23.12.09

DK filmhouse (filmvirus) แตกเนื้อสาว 15


ฉลองผ่าน 13 ปีไปหยก ๆ แต่หลังคริสต์มาสนี้ บ้านหนังด้อยโอกาสของเราก็จะผ่าน 14 ปีไปอย่างสมบูรณ์แบบ ไม่น่าเชื่อว่า ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ที่เปิดทำการเมื่อปี 2538 มาบัดนี้กำลังจะขึ้นปีที่ 15 แล้ว! นี่เราอยู่เกะกะคนไทยมานานขนาดนี้แล้วเหรอเนี่ย

ปีนี้เราไม่มีทุนรอนที่จะจัดฉลองพิเศษแฮปปี้เบิร์ธเดย์หรืออะไร แต่ก็อยากจะขอบคุณเพื่อน น้อง ๆ และคนดูหนังทุกคนที่ทำให้ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ยืนหยัดยาวนานมาจนป่านนี้ ที่จริงแว่วจะจอดไปตั้งแต่สองปีที่แล้ว แต่ก็ดันทุรังไปได้เรื่อยเปื่อย ก็เพราะแรงถีบหลังที่สมาชิกชาวเราจัดหาให้มากันและกันแท้ ๆ ขอขอบคุณเพื่อนทุกท่านที่ร่วมสนับสนุนแรงงานทาสอย่างด้วยดีมาโดยตลอด ปีหน้าก็เช่นกัน พวกคุณก็จะไม่ได้ค่าแรงเช่นเดิม เพื่อชาติ เพื่อสาธารณะ เอ้า ท่องไว้ให้มั่น!

20.12.09

รายการหนังสือภาพยนตร์ชุด FilmVirus และ BookVirus


รายการหนังสือวรรณกรรม BookVirus เล่ม 1 – เล่ม 5

หนังสือชุด FilmVirus เล่ม 1 – เล่ม 5 และฉบับพิเศษอื่น ๆ

ตรวจสอบรายการทั้งหมดที่: http://dkfilmhouse.blogspot.com/2007/08/dk-filmhouse.html และรายละเอียดในแต่ละเล่ม ได้ที่ : http://www.onopen.com/2007/02/1636 และความเห็นเกี่ยวกับ bookvirus 06 เล่ม "นางเพลิง":
https://www.blogger.com/comment.g?blogID=1853381991583228949&postID=865387530732983655

12.12.09

FILMVIRUS On Tour มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ จามจุรีแกลเลอรี่

FILMVIRUS SHORTS : PROTOTYPE @ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชวนคุณชมหนังสั้นหลากสายพันธุ์ (พิสดาร) จากทั่วมุมโลก เปิดหูเปิดตาต้อนรับฤดูหนาวให้ชวนระทึก!
ฉายแน่ที่เทศกาลภาพยนตร์ฤดูหนังฤดูหนาว ไม่วันที่ 13 ก็ 14 ตุลาคมนี้ ที่ ลานพระพิฆเณศ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่ สี่ทุ่ม (22.00น.) เป้นต้นไป

Sherlock Jr. (Buster Keaton/1924/US) 45 mins
หนังเล่าเรื่องคนฉายหนังที่อยากเป็นนักสืบ ยามว่างจากการเปลี่ยนม้วนฟิล์ม เขาจะนั่งอ่านหนังสือคู่มือการเป็นนักสืบ พ่อหนุ่มตกหลุมรักสาวสวยผู้หนึ่ง และพยายามหาเงินซื้อของไปฝากเธอ โดยมีศัตรูหัวใจเป็นเจ้าหนวดนายหนึ่ง ที่แอบขโมยนาฬิกาพกของพ่อสาวเจ้า ไปซื้อของขวัญสวยกว่า เก๋กว่ามากำนัล แล้วไส่ไฟคีตันว่าเป็นขโมย งานนี้หนังสือนักสืบก็ช่วยอะไรไม่ได้ ตามมาด้วยเรื่องชุลมุนชุลเกที่แทนที่คราวนี้จะเกิดขึ้นจริงๆกลับไปเกิดในหนังแทน(ที่จริงเกิดขึ้นในหนังที่อยู่ในฝันอีกที)
นี่คือหนังสั้นเรื่องสำคัญ ของนักแสดงตลกที่มีคนรักมากที่สุดในโลกอย่าง Buster Keaton ที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงมากที่สุดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะในแง่มุมการเล่นกับสื่อภาพยนตร์ มองภาพยนตร์เป็นสื่อชนิดหนึ่งมากกว่าเป็นเรื่องเล่าที่เป็นจริง (ซึ่งจาก ปัจจุบัน มันอาจเป็นมุมมองเก่า แต่หนังเรื่องนี้สร้างในปี 1924 ซึ่งเป็นยุคต้นๆของภาพยนตร์เลยทีเดียว)

Artavazd Peleshyan's shorts
ชื่ออาจอ่านยากไม่คุ้นหู แต่ Artavazd Peleshyan คือผู้กำกับภาพยนตร์คนสำคัญชาวอาร์เมเนีย แม้ชื่อของเขาจะตกสำรวจในโลกภาพยนตร์ หาก Sergei Paradjanov ผู้กำกับคนสำคัญ(ที่ไม่ตกสำรวจ)กลับบอกว่านี่คือคนไม่กี่คนที่เป็นอัจฉริยะของโลกภาพยนตร์ งานของ Peleshyan แทบไร้บทสนทนา โดยมากเป็นเพียงการจ้องมองมนุษย์ สัตว์ หรือสิ่งต่างๆ โดยประสมทั้งภาพที่มีคนถ่ายไว้ กับภาพที่เขาถ่ายไว้เอง งานของเขามักไม่ยาว และไม่มีบทสนทนา เป็นการจ้องมองที่จู่จับลงไปในภาพและสร้างความรู้สึกพิเศษ อันน่าทึ่ง และนี่คืองานบางส่วนของเขา

Life (Artavazd Peleshyan/1993/Armenia) 7 mins
ภาพการจับจ้องความปวดร้าวระยะประชิดของหญิงสาวผู้หนึ่ง กล้องจดจ่ออยู่กับใบหน้าอันทุรนทุรายของหล่อนเพื่อที่จะให้คำตอบอันงดงามเหลือเชื่อ

End (Artavazd Peleshyan/1994/Armenia) 10 mins
ภาพการจับจ้องหลากหลายชีวิตที่ล่องไปบนขบวนรถไฟ ภาพใบหน้าอันสวยงามและเศร้าสร้อยของหลากหลายผู้คนตั้งแต่คนแก่เฒ่า หนุ่มสาว ไปจนถึงเด็กน้อย พวกเขาคือบรรดาผู้อพยพจากแดนสงครามที่เดินทางเข้าไปสู่ความมืดมิด

Bread and Alley (Abbas Kiarostami/1970/Iran) 10 mins
หนังสั้น debut ของAbbas Kiarostrami หัวหอกผู้กำกับ Iran New Wave ที่ตอนนี้กลายเป็นผู้กำกับระดับปรมาจารย์ไปเรียบร้อยแล้ว หนังของ Kiarostrami มักเล่าเรื่องโดยใช้เด็กๆเป็นตัวเดินเรื่อง เล่าอย่างเรียบง่ายด้วยรูปแบบคล้ายสารคดี หากมีท่าทีคมคายต่อการวิพากษืประเด็นปัญหาในอิหร่าน จนทำให้งานของเขาเป็นที่ชื่นชมจากคนดูทุกมุมโลก แม้ในระยะหลังงานของ Kiarostrami จะดิ่งลึกสู่การสร้าสุนทรียะส่วนบุคคลที่ต้องอาศัยการตีความอย่างละเอียดลึกซึ้งมากขึ้น แต่งานยุคแรกๆของเขาก็ดูง่าย งดงามและไม่เพ้อเจ้อเลยแม่แต่น้อย
หนังเรื่องนี้ว่าด้วยเด็กชายคนหนึ่งที่ต้องผเชิญปัญหาหนักอกระหว่างทางกลับบ้าน นั่นคือเจ้าหมาน่ากลัวที่คอยเห่าไล่ จนเขาต้องหยุดรอให้หมาไปแต่รอจนง่วงเหงาหาวนอนหมาก็ยังไม่ไป เจ้าเด็กน้อยจึงต้องหาวิธีใหม่ๆในการกลับบ้าน

April (Otar Ioseliani/1962/Georgia) 45 mins
หนังเรื่องแรกของ OTAR IOSELIANI ผู้กำกับคนสำคัญแห่งจอร์เจีย (หนึ่งในสหภาพโซเวียต) หนังเงียบขาวดำของเขาเรื่องนี้เปิดตัวด้วยภาพของผู้คนที่พากันแบกข้าวของ เครื่องใช้ไปมาเข้าออกห้องหับต่างๆ ในอาคารต่างๆ หนุ่มสาวคู่หนึ่งแอบหยอกล้อเล่นตามตรอกซอกซอยเล็กแคบ เข้าบ้านนั้นออกบ้านนี้ ก่อนจะมาลงเอยกันในห้องโล่งที่ไม่มีเฟอร์นิเจอร์สักชิ้น ตอนนั้นเธอและเขามีความสุขนั่งซบหลังไหล่กันบนพื้น มองดูชีวิตคนอื่นๆจากช่อง หน้าต่าง จนกระทั่งชายที่ชั้นล่างคนหนึ่งยกเก้าอี้ตัวหนึ่งให้คนทั้งคู่ พวกเขาก็เริ่มต้นสร้างครอบครัว สาละวนอยู่กับการซื้อหาเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหม่ และทำความสะอาดเครื่องเรือนเก่าที่วางกองเต็มบ้านจนไม่มีที่แม้แต่จะยืน มิพักต้องมาคิดเรื่องกอดกัน ข้างบรรดาเพื่อนบ้านที่ตึกฝั่งตรงข้ามที่มีทั้งครูบัลลเล่ต์กับลูกศิษย์ วงดนตรีเครื่องเป่า และหนุ่มนักกล้าม ก็วุ่นวายอยู่ทั้งกับภาระส่วนตัวและเสียงอึงอลจากการเข้าออกไม่รู้จบของ บรรดาเครื่องเรือน ต้นไม้ในฝันที่หนุ่มสาวเคยพบกันก็ถูกโค่นลงแล้ว
หนังเล่าเรื่องเหนือจริงได้อย่างชวนฝัน รื่นรมย์ เต็มไปด้วยอารมณ์ขัน ขณะเดียวกันก็ร้าวรานอย่างยิ่ง

