังเพียงสมบัติจากครอบครัว ไม่นานเด็กน้อยจึงหลบหนีเข้าผจญโลกภายนอกเพียงลำพัง ประสบการณ์ได้หล่อหลอมเขาสู่วัยหนุ่มผู้คร่ำหวอดต่อด้านมืดและกลโกง จนวันหนึ่งเมื่อเขาได้กลับไปพบกับหญิงชราผู้ครั้งนึงเคยช่วยชีวิตเขาจากสงครามในวัยเด็ก ภาพอีกด้านของชีวิตของเขาได้ปรากฏขึ้น
Sacha Guitry ผู้กำกับภาพยนตร์ฝีมือละเมียดผู้ผันตัวมาจากม่านการละคร พร้อมทั้งไม่ลืมการหยิบยืมองค์ประกอบละเมียดจากละครเวทีมาปรุงแต่งปรับใช้ในภาพยนตร์ของเขาด้วย The Story of a Cheat ถูกยกย่องจากนิตยสารกาเยส์ ดู ซินีมา ให้เป็น 1 ใน 100 ภาพยนตร์ตลอดตลอกาล


Cesar (1936) - Marcel Pagnol
Cesariot หนุ่มกระทงเพิ่งรู้ความจริงว่า Honore ผู้ค้ำชูแต่อ้อนออกแท้ที่จริงแล้วไม่ใช่พ่อผู้บังเกิดกล้าว แต่ก่อนที่เขาจะทันได้รู้เรื่องราวของผู้เป็นพ่อที่แท้จริงHonore ก็มาจากไปเสียก่อน ในพิธีฝังศพ แม่ได้ตัดสินใจเล่าเรื่องราวของต่างๆของครอบครัวที่เง็บงำมาเนิ่นนาน ทำให้ Cesariotได้เริ่มต้นการดั้นด้นตามหาผู้เป็นพ่อที่แท้จริง
เช่นเดียวกับ Sacha Guitry Marcel Pagnol นั้นเป็นนักการละครละคร บทละครอันของเขามักถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เสมอ และเข้ามานั่งเก้าอี้ผู้กำกับเสียเอง แต่เสียงโห่ฮาป่าจากบรรดานักวิจารณ์มักเป็นสิ่งที่เขาได้รับเป็นของฝาก จนกระทั่ง Andre Bazin และ Francios Truffaut ที่เป็นแกนนำออกมาป่าวร้องแซ่ซ้องถึง ประกาศอิสรภาพให้แก่คุณค่าในงานของ Pagnol โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ metteur-en-scène หรือความเอกอุของผู้กำกับที่แกงค์กาเยส์ มักถูกนำมาอ้างถึงเขา ผลงานที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะนี้ไม่พ้น Jean de Florette ที่ภายหลังถูกนำมาสร้างใหม่โดย Claude Berri



Casque d’Or (1952) - Jacques Becker
Georgesช่างไม้ธรรมดาสามัญ ชีวิตต้องผกผันเมื่อพบรักกับ Marie สาวงามผู้มีสมญาว่า Golden Marie โดยหารู้ไม่ว่าสาวเจ้านั้นแท้จริงแล้วเป็นอนงคราญคู่กายของ Roland จอมอาชญากร การต่อสู้ในคืนหนึ่งของทั้งคู่นำไปสู่ความตายของ Roland ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่เป็นแผนของ Felix หัวหน้าแก็งส์ตัวฉกาจวางที่แผนกำจัด Georges ไปให้พ้นทาง

The Earrings of Madame de... (1953) - Max Ophuls
ด้วยหนี้สินส่วนตัวอันพอกพูน หญิงสูงศักดิ์ Madame Louise de... จำต้องขายชุดต่างหูสูงค่าอันเป็นของขวัญจากAndre ผู้เป็นสามี และแต่งแต้มเรื่องราวสู่การโจรกรรม โดยหารู้ไม่ว่าเมื่อข่าวสระพัดเป็นเหตุให้เพื่อนบ้านผู้รับซื้อไปต้องลักลอบนำมาขายคืนแก่เขา ซึ่งได้นำมันไปกำนัลแด่ Lola หญิงบ้านน้อยที่แอบไปมาหาสู่ แต่เธอก็มีอันต้องเสียมันไปกับการแพ้พนันกับ Donati ทูตชาวอิตาเลียนที่อยู่ระหว่างทางการเดินทางไปเยี่ยมเยียน Andre ที่ปารีส

Pepe le Moko (1937) - Julien Duvivier
Pepe le Moko เป็นอาชญากรตัวเอ้ที่กฏหมายหายใจรดต้นคอย่างยาวนาน แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่วายต้องแคล้วคลาดอยู่ร่ำไป ด้วยว่าเขานั้นกบดานอยู่ใน Casbah หมู่บ้านที่คดเคี้ยวซับซ้อนราวกับเขาวงกฏ แถมซ้ำยังรายรอบตัวด้วยเหล่าพรรคพวกตัวร้ายที่คอยปกป้องเป็นหูเป็นตา มีอยู่หนทางเดียวเท่านั้นที่จะตะครุบตัวคือล่อ Pepe ให้ออกมาจากที่แห่งนั้น แต่ก็ดูเหมือนว่าเขาจะระวังระไวยิ่งยวด จนกระทั่งPepe ได้พบและตกหลุมรัก Gaby สาวงามปารีเซียง Simane นักสืบผู้ด้านหนึ่งนั้นนับถือเขาอย่างจริงใจ และอีกด้านหนึ่งด้วยหน้าที่ก็ตามจับเขามาช้านานได้บังเกิดกลอุบายบางสิ่ง

Le Grand Jeu (1934) - Jacques Feyder
Pierre Martelหนุ่มเพลย์บอยไม่เอาถ่านถูกครอบครัวดัดนิสัยจากพฤติกรรมอันเอือมระอาด้วยการส่งตัวออกจากฝรั่งเศส เขาต้องลาจาก Florence แฟนสาวสุดรัก มุ่งหน้าเริ่มต้นชีวิตใหม่กับการเป็นทหารในต่างแดนในชื่อPierre Muller ที่นั่นเขาพบกับเพื่อนใหม่และรสชาติชีวิตที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน แต่กระนั้นความคนึงหายังทำให้เขาตกอยู่ในอาการซึมเศร้า จนเมื่อได้พบกับIrma สาวนักร้องประจำบาร์ผู้หน้าตาละม้ายคนรักเก่า จิตใจของPierreบังเกิดความรักอีกครั้ง และเมื่อภารกิจต่างแดนจบลงเขาวางแผนที่จะพาIrma กลับสู่ปารีสด้วย

Port of Shadows (1938) - Marcel Carne
บนถนนเส้นรกเรื้อมุ่งสู่เมืองท่าตอนใต้ Jeanชายหนีทหารผู้อับจนในชีวิต แต่ลึกๆกำลังมองหาหนทางแห่งโอกาส โชคชะตาได้เขียนบทแห่งความอารีย์และความแค้นเคืองไว้คอยท่าเขาแล้ว ในมุมมืดของตรอกแห่งหนึ่งเขาได้พบกับMichelle และได้กลายเป็นผู้ปกป้องของเธอ โดยต้องแลกกับอิสรภาพภายในจิตใจ

Le Crime de Monsieur Lange (1936) - Jean Renoir
เมื่อเจ้าของเจ้าของเดิมหายตัวหลบลี้หนี้สินคาราคาซังของสำนักพิมพ์ ทำให้ Lange นักเขียนนิยายคาวบอยตะวันตกในสังกัด ต้องกลายมาเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์อย่างไม่ได้ตั้งใจ เขาก่อตั้งสำนักพิมพ์ในรูปแบบของตนเอง ้กิจการดูท่าว่าจะไปได้ดี แต่แล้วเจ้าของเก่าก็กลับมาในคราบของพระลวงโลกและขู่กรรโชกส่วนแบ่ง
A Nous la Liberte (1931) - Rene Clair
สองคู่ซี้นักโทษ Louis และEmile ร่วมกันหลบหนีเล็ดลอดจากแดนลงทัณฑ์ ต่างคนต่างมุ่งหน้าสู่หนทางของชีวิตใหม่ของตน เวลาผ่านไปLouis กลายเป็นเจ้าของโรงงานร่ำรวยผู้ปฏิบัติต่อคนงานไม่ต่างจากเครื่องจักร อดีตขมขื่นยังคงตามมารังควาญ เมื่อ Emileอดีตเกลอแหกคุกได้ปรากฏตัว

Jour de Fete (1949) - Jacques Tati
ในหมู่บ้านสงบสงัดที่ทุกชีวิตก้าวย่างอย่างเรือเกลือ Francois บุรุษไปรษณีย์ผู้สุขีกับอาชีพรับส่งจดหมายและมีจักรยานคันโปรดเป็นเพื่อนรักผูู้ร่วมเอ้อระเหยเที่ยวท่องไปด้วยกัน ตราบจนการมาถึงของคณะนักท่องเที่ยวอเมริกันพร้อมกับม้วนฟิล์มที่ฉายภาพประสิทธิภาพและความแคล่วคล่องของไปรษณีย์อเมริกา เป็นเหตุให้ Francois ต้องกุลีกุจอมาปฏวัติงานของตนเองตามอย่าง

Four Bags Full (1956) - Claude Autant-Lara
ช่วงเวลาที่สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังครุกรุ่น นาซีเยอรมันสยับสยายปีกครอบงำฝรั่งเศส ความยากเข็น่ซ่านเซ็นไปทั่วหัวระแหง Martin อดีตคนขับแท็กซี่หาเลี้ยงปากท้องด้วยการลักลอบขนส่งเนื้อหมูข้ามเมือง เมื่อวันหนึ่งเขาพบกับ Grandgil ที่่แรกนั้นดูเหมือนจะอยู่ในสถานะแห่งหลีบเร้นไม่ต่างกัน ทั้งคู่ตกลงร่วมมือกันปฎิบัติภาระกิจขนหมูส่งเมือง โดยหารู้ไม่ว่าเค้ารางแห่งความวายป่วงกำลังก่อตัวรอท่าอยู่ ด้วยถูกตามรังควาญด้วยฝูงสนุขเจ้ากรรมตามกลิ่นคาวเนื้อ แถมซ้ำกับการหลบเร้นจากเงาเงื้อมถมึงทึงของเหล่านาซีจอมโฉด

เป็นที่รู้กันดีว่า Claude Autant-Lara รวมถึงสองมือเขียนบทนามอุโฆษแห่งยุคอย่าง Jean Aurenche และ Pierre Bost นั้นเป็นชื่อที่เหล่าลูกกรอกคะนองสำนักกาเยส์(โดยเฉพาะ Truffautที่จองเวรเป็นพิเศษ)นั้นจองล้างจองผลาญอย่างไม่เผาผีถึงความดักดานยึดติดอยู่กับบทประพันธ์โดยปราศจากการก้าวเดินที่พ้นไปจากการเอาตัวหนังสือยัดลงบนแผ่นฟิล์ม แต่ถึงกระนั้นก็ต้องเลี้ยงกลับ เมื่องานในยุคหลังของ Autant-Lara เช่น Journal d'une femme en blanc, Une femme en blanc se révolte ถูกนำมาปัดฝุ่นชื่นชมโดยเดอะแกงค์อีกครั้ง โดยเฉพาะ Four Bags Full ที่ดูเหมือนจะโดดเด่นเป็นพิเศษ และต่อมาภาพยนตร์เรื่องนี้และ Love Is My Profession ก็ถูกรวมอยู่ในหนังสือ The Films in My Life ของ Truffaut ถึงขนาดที่เขาได้กล่าวถึง Love is my Profession ว่าเป็นหนังจากชีวิตเขาเลยทีเดียว

The Love of a Woman (1953) - Jean Gremillon
ณ เกาะห่างไกล Marie หมอสาวถูกส่งตัวมาปฏิบัติหน้าที่ ด้วยเวลาไม่นานเธอได้เข้าไปเป็นขวัญใจของเหล่าหนุ่มเล็กใหญ่ จะมีก็เพียงแต่ Andre หนุ่มวิศกรผู้หลงทนงตนและพิศมัยในการทะเลาะวิวาทเท่านั้น ที่สามารถเดินเข้าสู่หัวใจของเธอ ขณะเดียวกันรูปรสอันเลอโฉมและความสามารถอันเอกอุของเธอเองก็กลับกลายเป็นตัวปัญหาที่ย้อนกลับมาระรานเป็นเงาตามตัว เมื่อผู้คนเริ่มพากันริษยาและตั้งแง่ต่อตัวเธอ ทั้งยังกับชายคนรักที่ระหองระแหงกันเรื่อยมา ทำให้ Marie ต้องเหยียบยืนอยู่บนทางแพร่งของการตัดสินใจ

