9.1.14

รับสปอนเซอร์พิมพ์หนังสือ "นิมิตวิกาล” (bookvirus 14)

เปิดรับสปอนเซอร์พิมพ์หนังสือ BOOKVIRUS โครงการ 2

คุณช่วยให้วรรณกรรมแปลทางเลือกกำเนิดขึ้นได้ นี่คือโอกาสที่คุณคนอ่านเท่านั้นจะกำหนดเอง




ผลงานของนักเขียนอมตะระดับโลก จากฝีมือแปลของหลายท่านที่รู้จักกันดี

(ตีพิมพ์จำนวนจำกัดมาก)


บุ๊คไวรัสประกาศรับสปอนเซอร์ เพื่อจัดพิมพ์หนังสือ "นิมิตวิกาล” (bookvirus 14)

กำหนดระยะเวลาระดมทุน นับจากวันนี้ถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557
กำหนดหนังสือออกภายในเดือนมีนาคม 2557


ความเดิม: "นิมิตวิกาล" เดิมเป็นชื่อบทความเก่าของ สนธยา ทรัพย์เย็น ในนิตยสาร Filmview เมื่อปี 2537 เขียนแนะนำหนังคั้ลต์ หนังสยองขวัญ หนังอัศจรรย์แฟนตาสติกที่มีบรรยากาศหลอนลับแลเหนือธรรมชาติ โดยในการนำชื่อกลับมาใช้ครั้งนี้ เพื่อจัดกลุ่มรวมเรื่องสั้นแปลตามกลิ่นวิกาลแห่งแดนสนธยา



ก่อนหน้านี้คุณผู้อ่านจากสหกรณ์สามจังหวัดได้สนับสนุนให้ บุ๊คไวรัสจัดพิมพ์หนังสือ bookvirus 11 หรือ “3 อัญมณี” ในธีมเรื่องอัศจรรย์ดังกล่าว เป็นจำนวนหนึ่งร้อยเล่ม ทั้งนี้ปรากฏว่ายังมีผู้สนใจอยากได้หนังสือเล่มนี้อีกหลายท่าน เพราะเป็นผลงานชั้นครูที่หาอ่านที่ไหนไม่ได้อีก

ทางบุ๊คไวรัส ซึ่งไม่มีงบประมาณพอจะผลิตจำนวนมาก จึงอยากหาสปอนเซอร์เพื่อตีพิมพ์ขึ้นใหม่เป็นฉบับสำหรับจำหน่าย โดยจะเพิ่มเรื่องใหม่เข้าไปอีก 2เรื่อง รวมเป็น 5 เรื่องให้สมชื่อ “นิมิตวิกาล – 5 อัญมณี”


เรื่องสั้น 5 เรื่องที่จะปรากฏในหนังสือ “นิมิตวิกาล – 5 อัญมณี" (bookvirus 14)



ภาพเหมือนในกรอบรูปไข่ / เอ็ดการ์ อัลลัน โพ - แดนอรัญ แสงทอง แปล
ผู้สร้าง / นาธาเนียล ฮอร์ธอร์น - สุชาติ สวัสดิ์ศรี แปล
นิยายรักของอาภรณ์ชุดเก่า / เฮนรี่ เจมส์ - ภัควดี วีระภาสพงษ์ แปล
ห้องสีเหลืองกับผู้หญิงคนนั้น / ชาร์ล็อตต์ เพอร์กิน กิลแมน - จิระนันท์ พิตรปรีชา แปล
ชิงชัง / จอห์น เดวี่ส์ เบเรสฟอร์ด - ธิติยา ชีรานนท์ แปล


สนับสนุนโดยสั่งซื้อหนังสือ

  1. สั่งซื้อ 260 บาท จะได้รับหนังสือ 1 เล่ม (รวมค่าส่งไปรษณีย์)
  2. หากต้องการหนังสือกี่เล่ม ให้คูณตามจำนวนเลข 260 บาท
  3. โอนเงินที่บัญชีข้างล่าง แล้วแสดงสลิปการโอนเงินที่ inbox ของ Facebook: bookvirus & filmvirus หรือ filmvirus@gmail.com


