5.8.07

ประวัติ dk filmhouse

ด ว ง ก ม ล ฟิ ล์ ม เ ฮ้ า ส์

( ฟิ ล์ ม ไ ว รั ส )

d.k. filmhouse (filmvirus)

ด้านการจัดโปรแกรมฉายภาพยนตร์

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) บ้านของหนังด้อยโอกาส ก่อตั้งโดย
สนธยา ทรัพย์เย็น ในปี 2538 ที่ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์
เดิมนั้นเคยเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมของร้านหนังสือดวงกมล
ซึ่งเป็นเครือข่ายร้านหนังสือเก่าแก่ ที่เคยจัดพิมพ์นิตยสารวรรณกรรม
ระดับตำนาน คือ โลกหนังสือ และวรรณกรรมแปลคลาสสิคจำนวนมาก

จุดประสงค์ของ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) คือเผยแพร่หนังนอกกระแสที่หาดูยากจากนานาประเทศ ซึ่งมักเป็นหนังที่ไม่มีชื่อเสียงมากนัก แต่เน้นเนื้อหาและความแปลกใหม่ของหนังเป็นหลักสำคัญ จัดฉายให้กับนักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปเข้าชมฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ระบบหนังที่จัดฉายมีทั้งฟิล์ม 16 มม., เลเซอร์ดิสค์, วีดีโอ และดีวีดี นอกจากนี้ยังตระเวนจัดฉายนอกสถานที่ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร ท่าพระจันทร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา, หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, สมาคมฝรั่งเศส, สถาบันเกอเธ่, ร้านอาหารเฮมล็อค, หอศิลป์เจ้าฟ้า, Bangkok Code (ถ. สาทร) และ อุทยานแห่งการเรียนรู้ทีเคปาร์คปัจจุบันจัดฉายให้ชมฟรีทุกวันอาทิตย์ ที่สำนักหอสมุดกลางปรีดี พนมยงค์ ห้องเรวัติพุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์


โปรแกรมพิเศษของ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส)


(สูจิบัตร งานหนังประหยัด)
เทศกาลปฏิบัติการหนังประหยัด (มิถุนายน 2542) จัดที่สมาคมฝรั่งเศส ฉายหนังทุนน้อย อาทิ
Bad Taste (ปีเตอร์ แจ็คสัน)
Funny Games (มิฆาเอล ฮาเนเก้)
Egg (หนังเนเธอร์แลนด์)
The Evil Dead (แซม ไรมี่)
Rendezvous in Paris (เอริค โรห์แมร์)
Two Daughters (สัตยาจิต เรย์)
The White Balloon (จาฟาร์ ปานาฮี)
Le Dernier Combat (ลุค เบซง)
Knife in The Water (โรมัน โปลันสกี้)

(ภาพจากงานหนังประหยัดที่สมาคมฝรั่งเศส)

พร้อมกับสนทนากับผู้กำกับ-ผู้อำนวยการสร้าง และนักวิจารณ์ชาวไทยอีกหลายชีวิต (ยุทธนา มุกดาสนิท, เป็นเอก รัตนเรือง, วิสูตร พูลวรลักษณ์, สนานจิตต์ บางสะพาน, คิง-สมจริง ศรีสุภาพ, อังเคิล, ปื๊ด, นนทรีย์ นิมิตรบุตร, สุทธากร สันติธวัช, นันทขว้าง สิรสุนทร, มโนธรรม เทียมเทียบรัตน์, สิทธิรักษ์ ตุลาพิทักษ์ - ดำเนินรายการโดย ทรงยศ แววหงษ์)

เทศกาลหนังนับญาติสถาบัน สมบัติภาพยนตร์ฝรั่งเศส – เยอรมัน (พฤษภาคม – มิถุนายน 2544)
จัดฉายหนังรอบพิเศษ เรื่อง Life as a Fatal Sexually Transmitted Disease
โดยได้รับเกียรติจากผู้กำกับหนังชื่อดัง Krzysztof Zanussi มาร่วมพูดคุยถึงผลงานของตัวเองด้วย

เทศกาลหนังรอยวรรณกรรมบนผืนฟิล์ม (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2545)

เทศกาลหนังสั้นนานาชาติ 15/15 Film Festival ร่วมกับประเทศออสเตรเลีย (ประกวดทำหนังความยาวไม่เกิน 15 นาที
โดยต้องทำทุกกระบวนการเบ็ดเสร็จภายใน 15 ชั่วโมง!) จัดฉายที่ TK Park และ หอศิลป์เจ้าฟ้า

งานฉายหนังร่วมกับสถานทูตต่างๆ เช่น สถานทูตโปแลนด์, สถานทูตเชก, สถานทูตอิตาลี่, สถานทูตเยอรมัน,สถานทูตฝรั่งเศส และสถานทูตออสเตรเลีย เป็นต้น

สื่อสิ่งพิมพ์หรือนิตยสารที่ สนธยา ทรัพย์เย็น ร่วมเขียน

นิตยสารหนังและวีดีโอ ตั้งแต่ ปี 2533
นิตยสารฟิล์มวิว ตั้งแต่ ปี 2535
นิตยสารดอกเบี้ยการเมือง รายสัปดาห์ ปี 2536
ส่วนข้อเขียนตามวาระมีใน Pulp, รหัสคดีฉบับพิเศษ, ไบโอสโคป, กรุงเทพธุรกิจ, คนมีสี รายปักษ์วิจารณ์,
บทความแนะนำงานในหนังสือประกอบงานเทศกาลภาพยนตร์ทดลอง Bangkok Experimental Film Festival ครั้งที่ 2, Freeform, Esquire, พ็อคเก็ตบุ้ค Open House 4, นิตยสาร Filmax ฉบับที่ 2 และ วารสาร "อ่าน"