Bad Liaisons (1955) - Alexandre Astruc
การปลิดชีวิตตนเองอย่างปริศนาของนายแพทย์ Danieli นำพาไปรับรู้เรื่องราวชีวิตรักขมขื่นของCatherineครั้งเก่าก่อน ผ่านปากคำการสืบสวนถึงเงื่อนงำการตายที่เธอให้ต่อนักสืบ ภาพแทนของหญิงสาวผู้หยัดยืนต่อสู้ฝ่ามรสุมรักอย่างทนงไล่เรียงผ่านภาพระลึกแห่งความทรงจำ

3.7.11

“ศิลปะตรรกะสังสรรค์” (Dialogic Exhibition) + Thunska's The Terrorists and Filmvirus' Morbid Symptom program

โครงการนิทรรศการ “ศิลปะตรรกะสังสรรค์” (Dialogic Exhibition)
ดำเนินงานโดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
21 กรกฎาคม ถึง 25 กันยายน 2554
ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

Dialogic Exhibition at BACC
21 July-25 September 2011
8th Floor, Bangkok Art and Culture Centre

ภาพยนตร์และงานศิลปะทุกอย่างในหอศิลป์

- ชมฟรี (Admission Free)


Dialogic Exhibition website - ข้อมูลหน้าเว็บ ตรรกะสังสรรค์ ที่เป็นทางการ: http://www.dialogicexhibition.com/content.php?p=216
BACC website - เว็บไซต์หอศิลป์กรุงเทพ ฯ : http://www.bacc.or.th/

Thunska and Friends’ Exclusive Stab!
In collaboration with FilmVirus Program at BACC


* The Terrorists VS Morbid Symptom by Filmvirus *

กำหนดรอบฉายดังต่อไปนี้ (Film Schedule) :

Special Exclusive Program

23 July 2011
3. 30 pm – The Terrorists (by Thunska Pansittivorakul / ธันสก พันสิทธิวรกุล) + Q & A กับ ธันสก พันสิทธิวรกุล และ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา (Filmsick)

และติดตามชม ภาพยนตร์ชุด “แก้หมัน” - Morbid Symptom (Filmvirus Program)

6 Aug 2011
2.30 pm – Introduction by วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา

The Old
3 pm - THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)
5 pm - THE SURROGATE MOTHER (Im Kwon Taek /1987 / South Korea)

20 Aug 2011

The New
3 pm - CRIA CUERVOS (Carlos Saura / 1976/ Spain)
5 pm - XALA (Ousmane Sembene /1975/ Senegal)

3 September 2011

Cannot be Born
3 pm - THE BROOD (David Cronenberg/ 1979/ Canada)
5 pm - NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS
(Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)

17 September 2011

Cannot Reconciled
3 pm - NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS
(Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)
5 pm - THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)

ข้อมูลภาพยนตร์ (Film Information)

The Terrorists
โอกาสดีเพียงรอบเดียวสำหรับผู้ชมชาวไทย ภาพยนตร์ก่อการปลดปลงหน้ากากสุภาพชนเรื่องล่าสุดของ ธัญสก พันสิทธิวรกุล ศิลปินเจ้าของรางวัลศิลปาธร ประจำปี 2550

THE TERRORISTS (Thunska Pansittivorakul / 2011 / Germany-Thailand)
17 ตอนของเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ถูกร้อยเรียงด้วยท่วงท่าของสารคดีเชิงทดลองตามถ่ายบุคคลไม่สำคัญ คนธรรมดา ประชาชนเดินดิน ที่เต็มไปด้วยเรื่องคลุมเครือความทรงจำลางเลือน ประวัติศาสตร์ที่รื้อสร้าง เรื่องลึกลับที่ยังคงหาคำตอบไม่ได้ หนังเริ่มด้วยภาพบนเรือหาปลา กับภาษาที่ฟังไม่เข้าใจ ผ่านแสงไฟฉายสำรวจสิ่งมีชีวิตกระดุกกระดิกหายใจท่ามกลางความมืดมิดในสวนยาง ไฟริบหรี่ที่ฉายชัดด้วยร่องรอยกระหายเลือดผ่านอดีตกาลที่ทิ้งให้ใครต่อใครกลายเป็น ผู้ก่อการร้าย
มาร่วมเป็นพยานสายตารับรู้ถึงภาพยนตร์พิษแรงร้อนเรื่องนี้ ซึ่งเข้าร่วมฉายในเทศกาลหนังชั้นนำมากมาย รวมทั้งเทศกาลหนังนานาชาติเมืองเบอร์ลินปีล่าสุด

(พร้อมสนทนากับผู้กำกับ ธัญสก พันสิทธิวรกุล และ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา aka Filmsick / ตัวแทนจากโปรแกรมภาพยนตร์ชุด “แก้หมัน” - Morbid Symptom ของกลุ่ม FilmVirus)

Officially selected for the following film festivals:
The 61st Berlinale, Germany-February 2011
The 13rd Buenos Aires Festival International de Cine Independente, Argentina-April 2011
The 2nd Distrital Cine Y Otros Mundos, Mexico-May 2011
The 6th Tel Aviv International LGBT Film Festival, Israel-June 2011
The 11th Era New Horizons International Film Festival Wroclaw, Poland-July 2011
The 32nd Durban International Film Festival, South Africa-July 2011
The 5th Cinema Digital Seoul Film Festival, South Korea-August 2011
The 15th Queer Lisboa, Portugal-September 2011
The 29th Torino Film Festival, Italy-November 2011

MORBID SYMPTOM: THE OLD IS DYING AND THE NEW CANNOT BE BORN

ครั้งหนึ่งหลายปีล่วงมาแล้ว นาย อ. (นามสมมติ) เคยกล่าวถึงเรื่องการสร้างครอบครัว ไว้ในทำนองที่ว่า ในอดีตแต่ครั้งบรรพกาลนั้นไอ้เรื่องการสร้างครอบครัวอะไรเห็นจะไม่มีอยู่หรอก ไอ้การแต่งงานมีลูกสืบสายพันธุ์อะไรนั่นก็เป็นเพียงเรื่องของมนุษย์เพศผู้ขี้หวงของ ที่เริ่มต้นคิดเอาว่าทรัพย์สมบัตินั้นเป็นของส่วนตน ไอ้ของที่ข้าหามาได้ตลอดเวลาที่ข้ามีชีวิตอยู่นั้น มันจะต้องเป็นของใครสักคนเมื่อข้าดับสูญไปแล้ว การสืบสายเลือดอะไรก็มีขึ้นมาในทำนองนี้แหละเพื่อนเอ๋ย เริ่มจากการแต่งงานเพื่อจะครอบครองผู้หญิงในฐานะสมบัติส่วนบุคคลที่จะเป็นของกลางของหลวงเสียมิได้ จิ๋มนี้มีเจ้าของ ครั้นเมื่อก่อนไอ้เด็กที่เกิดมาจากจิ๋มไม่มีเจ้าของนี่คงจะไม่รู้ว่าลูกใคร แต่ลองว่าข้าได้ครอบครองเจ้าของมดลูกแลครรภ์แล้วไซร้ เด็กที่ออกมาย่อมเป็นลูกข้าเลือดข้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แลไอ้เด็กคนนี้เอง(ต้องเป็นเด็กชายนะ เพราะถ้าเป็นเด็กหญิงครรภ์ของมันก็จะต้องตกเป็น ‘สมบัติ’ ของชายอื่น) ที่จะสืบทอดดำรงวงศ์เผ่าของข้าต่อไป

ไอ้การเสพสังวาส สุขสมอารมณ์หมาย มันก็ได้รับการยอมรับผ่านการแต่งงานด้วยเล่ห์กลมนต์คาถาทางการเมืองเฉกฉะนี้ละเพื่อนเอ๋ย แต่นี่ก็ฟังดูโสมมขมร้ายไร้หัวใจอยู่สักหน่อย แรกทีเดียวนั้นเขาก็มีข้อห้ามกฎเหล็กแค่เพียงอย่าเอาข้ามรุ่น(แม่) ต่อมาก็อย่าเอาพี่เอาน้อง แต่จะเอาเมียหลายคนนั้นหาผิดอะไรไม่ เพิ่งจะมาไม่นานนี้นี่เองที่ข้อห้ามกลายเป็นเรื่องจู๋เดียวจิ๋มเดียวผัวเดี่ยวเมียโดด ไอ้เพื่อนรัก การเสพสังวาสนอกสมรสนั้นจึงเป็นเรื่องแรงร้ายหน้าไหว้หลังหลอกที่แออัดยัดทะนานและเป็นข้อห้ามที่ใครก็แหกในสังคมเรานี้นั่นแหละ

ได้ฟังนาย อ. กล่าวดังนั้น นาย ก.(นามสมมติ) ก็ให้ฉุกคิดอะไรต่อมิอะไรต่อไปเช่นนั้น เขากระดกเหล้าเข้าปากอีกอึกใหญ่ระบายพ่นลมหายใจที่คละคลุ้งพลางกล่าวสำทับ ไอ้หยา เพื่อนเอ๋ย การสืบพันธุ์สิบสังวาสรายบุคคลของสูเจ้าก็ดำเนินการไปด้วยอาการประพิมพ์ประพายคล้ายกันในทางการเมืองอยู่นั่นแล การเสพสังวาสอันแสนสุขเพื่อมุ่งหมายนำไปสู่การให้กำเนิดอันแสนเศร้า แลระหว่างที่เขายังไม่ได้ตาย แลลูกชายยังไม่เถือกำเนิด สรรพสิ่งก็ปั่นป่วนไปด้วยอาการวิปลาสยากเยียวยา เด็กที่เกิดมาเพื่อสืบสายเลือดพ่อนั้นก็เป็นเช่นรูปแบบหนึ่งของการย้อนให้ตระหนักถึงจุดจบของตัวพ่อนั้นเอง เมื่อวันหนึ่งเขาจะเสื่อมสลาย ตายลงและถูกแทนที่ด้วยลูกชายที่จะมาฉกฉวยมรดก ของเขาไป กล่าวให้ง่ายเพศสัมพันธ์แสนหวานนำไปสู่การล่มสลายของตัวเขาเอง ตัวแทนของเขาที่เขาถูกสอนให้รักจะเป็นหอกข้าแคร่ทิ่มตำความไม่จีรังยั่งยืนของเขาเอง

นาย อ. ผู้ซึ่งร่วมร่ำดื่มกับนาย ก.มาแต่หัวค่ำ ในร้านเหล้าเหลาเหย่ชื่อ ‘ไร้กาลเวลา’ กระดกเหล้าอึกสุดท้าย แล้วกระซิบกระซาบชักชวนนาย ก.ไปตีกะหรี่ อันเป็นวิธีการเดียวที่จะ ‘สืบพันธุ์กับสตรีได้โดยไม่ต้องมีบุตร’ (เว้นเสียแต่ทั้งคู่กะจะได้กันเอง) ชายหนุ่มสองคนกอดคอลับตาไปบนถนนปูหินในค่ำคืนเฉอะแฉะมืดมิด

แลด้วยบทสนทนาไร้กาลเวลาเมื่อครู่นี้เอง FILMVIRUS จึงขอชวนท่านชมโปรแกรมภาพยนตร์ ว่าด้วยการสืบพันธุ์ สายเลือดสู่สิ้นโลก การดำรงวงศ์เผ่าผ่านทางเพศ และอาการวิปริตวิปลาสของความหมกมุ่นในการสืบสายพันธุ์ที่จะย้อนกลับมาทำลายตัวเองโดยไม่อาจตั้งใจและไม่ได้ควบคุม ! ในโปรแกรมภาพยนตร์ชุด ‘แก้หมัน!’ ? MORBID SYMPTOM : THE OLD IS DYING AND THE NEW CANNOT BE BORN

The Old

THE SEED OF MAN (Marco Ferreri /1969/ Italy)

เรื่องราวของคู่หนุ่มสาวในยุคสิ้นโลก ที่ประชาการส่วนใหญ่ล้มตายด้วยกาฬโรค ลอนดอนวอดวายไปกลางกองเพลิง ประเทศต่างๆ ถูกจัดระเบียบเข้มข้นด้วยการแบ่งโซน ระหว่างการเดินทาง พวกเขาถูกทหารจับไปทดลองบังคับให้กินยา ยึดรถและปล่อยให้เดินทางเดียวดายจนไปพบบ้านปลายขอบโลกที่เจ้าของนอนตายอยู่ที่หน้าบ้าน พวกเขาเข้ายึดบ้านริมชายหาดทำตัวประหนึ่งอาดัมกับอีฟ ฝ่ายหญิงเพาะปลูกทำเกษตรกรรม ส่วนฝ่ายชายหมกมุ่นอยู่กับการทำพิพิธภัณฑ์ที่จะเขียนประวัติศาสตร์ให้ลูกหลาน สืบสานงานวิทยาศาสตร์และศิลปะ โดยมีปัญหาเพียงข้อเดียวระหว่างทั้งคู่ นั่นคือฝ่ายชายต้องการมีลูกและฝ่ายหญิงไม่ต้องการ หรือบางทีการมีลูกจะนำมาถึงซึ่งวันสิ้นโลก