Darkness/ Light / Darkness (Jan Svankmajer / 1990/ Czech) 8 mins
JAN SVANKMAJER เป็นศิลปินที่ทำงานแบบเหนือจริง โดยอาศัยสื่อหลากหลายรูปแบบ งานของเขาส่งอิทธิพลต่อผู้กำกับมากมายไม่ว่าจะเป็น TIM BURTON , TERRY GILLIAM หรือพี่น้องตระกูล QUAYS (สองคนหลังนี้ เป็นลูกศิษย์ของเขาเอง และ เคยทำอนิเมชั่น THE CABINET OF JAN SVANKMAJER เพื่ออุทิศให้กับเขาด้วย) เขาได้รับยกย่องในฐานะของคนทำงาน stop motion อันมีเอกลักษณ์ เฉพาะในการสร้างภาพเหนือจริง ฝันสยองซ่อนอารมณ์ขบขันตามสไตลบ์ยุโรปตะวันออกซึ่งเจืออารมณ์ขื่นสยองแบบคาฟกาเต็มที่ จนถึงตอนนี้เขายังคงทำหนังอยู่ในปราก หนังของ Svankmajer มักเต็มไปด้วย การมีชีวิตของข้าวของเหลือใช้ เฟอร์นิเจอร์พังๆ ตะปูขึ้นสนิม หรือซากสัตว์ แต่สิ่งที่พบเห็นเป็นตัวละคร (และเป็นสื่อ) ของเขาคืออาหาร ที่เขาหยิบจับมันมาเล่นอย่าสนุกสนาน และชวนกระอักกระอ่วนได้ในหลายต่อหลายคราว ข้าวของถูกทำให้มีชีวิตโดยใช้เทคนิค STOP MOTION (ถ่ายทีละชอต แล้ว ขยับทีละนิดจนบังเกิดความเคลื่อนไหว ) หนังของ Svankmajer ทุกเรื่องถูกแบนในประเทศบ้านเกิด แต่นอกบ้านเขาคือ ปรมาจารย์คนสำคัญของโลก
Darkness /Light / Darkness เป็นอนิเมชั่นดินปั้นที่เล่นกับอวัยวะชิ้นส่วนของมนุษย์ในห้องเพดานต่ำ เล่ามากกว่านี้ไม่ได้ ต้องดูเองเหวอเอง!

Inextinguishable fire (Harun Farocki /1969/German) 21 mins
HARUN FAROCKI เป็นผู้กำกับลูกครึ่งเยอรมัน อินเดีย ที่ทำหนังแบบไม่เล่าเรื่อง มาตั้งแต่ปี 1960 หนังของเขามักเต็มไปด้วยประเด็นทางสังคมและการเมือง สะท้อนภาพความสนใจในลัทธิ มาร์กซ และพุ่งเป้าไปยังการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ , ระบบอุตสาหกรรม , คุก , การใช้ระเบิดนาปาล์ม , ห้างสรรพสินค้า , การปฏิวัติ และอื่นๆ เขาใช้วัตถุดิบหลากหลายในการสร้างสรรค์หนังของเขา ตั้งแต่ภาพข่าว สารคดีรูปถ่าย หนังข่าวและมักมี คำบรรยาย หรือมีผู้เล่านั่งเล่าเรื่องไปพร้อมกับภาพ นักวิจารณ์หลายคนเรียกหนังของเขาว่า essay film บางคนเรียกเขาว่า the best known-unknown director เพราะแม้เขาจะดังมากในทั่วโลก (CAHIERS du CINEMA เคยเขียนบทความถึงเขาโดยใช้ชื่อว่า who is Farocki ? ) อต่เขากลับไม่เป็นที่รู้จักนักในเยอรมัน
Inextinguishable fire เป็นหนังต่อต้านสงครามเวียดนามพันธุ์พิเศษ ที่ประกอบขึ้นจากภาพการอ่านแถลงการณ์แบบอ่านจริงเจ็บจริงประสมกับภาพฟุตเตจข่าวเก่าๆ โดยทั้งหมดถูกเอามารื้อสร้างใหม่ให้กลายเป็นหนัง essay film ที่แสบกัยถึงทรวงถึงใส้!

Yevgeny Yufit's shorts


Spring (Yevgeny Yufit /1987 /USSR) 10 mins +
Fortitude (Yevgeny Yufit/1988/USSR) 3 mins
กลุ่มหนังสั้นของ Mazhalala Film ในช่วงทศวรรษ 1980's นี้เอง ที่เป็นจุดกำเนิดของหนังตระกูล Necrorealism ซึ่ง Yevgeny Yufit ตั้งใจจะเย้ยหยันศิลปะแนว Socialist Realism ที่รัฐบาลคอมมิวนิสต์โซเวียตพยายามสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อสร้างภาพลักษณ์ อันดีงามของระบอบการปกครองแบบสังคมนิยม
ผลงานเด่นของ Mazhalala Film ในช่วงนี้ มักจะถ่ายทำกันด้วยฟิล์มขาวดำหมดอายุ ให้ภาพที่แลดูดิบหยาบราวกับเป็นหนังที่สร้างกันมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1910's แล้วเพิ่งจะมีการค้นพบ โดยภาพที่ปรากฏในหนังมักจะเป็นการสะท้อนถึงการ 'ถูกกระทำ' ทางจิตวิญญาณของผู้คนในรัสเซียอันเป็นผลมาจากระบอบการปกครอง ซึ่งรังแต่จะลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้คนลงจนแทบจะไม่เหลือความเป็นคน อีกต่อไป หนังสั้นในยุคนี้จึงอุดมไปด้วยภาพการถูกสังหารและทารุณกรรมด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาจากคนในเครื่องแบบที่เป็นตัวแทนของฝั่งรัฐบาลไม่ว่าจะเป็น ทหาร หรือ บุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งถึงแม้ว่าการกระทำในหลาย ๆ ฉากจะชวนให้หวาดเสียว แต่ Yevgeny Yufit ก็ดูจะระมัดระวังในการคุมโทนออกมาไม่ให้แลดูน่ากลัวจนประเจิดประเจ้อแบบที่ เห็นกันบ่อยครั้งในหนังสยองขวัญ เพื่อให้ฉากต่าง ๆ เหล่านี้ยังมีน้ำหนักในฐานะภาพเปรียบเปรยถึงสิ่งที่รัฐบาลกระทำต่อประชาชน ของเขามากกว่าจะเป็นการสร้างความน่ากลัวกันอย่างไร้เหตุผล

Superbia (Ulrike Ottinger/1986/German)16 min

หนังสุดเหวอของคุณป้ามหาภัย Ulrike Ottinger ผู้กำกับหญิงห่ามเพี้ยนจากเยอรมันที่ทำหนังอย่างไม่ประนีประนอม หนังของ Ottinger มักฉูดฉาดทั้งเสื้อผ้าหน้าผม เต็มไปด้วยตัวละครหญิงเปรี้ยวแรงชนิดสุดลิ่มทิ่มประตู คุณป้า Ottinger ไม่เคยรีรอจะวิพากษ์วิจารณืด้วยน้ำเสียงเฟมินิสต์ หาก เจือความพิลึกพิลั่นราวกับตัวละครมาจากจักรวาลอื่น ขณะเดียวกันก็ยังคงความอ่อนไหวแบบผู้กำกับหญิงผู้ละเมียดละไมด้วย
Superbia เป็นหนังสั้นพักยกของคุณป้า ที่เล่าเรื่องชบวนพาเหรดประหลาดโลกที่มีทั้งราชินี ส่ำสัตว์ คนแคระ ขบวนทหารทุกคนแต่งตัวพิลึกพิลั่น กระทำกิริยานอกคอก ในขณะเดียวกันก็ซ้อนเข้ากับภาพขวบนทหารนาซี วิพากษ์สงครามได้เจ็บแสบบาดลึกยิ่ง!

Rocky VI ( Aki Kaurismaki /1986/Finland) 9 min
หนังสั้นยุคต้นของผู้กำกับหน้าตายใจงามชาวฟินแลนด์ Aki Kaurismaki ผู้กำกับที่มักทำหนังเล่าเรื่องคนเล็กคนน้อย ไร้อารมณืที่ต้องผเชิญชะตากรรมหน่วงหนักหากก็ก้มหน้าฝ่าฟันกับมันไป ในจักรวาลที่ทุดอย่างเป็นสีทึมหม่นโทนเดียว เหมือนหลุดมาจากยุคหนังโบราณที่กาลเวลาแชข่แข็งเอาไว้
Rocky 6 สร้างก่อน Rocky 4 (ของจริง) หมายความว่ามันเป็นหนังที่มีเป้าประสงค์จะล้อเลียนหนังฮอลลีวู้ดเรื่องนั้ โดยเปลี่ยนให้เป็นเรื่อง ของนักมวยขี้เหล้าชาวฟินแลนด์ แลร้อยแปดวิธีการซ้อมแบบหัวราน้ำ ก่อนจะต้องขึ้นชกกับนักชกขาใหญ่ ใครจะรู้ ว่าถึงที่สุด Rocky ต้นฉบับ มันจะกระดึ๊บมาถึงภาค6 จริงๆ แต่เชื่อเถอะความันส์ มันต่างกันเยอะ!

Psy - Show (Marina de Van/1999/FR) 22 min

หลายคนรู้จัก Marina de Van ในฐานะมือเขียนบทคู่บุญของ Francios Ozon ผู้กำกับชาวฝรั่งเศส ซึ่งในระยะหนึ่งทั้งคู่เคยร่วมกันทำหนังเพี้ยนพิลึกจนเกือบวิปริต แต่สนุกสนานและคมคายไว้หลายเรื่อง ตัว Marina de Van เองเพิ่งกำกับหนังใหญ่ไปสองเรื่อง เรื่องแรก In My Skin ว่าด้วย ผู้หญิงที่กินเนื้อตัวเอง ส่วนเรื่องหลังว่าด้วยหญิงงามสองคนที่คนหนึ่ง เอ่อ ค่อยๆกลายเป็นอีกคน!
เฟมินิสต์จ๋า ส่อเค้าหญิงบ้ามาแต่ไกล เราจะพาคุณไปพบกับหนังสั้นยุคต้นของเธอที่ฉายแววความเฮี้ยนมาตั้งแต่ต้นแม้จะยังไม่เฟมินิสต์ เท่ายุคหลังก็ตาม Psy Show ว่าด้วยเรื่องของชายที่กำลังเข้าสู่วิกฤติวัยกลางคน ที่กำลังปรึกษาจิตแพทย์ซึ่งเป็นเจ้าของเก้าอี้บินได้! และไอ้เก้าอี้พิลึกนี้ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ของหมอกับคนไข้พิลึกพิลั่นเกินจะรับ!

The Skywalk is gone (Tsai Ming Liang/2002/Taiwan ) 25 min

หนังสั้นที่เป็นเสมือนข้อต่อของหนังยาวสองเรื่อง( What Time Is It There? และ The Wayward Cloud) ของไฉ่มิ่งเหลียงผู้กำกับชาวไต้หวันที่สนุกสนานกับการเล่าหนังอันเต็มไปด้วยภาวะขันขื่น ของบรรดาตัวละครหน้าตายในฉากนิ่งเนิบที่ยิ่งยิ่งยิ่งฮา และแน่นอนยิ่งฮายิ่งเจ็บ หนังของไฉ้มักมีองค์ประกอบแปลกพิลึกพิลั่น ตัวละครครึ่งคนครึ่งใบ้ที่ผเชิญสถาณการณืกลืนไม่เข้าคายไม่ออก (บ่อยครั้งมันออกจะเหวอมากกว่าสมจริง)
แต่ไม่ว่าจะเคยดูหนังทั้งสองเรื่องนั้นหรือไม่ เราก็ดูหนังเรื่องนี้ได้อย่างสนุกสนาน เพราะนี่คือหนังทีเล่าเรื่องของ อาอี๊ที่บัตรประชาชนหาย ผู้หญิงที่ตามหาสะพานลอย และชายขายนาฬิกาที่กำลังไปแคสท์บทหระเอกหนังป๊!