หนังสือภาพยนตร์ (และหนังสือวรรณกรรม) ในเครือ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส)
โดยมี สนธยา ทรัพย์เย็น เป็นทั้งบรรณาธิการ และผู้เขียน

ปี 2533 คนของหนัง (ร่วมกันเขียนหลายคน)
ปี 2541 คุยกับหนัง (เขียนโดย อ.ทรงยศ แววหงษ์ – บรรณาธิการโดย สนธยา ทรัพย์เย็น)
ปี 2541 ฟิล์มไวรัส คู่มือผู้บริโภคหนังนานาชาติ (ร่วมกันเขียนหลายคน)
ปี 2542 สูจิบัตร เทศกาล ปฏิบัติการหนังประหยัด
ปี 2545 ฟิล์มไวรัส เล่ม 2 (ร่วมกันเขียนหลายคน)
ปี 2547 บุ๊คไวรัส 1 : A-Z หนังวรรณกรรม
(รวม 262 หนังนานาชาติที่สร้างจากหนังสือของนักเขียน 129 คน)
ปี 2547 บุ๊คไวรัส 2 (ร่วมกันเขียนหลายคน)
ปี 2549 151 CINEMA (ร่วมเขียนกับ ธเนศน์ นุ่นมัน และ อุทิศ เหมะมูล)
ปี 2549 ฟิล์มไวรัส เล่ม 3 ฉบับอีสาวกายสิทธิ์ (ร่วมกันเขียนหลายคน)
ปี 2549 ฟิล์มไวรัส เล่ม 4 ฉบับสางสำแดง : รวมหนังคัลท์ และหนังสยองขวัญระดับอุบาทว์คลาสสิค (ร่วมกันเขียนหลายคน)
ปี 2550 ฟิล์มไวรัส เล่ม 5 (ฉบับปฏิบัติการหนังทุนน้อย)
ปี 2550 The 8 Masters (8 ผู้กำกับภาพยนตร์ระดับครู) (ร่วมกันเขียน 4 คน)

กันยายน 2550 Unknown Forces (สัตว์วิกาล: ภาพเรืองแสงของ อภิชาติพงศ์ วีรเศรษฐกุล)

ปี 2552 หนังสือเรื่องสั้นแปล BookVirus เล่ม 3 (กาจับโลง), BookVirus เล่ม 4 (สนธิสัญญาอสูร), BookVirus เล่ม 5 (นางเพลิง)


ปี 2553 ปฏิบัติการหนังทุนข้ามชาติ: ตำรับหนังไทยโกอินเตอร์ (หนังสือเกี่ยวกับคนทำหนังไทยที่ได้รับเงินทุนต่างประเทศเพื่อสร้างภาพยนตร์ไทย - ในเล่มมีบทสัมภาษณ์คนทำหนังไทย 12 คน และบทความแนะนำหลักการขอทุนจากต่างชาติ)

เดอะ เว็นดิโก้ อสูรไพรทมิฬ - นิยายขนาดสั้นของ Algernon Blackwood (ถอดความโดย แดนอรัญ แสงทอง) Bookvirus จัดพิมพ์ร่วมกับ สำนักพิมพ์ openbooks

The Malady of Death (La Maladie de la Mort) นิยายขนาดสั้นของ Marguerite Duras (ถอดความจากภาษาฝรั่งเศส) Bookvirus จัดพิมพ์ร่วมกับ วารสารอ่าน

โครงการในอนาคต: เมษายน 2560 Sculpting in Time (อังเดร ทาร์คอฟสกี้) (เล่มสุดท้ายของฟิล์มไวรัส)

ผลงานอื่นๆ ของกลุ่มฟิล์มไวรัส
คอลัมน์ประจำเกี่ยวกับศิลปะหลายแขนงในเว็บไซต์ http://www.onopen.com/ คอลัมน์ Artvirus

คนมีสี (Vote) รายปักษ์สัปดาห์วิจารณ์

หมายเหตุ : ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) เป็นเพียงหน่วยงานอิสระที่เผยแพร่ศิลปะทางภาพยนตร์ ให้สาธารณะชนได้ชมฟรีเท่านั้น โดยไม่เคยมีส่วนได้ส่วนเสีย หรือมีส่วนร่วมทางธุรกิจค้าขาย หรือให้เช่า ดีวีดีหนังทุกประเภทกับร้านค้าใด ๆ ในประเทศไทย

No comments:

Blog Archive

คนลักหลับ

My photo
Filmvirus เป็นนามปากกาเดิมของสนธยา ทรัพย์เย็น จากคอลัมน์ “นิมิตวิกาล” ที่ใช้ในนิตยสาร Filmview ปี 2537 ต่อมาในปี 2538 สนธยาได้ก่อตั้ง “ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์” หรือ DK.Filmhouse (Filmvirus) จัดฉายหนังด้อยโอกาสให้ผู้สนใจชมฟรี พร้อมจัดพิมพ์หนังสือด้านหนัง และวรรณกรรม ชุด Filmvirus / Bookvirus (ส่วนหนังสือ “คนของหนัง” ปี 2533 นั้นเป็นผลงานก่อนตั้งฟิล์มไวรัส) ส่วนผลงานอื่นๆ ปี 2548 เป็นกรรมการเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok , ปี 2552 กรรมการ Sydney Underground Film Festival, งาน Thai Short Film and Video Festival ของมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 1 และปี 2548-2549 เป็นเจ้าภาพร่วมจัดเทศกาลประกวดหนังนานาชาติ 15/15 Film Festival, Australia