ภาพยนตร์โดย Marco Ferreri ผู้กำกับจอมวิปลาสชาวอิตาเลี่ยน ที่นำพาผู้คนกลับไปสู่อาดัมดับอีฟ ฉบับอะโพคาลิปส์ และผลไม้พิษชื่อบุตรธิดา

THE SURROGATE MOTHER (Im Kwon Taek /1987 / South Korea)

เรื่องราวในเกาหลียุคอดีต เมื่อครอบครัวขุนนางปัญญาชนไม่ว่าจะทำเช่นไรก็ไม่มีบุตรสืบสกุล พวกเขาจึงออกเสาะแสวงหาหมู่บ้าน มารดารับจ้าง อันเป็นหมู่บ้านห่างไกลที่มีแต่สตรีเพศ ประกอบอาชีพรับจ้างท้องแลกที่ดิน พวกนางจะรับจ้างท้องโดยให้เจ้าบ้านร่วมรักจนกว่าจะมีลูกหากเป็นบุตรชายเจ้าบ้านจะรับเอาไป แต่ถ้าเป็นธิดาน้อย ก็จะถูกส่งกลับหมู่บ้านมาสืบสายพันธุ์มารดารับจ้างต่อไป เด็กสาวที่ถูกเลือกก็เกิดมาในลักษณะเช่นนี้ เพียงครั้งแรกของการทำงานเธอก็ตกหลุมรักบ่วงสวาทของนายจ้างหนุ่มจนต้องถูกเฆี่ยนตี เจ้าบ้านจะเก็บเธอไว้ในห้องลับไม่ให้ใครเห็นตัว ภรรยาแท้ก็ต้องแสร้งท้องไปตามกัน แลมานั่งเฝ้าสามีมีอะไรกับ ‘หญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน’ นี้ และโดยไม่ต้องสงสัยเรื่องราวล้วนดำเนินสู่โศกนาฏกรรม

ฝีมือผู้กำกับรุ่นลายครามของเกาหลี อิมกวองเตีก เจ้าของผลงานหนังรางวัลเมืองคานส์ Chiwaseon

The New

CRIA CUERVOS (Carlos Saura / 1976/ Spain)

พ่อของเธอตาย ตายขณะมีกิ๊ก ตายต่อหน้าต่อตาหนูน้อยอันนาวัยแปดขวบ ที่เธอทำคือลูบศีรษะศพของพ่อ แล้วเก็บแก้วนมที่เธอผสมยาพิษเอาไว้ไปล้าง เธอเห็นแม่ที่ตายไปแล้วของเธอเดินไปเดินมา ป้าและยายของเธอ เข้ามาดูแลเธอแลพี่สาวน้องสาวแทนพ่อ วันหยุดปิดเทอมอันแสนหม่นเศร้าและชวนหวาดผวา สรรพสิ่งไหลปะปนกัน ความทรงจำขมขื่นเกี่ยวกับชีวิตของแม่ ผู้ซึ่งละทิ้งการเป็นนักเปียโนมาแต่งงานกับนายทหาร ป่วยไข้และตายอย่างลำพัง พ่อที่เจ้าชู้ ความจริงเกี่ยวกับป้าที่เข้มงวด อาการอมพะนำของเธอ ยายที่นั่งบนเก้าอี้รถเข็น ยาพิษที่แม่ทิ้งไว้ให้

ทุกสิ่งไหลปะปนกันเหมือนสีที่เปื้อนซึมเข้าหากัน อดีต ปัจจุบัน ความทรงจำ ภาพหลอน เหตุการณ์ปัจจุบันขณะ เพลงป๊อบ ความตาย ในหัวของเด็กอายุแปดขวบ
ภาพยนตร์สะท้อนภาพสเปนยุคปลายของนายพลฟรังโก้ พ่อแม่เชื้อชั่วไม่ยอมตายและบรรดาลูกสาวลูกชายที่กลับไม่ได้ไปไม่ถึง ภาพสะท้อนผ่านสายตาเด็กที่วิโยควิกล บนถนนประวัติศาสตร์ส่วนบุคคลอันหลอกหลอน

XALA (Ousmane Sembene /1975/ Senegal)

หลังจากปลดปล่อยเซเนกัลจากการครอบครองของเจ้าอาณานิคม หนึ่งในบรรดาท่านผู้นำ (ที่บัดนี้สมคบคิดกับเจ้าอาณานิคมเสียเองอย่างน่าชื่นตาบาน) ก็แต่งเมียหมายเลขสามเข้าบ้าน แต่เป็นคำสาปอันน่าสะพรึงกลัวไร้ที่มานั้นเองที่ทำให้เขากลายเป็นคนบ้อท่านกเขาไม่ขันไปเสียได้! อาจจะเป็นลมเพชรหึงของเมียหลวงและเมียน้อยหรือ หรืออาจะเป็นเพราะพวกคนจรหมอนหมิ่นที่มาหากินอยู่หน้าร้านขายของนำเข้าจากยุโรปของเขา (ป้าดโธ่! ท่าน น้ำที่ผมดื่มก็ต้องเอวียงแต่เพียงอย่างเดียวนะท่าน!)

เขาพยายามหาวิธีแก้อาการมะเขือเผาอย่างเอาเป็นเอาตาย ขณะที่ร้านชำและแผนจำนำข้าวก็ดูจะถดถอยด้อยค่าในสายตาผู้ร่วมขบวนการ ครั้งเมื่อถอนคำสาปสำเร็จเมียสาวก็ดันมีรอบเดือนเสียอีก ไอ้เรื่องจะได้กินตับนั้นอย่าหวัง จนถึงสุดทางที่เขาต้องกระเด้งออกจากคณะรัฐมนตรี ลูกสาวหัวก้าวหน้าก็ไม่ไยไพ แถมยังถูกพวกคนจรพาเหรดมาถ่มถุยกันถึงบ้านอีกนี่!

ภาพยนตร์โดยปรมาจารย์ภาพยนตร์แห่งแอฟริกา Osumane Sembene ที่อาศัยภาพร่างมะเขือเผาฉายเงาของปารกปฏิวัติจากเจ้าอาณานิคมที่ล้มเหลวระเนระนาดไม่เป็นท่าเสียจนน่าขบขันและขมขื่นยิ่ง

Cannot be Born

THE BROOD (David Cronenberg/ 1979/ Canada)

เรื่องของเมียสาวจิตแตกที่เข้ารับการบำบัดความโกรธจากด็อกเตอร์ลึกลับ ที่สามารถเปลี่ยนความโกรธให้เป็นเนื้อร้ายทางกายภาพ ได้ ระหว่างรักษาสามีก็คอยดูแลลูกสาวและสงสัยว่าเมียเขาอาจจะตบตีลูกในวันสุดสัปดาห์ แต่หมอก็ไม่ยอมให้พูดคุย ยิ่งรักษาก็ยิ่งรู้ว่าเธอคือลูกสาวของแม่ที่ตบตีเธอแต่เด็ก ความแค้นที่คั่งค้างถูกระบายออกมาให้หมอฟังจนหมดเปลือกในขณะเดียวก็บังเกิดผีเด็กฆาตกรลึกลับไล่ฆ่าผู้คนรอบๆ ตัวเธอ ทั้งแม่พ่อและอาจลามไปถึงผัว มีแต่สามีเท่านั้นที่จะยุติการให้กำเนิดเนื้อร้ายนี้ได้ และนั่นหมายถึงว่าต้องฆ่ากันให้ตายไปข้างหนึ่ง

David Cronenberg (Eastern Promises, A History of Violence) ผู้กำกับหนังสยองขวัญจอมเจ้าเล่ห์หลอกใช้แง่มุมของวิทยาศาสตร์การแพทย์มาอธิบายสันดานความเกรี้ยวกราด และการสืบพันธุ์ที่อันตรายของชายหญิงในหนังเรื่องนี้อย่างคมคายร้ายกาจ

NIGHT OF THE COUNTING THE YEARS (Shadi Abdel Salam /1969/ Egypt)

หลังจากพ่อของเขาตายลง เขาจึงเพิ่งรู้ว่าหมู่บ้านเล็กในภูเขาทรายของเขานั้นดำรงคงอยู่มาได้เพราะการลักทรัพย์สมบัติของฟาโรห์โบราณไปขาย เขาถูกพาไปขุดศพมัมมี่ในโตรกผา เพื่อหาของล้ำค่าไปขายพ่อค้าจอมเจ้าเล่ห์ที่ผูกพันแต่กับพ่อของเขามาเนาว์นาน ไกลออกไปในไคโร ทางการกำลังตามหาหลุมฝังศพของฟาโรห์ ลึกลับเมื่อสามร้อยปีก่อน พวกเขาเชื่อมั่นว่ามันอยู่ในภูเขาอันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านนี้นั่นแหละ

พวกเขาจึงพากันเดินเรือมาแสนไกลเพื่อตามหา ชายหนุ่มสับสนในฐานะหัวหน้าหมู่บ้าน เขาต้องต่อสู้กับพ่อที่ไม่ยอมตายในรูปของบรรดาผู้อาวุโสประจำเผ่า พ่อค้าใจคด และความอยู่รอดของหมู่บ้านไกลปืนเที่ยง กับมโนธรรมในจิตใจของเขาเองที่อยากจะยืนบนลำแข้งของตนเอง โดยมีศึกนอกเป็นเรือหลวงของทางการที่ทำสิ่งที่ถูกต้องคือการอนุรักษ์มัมมี่ แต่ก็แค่เอาทุกอย่างไปจากหมู่บ้านและทิ้งพวกเขาให้อดตายเองก็เท่านั้น

พูดได้โดยไม่ต้องสื่อสาร นี่คือหนังที่เหมาะกับการอธิบาย พ่อที่ไม่ยอมตายและลูกชายที่ไม่ได้เกิดซึ่งเหมาะเจาะเสียเหลือเกินหากจะเอามาทาบทับลงบนบริบทของสังคมไทย

ข้อมูลหน้าเว็บ ตรรกะสังสรรค์ : http://www.dialogicexhibition.com/content.php?p=216

1.7.11

ธันสก และ ฟิล์มไวรัส


โปรแกรมหนังชั้นเด็ด Thunska’s The Terrorists เร็ว ๆ นี้

26.6.11

โปรแกรมหนัง Weak Brutes: The Broken Ego of Men (ไอ้พันธุ์เปลี้ยอีโก้ปรอท)

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับ สำนักหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขอเชิญชม โปรแกรมภาพยนตร์

Weak Brutes: The Broken Ego of Men
aka The Decline of Patriarchy (ไอ้พันธุ์เปลี้ยอีโก้ปรอท)
ซึ่งว่าด้วยซากโทรมของวัฒนธรรมปิตาธิปไตย

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฏาคม และ 10 กรกฏาคม 2554 รอบแรกเวลา 12.30 น. และรอบสอง 14. 30 น. (โดยประมาณ) ฉายที่ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U 2 ของ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ตึกสีขาวสูงริมน้ำ - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

* ชมฟรี แต่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ประตูทางเข้าห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ *
โทรศัพท์ 02-613 3529 หรือ 02- 613 3530

ไม่ว่าหญิงชายจะมาจากคนละดาวเดียวกัน หรือมาจากดาวศุกร์ ดาวอังคาร ล้วนมากเรื่องมากลาย ตกลงจะสุขสมในการงัดข้อและทำร้ายเพศตรงข้ามกันเสมอไปใช่ไหม อย่าได้เริ่มเชียวกับการทำเล่นเกมหนุ่มหิ้วสาวแปลกหน้าแบบเรื่องสั้น “เกมโบกรถ” (The Hitchhiking Game) ของ มิลาน คุนเดอร่า หรือหลงว่าตัวเองเป็น จูเลียต บิโนช ที่อินจัดกับบทผัวเมียพิมพ์นิยมใน Certified Copy ของ อับบาส เคียรอสตามี่ ก็ถ้ารักจะมารยามายาตบจูบแบบหนังพิศาลกันแบบนี้ ไม่ว่าจะอยู่ยุคไหน ต่อให้เป็นเฟมินิสต์ยุคบุกเบิก หรือยุคโพสต์เจมส์บอนด์เชิดชูนายผู้หญิงกับบท “M” (จูดี้ เดนช์) ละก็นะ ตัวใครตัวมันดีฝ่า