FILMVIRUS SHORTS : WILDYPE @ หอศิลป์จามจุรี ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ชวนชม WILD TYPE : FILMVIRUS SHORTS! โปรแกรมหนังสั้นคัดสรรประจำปี 2552 ฉบับ ชุดเล็ก! ภาพยนตร์ฉายกลางแจ้งหน้าหอศิลป์ในงาน Art Square จตุรัสศิลป์ ครั้งที่ 7 ที่หอศิลป์จามจุรี ถัดจากมาบุญครอง (ฝั่งตรงข้ามอุเทนถวาย) ดูแผนที่ได้ที่นี่:
http://jamjureeartgallery.blogspot.com/

ชมฟรี ในงานวันที่ 17 ธันวาคม ฉายเวลาประมาณ 18.00 น. เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ในงานเดียวกันนี้ ยังฒีโปรแกรมฉายหนังคัลท์ ขั้นเมพ ในวันที่ 15 และ 16 เวลาเดียวกันนี้ ดูโปรแกรมทั้งสามวันได้ที่ http://twilightvirus.blogspot.com/2009/11/art-square-2009.html

15.11.09

โปรแกรมหนัง DOC DAYS และงานแนะนำหนังสือ ‘วัยเยาว์อันสิ้นสูญ’

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับสำนักพิมพ์ไลต์เฮาส์, สถาบันเกอเธ่ และสำนักหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขอเชิญชม และรับฟังเสวนา


DOC DAYS และงานแนะนำหนังสือ ‘วัยเยาว์อันสิ้นสูญ’

ทุกวันอาทิตย์ระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน 2552 ถึง 17 มกราคม 2553 ตั้งแต่เวลา 12.30 น. เป็นต้นไป
ณ ห้องเรวัต พุทธินันท์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุด ปรีดี พนมยงค์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0-2613-3530
ชมฟรี!!! (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณาแต่งกายสุภาพ)

Admission Free
* * *Many Thanks to the Goethe Institute for providing films. * * *
*** ขอขอบคุณ คุณ สมพจน์ ชิตเกษรพงศ์ แห่งสถาบัน California Institute of the Arts (CalArts) ในการเอื้อเฟื้อภาพยนตร์ของ Johan van de Keuken***

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน 2552

12.30 น. The Society of the Spectacle (France, 88min, 1973) กำกับโดย Guy Debord
Guy Debord เป็น นักทฤษฎีมาร์กซิสม์และนักเขียนชาวฝรั่งเศสเจ้าของตำราวิชาการเล่มคลาสสิกอย่าง Society of the Spectacles Comments on the Society of the Spectacle เคยเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม Lettrist International และเป็นผู้นำกลุ่ม Situationist International ที่มีอิทธิพลต่อการนำประท้วงในปี 1968 นอกจากนั้นเขายังทำหนังหลายเรื่องที่มีลักษณะผสมระหว่างหนังสารคดีและแนวอวงการ์ดตามแนวทางของ Lettrist International หนังของ Guy E. Debord สร้างจากหนังสือของเขาเองในชื่อเดียวกันเกี่ยวกับกระบวนการบริโภคของสังคมทุนนิยมที่มีผลต่อชีวิตประจำวัน

14.15 น. Critique de la separation (France, 20min, 1961) กำกับโดย Guy Debord
Howlings in Favour of de Sade (France, 64min, 1952) กำกับโดย Guy Debord

15. 45 น. Why should I buy a bed when all that I want is sleep? (Germany, 53 min, 1999) กำกับโดย Nicholas Humbert / Werner Penzel +
Lax Readings (2006 / 13 นาที)

สารคดีเกี่ยวกับกวีชาวนิวยอร์ค Robert Lax ที่ระหกระเหินไปมาระหว่างยุโรปและอเมริกา เคยทั้งเขียนบทวิจารณ์และบทหนังในฮอลลีวู้ด โดยแนวทางของเขามีผลต่อนักเขียนและกวีกลุ่มบีทเจอเนอเรชั่น อย่าง Jack Kerouac และ Allen Ginsberg


****** โปรแกรมพิเศษ งานแนะนำหนังสือ Lord of the Flies (วัยเยาว์อันสิ้นสูญ) ******
จัดโดยไลต์เฮาส์พับลิชชิ่งและ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส)

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน 2552
12.30 น. Lord of the Flies (1963) Peter Brook กำกับ 92 นาที (บรรยายอังกฤษ)
14.15 น. Lord of the Flies (1990) Harry Hook กำกับ 90 นาที (บรรยายไทย)

ภาพยนตร์สองเวอร์ชั่นที่สร้างจากวรรณกรรมคลาสสิกของ William Golding ปัจจุบันแปลและตีพิมพ์ใหม่ในชื่อ “วัยเยาว์อันสิ้นสูญ” โดยสำนักพิมพ์ไลต์เฮ้าส์ เรื่องราวของกลุ่มเยาวชนที่ติดค้างบนเกาะร่วมกันกับเพื่อน ๆ วัยเดียวกัน หลังจากเหตุการณ์เครื่องบินตก ในบรรดาผู้ปกครองของพวกเขานั้นไม่มีผู้ใดรอดชีวิต เหลือเพียงความรับผิดชอบและการต่อสู้เพื่ออยู่รอดแบบดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ ต้นกำเนิดของหนังญี่ปุ่นเรื่องดัง Battle Royale ที่หันไปมุ่งเน้นเฉพาะด้านความรุนแรง อาจจะได้รับแรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่องนี้บ้างบางส่วน

ฉบับหนังขาวดำปี 1963 ที่กำกับโดย Peter Brook ผู้กำกับละครเวทีชั้นนำชาวอังกฤษ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลปาล์มทองหนังยอดเยี่ยมที่เทศกาลหนังเมืองคานส์ ส่วนฉบับหนังสีปี 1990 ที่สร้างใหม่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Young Artists Award ในสาขานักแสดงเยาวชนประเภทดารานำเดี่ยวและหมู่คณะ

(ร่วมเสวนาโดย กมลทิพย์ สิทธิกรโอฬารกุล บรรณาธิการไลต์เฮาส์พับลิชชิ่ง และ
คุณสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการ –นักเขียน และบรรณาธิการ onopen online


วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2552
12.30 น. I Love Dollars (Netherlands, 140min, 1986) กำกับโดย Johan van der Keuken

15.15 น. Lucebert, Time and Farewell (Netherlands, 52min, 1994) กำกับโดย Johan van der Keuken

Johan van der Keuken เป็นนักเขียน ช่างภาพและคนทำหนังสารคดีชาวดัทช์ ผู้มีผลงานกว่า 55 เรื่อง เคยชนะรางวัลในเทศกาลหนังยุโรปหลายต่อหลายครั้ง รวมทั้งเคยได้รับรางวัลเกียรติยศผลงานทั้งชีวิตที่ประเทศกรีซและอเมริกา เขาเสียชีวิตเมื่อปี 2001

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม 2553
12.30 น. The Eye Above the Well (Netherlands, 94min, 1988) กำกับโดย Johan van der Keuken

14.30 น. A Moment’s Silence (Netherlands, 10min,1963) กำกับโดย Johan van der Keuken,
Beauty (Netherlands, 22min,1963) กำกับโดย Johan van der Keuken
+ The Unanswered Question, On Animal Locomotion (Netherlands, 16min,1994)
กำกับโดย Johan van der Keuken

11.11.09

โปรแกรมพิเศษ งานแนะนำหนังสือ Lord of the Flies (วัยเยาว์อันสิ้นสูญ)

โปรแกรมพิเศษ งานแนะนำหนังสือ Lord of the Flies (วัยเยาว์อันสิ้นสูญ)

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับสำนักพิมพ์ไลต์เฮาส์ และสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขอเชิญชมและร่วมรับฟังเสวนา


Lord of the Flies (วัยเยาว์อันสิ้นสูญ)


ตั้งแต่เวลา 12.30 น. เป็นต้นไป
ณ ห้องเรวัต พุทธินันท์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุด ปรีดี พนมยงค์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0-2613-3530
*** ชมฟรี!!! (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณาแต่งกายสุภาพ) ***

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน 2552
12.30 น. Lord of the Flies (1963) Peter Brook กำกับ 92 นาที (บรรยายอังกฤษ)
14.15 น. Lord of the Flies (1990) Harry Hook กำกับ 90 นาที (บรรยายไทย)

ภาพยนตร์สองเวอร์ชั่นที่สร้างจากวรรณกรมคลาสสิกของ William Golding ปัจจุบันดำเนินการแปลสำนวนใหม่และตีพิมพ์ใหม่ในชื่อ “วัยเยาว์อันสิ้นสูญ” โดยสำนักพิมพ์ไลต์เฮ้าส์ เรื่องราวของกลุ่มเยาวชนที่ติดค้างบนเกาะร่วมกันกับเพื่อน ๆ วัยเดียวกัน หลังจากเหตุการณ์เครื่องบินตก ในบรรดาผู้ปกครองของพวกเขานั้นไม่มีผู้ใดรอดชีวิต เหลือเพียงความรับผิดชอบและการต่อสู้เพื่ออยู่รอดแบบดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ หนังญี่ปุ่นเรื่อง Battle Royale ที่หันไปมุ่งเน้นเฉพาะด้านความรุนแรงให้มากขึ้น อาจได้อิทธิพลบางส่วนจากความเป็นคลาสสิกของวรรณกรรมเรื่องนี้

ฉบับหนังขาวดำปี 1963 ที่กำกับโดย Peter Brook ผู้กำกับละครเวทีชั้นนำชาวอังกฤษ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลปาล์มทองหนังยอดเยี่ยมที่เทศกาลหนังเมืองคานส์ ส่วนฉบับหนังสีปี 1990 ที่สร้างใหม่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Young Artists Award ในสาขานักแสดงเยาวชนประเภทดารานำเดี่ยวและหมู่คณะ

(ร่วมเสวนาโดย กมลทิพย์ สิทธิกรโอฬารกุล บรรณาธิการไลต์เฮาส์พับลิชชิ่ง, และคุณ สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการ –นักเขียน และบรรณาธิการ onopen online

* * * ฟังการเสวนาหลังการฉายภาพยนตร์รอบสอง * * *

29.10.09

โปรแกรมภาพยนตร์ของ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ที่งาน Art Square จตุรัสศิลป์ ครั้งที่ 7