พิเศษสำหรับผู้เลือกที่จะเป็นสปอนเซอร์


  • หากเป็นสปอนเซอร์ 3,000 บาท ขึ้นไป คุณจะได้รับหนังสือจำนวน 2 เล่ม และได้รับการลงชื่อของคุณในตัวเล่มด้วย ในฐานะผู้สนับสนุน

  • 35,000 บาท หรือมากกว่า (จำกัดเพียงหนึ่งท่านเท่านั้น) ได้รับหนังสือ 30 เล่ม (เล่มหนึ่งมีลายเซ็นจากคุณแดนอรัญ แสงทอง) ชื่อของคุณจะปรากฏอยู่ในหนังสือที่หน้าเครดิตหลักในตำแหน่งสำคัญ "ร่วมอำนวยการผลิตโดย...." รวมทั้งลงชื่อขอบคุณในบล็อก นิมิตวิกาล http://twilightvirus.blogspot.com, และ ฟุ้ง http://bookvirus50d.com
*** หมายเหตุ: หากเราเปิดขายหนังสือเล่มนี้ที่ใดหลังจากนี้ ราคาจะสูงขึ้นจากเดิม ***

========================================
รายละเอียดบัญชีธนาคารของบรรณาธิการบุ๊คไวรัส
สนธยา ทรัพย์เย็น ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า
บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 183-208740-2
หากโครงการนี้ได้รับความตอบรับดี "นิมิตวิกาล” 02 จะตามมา


ติดตามข่าวได้ที่เฟซบุ๊ค bookvirus & filmvirus ,บล็อก นิมิตวิกาล http://twilightvirus.blogspot.com, และ ฟุ้ง http://bookvirus50d.com

โปรแกรมหนัง V for Voting

V for Voting Program

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เชิญชม โปรแกรมภาพยนตร์ V for Voting

ทุกวันอาทิตย์ระหว่างวันที่ 12 มกราคม 2557 - 2 กุมภาพันธ์2557 ตั้งแต่เวลา 12:30 น. เป็นต้นไป

ณ ห้องเรวัต พุทธินันท์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุด ปรีดี พนมยงค์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0-2613-3530

ชมฟรี!!! (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณาแต่งกายสุภาพ)



พบกับ เกมการเมืองของผู้แทนสองพรรคหนักระดับรีเมคมหาภารตะในอินเดีย การลอบบี้ขยี้แหลกของการเลือกตั้งเจ้าพ่อในฮ่องกง หนังพรอพากันด้าต้านรัฐสภาโปรนาซีที่คนทำถูกประหารชีวิตหลังสงคราม การสนทนาประชาธิปไตยของ เด็กจีน ชีวิตรักนักการเมืองที่ต้องเลือกระหว่างการแก้ปัญหานอกระบบกับในระบบ และการดิ้นรนของกกต.อิหร่าน กับทีมโฆษณาพรรคการเมืองต้านปิโนเชต์ในชิลี 

ใช่นี้คือหลากหลายมุมมองของกลการเมืองเกมการเลือกตั้งที่เราท้าให้คุณชมแต่ไม่ข่มขืนให้คุณคิด จาก 12 มกรา ไปจนถึงวันเลือกตั้ง(ถ้ามี!)


12/1/2014

12.30 Rajneeti (2001, Prakash Jha, India)
14.30 Gulaal ( 2009, Anurag Kashyap, India)

19/1/2014
12.30 Election (2005, Johnnie To, HK)
14.30 Forces Occulties (1943, Jean Mamy, France) + Please Vote For Me ( 2007 , Weijun Chen ,China)

26/1/2014
12.30 Waking the Dead (2000 , Keith Gordon, US)
14.30 The Middle Of the World (1974 , Alain Tanner , Switzerland)


2/2/2014
12.30 Secret Ballot (2001, Babak Payami, Iran)
14.30 No (2012, Pablo Larrain, Chile)

Rajneeti (2001, Prakash Jha, India)