เอาน่ะ มาดูหนังที่แสดงซากโทรมของวัฒนธรรมปิตาธิปไตย และกลเกมรัญจวนจิตที่ผู้หญิงสมยอมและเกริ่นนำ ปฏิบัติการทำร้ายตัวเองคาบลูกคาบดอกที่ไม่มีวันปะชุนรอยโหว่ที่กางเกงได้ ตราบใดที่ตูข้ายังเป็นตูข้าและยังเป็นตูข้าที่จะเอาทุกอย่างที่ขวางหน้า แต่ไม่อาจมอบอะไรคืนกลับ

หนังเรื่องอื่น ๆ ในหมวดรักร้ายชายหญิงที่ ควรหามาชมเพิ่ม เช่น La discrète (Christian Vincent), Marnie (Alfred Hitchcock) และ The Shape of Things (Neil La Bute) รวมทั้งเรื่องสั้นของ อลิซ มุนโร (Alice Munro) หลายเรื่องก็เข้าข่ายควรอ่านเป็นที่สุด


The Decline of Patriarchy Film Program
โปรแกรมหนังปะชุนกางเกง-กระโปรงแบบเอาไม่อยู่

3 July 2011

Marco Ferreri’s Cruel Game Double Bill

12.30 - Her Harem

2.30 pm - The Last Woman

10 July 2011

Men’s Unmendable Ego

12.30 - The Beguiled
2.30 pm - In The Company of Men

เรื่องย่อ

Her Harem (กำกับ / เขียนบท - Marco Ferreri)

เธอรักชายทั้งสามคน 3 ชาย 3 แบบ ที่ปากขยิบ ตาเผยอ อ้างว่า ควรมิควรแล้วแต่เธอพึงประสงค์ แต่สุดท้ายก็อยากจะกำหนดเธอไว้ในรูปแบบพิมพ์นิยมของผู้หญิง ครั้นหากเธอต้องการจะรักชายทั้งสามในเวลาเดียวกันล่ะ ฟ้าคงจะแตก ดินจะทลาย และ ผุดนิสัยแท้จริง

The Last Woman (กำกับ / เขียนบท - Marco Ferreri)

เฌราร์ด เดอปาร์ดิเญอ ซูเปอร์สตาร์เมืองน้ำหอมกับบทหนุ่มลูกติดที่ปากร้ายใจเร็ว และดิบหยาบในลักษณะเบบี้มาโช เกินกว่าที่จะซาบซึ้งในความละเอียดอ่อนของเพศหญิง ซึ่งต้องการความรักและการดูแลเอาใจใส่ และวันดีคืนดีเมื่อพบสัมพันธ์กับสาวน้อยนางหนึ่ง (ออร์เนลล่า มูติ) นั่นคือจุดเปลี่ยนที่หนุ่มมาโชทื่อมะลื่ออย่างเขาจะประจักษ์แจ้งในใจ

The Beguiled (กำกับ - Don Siegel)

หนังที่ คลิ้นท์ อีสต์วู้ด (Million Dollar Baby, Unforgiven) นำแสดงและอำนวยการสร้างเอง เป็นการพลิกบทบาทครั้งสำคัญของเขา จากบทปืนเดือดสันโดษ มาเป็นบททหารบาดเจ็บที่ตกอยู่ใต้การปฐมพยาบาลแบบใกล้ชิดของกลุ่มนักเรียนหญิงและครูทึนทึก

In The Company of Men (กำกับ / เขียนบท - Neil La Bute)

หนังเรื่องแรกของนักเขียนบทละคร Neil La Bute ซึ่งแสดงภาพหนุ่มนักบริหารใจโฉดสองคนที่โดนผู้หญิงทำร้ายหัวใจมา พวกเขาจึงรวมหัวกันหาเหยื่อสาวคนที่ดูจิตใจดีงามที่สุด เพื่อหักหาญเธอและทวงคืนอีโก้แตกสาแหรกของตัวเองคืน
สมควรดูเรื่องนี้ควบกับ The Shape of Things หนังหญิงแสบชายกระสันต์อีกเรื่องของ Neil La Bute (The Wicker Man)

22.5.11

โปรแกรมภาพยนตร์ Filmvirus: ความตายอันแสนสุข Death is Bliss

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับ สำนักหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขอเชิญชม โปรแกรมภาพยนตร์ ความตายอันแสนสุข (Death is Bliss) ร่วมชมภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความตายอันแสนหวานชื่นขื่นขมระทมชีวิตจากนานาชาติ 

ทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่วันที่ 5-26 มิถุนายน 2554 รอบแรกเวลา 12.30 น. และรอบสอง 14. 30 น. (โดยประมาณ) ฉายที่ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U 2 ของ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ (ตึกสีขาวสูงริมน้ำ - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ชมฟรี แต่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ประตูทางเข้าห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์)

โทรศัพท์ 02-613 3529 หรือ 02- 613 3530

โปรแกรมภาพยนตร์ ความตายอันแสนสุข 
 5/6/11
12.30 THE DEVIL , PROBABLY (ROBERT BRESSON/1977/FR)
14.30 DIARY OF A SUICIDE( STANISLAV STANOJEVIC/1972/FR)

12/6/11
12.30 SHE SPENT SO MANY HOURS UNDER THE SUN LAMP (PHILIPPE GARREL/1985/FR)
14.30 THE LAST TIME I COMMITTED A SUICIDE(STEPHEN KAY/1997/US) 

19/6/11
12.30 IN THE YEARS WITH 13 MOONS (R W. FASSBINDER/1978/GERMANY)
14.30 BLACK GIRL (OUSMANE SAMBENE/1966/SENEGAL)

26/6/11
12.30 LAST DAYS (GUS VAN SANT/2005/US)
14.30 THE REBIRTH (MASAHIRO KOBAYASHI/2007/JP)

เรื่องย่อ 

1. THE DEVIL , PROBABLY (ROBERT BRESSON/1977/FR)
เด็กหนุ่มในปารีสคนหนึ่งค้นพบว่าไม่ว่าเขาจะตั้งใจเรียน จะมีคนรัก หรือเข้าร่วมกับการปฏิวัติ อ่านไปฟังบทกวี การใช้ชีวิตเยี่ยงเสรีชน การถกปรัชญา การอ่านบทกวี หรือไปพบจิตแพทย์ เขาก็ไม่อาจเข้าใจในความอึดอัดขัดข้องของชีวิตได้ ยิ่งนานวันคำถามต่อชีวิตยิ่งรุมเร้าราวกับโรคร้ายที่ค่อยกัดกินเขาทีละน้อย และบางที ความตายเท่านั้นจึงเป็นทางออกที่แสนสุข 

ภาพยนตร์เรื่องท้ายๆ ของปรมาจารย์ ROBERT BRESSON ที่ตั้งคำถามต่ออาการของโรคปัจเจกชนนิยม ความเหนื่อยล้าประจำยุคสมัยได้อย่างแหลมคม ตรงประเด็น และยังคงความยอดเยี่ยมแบบน้อยได้มาก ของBRESSONไว้ครบถ้วน 

2. DIARY OF A SUICIDE( STANISLAV STANOJEVIC/1972/FR)
เขาเป็นไกด์ทัวร์นำเที่ยวเยี่ยมชมเกาะแก่งต่างๆ และเธอเป็นล่ามสื่อสารระหว่างเขาผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส บนเรือเขาตามจีบเธอ เธอบอกให้เขาเล่าเรื่องความงามให้เธอฟังเขาจึงเริ่มต้นเล่า ภาพประทับสีเดียวที่สะท้อนไปมาระหว่างเรื่องเล่าอีกจำนวนมาก จากนั้นเขาก็เริ่มเล่าเรื่อง เรื่องราวไม่ปะติดปะต่อ เรื่องของช่างภาพผู้ไม่อาจจะยิ้มได้ หรือชายที่ถูกสังหาร เรื่องของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รางวัลโนเบล เขาบริภาษสังคมอย่างรุนแรงผ่านจอโทรทัศน์ ไปจนถึงเรื่องการถูกกักขังในคุกห่างไกลโดยผู้คุมที่ไม่เคยหลับ และ เล่าถึงอัตวินิตบาตรกรรมของเขาเอง 

นี่คือหนังสุดประหลาดที่ไม่ปะติดปะต่อ หนังอาจจะเป็นชิ้นส่วนเล็กๆน้อยๆของหนังต่อต้านสงคราม การต่อสู้กับคอรัปชั่น การบันทึกความเศร้าของโลก ความไม่ปะติดปะต่อของมันไม่ได้ข้ามเฉพาะสถานที่ แต่ยังข้ามเวลาอีกด้วย 

3.  SHE SPENT SO MANY HOURS UNDER THE SUN LAMP (PHILIPPE GARREL/1985/FR)
ผู้กำกับหนุ่มสร้างหนังร่วมกับคนรักของเขา หนังซ้อนหนังที่ว่าด้วยคู่รักสองคู่ คู่หนึ่งในชีวิตจริง อีกคู่ในจินตนาการ และหนังเรื่องหนึ่ง ซึ่งเล่าผ่านความฝัน 5 ความฝัน หนังซึ่งว่าด้วยการสร้างหนังขึ้นด้วยวิธีการเดียวกับการถือกำเนิดของเด็กน้อย 

ภาพยนตร์ขนาดยาวขาวดำ ที่ปะปนกันทั้งเรื่องเล่า และความจริง เป็นทั้งบันทึกการสร้างหนัง โครงร่างความสัมพันธ์ของคู่รัก ไปจนถึงหนังผี และสารคดีบันทึกความเจ็บปวดต่อความตายอันปรากฏขึ้นในขณะนั้น (JEAN EUSTACHE ผู้กำกับร่วมรุ่นของ PHILIPPE GARREL ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ (ซึ่งนำแสดงเองด้วย) เสียชีวิตขณะเขาทำหนังเรื่องนี้ ภาพความเศร้าในหนังจึงเป็นภาพบันทึกความเศร้าอันจริงแท้ของตัว GARREL เอง) นี่คือหนังที่เลือนพรมแดนทั้งของเรื่องเล่า ของการทำหนัง และของบรรยากาศในห้วงขณะนั้นเข้าหากัน อย่างละเมียดละไมยิ่ง 

4. THE LAST TIME I COMMITTED A SUICIDE(STEPHEN KAY/1997/US) 
ภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นจากจดหมายสองสามฉบับระหว่าง NEAL CASSIDY และ JACK KEROUAC สองนักเขียนหนุ่มจากบุคยบีทนิค หนังเล่าเรื่องของนีล นักเขียนหนุ่มที่ไม่ประสบความสำเร็จ เขาทำงานหนักเพื่อสร้างครอบครัวกับ JOAN รักชั่วนิรันดร์ของเขา เขารักเธอมาก แต่เธอก็ฆ่าตัวตายอยู่ดี และเขาไม่สามารถเข้าใจได้ว่าทำไมเธอถึงทำ หลังฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ JOAN หนีไป ทิ้งเขาไว้กับเพื่อนนักเขียนแสนดีขี้เหล้า สาวอายุสิบหกที่เขาเริ่มจะหลงไหล และกวีหนุ่มที่น่าจะรักเขามากกว่าเพื่อน จนกระทั่งการกลับมาของ JOAN ทำให้สรรพสิ่งร่วงดิ่งลง

ว่ากันว่าตัวจริงของ NEAL CASSIDY คือต้นแบบของตัวเอกในนิยายบีทอมตะอย่าง ON THE RAOD ของKERUAC และนี่คือหนังที่บรรจงถ่ายทอดบรรยากาศของห้วงยามนั้นออกมาอย่างหมดจดงดงามยิ่ง 

5. IN THE YEARS WITH 13 MOONS (R W. FASSBINDER/1978/GERMANY)
ยังมีนิทานปรัมปราเล่าว่า มีคนบางจำพวกที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของดวงจันทร์ ปีใดที่เป็นปีของดวงจันทร์ผู้คนเหล่านั้นจะต้องทุกข์ทนทรมาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่มีดวงจันทร์ 13 ดวง ผู้คนเหล่านั้นจะเจ็บปวดทุกข์ทนจนถึงที่สุด และ ELVIRA ก็เป็นหนึ่งในนั้น ที่จริงเธอไม่ได้ชื่อ ELVIRA แต่ชื่อ ERWIN คนหนุ่มโรงฆ่าสัตว์ที่แอบหลงรัก ANTON เพื่อนร่วมงาน จนในที่สุดเขาตัดสินใจไปผ่าตัดแปลงเพศเพื่อหวังจะได้รับรักตอบกลับ หากที่ได้คืนคือการปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย ขณะนี้ ELVIRA อาศัยอยู่กับชายคนรักที่ทุบตีเธอ พวกเด็กหนุ่มที่เธอพบในสวนสาธารณะก็กระทืบเธอ ANTON ผู้ร่ำรวยก็ไม่เคยใส่ใจเธออีก ทั้งหมดดำเนินไปสู่โศกนาฏกรรมของคนที่เกิดแต่กรรมของจริง