โปรแกรมภาพยนตร์ของ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ที่งาน Art Square จตุรัสศิลป์ ครั้งที่ 7
ระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม 2552 ในงานมีขายของที่ระลึก การแสดงดนตรี และการฉายภาพยนตร์

Art Square จตุรัสศิลป์ 7 ที่หอศิลป์จามจุรี ถัดจากมาบุญครอง (ฝั่งตรงข้ามอุเทนถวาย) ดูแผนที่ได้ที่นี่:
http://jamjureeartgallery.blogspot.com/


ชมฟรี ภาพยนตร์ฉายกลางแจ้งหน้าหอศิลป์ ฉายเวลาประมาณ 18.00 น-18.30 น. เป็นต้นไป

ภาพยนตร์วันที่ 15 ธันวาคม
Onechanbara +
Sukeban Deka

ภาพยนตร์วันที่ 16 ธันวาคม

Tetsuo 2 (Shinya Tsukamoto) +
Bad Taste (Peter Jackson)

ภาพยนตร์วันที่ 17 ธันวาคม
* * *ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (Filmvirus) ภูมิใจเสนอ
WILD TYPE : FILMVIRUS SHORTS! โปรแกรมหนังสั้นคัดสรรประจำปี 2552 ฉบับ ชุดเล็ก! รวมมิตรหนังสั้นคัดสรรตกสำรวจประจำปี 52 เช่นเคย
(คัดเลือกโดย ราชินีนักดูหนัง Madeleine de Scudery และทาสรับใช้โลกมืดจากบ้านนา filmsick) โปรแกรมยักษ์นั้นยังมาไม่ถึง แต่เราขอส่งชุดเล็ก หัวกะทิมาเรียกน้ำย่อยทุกท่านก่อนดังรายการต่อไปนี้!

โปรแกรมที่ 1 (92 นาที )
ของเหลวที่หลั่งจากกาย (รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค) 41 นาที
ฆาตรกรรมสวาท ประหลาดน่านฟ้า ทำให้คนหายตัวไป (เฉลิมเกียรติ แซ่หย่อง) 21 นาที
ต้อม (ศุภิสรา กิตติคุณารักษ์) 30 นาที

โปรแกรมที่ 2 (118 นาที)
มธุรส (ธณัฐชัย บรรดาศักดิ์) 22 นาที
ตอนบ่ายตายคนเดียว( ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ) 6 นาที
กาลนิรันดร์ (อิสระ บุญประสิทธิ์) 30 นาที
สีบนถนน (วีระพษ์ วิมุกตะลพ) 62 นาที

โปรแกรมภาพยนตร์ของ Filmvirus ที่ The Reading Room: http://dkfilmhouse.blogspot.com/2009/10/filmvirus-meets-kafka-and-straub-at.html

โปรแกรมภาพยนตร์ FilmVirus meets Kafka and Straub at The Reading Room

Kafka and Jean Marie Straub in AMERIKA!

โปรแกรมฉายภาพยนตร์ของ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ที่ The Reading Room ห้องสมุดและศูนย์รวมกิจกรรมทางวัฒนธรรม
ณ ถนนเจริญกรุง 2351/4 ถนนเจริญกรุง (ปากซอย 91) ยานนาวา กรุงเทพฯ 10120โทรศัพท์ 02-289-0395, มือถือ 089-666-7978เวลาทำการ พุธ-เสาร์ 13.00-18.00น.

กิจกรรมจัดฉายภาพยนตร์ห้องสมุดจะจัดฉายภาพยนตร์ทดลองและ วีดิโออาร์ต ร่วมกับกลุ่ม FilmVirus โดยจะจัดฉายเดือนละสองครั้ง (ชมฟรี) Admission Free

***Many Thanks for the Goethe Institute for providing the film “Klassenverhältnisse” (Kafka's The Castle)***

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน
ภาพยนตร์ของ Su Friedrich

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม
ภาพยนตร์เรื่อง Klassenverhältnisse (Class Relations) ของ Jean-Marie Straub และ Daniele Huillet (1984) สร้างจาก Amerika บทประพันธ์ที่เขียนไม่จบของ Franz Kafka + บทสัมภาษณ์ของ Jean-Marie Straub และ Daniele Huillet (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมใน K = Kafka ในหนังสือ Bookvirus 01)
และอ่านวิจารณ์ภาพยนตร์ที่ http://www.imdb.com/title/tt0087566/

วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม
ภาพยนตร์ของ Katsu Kanai

เว็บไซต์และที่ตั้งของ The Reading Room
http://www.readingroombkk.org/

โปรแกรมภาพยนตร์ของ Filmvirus ในงาน Art Square จตุรัสศิลป์ ระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม 2552 ที่หอศิลป์จามจุรี: http://dkfilmhouse.blogspot.com/2009/10/art-square-7.html

17.10.09

FilmVirus Book – The Return of First Episode

มันไม่ใช่เครื่องบิน มันไม่ใช่รถไฟ มันคือตัวอัปรีย์ ฟิล์มไวรัส
It’s alive! It’s back!

เพิ่งขุดพบไดโนเสาร์จากโกดัง
หนังสือ ฟิล์มไวรัส 01 ยุคบุกเบิก สมัยที่ชื่อ Godard, Kiarostami, Tarkovsky, Wong Kar wai ยังแปลกประหลาดนอกโลก กลับมาจำหน่ายแล้วในจำนวนจำกัด สภาพไม่งดงามขาวสวยเหมือนใหม่ เพราะพิมพ์มากว่า 11 ปีแล้ว (ปี 2541) ใครผู้ใด๋ ส่นใจ๊ อยากด้าย เชิญแจ่มตามสำราญ ได้ที่บู้ธอัลเทอร์เนทีฟไรเตอร์ บู้ธ Alternative Writers โซน C ชั้น 1 เลขบู้ธ 015

รีบด่วน เพราะสต็อคมีน้อย อาจหาไม่ได้อีกแล้วในรอบหน้า ขาย 200 บาทเต็มราคา ไม่มีลดจ้า!

13.10.09

เผยโฉมสาวโฉด ‘นางเพลิง’ bookvirus ฟุ้ง 05

เรื่องสั้นแปล ‘นางเพลิง’ bookvirus ฟุ้ง 05

กลับมาหมดแล้วหมดกันอีกครั้ง กับโลกของนักเขียนหญิง และกงการวายวุ่นของเจ้าหล่อน
ด้วย 3 เรื่องสั้นแปลของ 3 สาว 3 พิกล อวลกลิ่นกิมจิและโซบะ

ขึ้นชื่อว่า ฟิล์มไวรัส และ บุ๊คไวรัส เรื่องยอดขายไม่ต้องพูดถึง กระฉูด!

จาก ฟิล์มไวรัส เล่ม 1 (ปี 2541) พิมพ์ 3,000 เล่ม ขายมาหลายชาติกว่าจะยุบ กระทั่งถึงคราว bookvirus ฟุ้ง 03 เรื่องสั้นแปลชุด ‘กาจับโลง’ กัดฟันพิมพ์สองร้อยเล่ม มี แดนอรัญ แสงทอง ช่วยแปล หลงนึกว่าจะเกลี้ยงแพง แอบหวังว่าจะมีป๋าดัน เจ๊ดัน ยังเสือกอุตส่าห์สโลโมชั่น http://dkfilmhouse.blogspot.com/2009/07/bookvirus-series-03.html

เล่มใหม่ bookvirus ฟุ้ง 04 ‘สนธิสัญญาอสูร’ กับ bookvirus ฟุ้ง 05 ‘นางเพลิง’ จึงพิมพ์ปกละหนึ่งร้อยเล่มเท่านั้น (หลังแจกจ่ายผู้หลักผู้ใหญ่ คงวางขายจริงไม่เกิน 80 เล่ม) เอาเข้าไป! กะแข่งกับหนังสือใบลานหรือไง อยากเห็นหน้าคนซื้อจริง ๆ ว่า ในจำนวนคนซื้อ 80 คนนี้ มีหน้าตาประหลาดจากชาวโลกไหม

สาวสวยที่ถูกยัดเยียดให้โหดตามภาพนี้คือใคร ย่อมไม่มีใครตอบถูก
ยกเว้น แก๊ง ชาร์ลี แองเจลส์ ที่เราตั้งใจจะอุทิศให้อย่างเป็นทางการ (แต่แล้วก็ด้วยปัญหาทางการจัดพิมพ์จึงต้องเปลี่ยนมาบอกป่าวกันในที่นี้)

3 สาวในเรื่องสั้นอาจจิตตกไม่ถึงพระเดชพระคุณ ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้า
ขอกลับมาแก้ตัวคราวหน้ากับ La Maladie de la Mort ของ Marguerite Duras แปลจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส (bookvirus ร่วมมือกับวารสาร อ่าน)

* หนังสือ filmvirus และ bookvirus มีอาละวาดชัวร์ที่งานมหกรรมหนังสือแห่งชาติระหว่างวันที่ 15 – 25 ตุลาคม 2552 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ *

หนังสือในเครือ filmvirus และ bookvirus
บู๊ธ Alternative Writers โซน C ชั้น 1 หมายเลขบู๊ธ O15
ซื้อ filmvirus เฉพาะเล่ม 3 กับ สัตว์วิกาล: ภาพเรืองแสงของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล และเล่ม 151 Cinema ได้ที่บู๊ธ open - Plenary Hall บู๊ธ K 05
เฉพาะ bookvirus ซื้อได้ที่ บู๊ธของ วารสารอ่าน และ ฟ้าเดียวกัน - บู๊ธ โอ 59 โซน ซี 1
เฉพาะ bookvirus ซื้อได้ที่ บู๊ธของสำนักพิมพ์คมบาง - บู๊ธ M 32 โซน C 1 ชั้นล่าง

10.10.09

‘สนธิสัญญาอสูร’ bookvirus 04 และ ‘นางเพลิง’ bookvirus 05 บุกงานมหกรรมหนังสือเดือนตุลาคม 2552 (พิมพ์อย่างละหนึ่งร้อยเล่ม)

‘สนธิสัญญาอสูร’ bookvirus 04 และ ‘นางเพลิง’ bookvirus 05 สยองครองเมือง

bookvirus กลับมาอีกครั้งคราวนี้กับ 3 เรื่องสั้นแปลคัดสรรในแต่ละเล่ม

เพื่อให้เข้ากับนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง (ขาดมือ) bookvirus 04 และ 05 จึงปรับกระแสทันแฟชั่นด้วยการลดจำนวนพิมพ์ลง จากเล่มที่แล้ว bookvirus ฟุ้ง 03 เวอร์ชั่น ‘กาจับโลง’ พิมพ์สองร้อยเล่ม http://dkfilmhouse.blogspot.com/2009/07/bookvirus-series-03.html