เราเคยฉายหนังเรื่องนี้ในโปรแกรมหนังอินเดียแล้ว แต่เราอยากฉายซ่้ำอีก เพราะนี่คือหนังที่พูดถึงกลไกล กลเกมของการเลือกตั้งอย่างถึงอารมณ์ งานดัดแปลงจากมหากาพย์มหาภารตะ เป็นหนังการเมืองทันสมัยที่เล่าความขัดแย้งภายในพรรคการเมืองเก่าแก่ เกิดแตกหักนำสู่การแยกตัวของสมาชิกพรรคไปก่อตั้งพรรคใหม่ ยิ่งการเลือกตั้งงวดเข้ามามากเท่าไหร่ การแย่งชิงคะแนนเสียงยิ่งดุเดือดเลือดพล่านมากเท่านั้นนี่ไม่ใช่แค่เกมการเมืองบนกระดานแต่เดิมพันด้วยชีวิตของอีกฝ่าย จนกว่าจะล้างบางให้ตายตกตามกันไปข้าง ตัวหนังถูกวิจารณ์หนาหูว่านำเหตุการณ์จริงทางประวัติศาสตร์การเมืองอินเดียมาใช้ ทั้งการลอบสังหาร ราชีพ คานธี นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของอินเดีย และการขึ้นสู่อำนาจของนาง โซเนีย คานธี ภรรยาชาวอิตาลีของนายราชีพ ที่เข้ามาเล่นการเมืองหลังสามีเสียชีวิต


Gulaal ( 2009, Anurag Kashyap, India)

สังคมการเมืองในมหาวิทยาลัยดุเดือดไม่แพ้สนามใหญ่ เมื่อผู้มีอิทธิพลมืดในท้องถิ่นหันมาหนุนหลังนักเรียนหนุ่มทุนผู้ทะเยอทะยาน ขึ้นสู่ตำแหน่งประธานนักศึกษา โดยไม่รู้เลยว่าเบื้องลึกในการเลือกตั้งสนามเล็ก จะพัวพันถึงธุรกิจมืด ฆาตรกรรม และการคอรัปชั่นในระดับรัฐ


Election (2005, Johnnie To, HK)

ผลงานขึ้นชื่อของตู้ฉีฟงที่สามารถส่งหนังแนวเจ้าพ่อฮ่องกงเข้าไปประกวดปาล์มทองคำที่เทศกาลหนังเมืองคานส์ได้สำเร็จ หนังว่าด้วยการชิงอำนาจกันในหมู่ของสมาคมลับเจ้าพ่อในฮ่องกงที่ต้องมีการเลือกผู้นำใหม่ทุก ๆ 2 ปี และเมื่อปีนี้เวียนมาบรรจบผู้ท้าชิงที่อยู่ในเกณฑ์ทั้ง 2 ต่างพากันขับเคี่ยว ล็อบบี้ ใช้อำนาจต่าง ๆ เพื่อปูเส้นทางที่มั่นคงให้กับตัวเองเพื่อไปสู่จุดสูงสุดของผู้นำสมาคม

Forces Occulties (1943, Jean Mamy, France)

หนังพรอพากันด้าผลิตโดยองค์กรพรอพากันด้านาซี ที่ทำในสมัยนาซียึดครองฝรั่งเศส ตัวหนังว่าด้วยนักการเมืองหนุ่มที่เปิดฉากด้วยการบริภาษนักการเมืองกลางสภาว่ามีแต่พวกนายทุนฉ้อฉลกับพวกซ้ายตกขอบ การเมืองรัฐสภาเลวระยำต่ำช้า ในที่นั้นเขาได้รับเชิญจากบรรดาอีลิทให้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งกลุ่มฟรีเมสัน ที่เป็นสภาประชาชนลับ อันเป็นตัวแทนของพวกคนชั้นสูง ผู้นำ สาขาวิชาชีพต่างๆ เขาได้รับตำแหน่งในนั้นและถูกคนในฟรีเมสันหลอกใช้ไปต่างๆนาๆ กระทั่งประชาชนรู้ว่าหรีเมสันมีส่วนในการควบคุมรัฐที่ฉ้อฉล ประชาชนเลยออกมาประท้วงรัฐและโดนยิงตายในการประท้วง พวกฟีเมสันรอดตัวไปเนียนๆและพยายามรวบรวมพลังภายในเพื่อชักนำฝรั่งเศสเข้าสู่สงครามต้านนาซี ทำไมพวกฟรีเมสันต้องทำหยั่งงั้น ก็เพราะมันเป็นพวกยิวชั่วร้ายน่ะสิเว้ย และใครก็ตามที่ขัดขวางฟรีเมสันมันผู้นั้นก้ไม่อาจรอด


