31.7.08

TOOTSIE ชื่อนี้มีที่มา

โดย . . . ‘กัลปพฤกษ์’ kalapapruek@hotmail.com

TOOTSIE เป็นชื่อของภาพยนตร์ตลกโรแมนติกระดับเข้าชิงรางวัลออสการ์ของผู้กำกับ Sydney Pollack ซึ่งเพิ่งจะลาจากโลกนี้ไปด้วยโรคมะเร็งเมื่อกลางปี 2008 ภาพยนตร์ที่ออกฉายเมื่อปี 1982 เรื่องนี้นับเป็นการรับบทบาทการแสดงที่โดดเด่นและน่าประทับใจมากที่สุดบทหนึ่งของนักแสดงชายระดับแถวหน้าของวงการอย่าง Dustin Hoffman เลยทีเดียว

Dustin Hoffman รับบทบาทเป็น Michael Dorsey นักแสดงหนุ่มผู้ตกอับที่ไม่มีผู้กำกับละครรายไหนยอมให้เขาได้รับเล่นบทใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทเล็กบทน้อยเพียงไหนก็ตาม เมื่อเริ่มหมดสิ้นหนทาง Michael จึงตัดสินใจลุกขึ้นปลอมตัวเองเป็นผู้หญิงแล้วไปสมัครคัดเลือกนักแสดงโดยใช้ชื่อ Dorothy Michaels เพื่อรับบทบาทเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสของโรงพยาบาลในละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศตอนกลางวันเรื่อง Southwest General Hospital จนกระทั่งได้บท! Michael ในร่างของ Dorothy จึงต้องใช้ความสามารถทางการแสดงในการ ‘เล่นละคร’ ตบตาทั้งคนดูและทีมงานในกองถ่ายโดยไม่มีใครระแคะระคายเลยว่า Dorothy มิใช่หญิงแท้! เหตุการณ์เริ่มวุ่นวายมากขึ้นเมื่อละครเรื่องนี้เกิดดังเป็นพลุแตกจากบทหญิงเหล็กผู้ไม่ยอมก้มหัวให้ชายหน้าไหนของ Dorothy ที่ Michael แสดงออกมาได้อย่างเยี่ยมยอดนั่นเอง ซึ่งก็ทำให้ Dorothy กลายเป็นวีรสตรีผู้มีชื่อเสียงโด่งดังทั้งในสื่อโทรทัศน์และตามหน้านิตยสารต่าง ๆ ในชั่วเวลาข้ามคืน


ด้วยฐานะของหญิงเก่งยุคใหม่ท่ามกลางกาลสมัยแห่งการลุกขึ้นเรียกร้องความเท่าเทียมของอิสตรี Michael เริ่มรู้สึกหนักใจเมื่อความดังของละครทำให้เขาได้รับข้อเสนอให้ต่อสัญญาเพื่อรับบทบาทนี้ไปอีกหนึ่งปี แถมเขายังไปแอบมีใจให้กับ Julie Nichols (แสดงโดย Jessica Lange) แม่ลูกอ่อนที่รับบทบาทเป็นนางพยาบาลในละครเรื่องเดียวกัน อีกทั้งยังถูกนักแสดงชายวัยทองผู้บ้ากามและบิดาบังเกิดเกล้าของ Julie มายื่นแหวนขอแต่งงานกับเขาอีกด้วย! Michael จะหาทางออกต่อสถานการณ์นี้อย่างไร คงต้องขอเชิญชวนให้ได้หาโอกาสติดตามกันจากหนังตลกชั้นดีมากมีรสนิยมเรื่องนี้

ความสนุกของหนังนอกจากจะอยู่ที่มุกโปกฮาของการรับมือกับสถานการณ์วุ่นวายรอบด้านของ Michael ในขณะที่ต้องปลอมตัวเป็น Dorothy แล้ว หนังยังมีน้ำเสียงของการเสียดสีที่ให้สาระด้านการยกชูการเรียกร้องสิทธิสตรีได้อย่างน่ารักน่าชังอีกด้วย ด้วยสถานการณ์ที่ผูกรัดให้ Michael จะต้องรับบทบาททั้งนอกจอและในจออย่างแนบเนียน ผู้ชายแท้ทั้งแท่งอย่างเขาจึงต้องหันมาสนใจเรื่องราวสวย ๆ งาม ๆ ต่าง ๆ นานา เป็นต้นว่า จะใช้ mascara หรือ eye-shadow สีใดดี หากสวมเสื้อลายนี้กับกะโปรงตัวนี้แล้วมันจะเข้ากันไหม ไปจนถึงการแสดงกิริยารักนวลสงวนตัวเยี่ยงกุลสตรีที่จะไม่ยอมตกเป็นวัตถุทางอารมณ์จากบรรดาหนุ่มใหญ่จอมตัณหาอย่างหยิ่งทะนง! ไม่น่าแปลกใจที่ภาพยนตร์เรื่องนี้จะได้รับเสียงชื่นชมจากกลุ่ม Feminist ทั้งหลายในช่วงเวลานั้นอย่างท่วมท้น เพราะการที่หนังได้แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์จำเป็นที่ผู้ชายธรรมดา ๆ คนหนึ่งจะมีโอกาสได้รับรู้รสชาติของการเป็น ‘ผู้หญิง’ ดูบ้างนั้น มันช่างเป็นเรื่องชวนสะใจที่จะทำให้ฝ่าย ‘ผู้ชาย’ ได้สำเหนียกและเรียนรู้กันเสียบ้างว่า การเป็นผู้หญิงนั้นมันลำบากขนาดไหน!

ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงบนเวทีออสการ์เมื่อหนังได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลต่าง ๆ ถึง 9 สาขารวมทั้งสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมและภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี โดยมี Jessica Lange เป็นผู้คว้ารางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมมาครองได้สำเร็จ นอกจากนี้เพลงประกอบหนังอย่าง It Might Be You ซึ่งแต่งและร้องโดย Stephen Bishop ก็ยังกลายเป็นเพลงฮิตติดหูเป็นที่นิยมฟังกันจนถึงทุกวันนี้

สำหรับชื่อหนัง TOOTSIE นั้น คือชื่อเรียกล้อที่ผู้จัดละครชายใช้เรียกขาน Dorothy ขณะสั่ง take ในการถ่ายทำฉากหนึ่ง ซึ่งก็ทำให้ Dorothy เกิดอาการวีนแตกขึ้นมาทันทีเมื่อเธอถูกเรียกขานอย่างไม่ให้เกียรติ พร้อมสำทับกลับไปอย่างทันควันว่า ชื่อของเธอนั้นคือ Dorothy, D-O-R-O-T-H-Y ไม่ใช่ TOOTSIE โปรดเรียกขานใหม่ให้ถูกต้องด้วย! คำว่า TOOTSIE นี้ เป็นคำแสลงภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกเด็กผู้หญิง เทียบกับคำไทยแล้วน่าจะแปลได้ว่า ‘อีหนู!’ หรือ ‘น้องสาว!’ ซึ่งคำนี้ Dustin Hoffman เป็นผู้เสนอให้ใส่ไว้ในบทภาพยนตร์ด้วยตนเอง โดยเขายืมมาจากชื่อเล่นของสุนัขที่มารดาของเขาเลี้ยงไว้ในเวลานั้น

เมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้มีโอกาสได้เข้าฉายในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2526 คำว่า ‘ตุ๊ดซี่’ จึงได้กลายเป็นคำฮิตติดปากในหมู่คนไทยใช้เรียกชายกะเทยที่นิยมการแต่งเนื้อแต่งตัวและแสดงจริตกิริยาเยี่ยงมาจนถึงปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่จะเรียกกันสั้น ๆ ว่า ‘ตุ๊ด’ แต่ก็มีผู้สันทัดกรณีหลายรายยืนยันว่า มีการใช้คำว่า ‘ตุ๊ด’ เรียกชายกะเทยกันในเมืองไทยมาก่อนหน้าที่ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเข้าฉายในอเมริกาเสียด้วยซ้ำ โดยสันนิษฐานกันว่ามันน่าจะมาจากคำภาษาอังกฤษว่า toots ซึ่งมีความหมายเดียวกับ tootsie แต่มีการแผลงความหมายใช้เรียกชายที่มีบุคลิกตุ้งติ้งนุ่มนวลเพิ่มเติมจากนิยามความหมายเดิมของคำศัพท์ที่จำกัดเฉพาะผู้หญิงแต่เพียงอย่างเดียว

สำหรับคุณผู้อ่านที่สนใจเรื่องราวชีวิตอันหลากหลายของ ‘ตุ๊ดซี่’ ‘เกย์’ ‘กะเทย’ ‘เก้ง’ ‘กวาง’ ‘ทอม’ ‘ไบ’ ‘ดี้’ ‘เบี้ยน’ รวมทั้งกลุ่ม ‘คนข้ามเพศ’ ทั้งหลาย สามารถติดตามอ่านได้จากหนังสือ “QUEER CINEMA FOR ALL: 30 หนังเกย์และเลสเบี้ยนที่ชายจริงหญิงแท้ควรได้ดู” พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ openbooks ซึ่งจะมีงานเปิดตัว เริ่มวางจำหน่าย พร้อมทั้งฉายหนังบางเรื่องให้ได้ดูกันในวันที่ 2-3 สิงหาคม 2551 ณ People Space Gallery

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.onopen.com/2008/editor-spaces/3101

12.7.08

จาก Cronos ถึง Hellboy

Hellboy
Hellboy
Hellboy
Hellboy
Hellboy

Guillermo del Toro
Guillermo del Toro
Guillermo del Toro
Guillermo del Toro
Guillermo del Toro