ภาพยนตร์สุดแสนอ่อนไหว ท้าทายและกล้าหาญที่สุดเรื่องหนึ่ง RAINER WERNER FASSBINDER ว่ากันว่าเขาสร้างหนังเรื่องนี้เพื่ออุทิศให้กับคนรักของเขาที่ฆ่าตัวตายไป หนังเป็นทั้งคำสารภาพและการไถ่บาปที่ไม่อาจถอนได้ของตัวเขาเอง 

6. BLACK GIRL (OUSMANE SAMBENE/1966/SENEGAL)
เธอมาจากดักการ์ มากับชุดสวยและกระเป๋าเดินทาง มาพร้อมกับรองเท้าส้นสูง ต่างหูรูปดอกไม้ และความหวังเกี่ยวกับความมลังเมลืองของปารีส ที่ท่าเรือคุณผู้ชายมารับ เขาพาเธอใส่รถส่วนตัวกลับไปยังอพาร์ทเมนท์อุดอู้ ที่มีแค่ ห้องครัว ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ทำกับข้าวแบบเซเนกัลให้คุณนาย ชงกาแฟให้คุณนาย ไปจ่ายตลาดให้คุณนาย ปารีสนอกหน้าต่างห้องของเธอคือรีเวียร่า แต่ที่เหลือก็แค่ห้องครัว และคุณนายจู้จี้จุกจิก เธอมาปารีสเพื่อมาดูแลเด็ก แต่ไม่มีเด็กให้เธอดูแล มีแต่งานบ้านไม่หยุดหย่อน คุณนายไม่ชอบชุดสวยของเธอ เธอพูดกับคุณนายไม่รู้เรื่อง คุณนายบอกว่าถ้าเธอไม่ล้างจานก็ไม่ต้องกินข้าว แม่เธอเขียนมาหา คุณผู้ชายอ่านให้เธอฟังแต่เธอรู้ว่านั่นไม่ใช่แม่เธอ แม่เธอเขียนหนังสือๆ ไม่ได้ และเธอก็ด้วย คุณผู้ชายจะเขียนจดหมายตอบให้เธอ แต่เธอลุกขึ้นมาฉีกจดหมายทิ้ง เข้าห้องไปร้องไห้ และตัดสินใจจะพูดบ้างแล้ว

ภาพยนตร์โดย Ousmane Sambene หัวหอกคนสำคัญ ปรมาจารย์ของวงการหนังแอฟริกัน หนังของ Sambene อาจจะเล่าเรื่องตรงไปตรงมาแต่คมคายตัวประเด็นเข้มข้นจากชาติที่ตกเป็นอาณานิคมตัวจริงเสียจริง หนังของเขาทรงพลังทั้งเรื่องเล่าและประเด็นทางสังคมจนไม่อาจละเลย และ BLACK GIRL คือหนึ่งในตัวอย่างหนังชั้นยอดของเขา 

7.  LAST DAYS (GUS VAN SANT/2005/US)
เขาเดินเข้าไปในป่า กระโจนลงไปเล่นน้ำตก ย่ำค่ำผิงไฟในป่ากว้าง กู่ตะโกนเพียงลำพัง พึมพำกับตัวเอง ทำอาหาร สวมชุดชั้นในผู้หญิง หลับไป และตื่นขึ้น เล่นปืน นั่งเหม่อริมน้ำ อุ้มลูกแมว เขียนจดหมายลาตาย เล่นดนตรี ไปผับ และดับชีวิตตัวเอง นั่นคือทั้งหมดที่ปรากฏขึ้นในหนังนิ่งๆ ที่ว่าด้วยวันสุดท้ายของนักดนตรีร๊อคผู้หนึ่ง หนังซึ่งว่าด้วยความเศร้าน้อยๆ นิ่งเงียบ และสงบงามของความตาย

นี่คือหนังปิดไตรภาคความตายของ ผู้กำกับ gus van sant โดยทั้งสามเรื่องไดรับแรงบันดาลใจจากข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ และจบลงด้วย ความตาย ใน gerry เล่าเรื่องของชายสองคนนามเจอร์รี่ที่หลงทางอยู่ในทะเลทรายเวิ้งว้าง ( ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากข่าวของเด็กที่ติดอยู่ในทะเลทราย ) ตามด้วย elephant ที่เล่าเรื่องวันอันสงบในโรงเรียนมัธยม ก่อนที่จะสิ้นวันด้วยการที่เด็กนักเรียนคนหนึ่งเอาปืนมายิงเพื่อร่วมชั้น (ซึ่งแน่นอนได้แรงบันดาลใจจากคดีโรงเรียนมัธยม โคลัมไบน์ ) และในหนังเรื่องนี้เล่าเรื่องช่วงวันสุดท้ายของ เบลค นักดนตรีหนุ่มที่หนีออกจากคลินิคบำบัด และสิ่งที่เขาทำก่อนจบชีวิตตัวเอง (โดยหนังได้แรงบันดาลใจจากความตายของ เคริ์ท โคเบน แห่ง nirvana)

8. THE REBIRTH (MASAHIRO KOBAYASHI/2007/JP)
เด็กนักเรียนหญิงผู้หนึ่ง จ้วงแท้งนักเรียนหญิงอีกคนถึงแก่ความตาย กล่าวตามสัตย์สิ่งที่เราสนใจย่อมเป็นที่มาที่ไปของฆาตกร การฆาตกรรม อะไรทำให้เด็กสาวลุกขึ้นมาแทงเพื่อนตัวเองจนตาย แล้วหลังจากนั้น จะเกิดอะไรตามมาแต่สิ่งที่หนังเรื่องนี้สนใจคือเกิดอะไรขึ้นกับพ่อแม่ของเด็กสาวทั้งคู่หลังจากเหตุการณ์ซึ่งเขาและเธอไม่ได้มีส่วนร่วมแต่จำต้องแบกทุกข์ในไว้บนบ่าไปตลอดกาล หนึ่งปีผ่านไป เขาย้ายจากโตเกียวไปอยู่ที่ฮอกไกโด ทำงานเป็นคนงานในเหมือง ทุกวันเดินเรียงแถวไปยังหน้าเตาไฟ พักอาศัยในหอพักห้องแคบ อาบน้ำและกินอาหารในห้องรวมทุกอย่างอุบัติซ้ำ เขากลับมานอนอ่านหนังสือในห้องจนหลับไปวันใหม่วนซ้ำที่เดิม เธอก็อยู่ที่ฮอกไกโด ประกอบอาชีพแม่ครัว ก้มหน้างุดปอกมันฝรั่ง ทำไข่กวนที่ละฟองละฟอง ล้างถ้วยอาหารชุดที่เตรียมใส่ตู้ไว้สำหรับแขก บ่อยครั้งเธอตื่นกลางดึก ตอนเช้าเธอก็จะลุกไปทำไข่กวนอีก ปอกมันฝรั่งจัดวางอาหารชุดสำหรับชาวหออีกครั้ง

นี่คือหนังแห่งการจ้องมอง ตลอดเวลาผู้ชมจ้องมองตัวละครประกอบกิจวัตรประจำวันอย่างเช่นการกินอาหาร การอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า การทำงาน การขับรถ กระทั่งการนั่งเฉยๆ เหตุการณ์ไม่คืบหน้า ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกใดๆให้เห็น เรากำลังจ้องมองคนที่ตายไปแล้วครึ่งหนึ่ง พยายามลากอีกครึ่งหนึ่งของชีวิตอย่างถูลู่ถูกังไปตามถนนสำนึกบาปที่พวกเขาไม่ได้ก่อขึ้น  

27.4.11

“ความเศร้าของภูติผี” Teaser ชุด 1

เพิ่มอีกอันหนึ่ง หนังตัวอย่างแนะนำผลงานเรื่องแรกของ “โครงการหนังโดมิโน่ 4 สหาย”

“ความเศร้าของภูติผี” บทหนังของ แดนอรัญ แสงทอง กำลังเป็นแรงบันดาลใจให้ 4 คนทำหนังพัฒนาบทหนังยาวอยู่ในขณะนี้

นี่คือตัวอย่างฉบับย่อแนะนำเมืองหิมะ ส่วนหนังตัวอย่างฉบับยาวจะตามมาในเร็ววัน

อ่านรายละเอียดโครงการหนังโดมิโน่ที่ http://dominofilm.blogspot.com/


Domino Film Experiment Trailer - วีดีโอแนะนำโครงการหนังโดมิโน่

มาแล้ว หนังตัวอย่างแนะนำโครงการหนังโดมิโน่ 4 สหาย ของ ฟิล์มไวรัส

Domino Film Experiment Trailer

แนะนำ 5 นักเขียน 2 นักแสดง 4 ผู้กำกับ และทีมผู้สร้าง

อ่านรายละเอียดโครงการหนังโดมิโน่ที่ http://dominofilm.blogspot.com/

17.4.11

เทศกาลหนัง 15/15 ฟิล์มเฟสติวัล

ภาพวีดีโองาน 15/15 ฟิล์มเฟสติวัลนี้ไม่ได้เกี่ยวกับ โครงการ "ปฏิบัติการหนังโดมิโน่" แต่เป็นโครงการที่ ฟิล์มไวรัส เคยจัด และอยากให้คนเข้าใจว่าสปิริตของหนังโดมิโน่ ไม่ใช่การทำหนังยาวที่มุ่งให้ทุกองค์ประกอบสมบูรณ์แบบ หากแต่กระตุ้นให้เกิดไอเดียอิสระฉีดกระโจน เช่นเดียวกับที่หนังในเทศกาล 15/15 บางเรื่องเคยทำได้



15/15 ฟิล์มเฟสติวัล Australia -Bangkok เทศกาลหนัง 15/15 ฟิล์มเฟสติวัล เคยจัดสองครั้งในเมืองไทย โดย ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) เคยเป็นเจ้าภาพฝ่ายไทย ร่วมกับ สถานทูตออสเตรเลีย จัดประกวดหนังสั้นความยาวไม่เกิน 15 นาที ที่ถ่ายทำขึ้นภายใน 15 ชั่วโมง เปิดรับซองโจทย์ที่ต้องใช้ในภาพยนตร์ในตอนเช้า กิจกรรมนี้จัดขึ้นไล่เลี่ยกันภายในวันเดียวกัน พร้อมกันหลายประเทศทั่วโลก

15.4.11

หนังโดมิโน่ 4 สหาย - Bangkok Post


ข่าวงานหนังโดมิโน่ 4 สหายได้ลงใน Bangkok Post, 13 April 2011

http://www.bangkokpost.com/arts-and-culture/film/231749/small-money-big-names

13.4.11

ต้อนรับอีก 1 ในนักเขียนรับเชิญ Domino Film - อนุสรณ์ ติปยานนท์


ขอปรบมือต้อนรับด้วยความยินดียิ่ง อีกหนึ่งลายปากกาโดดเด่นของยุคนี้ คุณ อนุสรณ์ ติปยานนท์ นักเขียนเจ้าของผลงานเข้ารอบซีไรต์ และ ผลงานดังอย่าง เคหวัตถุ, ลอนดอนกับความลับในรอยจูบ, 8 ½ ริกเตอร์ และ นิมิตต์วิกาล ผู้ให้เกียรติตอบตกลงมาร่วมเป็น 1 ในนักเขียนรับเชิญหนัง Domino Film ถัดจาก คุณ ปราบดา หยุ่น (และก่อนหน้านั้น คุณ แดนอรัญ แสงทอง, คุณ สุชาติ สวัสดิ์ศรี และ คุณ อุทิศ เหมะมูล)

รายละเอียดความคืบหน้า บล็อกหนังโดมิโน่ http://dominofilm.blogspot.com/

12.4.11

ความคืบหน้า ปฏิบัติการหนังโดมิโน่ 4 สหาย

ความคืบหน้า ปฏิบัติการหนังโดมิโน่ 4 สหาย
Domino Film Experiment
โครงการหนังฟิล์มไวรัส

โปรดิวเซอร์ : ภาณุ อารี (ผู้สร้าง The Convert และ Baby Arabia)
ที่ปรึกษา: อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, ก้อง ฤทธิ์ดี, สมเกียรติ์ วิทุรานิช
คณะนักเขียนโดมิโน่ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี, แดนอรัญ แสงทอง, อุทิศ เหมะมูล และ ปราบดา หยุ่น
เจ้าของโครงการ : สนธยา ทรัพย์เย็น (Filmvirus)

