11.9.10

จากโลกของคนกระจอก : หนังและวรรณกรรมบนพื้นที่ของสามัญชน- วารสารอ่าน และ ฟิล์มไวรัสออนทัวร์


จากโลกของคนกระจอก : หนังและวรรณกรรมบนพื้นที่ของสามัญชน

จัดโดย วารสารอ่าน และ ฟิล์มไวรัส

ที่ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช

พฤหัสบดี 16 กันยายน 

10.00-12.00 ฉายหนัง Kaki Bakar/The Arsonist (U-wei Haji Saari, 1995, Malaysia, 70 นาที) + กระเป๋านักเรียนของหงสา

(ศุภโมกข์ ศิลารักษ์, 2551, 23 นาที)

13.00-15.00 ประวัติวรรณคดีกับการสร้างความเป็นไทย โดย ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 

16.00-18.00 ฉายหนัง กาลานุสติ (สิทธิพร ราชา, 2553, 29 นาที) + เจ้านกกระจอก (อโนชา สุวิชากรพงศ์, 2553, 82 นาที)

ศุกร์ 17 กันยายน

10.00-12.30 ฉายหนัง Butterflies Have no Memories (Lav Diaz, 2009, Philippines, 60 นาที) + La Noire de../Black Girl (Ousmane Sembene, Senegal, 1966, 65 mins)

13.30-16.00 ฉายหนัง สัตว์วิบากหนักโลก (ไพสิฐ พันธ์พฤกษชาติ, 2546-7, 60 นาที) + มอแกน, ป่ะ? (พิศาล แสงจันทร์, ทายาท เดชเสถียร, ณัฐวิทย์ ขาวศรี, 2550, 40 นาที) 

ฟิล์มไวรัส สนทนากับผู้ชมหลังการฉาย 

16.30-18.00 หล่อนไปร้องไห้ในโรงหนัง : ประวัติหนังไทยในหนังอินเดีย โดย อาดาดล อิงคะวณิช (University of Westminster)

เรื่องย่อ

Kaki Bakar/The Arsonist (U-wei Haji Saari, 1995, Malaysia, 70 นาที)

ครอบครัวชาวมาเลย์เชื้อสายชวาอพยพย้ายถิ่นเพื่อหาที่ทำกินใหม่ลึกเข้าไปในชนบท

ใน ดินแดนทางใต้ของมาเลเซีย ที่นั่นพวกเขาลงหลักปักฐาน โดยเช่าบ้านและที่ทำกินของครอบครัวเศรษฐีทรงอิทธิพลของแถบนั้น เรื่องราวชีวิตเหมือนจะเป็นไปด้วยดี ทว่าเพียงแค่ความผิดพลาดเพียงครั้งเดียวของผู้เป็นพ่อผู้ทระนงที่เกิดต่อพรม ราคาแพงสุดหวงแหนของเจ้าของบ้าน นั้นก่อให้เกิดความยุ่งยากที่ไม่มีใครคาดคิดตามมา Kaki Bakar หรือ The Arsonist ดัดแปลงจากเรื่องสั้น Barn Burning ของ William Faulkner

กระเป๋านักเรียนของหงสา (ศุภโมกข์ ศิลารักษ์, 2551, 23 นาที)

หง สา เด็กชายชาวมอญวัย 11 ปี เพิ่งได้มีโอกาสเข้าโรงเรียนไทยในชั้นเรียนพิเศษสำหรับลูกหลานแรงงานอพยพ ซึ่งหาได้ไม่ง่ายนักในมหาชัย ชุมชนแรงงานอพยพจาก พม่านับหมื่นแสน หนังคือเรื่องจริงของหงสาและเพื่อน ๆลูกหลานแรงงานทั้งชาวพม่า มอญ ยะไข่ ไทใหญ่ ฯลฯ ที่เกิดหรือเติบโตในเมืองไทย ชีวิตบริสุทธิ์ที่เปี่ยมไปด้วยความหวัง อันสดใส ท่ามกลางสังคมคนพลัดถิ่นที่ต้องดิ้นรน ถูกละเมิด ถูกเลือกปฏิบัติ และถูกปฏิเสธ จากสังคมไทย ความใฝ่ฝันของด.ช.หงสาขณะนี้มีเพียงสองประการ คือ กระเป๋านักเรียนดี ๆสักใบ และการเรียนรู้ภาษาที่เหมาะสมพอจะพูดกับพระมหากษัตริย์ไทยได้...