มาคราวนี้ ‘สนธิสัญญาอสูร’ และ ‘นางเพลิง’ ภูมิใจลดจำนวนลงเพื่อแข่งกับการสะสมใบลาน เป็นจำนวนหนึ่งร้อยเล่มเท่านั้น เบ็ดเสร็จแจกจ่ายญาติผู้ใหญ่แล้ว คาดว่าคงมีเหลือวางจำหน่ายอย่างละ 80 เล่ม ขายหมดแล้วหมดเลย ไม่มีพิมพ์ซ้ำ

งานนี้ไม่ต้องหวังลม ๆ แล้ง ๆ รอป๋าดันหรือแม่ยกเขียนเชียร์

‘สนธิสัญญาอสูร’ มีตีพิมพ์ 2 ปก ให้เลือกอย่างละ 50 เล่ม ไฉไลดีไซน์โดย นฆ ปักษนาวิน และ ภีม อุมารี (ภาพประกอบเรื่องสั้นโดย Mr. Ripley)

ซื้อหนังสือ filmvirus และ bookvirus ได้ที่งานมหกรรมหนังสือแห่งชาติระหว่างวันที่ 15 – 25 ตุลาคม 2552 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตต์

หนังสือในเครือ filmvirus และ bookvirus
บู๊ธ Alternative Writers โซน C ชั้น 1 หมายเลขบู๊ธ O15
ซื้อ filmvirus บางเล่มได้ที่บู๊ธ open - ห้อง Plenary Hall บู๊ธ K 05
* เฉพาะ bookvirus ซื้อได้ที่ บู๊ธของ วารสารอ่าน และ ฟ้าเดียวกัน - บู๊ธ โอ 59 โซน ซี 1
* เฉพาะ bookvirus ซื้อได้ที่ บู๊ธของสำนักพิมพ์คมบาง - บู๊ธ M 32 โซน C 1 ชั้นล่าง

21.9.09

Bad Lieutenant: Port of Call New Orleans (หนังท้าชนของ Werner Herzog และ Nicholas Cage) ก่อนการดัดแปลง The Piano Tuner ของ Daniel Mason

ตำรวจโฉด ผู้กำกับเถื่อนมาพบกันใน Bad Lieutenant: Port of Call New Orleans

(งานหักดิบของ Werner Herzog ทำหนังมามากกว่า 40 ปี แต่จะได้ฉายในโรงเมืองไทยมากกว่าหนึ่งโรงก็ด้วยเรื่องเนี้ย? เพราะบารมีของ นิโคลาส เคจ?)

ได้ข่าวว่าเรื่องนี้อาจจะเข้าโรงเดือนตุลาคม ทั้งยังได้ข่าวว่าอาจจะเป็นหนังเปิดเทศกาลหนังกรุงเทพ ฯ ปี 2009 ในวันที่ 24 กันยายนนี้ด้วย และตามธรรมเนียมของหนังเปิดเทศกาลมันไม่น่าจะเป็นหนังดีแบบที่คอหนังอาร์ตชื่นชม

ตั้งแต่ประกาศสร้างมันก็ส่อแววล่มแล้ว เพราะชื่อมันดันขึ้นต้นด้วย Bad Lieutenant ซึ่งเป็นชื่อหนังเก่าของ อเบล แฟร์ราร่า (Abel Ferrara) หนังรุนแรงโชว์ของที่นำแสดงโดย Harvey Keitel (คนดูบ้านเราน่าจะรู้จักเขาจาก Mean Streets, Reservoir Dogs, The Piano มากกว่า) บางคนเรียก Bad Lieutenant ฉบับนี้ว่าหนังคลาสสิก บางคนเรียกว่าหนังคัลท์ ส่วนผมเรียกว่าหนังดิบที่น่าสนใจ แต่ไม่ใช่หนังที่พิศวาสเป็นพิเศษ

แล้วฉบับสร้างใหม่ นี่มันหนังรีเมค หรือหนังเกรดบีของคนคิดสั้นกันแน่

คงไม่ฮือฮาป่าแตก หากชื่อที่มาแปะ ไม่ใช่ชื่อของ นิโคลาส เคจ และ แวร์เนอร์ แฮร์โซก (Werner Herzog)

เกิดอะไรขึ้นกับ Werner Herzog ผู้กำกับหนังคลาสสิกชาวเยอรมันระดับปรมาจารย์ ของหนัง Aguirre, Wrath of God, Fitzcarraldo, The Enigma of Caspar Hauser, Fata Morgana, The Wild Blue Yonder รวมทั้งหนังสารคดีชั้นดีอีกเพียบอย่าง Land of Silence and Darkness (อ่านที่ผมเขียนในหนังสือ 151 Cinema), Little Dieter Need to Fly, La soufrière, Grizzly Man และอื่น ๆ อีกมาก

ผมเคยเขียนเกี่ยวกับ แวร์เนอร์ แฮร์โซก ไว้ในพ็อคเก็ตบุ๊คของ openbooks ชื่อ The 8 Masters : 8 ผู้กำกับภาพยนตร์โลกระดับบรมครู ดูรายละเอียดที่นี่: http://openbooks.tarad.com/product.detail_0_th_1037515

เป็นไปได้ไหมที่ Werner Herzog อยากจะ re-invent ภาพตัวเองใหม่เป็นคนทำหนังที่ “ทำได้สำเร็จ” ในฮอลลีวู้ด หรือ แวร์เนอร์ อยากได้สตางค์ซื้อบ้านใหม่ให้เมียที่แอลเอ หรือเขาอยากพิสูจน์ว่าเขาสามารถตีลังกาพลิกแพลงสูตรหนังตำรวจโฉดอาชญากรชั่วให้คนดูหนังตกใจจนตั้งตัวไม่ติด

ในฐานะที่ผมติดตามดูหนังแทบทุกเรื่องของ แวร์เนอร์ เขียนบทความเกี่ยวกับตัวเขาก็หลายครั้ง แถมยังถ่อไปดูตัวจริงมาอีกถึงสองครา ทั้งที่ลอนดอนและที่เชียงใหม่ (ตอนเขามาถ่าย Rescue Dawn กับ Christian Bale) หนัง Bad Lieutenant ฉบับใหม่นี้จะออกหมู่ออกจ่าก็ต้องตามไปดูละท่าน ถึงจะส่อกลิ่นไม่ชอบมาพากลไปสักหน่อย ว่าลุง แวร์เนอร์ จะรอดเหรอ ทำหนังแอ็คชั่นฮอลลีวู้ด นี่มันจะเป็นหนังของคนคนเดียวกับที่กำกับ Klaus Kinski ถางป่าแล้วเอาโอเปร่าไปแสดง ตะลุยลำน้ำอเมซอน ฝ่าดงป่า ลุยภูเขาหิมะ ตามไปถ่ายภูเขาไฟระเบิดแน่เหรอ กระทั่งชนะรางวัลมากมายตามเทศกาล รวมทั้งเข้าชิงรางวัลออสการ์ปีที่แล้วจากหนังสารคดี Encounters at the End of the World อีกล่ะ

แล้วนี่อาจเป็นครั้งแรกที่ นิโคลัส เคจ อาจส่งให้หนังลุงแวร์เนอร์ ได้ฉายในโรงแบบซีนีเพล็กซ์เป็นครั้งแรก (คราวสารคดี Grizzly Man ไม่นับเพราะฉายที่ลิโด้)

ตอนประกาศข่าวสร้างปั๊ปก็มีข่าวเหน็บแนมกันของสองฝ่าย ฝ่ายผู้กำกับฉบับดั้งเดิมที่อวยพรให้ทีมงานสร้างเรื่องใหม่ไปตกตายตามกันเสียไว ๆ กับ แวร์เนอร์ แฮร์โซก ผู้กำกับฉบับใหม่ที่ยืนยันว่าไม่ใช่หนังรีเมค ตัวละครนำที่เป็นตำรวจเถื่อนไม่ใช่ตัวเดียวกัน ฉากก็ไม่ใช่นิวยอร์ค แต่เป็นนิวออร์ลีนส์ เพียงแต่ชื่อหนังท่อนแรกที่ถูกโปรดิวเซอร์เจาะจงมาเท่านั้น นอกจากนั้นไม่ได้มีอะไรเหมือนกันเลย ที่สำคัญคือ แฮร์โซก ยืนยันว่า เขาไม่เคยดูหนังของ อเบล แฟร์ราร่า (Abel Ferrara) อีกทั้งยังไม่เคยได้ยินชื่อของหมอนี่มาก่อนอีกต่างหาก

พูดแค่เท่านี้ก็เป็นเรื่อง สื่อชอบ คอหนังฉบับเดิมครางฮืด

ไม่กี่เดือนผ่านไป แวร์เนอร์ ถ่ายหนังเสร็จเร็วเหมือนทุกครั้ง จากนั้นถ่ายต่องานเรื่องใหม่ My Son, My Son, What Have Ye Done กับโปรดิวเซอร์ เดวิด ลิ้นช์ (David Lynch) ทันที (ได้ข่าวว่า 2 ปรมาจารย์ตั้งใจพิสูจน์ให้วงการหนังรู้ว่า สามารถทำหนังดีได้โดยใช้งบไม่เกิน 2 ล้านเหรียญ) จนกระทั่งตอนนี้หนังทั้งสองเรื่องได้ออกฉายและเข้าประกวดแล้วที่เทศกาลเวนิซ ตามด้วยเทศกาลหนังโตรอนโต้ เสียงวิจารณ์มีทั้งชื่นชมและไม่สบอารมณ์ และที่งานเมืองเวนิซ แวร์เนอร์ เอ่ยปากชวน แฟร์ราร่าผ่านสื่อด้วยว่าอยากเชิญชวนให้มาดูหนังเอง พิสูจน์ด้วยตาว่าไม่ใช่งานรีเมค แล้วมานั่งกรึ๊บแชมเปญด้วยกัน ซึ่งพอนักข่าวไปถามทาง แฟร์ราร่าบ้าง รายนั้นก็บอกว่าที่เคยสาปส่งน่ะ ไม่รวมตัวแวร์เนอร์กับ นิโคลัส เคจ แต่เจาะจงเฉพาะที่ตัวโปรดิวเซอร์ ที่บังอาจเอาชื่อหนังมาหากินใหม่ ตามด้วยคำที่ว่าเขาไม่ดื่มแชมเปญ ดื่มแต่บัดไวเซอร์

ระหว่างรอชมหนังในโรงด้วยใจระทึก ผมเพิ่งนึกขึ้นได้ว่า แวร์เนอร์ อาจไม่รู้จัก แฟร์ราร่า แต่แน่นอนว่า แฟร์ราร่าต้องเคยรู้จัก แวร์เนอร์ ชัวร์ เพราะในหนังปี 1993 ของ เฟอร์ราร่าเรื่อง Dangerous Game (หรืออีกชื่อคือ Snake Eyes) ที่เคยฉายโรงและออกวีดีโอเทปบ้านเรา มีฉากที่ ฮาร์วี่ย์ ไคเธล หรือ มาดอนน่า ใครสักคนนี่แหละเปิดทีวีแล้วมีภาพ แวร์เนอร์ จากสารคดี Burden of Dreams ของ Les Blank (ที่ตามไปถ่ายเบื่องหลังกองถ่าย Fitzcarraldo ของ แวร์เนอร์ ในป่าอเมซอน) แล้วภาพ แวร์เนอร์ ในทีวีให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความมหัศจรรย์และอันตรายของป่าดงดิบซึ่งหาความโรแมนติกไม่เจอเลย (ประโยคคล้าย ๆ กันนี้ แวร์เนอร์พูดอีกครั้งในสารคดีเรื่องดัง Grizzly Man เมื่อหลายปีต่อมา)