Guillermo del Toro

หน้านี้มอบให้ กิญแญร์โม่ เดล โตโร่ ผู้กำกับ Mimic, Hellboy, Cronos, The Devil’s Blackbone และ Pan’s Labyrinth

ต้อนกับการมาเยือนของ Hellboy 2 (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กิญแญร์โม่ เดล โตโร่ ได้ใน ฟิล์มไวรัส เล่ม 5 : ฉบับปฏิบัติการหนังทุนน้อย)
(ภาพจากปกวีซีไทย Cronos)

5.7.08

เกียรติยศสูงสุดอีกครั้งของของคนไทย

เครื่องอิสริยาภรณ์สำหรับคนทำหนังไทยระดับโลก

อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล กำลังจะเข้ารับเหรียญตราเกียรติยศ Chevalier des Arts et des letters ซึ่งนับเป็นของสูงในแวดวงวัฒนธรรมฝรั่งเศส ถือเป็นเกียรติระดับเกือบสูงสุดเท่าที่คนฝรั่งเศสเองภูมิใจและคนต่างชาติมากมาย (ได้แต่) ฝันใฝ่

คนดังวงการศิลปะ ดนตรี วรรณกรรม ภาพยนตร์ที่เคยรับเกียรติได้มาก่อนหน้านี้ก็เช่น

Michael Haneke
กงลี่
Paul Auster (อ่านที่ http://www.onopen.com/2006/02/1247)
David Bowie
Anthony Burgess
Ray Bradbury (คนนี้เจ้ยตัวจริงมาแล้วพร้อมสอยลายเซ็นต์)
William Faulkner
Nan Goldin
Bob Dylan
Celine Dion
Nadine Gordimer
Hal Hartley (อ่านใน filmvirus เล่ม 5)
Patricia Highsmith
กิมย้ง
Kazuo Ishiguro
Emir Kusturica
Jude Law
Jackson Pollock
Merlyn Streep
Patti Smith
Salman Rushdie
Mrinal Sen
Robert Redford
Toni Morrison
Rudolf Nureyev
Hayao Miyazaki
Ella Fitzgerald


ขนาดชาวต่างประเทศอย่างป๋า Clint Eastwood ยังมาได้ไอ้เครื่องอิสริยาภรณ์นี่ตอนแก่
แล้ว อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล เป็นใคร

เจ้ย อภิชาติพงศ์ - เขาคือคนที่ชาติไทย และรัฐบาลไทยไม่ต้องการให้ลงสมัครพรรคไหน
เฮ้ มีพรรคของตัวเองดีกว่า พรรค Kick the Machine ไง มีคอหนังตัวจริงเป็นแนวร่วมดีกว่าที่ต้องซื้อเสียงจ่ายเงินกินต้มยำกุ้งกับฮะเก๋า

กำลังจะมีพิธีงานเลี้ยงรับรองที่สมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพฯ
วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เวลา 18.00 น.
จบรายงานข่าว-สำนักข่าวฟิล์มไวรัส
(ภาพประกอบโดย Filmvirus)

เอ้า ใครยังไม่มีหนังสือ สัตว์วิกาล: ภาพเรืองแสงของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (Unknown Forces: The Illuminated Art of Apichatpong Weerasethakul) ของ ฟิล์มไวรัส / openbooks ก็เชิญหาซื้อเถิด ก่อนจะกลายเป็นของสะสมหายาก

รายละเอียดตามนี้เลย : http://dkfilmhouse.blogspot.com/2007/10/blog-post.html

ใช่! นี่มันโฆษณากันชัด ๆ
ประกาศโฆษณาติดต่อ : ฟิล์มไวรัส

คนลักหลับ

My photo
Filmvirus เป็นนามปากกาเดิมของสนธยา ทรัพย์เย็น จากคอลัมน์ “นิมิตวิกาล” ที่ใช้ในนิตยสาร Filmview ปี 2537 ต่อมาในปี 2538 สนธยาได้ก่อตั้ง “ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์” หรือ DK.Filmhouse (Filmvirus) จัดฉายหนังด้อยโอกาสให้ผู้สนใจชมฟรี พร้อมจัดพิมพ์หนังสือด้านหนัง และวรรณกรรม ชุด Filmvirus / Bookvirus (ส่วนหนังสือ “คนของหนัง” ปี 2533 นั้นเป็นผลงานก่อนตั้งฟิล์มไวรัส) ส่วนผลงานอื่นๆ ปี 2548 เป็นกรรมการเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok , ปี 2552 กรรมการ Sydney Underground Film Festival, งาน Thai Short Film and Video Festival ของมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 1 และปี 2548-2549 เป็นเจ้าภาพร่วมจัดเทศกาลประกวดหนังนานาชาติ 15/15 Film Festival, Australia