ครั้งแรกในประเทศไทยที่นักเขียนระดับแนวหน้า รวมใจลงแขกกับนักทำหนังสั้นแบบไม่เกรงใจสูตรคร่ำครึ ปฏิวัติการดัดแปลงวรรณกรรมรูปแบบใหม่ ให้เป็นการด้นเกมแห่งเสียงอักษรไหลสุดขอบจินตนาการภาพ ด้วยโจทย์ต้นเรื่องของนักเขียนที่จุดประกายให้คนทำหนังสั้น 4 คน ต่อ-แต่งเรื่องเล่าตามใจชอบ เกิดเป็นหนังยาว 2 ชั่วโมงในวงเงินเพียง 5 แสนบาท ท้าทายการสร้างหนังในระบบธุรกิจ เพราะทุกคนสามารถมีสิทธิ์สนับสนุนหนังโดมิโน่ ด้วยการร่วมบริจาคทุนสร้าง 

ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่ บล็อก “ปฏิบัติการหนังโดมิโน่ 4 สหาย”
http://dominofilm.blogspot.com/

ด้วยความซาบซึ้งใจจากชาวฟิล์มไวรัส ขอขอบคุณ ปราบดา หยุ่น เจ้าของสำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น และ นักเขียนรางวัลซีไรต์ปี 2545 ที่ให้เกียรติตอบตกลงมาร่วมเป็น 1 ในนักเขียนรับเชิญหนัง Domino Film 

ผลงานเขียนเล่มล่าสุดของ ปราบดา หยุ่น รวมเรื่องสั้นชุด “ดาวดึกดำบรรพ์” (สำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น) และงานแปลนิยายคลาสสิกของ แอนโธนี่ เบอร์เจสส์ “คนไขลาน” (A Clockwork Orange) จากสำนักพิมพ์ไล้ท์เฮ้าส์ เล่มเดียวกับที่เคยทำเป็นหนังอื้อฉาวของ แสตนลี่ย์ คูบริค นั่นแหละจ๊ะ

22.3.11

ปฏิบัติการหนังโดมิโน่ 4 สหาย Domino Film Experiment

ปฏิบัติการหนังโดมิโน่ 4 สหาย
Domino Film Experiment

โครงการหนังฟิล์มไวรัส

โปรดิวเซอร์ : ภาณุ อารี (The Convert และ Baby Arabia)
ที่ปรึกษา: อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, ก้อง ฤทธิ์ดี, สมเกียรติ์ วิทุรานิช
คณะกรรมการบริหาร : สุชาติ สวัสดิ์ศรี, แดนอรัญ แสงทอง, อุทิศ เหมะมูล
เจ้าของโครงการ : สนธยา ทรัพย์เย็น (Filmvirus)

โครงการทำหนังแบบ “โดมิโน่” เปรียบได้กับการวิ่งหนังส่งไม้ 4 คูณ 100 โดยในแต่ละเรื่องนั้น เราจะเชิญนักเขียนผู้มีคุณวุฒิครั้งละ 1 ท่านเข้ามากำหนดโจทย์ ตัวละคร หรือโครงเรื่องคร่าวๆ ให้นักทำหนังสั้น 4 คน เข้ามาผลัดกัน แต่ง- ต่อ- เติม เกิดเป็นหนังสั้นความยาวตอนละประมาณ 30 นาที จำนวน 4 ตอนที่มีความสัมพันธ์รับส่งระหว่างกลุ่มตัวละครชุดเดียวกัน และเมื่อผนวกกิ่งก้านแตกต่างทั้งหมดจะเสริมเติมให้ได้หนังที่มีลำต้นมั่นคงเป็นเอกภาพ ความยาวเท่าหนังปกติประมาณ 2 ชั่วโมง 

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ ปฏิบัติการหนังโดมิโน่ 4 สหาย http://dominofilm.blogspot.com/

10.3.11

รวมฉายหนัง FilmVirus Shorts: Wildtype 2011: March/April


FilmVirus Shorts: Wildtype 2011: March/April


สถานที่ The Reading Room, สีลม ซอย 19 (อยู่ใกล้ร้าน Milk Plus ระหว่างร้านอาหารจีนและร้านอาหารอิตาเลี่ยน-ให้สังเกตว่าอยู่ตรงข้ามร้านหนังสือ B2s)

FilmVirus Shorts: Wildtype 2011 Screenings
Sat. March 19 & 26 and Sun. April 10, Admission Free 
from 1 pm (ตั้งแต่บ่ายโมงตรงเป็นต้นไป)

The Reading Room ร่วมกับ FilmVirus เสนอโปรแกรม FilmVirus Shorts: Wild Type 2011 โดยเป็นโปรแกรมหนังสั้นไทยโดยผู้กำกับรุ่นใหม่ ที่คัดเลือกโดยกลุ่ม FilmVirus โปรแกรม Wild Type นี้จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 19 & 26 มีนาคม และวันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน
รายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ Wild Type 

FilmVirus and The Reading Room presents "FilmVirus Shorts: Wild Type 2011
a compilation of short films from independent Thai filmmakers

Screening Saturdays March 19 & 26 and Sunday April 10, from 1pm
More info on Wild Type: www.facebook.com/wildtype.filmvirus and http://wildtype.filmvirus.com/

รายละเอียดโปรแกรมฉายภาพยนตร์ Wildtype

Sat. 19 March: THE FICTION Program

มหาลัยสร้างสรรค์ (ศุภณัฐ ชัยกล้าหาญ)30 mins no Eng. subs
SUPERSTITION (สิบแสง แสงวชิระภิบาล + ปรวงศ์ บุญช่วย /2009/ไทย) 6 mins (in english)
UNTITLED (สืบแสง แสงวชิระภิบาล + ปรวงศ์ บุญช่วย /2009/ไทย) 10 mins
SOCIAL FRAGMENTS STUDIES (สืบแสง แสงวชิระภิบาล + ปรวงศ์ บุญช่วย /2009/ไทย) 7 mins
L'ESCAPE (สืบแสง แสงวชิระภิบาล + ปรวงศ์ บุญช่วย /2009/ไทย) 3 mins
Dream (ศุภสิทธิ์ เสร็จประเสริฐ) 9 mins no Eng. sub
เวลา (ศุภสิทธิ์ เสร็จประเสริฐ ) 6 mins no subs
บทกวีใบไม้แดง (พงษ์พันธ์ ยืนชีวิต) 7 mins
แสงจันทร์ (พงษ์พันธ์ ยืนชีวิต/2009/ไทย) 14 mins no sub
มีหมาป่าที่ชั้นหนังสือ (ทศพล บุญสินสุข) 14 mins
เรื่องเล่าใต้ขอบฟ้า (ฑีมะเดช วัชรธินันท์ )10 mins eng sub
เพียงหลับไหลในเงามืด (ธีรนิต์ เสียงเสนาะ)16 mins no sub
ห้องทรมาน (Torture Room ) (ปฏิภาณ บุณฑริก) 23 mins
อัญญประกาศ (ธนกฤต กฤษณะยรรยง) 21 mins
ฉากที่ไม่ปรากฏ (สรยศ ประภาพันธ์) 8 mins eng sub
รักหลับ (เกรียงไกร วัฒนานิยม + อมรชัย ศิริรัตน์) 30mins
soulmate (สมคิด ใจศรี)
คำพิพากษาของความรัก(วชร กัณหา) 24 mins

Sat. 26 March: Documentary + The Underground Office Program

บันทึกการเดินทาง (Diary of the Journey ) ปัญจะ สายทอง 15 mins
ยาพิษ 3 ปิดเทอมใหญ่ รีวิวหนัง (เอกราช มอญวัฒ)20
เพื่อนรักเพื่อนร้าย (พิเชษ เสมอเชื้อ)25 นาที no subs
EARLY RETIRED (ฐากูร เข็มปัญญา) 30 mins no sub
Me and My Video Diary (ธนิ ฐิติประวัติ) 30 mins
BLUE BLANK(วชร กัณหา) 48 mins
สุดถวิลหา(วชร กัณหา)17 mins
RESIST 58 mins
FilmVirus (วชร กัณหา + ธีรนิต์ เสียงเสนาะ)12 mins

Sun. 10 April: Political Collect Program

HAPPEN ! (ทวีวิทย์ กิจธนสุนทร) 4 mins
BANGKOK TANKS (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์) 
แบบทดสอบวิชาการเมืองไทยร่วมสมัย (จุฬญานนท์ ศิริผล ) 8 mins 
คุณแม่อยากไปคาร์ฟูร์(นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์)
ครบรอบ 110 ปี ชาตกาล รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ (สรยศ ประภาพันธ์) 30 mins eng sub.
จดหมายของนายตาบอดสี (สรยศ ประภาพันธ์ ) 9 mins eng sub
กาลานุสติ (สิทธิพร ราชา)30 mins no sub
BANGKOK UFO (วินัย กิจเจริญ) 10 mins no sub
แกะแดง (สำนักงานใต้ดิน) 40 mins no sub
สมหวัง 2553 (นราชาย กัจฉปานนท์) 
ประวัติศาสตร์ย่อของความทรงจำ (จุฬญานนท์ ศิริผล) 14 mins

10.2.11

FilmVirus สะอึกกรามปลื้มจิตเสนอ Porndogs: The Adventures of Sadie

Filmvirus Movie Haha Special

ฟิล์มไวรัส ร่วมกับห้องสมุด The Reading Room และ เทศกาลหนัง Sydney Underground Film Festival ภูมิใจเสนอหนังอุบาทว์คลาสสิกป่วยใจสุดขีดตึ้บ 

Porndogs: The Adventures of Sadie
เจ้าของรางวัล Taboo Feature จาก เทศกาลหนัง Sydney Underground Film Festival 2009
และ รางวัลขวัญใจมหาชน จาก เทศกาลหนัง Minneapolis Underground Film Festival 2009

เสาร์ 26 กุมภาพันธ์ 2554, 2554, 7 pm (รอบเดียวเท่านั้น – 1 ทุ่มตรง)
ฉายที่ The Reading Room, เลขที่ 2 สีลม ซอย 19

เว็บไซต์ของ The Reading Room: http://www.readingroombkk.org/index.php

Admission Free as usual (ชมฟรี)

(พร้อมพูดคุยกับ ผู้กำกับ Greg Blatman in person!)

หมายเหตุ : บางภาพอาจกระทบกระเทือนผู้ใหญ่ที่ยังขาดจิตภาวะ * Not for - 18 (Minus 18) Brain Scan Level, Greenville Village Standard 

เรื่องของ แซดี้ หมาสาวซานฟรานใจแตกนางหนึ่ง กับลีลารักล้ำลึกที่ไม่มีวันจะลืมเลือน

เธอคือ โฮ่งสาวบริสุทธิ์ ซึ่งไม่เคยผ่านมือหมาหนุ่มรายใด พรั่งพรูไปกับประสบการณ์สวาทล้ำลึกเปลี่ยนชีวิต เมื่อได้พานพบรักแรกในหอแดง

Porn Dogs: The Adventures of Sadie งานกำกับจินตนาการบรรเจิดครั้งแรกของ Greg Blatman หนุ่มซานฟรานซิสโกที่มีแนวคิดพิลึกพิลั่น ใครที่ชอบหนังหมาน้อยน่ารัก หมาน้อยแสนดี แนว Beethoven, Benji, 101 Dalmatians, Scooby-Doo ดูเรื่องนี้อาจมีหงายหลังตึง เชิญมาเบิ่งการเผชิญโลกค้นพบประสบการณ์เซ็กส์ของสาวน้อยแซดี้ ที่สุดประเทืองจิต นี่มันหนังโป๊น้องหมาชัด ๆ แล้วมนุษย์มาสอดรู้ทำไมเนี่ย อะไรมันจะพิลึกกึกกือขนาดนี้ อุแม่เจ้า อุบาทว์คลาสสิก สางสำแดงลงองค์โดยแท้! John Waters would be proud of this!