ไม่เขื่อก็ต้องเชื่อ ขณะที่เขียนข้อมูลนี้เพิ่งรู้ว่า Werner Herzog มีหนังเข้าฉายที่เทศกาลหนังเวนิซเป็นเรื่องที่สามในปีเดียวกัน! คือหนังสั้นโอเปร่าเรื่อง La bohème เป็นที่รู้กันว่า Werner ชอบโอเปร่ามาก เคยไปกำกับโอเปร่าของจริงบนเวทีหลายประเทศมาก็หลายครั้ง แต่คราวนี้เป็นครั้งแรกที่ถ่ายลงฟิล์ม! งานนี้เป็นการจ้างของ English National Opera ซึ่งจ้างศิลปินอย่าง Sam Taylor Wood และ Dougal Wilson มาทำหนังโอเปร่าคนละตอน มีตัวอย่างของ แวร์เนอร์ ให้ดูด้วยที่นี่:
http://latimesblogs.latimes.com/culturemonster/2009/09/werner-herzog-takes-la-boh%C3%A8me-to-ethiopia-in-short-film.html

ป่านนี้ คาดว่าเขาคงเริ่มงานกำกับ The Piano Tuner ของ เดเนียล เมสัน แล้วมั้ง (นิยายเรื่องนี้มีแปลเป็นภาษาไทยด้วยในชื่อ เปียโนจูนเนอร์ แปลโดย ศิริรัฐ ทองใหญ่ ณ อยุธยา, สำนักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม) แนวเรื่อง เปียโนจูนเนอร์ นี่ดูเข้าทางถนัด แวร์เนอร์ อยู่แล้ว เพราะเกี่ยวกับคนขาวในแดนตะวันออก

มีคลิปล้อเลียน Werner Herzog ออกรายการทีวี สอนทำกับข้าวด้วย ฮามาก ถ้ารู้จักหนังของเขา (โดยเฉพาะถ้าเคยดู Werner Herzog Eats His Shoe)
http://www.funnyordie.com/videos/be11417a8e/cooking-with-werner-herzog-and-special-guest-jim-jarmusch และมีอีกอันหนึ่งกับ Joaquin Phoenix ด้วย

มีบล็อกของ Werner Herzog ที่นี่ http://thewernerhrzogarchive.blogspot.com/

หมายเหตุ DVD และ VCD หนังแวร์เนอร์ แฮร์โซก
นอกจาก Rescue Dawn ที่ คริสเตียน เบล นำแสดง จะเป็นหนังที่หาดูดีวีดีบรรยายไทยถูกลิขสิทธิ์ได้ไม่ยากแล้ว ยังมีหนังของ แวร์เนอร์ แฮร์โซก อีกสองเรื่องที่ออกเป็นวีซีดีพากย์ไทย รายละเอียดอ่านที่บล็อก นิมิตวิกาล: http://twilightvirus.blogspot.com/2008/01/werner-herzog.html

6.9.09

Reality Filmmaker Project - รายการ "ทำฝันให้เป็นหนัง"

Reality Filmmaker Project

รายการ “ทำฝันให้เป็นหนัง” (Reality Filmmaker) เป็นรายการทีวีทางอินเตอร์เน็ตในรูปแบบของเรียลลิตี้โชว์ ที่จะเปิดให้ผู้ชมทางบ้านสมัครเข้ามาแข่งขันเพื่อคัดเลือกเพียง 15 คนในรอบแรก ที่จะได้รับการอบรมการทำหนัง และคัดให้เหลือเพียง 5 คนสุดท้ายเพื่อ ที่จะได้รวมตัวกันเป็นทีมผลิตหนังสั้นที่มีคุณภาพสูงภายใต้การดูแลและควบคุมจากผู้ เชี่ยวชาญในวงการภาพยนตร์อิสระ และ อิเล็คทริคอีลฟิล์ม (โดย อโนชา สุวิชากรพงศ์)

กติกา (Season ที่ 1 นี้ขอรับเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล)

1.ผู้เข้าแข่งขันอยู่ในช่วงอายุ 18-25 ปี
2.ส่งจดหมายแนะนำตัวเองว่าทำไมคุณควรได้รับเข้าเป็นส่วนหนึ่งในรายการพร้อมทั้งแนบรูปถ่ายรวมถึงระเอียดของผลงานที่ผ่านมาด้วย
3.เลือกตำแหน่งที่อยากทำมากที่สุดดังต่อไปนี้ -Director / ผู้กำกับ -Producer / ผู้ควบคุมการผลิต -Assistant Director / ผู้ช่วยผู้กำกับ -Sound / เสียง -Cinematographer / ตากล้อง
4.ส่งเรื่องย่อของหนังสั้นที่อยากทำ ขนาดความยาวไม่เกิน 1 หน้า A4
5.ส่งเอกสารทั้งหมดข้างต้น มาที่ electrcieelfilms@gmail.com หรือ บริษัท อิเล็คทริคอีลฟิล์ม จำกัด 15/6 อาคารอาณารักษ์ สีลม ซอย 3 แขวงสีลมเขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 (Tel: 02-6670177)
6.กรุณาติดตามรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติมอย่างใกล้ชิดที่ www.electriceelfilms.com
7. เริ่มรับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึง 25 กันยายน 2552 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น !!!

สำหรับรายชื่อของวิทยากรที่จะมาให้ความรู้กับผู้เข้าร่วมรายการประกอบไปด้วยรายนามดังต่อไปนี้

- พี่จุ๊ก อาทิตย์ อัสสรัตน์ (ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Wonderful Town) - พี่ใหม่ อโนชา สุวิชากรพงศ์ (ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Graceland, เจ้านกกระจอก) - พี่ทองดี โสฬส สุขุม (โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์เรื่อง Wonderful Town, เจ้านกกระจอก) - พี่ปิง ม.ร.ว.อัมพรพล ยุคล (ผู้กำกับภาพเรื่อง Wonderful Town) - ปุ่น ธัญสก พันสิทธิวรกุล (ผู้กำกับหนังอิสระ เจ้าของรางวัลศิลปาธรปี 2551) - พี่แอน โสรยา นาคะสุวรรณ (ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Final Score) อยู่ระหว่างการติดต่อ - พี่ลี ชาตะเมธีกุล (ผู้ลำดับภาพ แสงศตวรรษ, Wonderful Town, เจ้านกกระจอก) - พี่น้ำ แม่น้ำ ชากะสิก (ผู้ช่วยผู้กำกับ Wonderful Town, เจ้านกกระจอก) - พี่เก่ง ฑีฆะเดช วัชรธานินทร์ (ผู้ควบคุมการบันทึกเสียงหนังอิสระ) - พี่เคี้ยง ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ (ผู้ออกแบบเสียงหนังอิสระ)

การอบรมนี้จะมีขึ้นในเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2552 หนังสั้นที่ผลิตโดยผู้เข้ารอบ 5 คนสุดท้ายนี้จะเป็นลิขสิทธิ์ของทีมงานทั้ง 5 คน และอิเล็คทริคอีลฟิล์มจะให้ความช่วยเหลือตั้งแต่ขั้นตอนก่อนผลิตจนไปถึงการจัดฉายในเทศกาลภาพยนตร์ทั้งในและต่างประเทศ


Electric Eel Films Co, Ltd.
บริษัท อิเล็คทริคอีลฟิล์ม จำกัด 15/6 อาคารอาณารักษ์ สีลม ซอย 3 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500Tel/Fax: 02-667-0177
Email: info@electriceelfilms.com www.electriceelfilms.com

4.9.09

โปรแกรมภาพยนตร์ ฟิล์มไวรัส กันยายน 2552

Film Program "Let's Scare you to Death - แกล้งให้ตาย" ประจำเดือนกันยายน 2552


A Filmsick Project

LET’S SCARE YOU TO DEATH

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ ชวนชม โปรแกรมพิเศษ ‘แกล้งให้ตาย’ รวมมิตรหนังสยองขวัญตกสำรวจ หลากหลายยุคสมัย นี่คือหนังสยองขวัญชั้นต่ำที่ เล่นจริงเจ็บจริง จากคนบ้าถึงแวมไพร์ จากฆาตกรนักเชือดถึงหมู่บ้านบ้าห้าร้อยจำพวก จากเตียงกินคนถึงธรรมชาติผี และนี่คือบรรดาหนังสยองขวัญที่จะพาคุณไปสุดเขตแดนสนธยาที่ไทวไลท์ยิ่งกว่าไทว์ไลท์ ไม่มีสาวสวยหนุ่มหล่อ ไม่มีภัยคุกคาม มีแต่ภูตผี ปีศาจ และเลือด เลือด เลือด!

ฉายจริงหวีดจริงตลอดเดือนกันยายนนี้

อาทิตย์ 6/9/52 เวลา 12.30 น.
LET’S SCARE JESSICA TO DEATH (JOHN D. HANCOCK/1971/USA)
http://www.youtube.com/watch?v=cX4eZD3GiL0

หนังสยองขวัญตกสำรวจที่ฮิตเงียบตลอดระยะเวลาหลายสิบปี กระทั่งมีแฟนคลับออนไลน์ทั้งๆ ที่ตอนออกฉายนั้นหนังคว่ำสนิท นี่คือหนังที่เล่าเรื่องของเจสสิก้า หญิงสาวที่เพิ่งออกจากโรงพยาบาลบ้า เพื่อเดินทางตามสามีไปพักผ่อนยู่อบ้านใหม่ในหมู่บ้านชนบท ระหว่างทางหล่อนพบว่าหมู่บ้านนี้ไม่น่าไว้ใจสักนิด ยิ่งไปถึงบ้านสวยริมบึงน้ำยิ่งน่าตกใจเพราะมีผู้หญิงคนหนึ่งมาแอบอาศัยอยู่ในบ้านก่อนหน้า แถมหล่อนเริ่มมองเห็นผีสาวมายืนกวักมือเรียกอยู่ไกลๆ มันเป็นแค่หลอนไปเอง หรือหล่อนถูกแกล้งให้ตกใจ หรือที่จริงบ้านนี้มันมีอะไรมากกว่าที่คิด!
http://filmsick.exteen.com/20080719/let-s-scare-jessica-to-death-john-hancock-1971