เป็นที่ทราบกันว่าหลังสงครามJean Mamy ซึ่งก่อนจะทำหนังเรื่องเคยเป็นอดีตฟรีเมสันจริงๆแล้วกลับใจ ได้รับโทษประหารชีวิตใน้อหาสมคบนาซีขายชาติ



Please Vote For Me ( 2007 , Weijun Chen ,China)



สารคดีตอนหนึ่งในชุดสารคดี Why Democracy? ซึ่งประกอบไปด้วยสารคดี 10 เรื่อง เรื่องละประมาณ 1 ชม จาก 10 ประเทศทั่วโลก แต่ละตอนจะตั้งคำถามเกี่ยวกับประชาธิปไตยเช่น ประชาธิปไตยจำเป็นแค่ไหนถ้าคุณเป็นประชากรยากจน ? ทุนนิยมนี่ดีต่อประชาธิปไตยไหม ? มีเผด็จการที่ดีหรือเปล่า? ประชาธิปไตยแบบไหนเหมาะกับโลกศตวรรษนี่? ประชาธิปไตยดีต่อทุกคนจริงเหรอ? Please Vote For Me เป็นตอนจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่เปิดเรื่องด้วยการอธิบายคร่าว ๆ ว่าจีนปกครองแบบคอมมิวนิสต์มานานคำว่าการเลือกตั้งเป็นสิ่งผิดปกติในสังคมจีน แต่ในเมืองหวู่ฮานนี่โรงเรียนประถมจัดให้เด็ก ป.3 มีการเลือกหัวหน้าห้องครั้งแรกในประวัติศาสตร์โรงเรียนจีน โดยมีเด็ก 3 คนในห้องนี้เป็นตัวแทนที่จะได้รับเลือกตั้ง และหนังก็พาเราไปดูตัวเด็กผู้รับเลือกตั้งแต่ละคนว่าเตรียมตัวยังไง พ่อแม่ฝึกซ้อมวิธีหาเสียง และการพูดชักชวนเพื่อนฝูงให้ลงคะแนนตัวเองอย่างไร และกลั่นแกล้งดิสเครดิตอีกฝั่งยังไงด้วย!

ชมหนังตัวอย่างที่ http://youtu.be/i70Tqkm1lkQ


Waking the Dead (2000 , Keith Gordon, US)

เรื่องรักเศร้าของคู่รักสาวนักปฏิวัติกับหนุ่มอดีตทหารซึ่งทั้งคู่ฝันถึงการเปลี่ยนปลงโลก แต่ด้วยวิธีที่แตกต่างกันจนไม่สามารถมาบรรจบกันได้ เมื่อชายหนุ่มเชื่อมั่นในระบบ และสมัครลงรับเลือกตั้งเพื่อที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงโลกจากในระบบ ในขณะที่หญิงสาวปฏิเสธระบบการเมือง ด้วยเชื่อว่ามีแต่เรื่องชั่วร้ายเลวทราม และเลือกเป็นแอคติวิสท์อิสระ เพื่อต่อต้านระบบ ความหวังถึงการเปลี่ยนแปลงโลกของคนทั้งคู่นำมาซึ่งเรื่องรักจับใจที่ทำให้เรามองเห็นแต่ละด้านของระบบการเมืองได้อย่างน่าทึ่ง

The Middle Of the World (1974 , Alain Tanner , Switzerland)

เวลา: ปี1974 ในระหว่างโมงยามของความสามัญธรรมดา สามัญธรรมดาที่หมายถึงว่า ระหว่างเรื่องของชาติ ชนชั้น ระบบการเมือง การแลกเปลี่ยนทั้งหลายแหล่ไม่ได้นำเราไปสู่อะไรเลย ความหวังนั้นยังคงอยู่แต่มันได้ถูกทำให้เป็นสิ่งสามัญธรรมดาผ่านทางทัศนคติแบบเหมารวม ถ้อยความอธิบายความเกี่ยวกับความหวังถูกกลบฝัง เหลือเพียงถ้อยคำ วันเวลา และฤดูกาลเท่านั้นที่ยังคงเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรมากกว่านั้น