กาลานุสติ (สิทธิพร ราชา, 2553, 29 นาที)

บ่อย ครั้งเราได้ยินว่า ‘หนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง’ ซึ่งแปลเป็นนัยๆ ว่าสิ่งที่เรากำลังดูอยู่นั้นเป็นเรื่องปลอม แต่นั่นมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นกับกาลานุสติ เพราะแม้มันจะออกตัวว่าเป็นการสร้างความจริงขึ้นมาใหม่แต่ด้วยสไตล์ที่เลือกมาอย่างดีแล้ว ก็ทำให้ขอบเขตของความจริงและ เรื่องแต่งเลือนเข้าหากันได้ภายใต้รูปลักษณ์ที่สมจริง การทิ้งระยะห่างที่ทำให้คนดูต้องมนต์สะกด มันเป็นเรื่องชีวิตประจำวันของ พระบ้านนอกรูปหนึ่ง กับเงื่อนไขอีกประการ ที่ในแง่หนึ่งก็แสนธรรมดาต่อชีวิตมนุษย์ แต่ในอีกแง่ก็กระแทกเข้ามาเหมือนน้ำป่าไหลซัด โดยมีกลิ่นคาวเลือดของการเมือง ที่แม้ลอยอยู่เหมือนห่างไกลแต่ก็ใกล้กับชีวิตเกิดกว่าจะคาดคิดได้

เจ้านกกระจอก (อโนชา สุวิชากรพงศ์, 2553, 82 นาที)

ในมิติ ที่เป็นหนังเล่าเรื่อง เจ้านกกระจอกเล่าถึงเด็กหนุ่มคนหนึ่งซึ่งประสบอุบัติเหตุ ทำให้ร่างกายช่วงล่างเป็นอัมพาต หนังไม่เฉลยว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่บอกใบ้ว่าพ่อของเขาอาจเป็นคนก่อเหตุ

สัตว์วิบากหนักโลก (ไพสิฐ พันธ์พฤกษชาติ, 2546-7, 60 นาที)

เริ่ม จากเรื่องของผู้ชายในตู้รถไฟ คนตัวสูงท่าทางไม่น่าไว้วางใจที่หลบหนีจากกล้อง หรือที่จริงหลบหนีการติดตามไล่ล่าจากเครือข่ายดาวเทียมเขาเลือกนอนในตู้รถไฟร้าง

No comments:

Blog Archive

คนลักหลับ

My photo
Filmvirus เป็นนามปากกาเดิมของสนธยา ทรัพย์เย็น จากคอลัมน์ “นิมิตวิกาล” ที่ใช้ในนิตยสาร Filmview ปี 2537 ต่อมาในปี 2538 สนธยาได้ก่อตั้ง “ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์” หรือ DK.Filmhouse (Filmvirus) จัดฉายหนังด้อยโอกาสให้ผู้สนใจชมฟรี พร้อมจัดพิมพ์หนังสือด้านหนัง และวรรณกรรม ชุด Filmvirus / Bookvirus (ส่วนหนังสือ “คนของหนัง” ปี 2533 นั้นเป็นผลงานก่อนตั้งฟิล์มไวรัส) ส่วนผลงานอื่นๆ ปี 2548 เป็นกรรมการเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok , ปี 2552 กรรมการ Sydney Underground Film Festival, งาน Thai Short Film and Video Festival ของมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 1 และปี 2548-2549 เป็นเจ้าภาพร่วมจัดเทศกาลประกวดหนังนานาชาติ 15/15 Film Festival, Australia