6/9/52 เวลา 14.30 น.
DEATH BED : THE BED THAT EATS (GEORGE BARRY/1977/USA)
http://www.youtube.com/watch?v=tBhsPP06-mA
หนังสยองขวัญสุดหลอนจากยุคทศวรรษที่เจ็ดสิบซึ่งเชื่อกันว่าสาบสูญไปหลายสิบปี กล่าวกันแบบตรงไม่อ้อมค้อม หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของ เตียงกินคน! เตียงปีศาจหนานุ่มคลุ้มผ้าสวยงาม มีสี่เสาสูงและม่านคลุมรอบทิศ เตียงที่พอใครขึ้นไปนอนก็จะถูกกลืนกินจมไปในฟูกนอนทิ้งไว้แต่พรายฟองสี เหลืองราวละลายหายสูญไปไร้ร่องรอย! เหยื่อรายแล้วรายเล่า พากันมายังปราสาทหินห่างไกล บางคนมาจับคู่จู๋จี๋ บางคนมาท่องเที่ยวพักผ่อน บางคนก็มาหลบหนีการตามล่า หรือย้อนไปตั้งแต่สมัยต้นทาง กระทั่งพระท่านยังถูกเจ้าเตียงผีสิงที่กลืนกิน ภาพสยองของการกลืนกินผู้คนครั้งแล้วครั้งเล่าถูกเล่าผ่านวิญญาณของจิตรกร ที่มาวาดรูปเตียงนี้แล้วถูกจับขังไว้หลังรูปภาพจ้องมองเหยื่อแต่ละรายอย่าง สมเพชเวทนาเท่านั้น!
http://filmsick.exteen.com/20080624/death-bed-the-bed-that-eats-george-barry-1977

อาทิตย์ 13/9/52 เวลา 12.30 น.
THE BODY BENEATH (ANDY MILLIGAN /1970/UK)
http://www.youtube.com/watch?v=UeYj4gomdEM

ภาพยนตร์พิลึกโลกของผู้กำกับชาวอังกฤษมหาประลัยที่ทำหนังราวกับไม่รู้ว่าหนังคืออะไร ว่ากันว่านี่อาจจะเป็นหนังที่เป็นหนังที่สุดของเขา ว่าด้วยเรื่องของพระหนุ่มที่เพิ่งเดินทางกลับมาเปิดโบสถ์เก่าแก่อีกครั้งแต่ที่จริงแล้วพระคือผีดูดเลือดดึกดำบรรพ์ต่างหาก และเขามาที่นี่เพื่อจะมาสืบทอดสายเลือดแวมไพร์ให้กับคนในตระกูล เขาจับหลานสาวตัวเองมาขัง ส่งผีสาวหน้าเขียวไปไล่ล่าสามีของหลานสาว แล้วพยายามจะทำทารกผีดิบกับเธอโดยให้ภรรยาของเขาเป็นธนาคารเลือดเคลื่อนที่ โชคดีที่แฟนหนุ่มของเธอไหวตัวทัน!

13/9/52 เวลา 14.30 น.
THE RAPE OF VAMPIRE (JEAN ROLLINS/1968/FRANCE)
http://www.youtube.com/watch?v=bLyydDBgY8I

ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของเจ้าพ่อหนังเปลือยเปื้อนเลือดที่ตั้งใจจะสั้นแต่ดันเก๋จนต้องทำให้ยาว หนังขาวดำว่าด้วยเรื่องเล่าสองเรื่องที่ไม่ได้เชื่อมโยงอะไรกันมากนัก หนังเล่าเรื่องแบบไม่ปะติดปะต่อเกี่ยวกับนักจิตวิทยาที่พยายามจะบอกกับสี่สาวที่อาศัยในปราสาทว่าเธอไม่ได้มีอายุ 200 ปี อย่างที่เธอคิด หรือท่านลอร์ดจอมลามก สาวที่ถูกควบคุมด้วยเสียงปีศาจ จนในครึ่งหลัง ราชินีแวมไพร์ เข้ามามีส่วนร่วม กับนาฏกรรมความตาย ในขณะที่กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ก็พยายามคิดวัคซีนต่อต้านการเป็นแวมไพร์ แต่นั่นยังไม่บ้าเท่ากับที่ว่าบรรดาตัวละครที่ตายไปแล้วในครึ่งแรกได้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง!!!!

อาทิตย์ 20/9/52 เวลา 12.30 น.
INCUBUS (LESLIE STEVEN/1965/ USA)
http://www.youtube.com/watch?v=C8HZlV0yTZ4
นี่คือหนึ่งในหนังที่เชื่อได้ว่าสูญหายไปตลอดกาลแล้วเรื่องหนึ่งกระทั่งมีคนค้นพบฟิล์มเมื่อเร็วๆ นี้ หนังพูดภาษา Esperanto ทั้งเรื่องและผู้กำกับไม่ประสงค์จะให้มีการพากย์เพื่อคงบรรยากาศพิเศษนั้นเอาไว้ หนังเล่าเรื่องของนางปีศาจที่ชอบล่อหลอกผู้ชายนิสัยเลว ซึ่งนับวันจะยิ่งน่าเบื่อ เพราะผู้ชายเหล่านั้นสุดท้ายต้องตายลงนรกอยู่ดี เธอจึงอยากจะลองหลอกล่อคนดีๆ กับเขามั่ง โดยไม่ฟังคำทัดทานจากน้องสาว เธอพยายามล่อลวงมาร์คชายหนุ่มผู้กล้าเผชิญความตายอย่างห้าวหาญ หลังจากผ่านค่ำคืนหนึ่งไปด้วยกันเธอกลับพบว่าไม่เพียงมาร์คจะไม่เป็นอะไร แต่เธอกลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้เพราะความรัก ด้วยความอาฆาตแค้น เธอจึงร่ายเวทย์ปลุกผีหวังจะทำลายมาร์คโดยเริ่มจากน้องสาวของเขา

20/9/52 เวลา 14.30 น.
LONG WEEKEND (COLIN EGGLESTON/1978/AUSTRALIA)
http://www.youtube.com/watch?v=rfaHMWls-Lc

หนังออสเตรเลียสุดระทึกที่เพิ่งเอามารีเมคใหม่เมื่อปีที่ผ่านมา เรื่องนี้เล่าเรื่องของคู่รักที่กำลังระหองระแหงเดินทางไกลหมายจะใช้วันหยุดสนสุขริมหาดลึกลับ ฝ่ายชายชอบแดดจ้าท้าลม ฝ่ายหญิงใจจริงกลับอยากนอนโรงแรมหรูมากกว่า แต่ข้อโต้แย้งของพวกเขาก็ตกไปเมื่อเขาเริ่มรู้สึกว่าตนเองถูกคุกคามจากนกหนูปูปลาในบริเวณนั้น กระทั่งเขาพบซากปลาโลมาตายที่เคลื่อนที่เข้ามาหาพวกเขาทุกที รถตู้ร้างริมหาด และนกที่จ้องทำร้ายอย่างไร้เหตุผล ความสัมพันธ์กลัดหนองก็ยิ่งอักเสบปริแตกออกมาทุกทีๆ บางทีอาจเป็นไปได้ว่าธรรมชาติละเล่นตลกและย้อนกลับมาไล่ฆ่าพวกเขาเยี่ยงฆาตกรโรคจิต
http://filmsick.exteen.com/20090321/long-weekend-colin-eggleston-1978-australia


อาทิตย์ 27/9/52 เวลา 12.30 น.
20,000 MANIACS (HERSCHELL GORDON LEWIS/1964/USA)
http://www.youtube.com/watch?v=CP7ROBiljt4

ภาพยนตร์สยองขวัญยุคต้นของเจ้าพ่อหนังสยองขวัญพื้นบ้าน Herschell Gordon Lewis ที่ระทึกจนถูกเอามารีเมคแบบเติมจำนวนคนบ้าเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา หนังเล่าเรื่องกลุ่มหนุ่มสาวหน้าใสขับรถไปเที่ยววันหยุดแล้วพลัดหลงเข้าไปในเมืองประหลาดที่ชาวเมืองกำลังเฉลิมฉลองราวกับเพิ่งเสร็จสงครามกลางเมืองก็มิปาน พวกเขาชวนหนุ่มสาวให้ไปร่วมงานฉลองตลอดทั้งวันทั้งคืน จัดให้พวกเขาเข้าพักในโรงแรมชั้นดีของเมือง มีนายอำเภอมาต้อนรับ ซึ่งมันก็คงจะดีอยู่หรอกถ้าไม่บังเอิญว่าพวกเขาเองต้องมีส่วนร่วมในงานฉลองนั้นด้วย ซึ่งแน่นอน ไม่ใช่ในลักษณะผู้ชม! นี่คือหนังสยองขวัญทุนต่ำยุคหกสิบถ่ายง่ายฉายคล่องที่จะทำให้คุณขนลูกกรูเกรียวทั้งๆ ที่ว่าห้ากระจ่างสดใสเลยทีเดียว
http://filmsick.exteen.com/20081023/2000-maniacs-herschell-gordon-lewis-1964

27/9/52 เวลา 14.30 น.
THE GERMAN CHAISAW MASSACRE (CHRISTOPH SCHLINGENSIEF/1990/GERMAN)
http://www.youtube.com/watch?v=OM8ZevwUf2A

เราเคยรู้จักครอบครัวเลื่อยไฟฟ้ามหาภัยในเทกซัสมาแล้วหลายต่อหลายรอบ แต่ใครจะรู้ว่าในตะเข็บชายแดนเยอรมัน (เมื่อครั้งกำแพงเบอร์ลินยังไม่ทันพัง) ก็มีครอบครัวแบบนี้อยู่ด้วยแถมยังบ้ายกกำลังสามเพราะนี้คือครอบครัวปีศาจที่ชอบไล่ฆ่าคน แต่เลือกเฉพาะพวกเยอรมันตะวันออกที่นี่ข้ามพรมแดนกำแพงเบอร์ลินมานะ เนื้อพวกมันอร่อยเหมาะจะเอาไปทำไส้กรอกเยอรมัน! ซึ่งมันก็คงง่ายอยู่หรอกถ้าเหยื่อรายล่าสุดไม่ใช่สาวทอมบอยหน้าใสใจสิงห์ที่สู้ยิบตา นี่คือหนังสุดฮา บ้าคลั่ง และป่าเถื่อนซึ่งเหมาะแก่การปิดฤดูกาลมหาประลัยรี้อย่างยิ่ง ภาพยนตร์โดย Chirstop Schlingensief ฉาวโฉ่ตัวแม่ที่ทำหนังมาเมื่อไหร่ ได้เรื่องกับทั้งคนดู นักวิจารณ์และพวกอนุรักษ์นิยมทุกครั้งไป!
http://filmsick.exteen.com/20081126/the-german-chainsaw-masacre-christoph-schlingenseif-1991

13.8.09

Lav Diaz on Thai bus


Lav with Adadol


(photo by Big)


More photos on Filmvirus Wordpress http://filmvirus.wordpress.com/

11.8.09

กาจับโลง (BOOKVIRUS ฟุ้ง ซีรี่ส์ 03) ปก 2 แบบ


กาจับโลง
BOOKVIRUS ฟุ้ง ซีรี่ส์ 03

แปลโดย แดนอรัญ แสงทอง และ ธิติยา ชีรานนท์
มีพิมพ์ 2 ปก จำนวนพิมพ์ 200 เล่มเท่านั้น
มีขายเฉพาะที่ร้าน คิโนะคุนิยะ สาขา พารากอน และ อิเซตัน (อาคารเซ็นทรัลเวิล์ด)

3.8.09

Achtung Documentary Films

Filmvirus Program at Thammasat University in September (Coming Soon / with 2 films provided by the Goethe Institute)

Admission Free!