นี่คือประโยคเปิดของหนังเรื่องนี้ หนังที่เล่าเรื่อง112 วันของความรักของปอล วิศวกรหนุ่มที่กำลังจะลงสมัครเทศมนตรี และเอเดรียน่าสาวเสริ์ฟชาวอิตาเลี่ยนที่เดินทางมาหางานทำในเมืองเล็กๆนี้ ปอลผู้ซึ่งรู้แต่เพีงตัวเองต้องการอะไร กับเอเดรียนาที่เช่นกัน รู้เพียงแต่ว่าตัวเองไม่ต้องการอะไร นั่นทำให้ทั้งคู่รักกันและไม่ได้รักกันอีก ในโมงยามที่ความหวังค่อยๆดับสูญกลางปีเดือนที่เคลื่อนคล้อย

เรื่องมันมีอยุ่ว่า ปอลวิศวกรหนุ่มประจำโรงงานในเมืองได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนลงเลือกตั้งตำแหน่งนายกเทศมนตรีในนามของพรรคเสรีนิยม ด้วยภาพลักษณ์ของลูกชายชาวนา คนธรรมดาสมถะรักครอบครัวที่ใส่ใจในเหตุบ้านการณ์เมืองจะขอมาเป็นตัวแทนประชาชน ในเวลาเดียวกัน เอดรียน่าสาวอิตาเลียนที่สูญเสียสามีในอุบัติเหตุในโรงงาน บ้านโดนไฟไหม้จนทิ้งรอยแผลเป็นไว้บนใบบหน้าเล้กน้อยเป็นเหตุให้ต้องทำผมปรกหน้าตลอดเวลา โดยสารรถไฟมาสมัครเป็นสาวเสริ์ฟในเมืองนี้ เธออาศัยในห้องเช่าเล็กแคบที่ไม่มีห้องน้ำในตัว แต่มันเงียบ อบอุ่ม และมืดพอที่เธอจะใช้ชีวิตเงียบๆของเธอได้ กล่าวได้ว่าเธอพอใจกับชีวิตของเธอ หนังเล่าเรียงวันนับตั้งแต่ทั้งคู่ยังไม่รู้จักกันจนกระทั่งสรรพสิ่งสิ้นสุด ปอลพบเธอเมื่อครั้งแรกที่เขามาอาศัยร้านที่เธอทำงานหาเสียง เขาติดใจเธอ มากินกาแฟแอบมองเธอ และขอพบเธอดื้อๆ แรกทีเดียวพวกเขาเที่ยวไปในท้องทุ่งยะเยือกต้นฤดูหนาว ในที่สุก็ขยับความสัมพัธ์ลึกซึ้งในห้องเล้กที่เธอเอาโค้ตปิดหน้าต่างจนมืดสนิท พวกเขาร่วมรักกันครั้งแล้วครั้งเล่า ปอลไม่สนใจการหาเสียงมากกว่าการมาหาเธอ ใครต่อใครเห็นทั้งคู่อยู่ด้วยกัน ทั้งคู่หลงรักกันอย่ายิ่ง ปอลมองเห็นหนทางที่ทั้งคู่จะอยุ่ร่วมกัน เขาจะทำงานให้เธอออกจากคาเฟ่ ไปซื้อบ้านสวย ไปอยุ่ก้วยกัน แต่สำหรับเอเดรียน่า เธอแค่รักปอลในห้องเล็กๆของเธอ ปอลเกิดและเติบโตในเมืองที่อยู่ใจกลางโลก สำหรับเอเดรียน่า ห้องเล็กมืดิดและการร่วมรักกับปอลคือใจกลางโลก เมื่อมันสั่นสะเทือน มันจะไม่มีอนาคตที่ดีขึ้น มีแต่การพังทลายและการบอกลา

Secret Ballot (2001, Babak Payami, Iran)