แล้วเสียงพากย์หมาน้อยล่ะของใคร ราชินีวงการ Porn อย่าง Marilyn Chambers (จาก Deep Throat), อดีตแม่เล้า Heidi Fleiss และบรรดานักแสดงหนังโป๊ นักดนตรี นักแสดงตลกดังๆ หลายคน โอ มายก็อด

ข้อมูลจาก นิมิตวิกาล http://twilightvirus.blogspot.com/2009/09/little-gems-from-sydney-underground.html

อ่านข้อมูลหนัง PORNDOGSได้ที่เว็บไซต์ http://porndogsthemovie.com/

สางสะเด็ดโชว์-โปรแกรมหนังใต้ดินสุดพิเศษโดย ฟิล์มไวรัส -ส่งตรงจากเทศกาลหนัง Sydney Underground Film Festival

Sydney Underground Film Festival เทศกาลหนังใต้ดินจากเมืองซิดนี่ย์ ประเทศออสเตรเลียได้เปิดเสียวไปครั้งแรกตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2550 นับเป็นเทศกาลหนังที่รวมความดิบ ห่าม ประหลาดพิลึก และเป็นตัวของตัวเองจากคนทำหนังทั่วโลก รวมสางสำแดงทุกรส ตั้งแต่ อนิเมชั่น, สารคดี, ดราม่า, สยองขวัญ, คั้ลท์พิลึก, อวอง-การ์ด หรือหนังทดลองใต้ดิน เรียกได้ว่า รสเปรี้ยว แสบ มัน เค็ม มีหมด แต่อารมณ์เดียวที่หนังจากเทศกาลหนังแห่งนี้มีน้อย คือ ความหวาน

หากคนทำหนังไทยคนไหนสนใจอยากร่วมประกวดในปีนี้ 2554 ก็ขอเชิญสำรวจฌาปนกิจสถานได้ที่ http://www.sydneyundergroundfilmfestival.com/

สัมภาษณ์ผู้จัดเทศกาล ว่าด้วยกฏ กติกา และ แนะนำเทศกาลหนัง Sydney Underground Film Festival ที่ บล็อก นิมิตวิกาล (30 เมษายน 2551)

http://twilightvirus.blogspot.com/2008/04/sydney-underground-film-festival.html

ฟิล์มไวรัส ร่วมกับห้องสมุด The Reading Room และ เทศกาลหนัง Sydney Underground Film Festival ภูมิใจเสนอ

โปรแกรมฉายพิเศษจากเทศกาลหนัง Sydney Underground Film Festival ปี 2009 
คัดเลือกโดย Filmvirus ฉายที่ The Reading Room เลขที่ 2 สีลม ซอย 19
เว็บไซต์ของ The Reading Room: http://www.readingroombkk.org/index.php

เสาร์ 26 กุมภาพันธ์ 2554, รอบบ่าย 2 โมงตรง
Admission Free (ชมฟรี)

* บางภาพอาจกระทบกระเทือนผู้ใหญ่ที่ยังขาดจิตภาวะ * Not for - 18 (Minus 18) Brain Scan Level, Greenville Village Standard 

โปรแกรมหนังสั้นจากนานาประเทศ (ฉายไม่เรียงลำดับ)
(ภาพยนตร์ทุกเรื่องได้รับอนุญาตลิขสิทธิ์การฉายถูกต้องจากผู้สร้างและทางเทศกาลหนังซิดนี่ย์ อันเดอร์กราวนด์)

Removed (Hobart John Hughes) 5.50 นาที
The Dreaming Man (Amber Wright) 3.01 นาที
Split (Kitty Green) 8. 24 นาที
Partition for Obsolete Visuals (Emmanuela Prigoni) 3.35 นาที
Fyre (Maria Sinclair-Ferguson) 3.25 นาที
I Covered My Eyes (Paul Turano) 44. 31 นาที
A Field Guide for the Modern Uncircumcised Male (E. Aaron Ross) 10.58 นาที

Lash (Elka Kerkhofs) / 2008 / 5.27 นาที

รักต้องห้ามเลสเบี้ยน อิสลาม ไม้กางเขน จารึกภาษาอาหรับบนเรือนกาย

Blowback (David Hansen) 5.23 นาที

Lonely Girl (Kyle Evans) 3.44 นาที

La Casetta Di Marzapane (Claudio Centimeri) 18.07 นาที

Aqua / Ship (Merilyn Fairskye) 3.15 นาที
A Field Guide for the Modern Uncircumcised Male (E. Aaron Ross) 10.58 นาที
The Marina Experiment (Marina Lutz) 2009/ 18 นาที
Better Military Modelling (Jill Kennedy) 6.54 นาที

9.2.11

ภาพยนตร์ ฟิล์มไวรัส ที่ธรรมศาสตร์ กุมภาพันธ์-มีนาคม 2554

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
ชมฟรี Admission Free as usual!  
ณ ห้องกิจกรรมเรวัต พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน 2 ศูนย์บริการสื่อการศึกษา หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ทุกวันอาทิตย์ เวลา 14.00 น. (2 PM)

20 ก.พ. Tex Avery’s Screwball Classics
27 ก.พ. โปรแกรมหนังจาก Sydney Underground Film Festival (Program 2)
6 มี.ค. Foolish Wives by Eric von Stroheim
13 มี.ค. Queen Kelly by Eric von Stroheim
20 มี.ค. Tune in Tomorrow  
27 มี.ค. Surprise Film!  

Tex Avery’s Screwball Classics
การ์ตูนของ เท็กซ์ อเวอรี่ คงความคลาสสิกข้ามทศวรรษ ตัวละครประเภท หมาป่าเจ้าเล่ห์ หนูน้อยหมวกแดงสุดเซ็กซี่ ซินเดอเรลล่าอ้อนแอ้นแอ่นอนงค์ อาจจะทำให้คุณหวนไปมองการ์ตูนด้วยสายตาใหม่ ไม่เชื่อถามอาจารย์ ทรงยศ หรืออ่านหนังสือ “คุยกับหนัง” (ที่อาจารย์เขียน)

Sydney Underground Film Festival เทศกาลหนังใต้ดินจากเมืองซิดนี่ย์ ประเทศออสเตรเลียได้เปิดเสียวไปครั้งแรกตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2550 นับเป็นเทศกาลหนังที่รวมความดิบ ห่าม ประหลาดพิลึก และเป็นตัวของตัวเองจากคนทำหนังทั่วโลก รวมสางสำแดงทุกรส ตั้งแต่ อนิเมชั่น, สารคดี, ดราม่า, สยองขวัญ, คั้ลท์พิลึก, อวอง-การ์ด หรือหนังทดลองใต้ดิน เรียกได้ว่า รสเปรี้ยว แสบ มัน เค็ม มีหมด แต่อารมณ์เดียวที่หนังจากเทศกาลหนังแห่งนี้มีน้อย คือ ความหวาน (ส่วนหนึ่งของโปรแกรมที่ 1 นั้นแยกไปฉายในวันเสาร์ที่ 26 กุมภา ที่ The Reading Room เลขที่ 2 ซอย สีลม 19 ตั้งแต่เวลาบ่ายสองโมงและ 1 ทุ่มตรง - ตามเว็บไซต์ - http://www.readingroombkk.org/ ) 

(ภาพยนตร์ทุกเรื่องได้รับอนุญาตลิขสิทธิ์การฉายถูกต้องจากผู้สร้างและทางเทศกาลหนังซิดนี่ย์ อันเดอร์กราวนด์)

Dogra Shahab (Mr. Dogra)
กำกับโดย Gurpreet Singh, India, 24 นาที
สารคดีเกี่ยวกับคุณ Dogra วัย 84 ปี

I Covered My Eyes (2008)
กำกับโดย Paul Turano, 45 นาที

และหนังสั้นเรื่องอื่นๆ เช่น  
Split (Kitty Green) 8. 24 นาที
Fyre (Maria Sinclair-Ferguson) 3.25 นาที
Better Military Modelling (Jill Kennedy) 6.54 นาที
Removed (Hobart John Hughes) 5.50 นาที

Foolish Wives (1922)
เขียนบทดั้งเดิมและกำกับโดย Erich von Stroheim, USA, 140 นาที 

เรื่องราวของ เคาน์ วลาดิสลาฟ หนุ่มมาดผู้ดีมีสกุลนักปอกลอกสาวรวยทรัพย์ ที่สร้างอาณาจักรของตัวเองขึ้นมาที่มอนติคาร์โล งานกำกับและนำแสดงเองของผู้กำกับ เอริค ฟอน สโตรไฮม์ ที่เมื่อแรกสร้างเป็นหนังที่ลงทุนสูงที่สุด ณ เวลานั้น โดยผู้กำกับ ฟอน สโตรไฮม์ ต้องการให้หนังมีความยาวระหว่าง 6- 10 ชั่วโมง และฉายในช่วงเย็นของสองวัน แต่ถูกสตูดิโอสั่งหั่นเสียเรียบ

ในฉากนึ่งมีฉากที่ ฟอน สโตรไฮม์ กำลังอ่านนิยายที่ชื่อ Foolish Wives และชื่อนักเขียนบนปกหนังสือ (ที่ทำขึ้นมาโดยเฉพาะ) ก็คือชื่อของตัว ฟอน สโตรไฮม์เอง 

Queen Kelly (1929) (บูรณะฟิล์มและทำเพลงประกอบใหม่ปี 1985)
เขียนบทและกำกับโดย Erich von Stroheim, USA, 101 นาที 

หนังพิศรักแรงริษยาในรั้ววังออสเตรียของผู้กำกับ เอริค ฟอน สโตรไฮม์ ที่กลายเป็นข้อพิพาทให้ไล่ผู้กำกับออกกลางคัน โดยนักแสดงสาว กลอเรีย สวอนสัน และผู้อำนวยการสร้างถ่ายตอนจบใหม่เอง แต่แม้กระนั้นฝีมือเลื่องลือของ สโตรไฮม์ ก็ยังอื้ออึงและประสบความสำเร็จในยุโรป และกลายเป็นหนังคลาสสิกที่ฟ้ากลั่นแกล้งอีกหนึ่งเรื่อง 

ต่อมาคลิปบางตอนจากหนังเรื่องนี้กลับไปโผล่ในหนังคลาสสิกของ บิลลี่ ไวล์เดอร์ เรื่อง Sunset Boulevard (1950) ซึ่งทั้ง กลอเรีย สวอนสัน ในบทดาราฮอลลีวู้ดวัยชรา และ ฟอน สโตรไฮม์ กลับมาพบหน้ากันอีกครั้ง (คราวนี้เขามาในฐานะพ่อบ้านของเธอซึ่งมีความหมายสำคัญกับตัวเรื่อง)

Tune in Tomorrow (1990) 
กำกับโดย Jon Amiel, USA, 107 นาที (บรรยายไทย)

นำแสดงโดยพระเอกหล่อ คีนู รีฟส์ และ บาบาร่า เฮอร์ชีย์ (Portrait of A Lady) และ ปีเตอร์ ฟอล์ค (สารวัตรนักสืบโคลัมโบ) ดัดแปลงจากนิยายเรื่อง Aunt Julia and the Scriptwriter ของนักเขียนรางวัลโนเบลปี 2010 - Mario Vargas Llosa

Surprise Film!  
โปรแกรมพิเศษสุด

4.2.11

Filmvirus ร่วมกิจกรรมงาน "ฝังความทรงจำ" ฉายหนังโปรแกรม "ปีศาจเสรี"

Filmsick เป็นตัวแทน Filmvirus ส่งหนังไปร่วมงาน "ฝังความทรงจำ" ด้วย "ภูติผีแห่งอิสรภาพ" (The Phantom of the Liberty และเรื่องอื่น ๆ)

11 กุมภาพันธ์- 6 มีนาคม 2554 ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ

ศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2544

 
18:00 การแสดงดนตรี โดย กิติเดช บัวศรี + การอ่านบทกวี โดย อาจารย์สกุล บุณยทัต
 
18:30 ตัวแทนจาก Siam Inception Art and Culture Club (SIACC) กล่าวเปิดงาน
 
18:45 เสวนาประเด็น “Siam Inception Process กระบวนการปลูกสร้างความคิด ความเชื่อ ในสังคมไทย” กับ นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ ดำเนินรายการโดย พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ

 
เสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544
 
13:00 "Loss Project" โดย คานธี อนันตกาญจน์
 
17:00 ฉายภาพยนตร์เรื่อง Legacy (Gela Babluani + Temur Blabuani / 2006 / Georgia

 
อาทิตย์ 13 กุมภาพันธ์ 2544
 
13:00 "Loss Project" โดย คานธี อนันตกาญจน์
 
17:00 เสวนาประเด็น “ภาพยนตร์กับการเซ็นเซอร์” โดย อ.สาวตรี สุขศรี, ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์, อ.ธเนศ วงศ์ยานนาวา ดำเนินรายการโดย ไกรวุฒิ จุลพงศธร
 
19:30 ฉายภาพยนตร์สั้นและสารคดี: 
// "สัญญาของผู้มาก่อนกาล" โดย อภิชน รัตนาภายน 
// “Under the Bridge” โดย ธีระวัฒน์ มุลวิไล 
// "เราจะลืมได้อย่างไรในเมื่ิอเราไม่เคยจำ" โดย Sicksickpeople 
// “112” โดย ทุ่งสตรอเบอรี่ตลอดกาล 
// "ผ่านฟ้า" โดย ฮาเมอร์ ซาลวาลา 
// "This way!" โดย วสุนันท์ หุตเวช