ที่เกาะเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของอิหร่าน เกาะซึ่งห่างไกลจากความเจริญ ประชากรบนเกาะส่วนมาเป็นชาวอาหรับอันเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวเปอร์เซียน พวกเขาเหล่านี้อยู่กันมาเรื่อย ๆ ความเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอกไม่ค่อยกระทบอะไรพวกเขาเท่าไหร่ การเมืองระดับประเทศก็ดูจะห่างไกลและไม่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของพวกเขานัก จนวันนี้ทุกอย่างจะเปลี่ยนไป วันเลือกตั้ง กรรมการเลือกตั้งคนใหม่เป็นหญิงสาวไฟแรงได้เดินทางมายังเกาะแห่งนี้เพื่อตระเวนหอบหีบเสียงไปหาชาวบ้านทั้งเกาะเพื่อให้พวกเขาเลือกตั้ง แม้คนรอบข้างจะพากันดูแคลนเจตนารมณ์ของเธอแม้แต่เจ้าหน้าที่ทหารประจำเกาะที่ต้องคอยดูแลเธอก็ไม่คิดว่าความพยายามของเธอจะเปลี่ยนแปลงอะไร แต่กรรมการสาวคนนี้เชื่อว่าชาวบ้านบนเกาะทุกคนควรมีสิทธิที่จะเข้าถึงทรัพยากรทางการเมืองระดับชาติ แต่เธอก็ต้องเผชิญกับปัญหามากมายทั้งทางทัศนคติของชาวบ้าน เช่น ผู้หญิงควรมีสิทธิ์ออกเสียงทางการเมืองไหม ชาวบ้านไร้การศึกษาอ่านหนังสือไม่ออกควรจะโหวตได้ไหม ฯลฯ

No (2012, Pablo Larrain, Chile)

หนังจากชิลีที่สร้างขึ้นจากเหตุการณ์จริงในช่วงการเลือกตั้งปี 1980 ว่าด้วย เรเน่ หนุ่มนักโฆษณาที่ถูกจ้างให้มาทำแคมเปญการเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่พยายามจะเอาชนะพรรคของนายพลปิโนเชต์จอมผเด็จการครองอำนาจในชิลีมาอย่างยาวนาน แม้ประเทศจะอยู่ในภาวะกดดันและตัวเรเน่เองก็ถูกข่มขู่ต่างๆนาๆ รวมถึงการที่เขาเองก็อาจจะป็นอนุรักษ์นิยมน้อยๆเสียก้วยซ้ำ แต่เมื่องงานคืองานเขาก็ผลิดแคมเปญ โน! ที่กล่าวว่าไม่อีกแล้วต่อโลกเก่า ต่อชิลีแบบเก่า และมุ่งหน้าเปลี่ยนแปลงไปสู่ชิลีใหม่ที่ไม่มีสงคราม ไม่มีผเด็จาร มีแต่ความหวัง โดยใช้เทคนิคโฆษราที่เขาทำรับใช้ทุนนิยมมาชั่วชีวิตมาดัดแปลงมาขยายผล และแคมเปญนี้พุ่งเข้ากลางใขชาวชิลีอดทนที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง และนำมาสู่การเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ในชิลี

คนลักหลับ

My photo
Filmvirus เป็นนามปากกาเดิมของสนธยา ทรัพย์เย็น จากคอลัมน์ “นิมิตวิกาล” ที่ใช้ในนิตยสาร Filmview ปี 2537 ต่อมาในปี 2538 สนธยาได้ก่อตั้ง “ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์” หรือ DK.Filmhouse (Filmvirus) จัดฉายหนังด้อยโอกาสให้ผู้สนใจชมฟรี พร้อมจัดพิมพ์หนังสือด้านหนัง และวรรณกรรม ชุด Filmvirus / Bookvirus (ส่วนหนังสือ “คนของหนัง” ปี 2533 นั้นเป็นผลงานก่อนตั้งฟิล์มไวรัส) ส่วนผลงานอื่นๆ ปี 2548 เป็นกรรมการเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok , ปี 2552 กรรมการ Sydney Underground Film Festival, งาน Thai Short Film and Video Festival ของมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 1 และปี 2548-2549 เป็นเจ้าภาพร่วมจัดเทศกาลประกวดหนังนานาชาติ 15/15 Film Festival, Australia