 
จันทร์ 14 กุมภาพันธ์ 2544
 
19:00 ฉายภาพยนตร์เรื่อง MOTHER (Bong Joon-ho / 2009 / St. Korea)

 
อังคาร 15 กุมภาพันธ์ 2544
 
19:00 ฉายภาพยนตร์เรื่อง WALTZ WITH BASHIR (Ari Folman / 2008 / Israel)
 

พุธ 16 กุมภาพันธ์ 2544
 
19:00 ฉายภาพยนตร์เรื่อง PHANTOM OF LIBERTY (Luis Bunuel / 1974 / France)
 

พฤหัส 17 กุมภาพันธ์ 2544
 
19:00 ฉายภาพยนตร์เรื่อง L'ARGENT (Robert Bresson / 1983 / France)


ศุกร์ 18 กุมภาพันธ์ 2544
 
19:00 ฉายภาพยนตร์โปรแกรม Root Lab - Experimental Program: 
// "ปฐมบทแห่งการเริ่มใหม่(ของฉัน)" โดย วชร กัณหา 
// "MV รำวงวันสงกรานต์" โดย วรรษชล ศิริจันทนันท์ 
// "He in me" โดยกิตติคุณ กิตติโสวรรณ 
// "Reflect" โดย มัชฌิมา อึ๊งศรีวงษ์ 
// "ผู้หญิงที่ผัวหายในวันที่ 14 เมษา" โดย อรรถวุฒิ บุญยวง 
// "คำพิพากษา ของซาตาน" โดย เฉลิมเกียรติ แซ่หย่อง
 

เสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544
 
17:00 ฉายภาพยนตร์เรื่อง THE PARTY AND THE GUEST (Jan Nemec / 1966 / Czech)
19:30 ละคร "ฆาตกรรมในห้องเรียน" โดย กลุ่มละครประกายไฟ

 
อาทิตย์ 20 กุมภาพันธ์ 2544
 
15:00 ฉายภาพยนตร์เรื่อง Exit Through The Giftshop (Banksy / 2010 / UK)
17:00 เสวนาประเด็น “ลายเส้นกับภาวะสังคม” กับ ศักดา แซ่เอียว (เซีย ไทยรัฐ), วีระชัย ดวงพลา (The Duang), วรเทพ อรรคบุตร ดำเนินรายการโดย ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์
 

จันทร์ 21 กุมภาพันธ์ 2544
 
19:00 ฉายภาพยนตร์เรื่อง DOROTHY MILLS (Agnes Merlet / 2008 / Ireland)
 

อังคาร 22 กุมภาพันธ์ 2544
 
19:00 ฉายภาพยนตร์เรื่อง I FOR ICARUS (Henri Verneuil / 1979 / France)

 
พุธ 23 กุมภาพันธ์ 2544
 
19:00 ฉายภาพยนตร์เรื่อง MOTHER (Bong Joon-ho / 2009 / St. Korea

 
พฤหัส 24 กุมภาพันธ์ 2544
 
19:00 ฉายภาพยนตร์เรื่อง WALTZ WITH BASHIR (Ari Folman / 2008 / Israel)
 

ศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2544
 
19:00 ฉายภาพยนตร์โปรแกรม Root Lab - Documentary Program: 
// "ความทรงจำ เวลา และตัวฉัน" โดย นันทวัฒน์ จรัสเรืองนิล 
// "ลมหลง" โดย ยิ่งศิวัช ยมลยง 
// "บุคคลที่ตกค้างอยู่ในความทรงจำ" โดย เฉลิมเกียรติ แซ่หย่อง 
// "กาลานุสติ" โดย สิทธิพร ราชา 
// "ถึงแก่การกริยา" โดย อรรถวุฒิ บุญยวง 
// "ใครจะลืม" โดย วรรษชล ศิริจันทนันท์
 

เสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544
 
17:00 ฉายภาพยนตร์เรื่อง THE INVISIBLE EYES (Diego Lerman / 2010 / Argentina)
 
20:00 การแสดงเรื่อง "บ่อ" โดย จารุนันท์ พันธชาติ
 
20:20 การแสดงเรื่อง "Tribute to Dr.T" โดย ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์
 
20:30 การแสดงเรื่อง "ส่งวิญญาณ" โดย นิกร แซ่ตั้ง


อาทิตย์ 27 กุมภาพันธ์ 2544
 
17:00 เสวนาประเด็น “กวีกับการเมือง” กับ ซะการีย์ยา อมตยา, อ.สกุล บุณยทัต และ อ.อติภพ ภัทรเดชไพศาล
 
16:30 อ่านบทกวี โดยกลุ่ม Thai Poet Society
 
20:30 การแสดงดนตรี โดย 
// ฮาเมอร์ ซาลวาลา
// Cucumber The Killer
// เดือน จงมั่นคง
// Hello Minor
 

จันทร์ 28 กุมภาพันธ์ 2544
 
19:00 ฉายภาพยนตร์เรื่อง PHANTOM OF LIBERTY (Luis Bunuel / 1974 / France)
 

อังคาร 1 มีนาคม 2544
 
19:00 ฉายภาพยนตร์เรื่อง L'ARGENT (Robert Bresson / 1983 / France)
 

พุธ 2 มีนาคม 2544
 
19:00 ฉายภาพยนตร์เรื่อง DOROTHY MILLS (Agnes Merlet / 2008 / Ireland)
 

พฤหัส 3 มีนาคม 2544
 
19:00 ฉายภาพยนตร์เรื่อง I FOR ICARUS (Henri Verneuil / 1979 / France)
 

ศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2544
 
19:00 ฉายภาพยนตร์โปรแกรม Root Lab - Fiction Program:  
// "ตั้งแต่เกิด" โดย ปณพันธ์ ตั้งสมบูรณ์ 
// "เชลย แห่งความรัก" โดย วชร กัณหา 
// "มดลูกในตู้ปลา" โดย ณพรรธน์ ตรีผลาวิเศษกุล 
// "พิพิธภัณฑ์แห่งแสง" โดย เฉลิมเกียรติ แซ่หย่อง 
// “BLUE BLANK” โดย วชร กัณหา 
// "แล้วเราจะลืมมันอีกครั้ง" โดย ณพรรธน์ ตรีผลาวิเศษกุล 
// "พุทธรูป" โดย ธนชาติ ศิริภัทราชัย
 

เสาร์ที่ 5 มีนาคม 2544
 
17:00 ฉายภาพยนตร์เรื่อง S21 THE KHMER ROUGE KILLING MACHINE 
(Rithy Panh / 2003 / Cambodia)
 
19:30 ละคร "ฆาตกรรมในห้องเรียน" โดย กลุ่มละครประกายไฟ
 

อาทิตย์ 6 มีนาคม 2544
 
17:00 เสวนาประเด็น “สื่อกับอิทธิพลทางการเมือง” กับ จีรนุช เปรมชัยพร, ธิดา ผลิตผลการพิมพ์
 
20:30 การแสดงดนตรี โดย 
// Red Riot
// ภูมิจิต
// Desktop Error

3.2.11

Filmvirus Shorts: Wildtype Screenings 2011

Filmvirus Shorts: Wildtype Screenings 2011 ที่ The Reading Room สีลม ซอย 19  

ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554, 13:00น. เป็นต้นไป - 12 กุมภาพันธ์ เวลา 6:30 น.

Admission Free (as usual) !!! (ชมฟรีเช่นเคย)

Filmvirus ร่วมกับ The Reading Room ภูมิใจเสนอโปรแกรม “หนังสั้นไทยใจเถื่อน” FilmVirus Shorts: Wild Type 2011 

โปรแกรมหนังสั้นไทยโดยผู้กำกับรุ่นใหม่ ที่คัดเลือกโดยกลุ่ม FilmVirus โปรแกรม Wild Type นี้จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 5 และ 12 กมุภาพันธ์ และ ตลอดเดือนมีนาคม (สำหรับโปรแกรมในเดือนมีนาคม กรุณารออัพเดทอีกครั้ง)

รายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ Wild Type ดูได้ที่ Facebook page: www.facebook.com/wildtype.filmvirus และเว็บไซต์ : http://wildtype.filmvirus.com


FILMVIRUS SHORTS: WILD TYPE 2011

5 กุมภาพันธ์ 2554, 13:00น. เป็นต้นไป (วันนี้มีการเสวนาโดย ไกรวุฒิ จุลพงศธร และ Filmsick)

NEW AUTEURS - THE UNDERGROUND OFFICE
PROGRAM 1: EMANATED
โปรแกรม 1: สำนักงานใต้ดิน – เฟื่อง

เฟื่อง (วชร กัณหา+ ธนิ ฐิติประวัติ + ธีรนิต์ เสียงเสนาะ)28 mins 
เชลยแห่งความรัก (วชร กัณหา + ธีรนิต์ เสียงเสนาะ)30 mins 
ความทรงจำของเศษดาว (ธีรนิต์ เสียงเสนาะ)24 mins 
พายายหมอนไปชมสวน(วชร กัณหา)24 mins 
วันวิปริตไร้เงาดวงจันทร์( ธนิ ฐิติประวัติ)26mins 

NEW AUTEURS – CHALOEMKIAT SAEYONG
PROGRAM 2: Lumiere Factory
โปรแกรม 2: เฉลิมเกียรติ แซ่หย่อง – พิพิธภัณฑ์แห่งแสง

คำพิพากษาของซาตาน (Chay Gayvah-rar ‘n’ the Machupicchu) 20 mins 
สถานต่างอากาศ 24 mins 
บางคนที่ตกค้างอยู่ในความทรงจำ (History In the Air) 62 mins 
พิพิธภัณฑ์แห่งแสง (Employees Leaving the Lumiere Factory) 30 mins. 


12 กุมภาพันธ์ 2554, 13:00น. เป็นต้นไป

RAW CINEMA (116mins)

วันสบายสบายของน้องกร (กร กนกคีขรินทร์) 3 mins 
เตรียมใจ (กร กนกคีขรินทร์) 4 mins 
คนธรรพ์ (วิชชุพงษ์ สุขวิชัย) 20 mins 
อย่างน้อย (ไตรทศ เติมอาบศรี) 14 mins
ผ....สุดที่รัก (uncensored version) (ชวการ อ่ำสมคิด) 
ไสหัวไปตายซะ (ณัฐพันธุ์ บุญเลิศ) 20 mins 
รวมร่าง ( มนัสศักดิ์ คล่องชัยอนันต์) 3 mins 
แผลเป็น (อรรถวุฒิ บุญยวง) 12 mins 
กาลครั้งหนึ่งคิดถึงวันวาน (สิทธิพงษ์ ปัดชากาว) 10 mins 
กินข้าว (สิทธิพงศ์ ปัดชากาว) 13 mins 
วันที่ดวงจันทร์เข้ามาใกล้โลกมากที่สุด(วีระพงษ์ วิมุกตะลพ) 9 mins 

NEW AUTEURS - THE UNDERGROUND OFFICE
PROGRAM 2

อำพราง (ธนิ ฐิติประวัติ) 26mins
กระต่ายในดวงจันทร์ (วชร กัณหา) 3mins
ในเมืองร้อนกับค่ำคืนที่ว่างเปล่า (ธีรนิต์ เสียงเสนาะ) 50mins
Hunter the Bag (วชร กัณหา+ ธนิ ฐิติประวัติ) 17mins
ประถมบทแห่งการเริ่มต้นใหม่(ของฉัน) (วชร กัณหา) 16mins 
เพียงหลับไหลในเงามืด (ธีรนิต์ เสียงเสนาะ) 16mins 

Blog Archive

คนลักหลับ

My photo
Filmvirus เป็นนามปากกาเดิมของสนธยา ทรัพย์เย็น จากคอลัมน์ “นิมิตวิกาล” ที่ใช้ในนิตยสาร Filmview ปี 2537 ต่อมาในปี 2538 สนธยาได้ก่อตั้ง “ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์” หรือ DK.Filmhouse (Filmvirus) จัดฉายหนังด้อยโอกาสให้ผู้สนใจชมฟรี พร้อมจัดพิมพ์หนังสือด้านหนัง และวรรณกรรม ชุด Filmvirus / Bookvirus (ส่วนหนังสือ “คนของหนัง” ปี 2533 นั้นเป็นผลงานก่อนตั้งฟิล์มไวรัส) ส่วนผลงานอื่นๆ ปี 2548 เป็นกรรมการเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok , ปี 2552 กรรมการ Sydney Underground Film Festival, งาน Thai Short Film and Video Festival ของมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 1 และปี 2548-2549 เป็นเจ้าภาพร่วมจัดเทศกาลประกวดหนังนานาชาติ 15/15 Film Festival, Australia