Our current Film Program at Thammasat University :

Sunday 9 August 2009
12.30 Alice's House (2007) by Chico Teixeira
2.30 pm Paraguayan Hammock (2006) by Paz Encina (250th Anniversary Mozart Film-New Crowned Hope Project)

Please see details here (in Thai only)
http://dkfilmhouse.blogspot.com/2009/05/new-ages.html

26.7.09

ก า จั บ โ ล ง Bookvirus (ฟุ้ง series 03)

ก า จั บ โ ล ง
Bookvirus
ฟุ้ง series 03
(กรกฎาคม 2552) ราคา 99 บาท (พิมพ์จำนวนจำกัด ฉบับ Collector’s Edition)

รวมเรื่องสั้นแปลอมตะของ 2 นักเขียนระดับโลก

“เลือดสามหยาด” โดยนักเขียนชาวอิหร่าน Sadeq Hedayat เจ้าของผลงาน “ฝันสีดำ” (The Blind Owl) แปลโดย มหาเมธีแห่งสวนอักษรเจ้าเก่า แดนอรัญ แสงทอง

“สารานุกรมชีวิตผู้ตาย” ฝีมือนักเขียนชาวยูโกสลาเวีย Danilo Kiš แปลโดย ธิติยา ชีรานนท์

จำหน่ายวันแรก หน้างาน Lav Diaz (Death in the Land of Melancholia : Lav Diz Retrospective in Thailand) ในวันที่ 31 ก. ค. และ 1 ส.ค. 2552 ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) และในวันที่ 2 ส.ค. 2552 ที่ Bangkok Code (สถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์)

หรือ จำหน่ายที่ร้านคิโนคูนิยะ สาขาพารากอน และสาขาอิเซตัน

โปรดติดตาม : Bookvirus (ฟุ้ง series 04) ฉบับ สนธิสัญญาอสูร
กำหนดออก สิงหาคม 2552

25.7.09

Lav Diaz on Daily Xpress (Bangkok)

Lav Diaz ขึ้นปก Daily Xpress

17.7.09

ชม Lav Diaz Video trailer ก่อนดูตัวจริงในกรุงเทพ ฯ

ก่อนไปดูหนัง Lav Diaz ปลายเดือนนี้ที่กรุงเทพ ฯ และต้นเดือนหน้าที่ภูเก็ต


ดูตัวอย่างได้ก่อนที่นี่



http://www.youtube.com/watch?v=v146A5jO_Yg

แล้วอย่าลืมมากระทบไหล่ตัวจริงด้วยล่ะ!

Filmvirus ทุ่มทุนสร้าง เหวี่ยงทุนเสนอ งานนี้ล่มจมสถานเดียวครับท่าน

26.6.09

DEATH IN THE LAND OF MELANCHOLIA : LAV DIAZ RETROSPECTIVE IN THAILAND (พร้อมเพิ่มรอบฉายที่หอภาพยนตร์)

DEATH IN THE LAND OF MELANCHOLIA : LAV DIAZ RETROSPECTIVE IN THAILAND


New Film Program by Filmvirus!
(Admission Free as usual)

* * * นอกจากงานเทศกาลเสวนาหนังประหยัด 4 วัน ที่สมาคมฝรั่งเศสเมื่อปี 2542 กับงาน Nine Lives : French Contemporary Cinematic Treasures เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 (เปิดงานที่ Major Cineplex สุขุมวิท) และงาน The Bizarre World of Shuji Terayama เมื่อปี 2551 ที่ Bangkok Code แล้ว นี่คืออีกงานที่หรูสุดของ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส)! * * *


ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (Filmvirus) ร่วมกับ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพ BANGKOK CODE นิตยสารไบโอสโคป CONFERENCE OF BIRDS GALLERY และ ร้านหนัง(สือ)๒๕๒๑ ชวนชม ภาพยนตร์สายพันธุ์พิเศษ จากผู้กำกับฟิลิปปินส์ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกแผ้วทางของคนทำหนังอิสระรุ่นใหม่ของฟิลิปปินส์ อย่าง LAV DIAZ

LAV DIAZ ได้ชื่อว่าเป็นผู้กำกับที่ไม่ยอมประนีประนอมกับระบบสตูดิโอ เขาทำหนังแทบทั้งหมดด้วยตนเอง หนังของเขาทำลายกำแพงเวลาปกติของการรับชมภาพยนตร์ด้วยการสร้างหนังที่ยาวมากกว่าระบบปกติ หนังของเขามีความยาวตั้วแต่ 5 – 10 ชั่วโมง เล่าเรื่องเชื่องช้าของคนเล็กคนน้อยแห่งฟิลิปปินส์ หนังของ DIAZ เป็นไปเพื่อบันทึก ตอบโต้และแสดงจุดยืนทางการเมืองอันมั่นคงที่เขามีต่อประเทศของตนตลอดระยะเวลาเกือบยี่สิบปี และกลายเป็นเหมือนแรงบันดาลใจให้กับคนทำหนังรุ่นใหม่ของฟิลิปปินส์ที่กำลังกลายเป็นประเทศที่ถูกจับตามองจากเทศกาลภาพยนตร์ทั่วโลก

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ เรียนเชิญทุกท่านชมหนังมหากาพย์แห่งคนเล็กคนน้อยแบบยกชุด กระจายทั่วกรุงเทพ และภูเก็ต! (พร้อมทั้งร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับ LAV DIAZ ตัวจริงเสียงจริง ร่วมด้วย ALEXIS TIOSECO นักวิจารณ์ชาวฟิลิปปินส์ และ อาดาดล อิงคะวณิช)

ศุกร์ 31 กรกฏาคม 2552 ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพ (BACC)

16.00 น. ชม HEREMIAS BOOK ll (2 ชั่วโมง)
18.00 น. ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับหนังของ LAV DIAZ และหนังฟิลิปปินส์ร่วมสมัย กับ LAV DIAZ และ ALEXIS TIOSECO ร่วมกับ อาดาดล อิงคะวณิช

เสาร์ 1 สิงหาคม 2552 ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพ (BACC)
12.00 น. ชม MELANCHOLIA (8 ชั่วโมง) ภาพยนตร์ที่คว้ารางวัล Horizon Award จากเทศกาลภาพยนตร์เวนิซ

อาทิตย์ 2 สิงหาคม 2552 ที่ BANGKOK CODE
12.00 น. ชม DEATH IN THE LAND OF ENCANTOS (9 ชั่วโมง)

อังคาร 4 สิงหาคม 2552
Campus Tour มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

เสาร์ 8 สิงหาคม 2552 ที่ CONFERENCE OF BIRDS GALLERY
12.00 น. ชม EVOLUTION OF FILLIPINO FAMILY (11 ชั่วโมง)

อาทิตย์ 9 สิงหาคม 2552 ที่ CONFERENCE OF BIRDS GALLERY
12.00 น. ชม HEREMIAS BOOK 1 (9 ชั่วโมง)

เสาร์ 30 สิงหาคม 2552 ที่ ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต
12.00 น. ชม MELANCHOLIA ( 8 ชั่วโมง ) ภาพยนตร์ที่คว้ารางวัล Horizon Award จากเทศกาลภาพยนตร์เวนิซ

อาทิตย์ 31 สิงหาคม 2552 ที่ ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต
12.00 น. ชม DEATH IN THE LAND OF ENCANTOS (9 ชั่วโมง)

เสาร์ 6 กันยายน 2552
12.00 น. ชม EVOLUTION OF FILLIPINO FAMILY (11 ชั่วโมง)

อาทิตย์ 7 กันยายน 2552
12.00 น. ชม HEREMIAS BOOK 1 (9 ชั่วโมง)

หมายเหตุ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของผู้กำกับ ภาพยนตร์ทั้งหมดจะฉายโดยไม่มีพักระหว่างการฉาย

ประกาศเพิ่มรอบฉายที่ หอภาพยนตร์ ศาลายา


หอภาพยนตร์ ฉลองการเป็นองค์การมหาชนด้วยการประเดิมขอแจมโปรแกรม ความตายใต้เงาโศก มหากาพย์ภาพยนตร์ของ LAV DIAZ : Death in the Land of Mellancholia

ตารางฉาย ณ ศรีศาลายา หอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)
จันทร์ 3 สิงหาคม 2552
10.00 DEATH IN THE LAND OF ENCANTOS (9 ชั่วโมง)

จันทร์ 10 สิงหาคม 2552
10.00 MELANCHOLIA (8 ชั่วโมง)

จันทร์ 17 สิงหาคม 2552
10.00 HEREMIAS BOOK 1 (9 ชั่วโมง)

จันทร์ 24 สิงหาคม 2552
9.00 EVOLUTION OF FILLIPINO FAMILY (11ชั่วโมง)

สอบถามเพิ่มเติมที่ filmsick@gmail.com

25.6.09

มหากาพย์ภาพยนตร์ของ Lav Diaz

จากฟิลิปปินส์ถึงไทยแลนด์ ฝันที่เป็นจริงของ filmsick

ความตายใต้เงาโศก : มหากาพย์ภาพยนตร์ของ ลาฟ ดิอาซ

DEATH IN THE LAND OF MELANCHOLIA : LAV DIAZ RETROSPECTIVE IN THAILAND

ปลายเดือนกรกฏาคมนี้ ที่กรุงเทพ ฯ และภูเก็ต



photo from : http://www.zimbio.com/

เทศกาลหนังนานาชาติเมืองเวนิสปีที่ 65 ปี 2008 มอบรางวัล Orizzonti (Horizons) Grand Prize ให้ Lav Diaz คาราบาวชาวฟิลิปปินส์ นำทีมกรรมการโดยผู้กำกับปรมาจารย์ Chantal Akerman, Nicole Brenez (นักวิจารณ์หนังฝรั่งเศส), Barbara Cupisti (นักแสดงชาวอิตาเลี่ยน), Jose Luis Guerin (ผู้กำกับ In the City of Sylvia), Veiko Ounppu (ผู้กำกับชาวเอสโตเนียเรื่อง Autumn Ball)

15.6.09

กัลปพฤกษ์ - สัมภาษณ์ Peter Todd จาก BFI


สัมภาษณ์ Peter Todd จาก BRITISH FILM INSTITUTE (BFI)

โดย กัลปพฤกษ์ - สัมภาษณ์ตรงจากอังกฤษ

http://twilightvirus.blogspot.com/2009/06/peter-todd-bfi.html

28.5.09

โปรแกรมพิเศษฟิล์มไวรัส- The Artist’s Fate in the Artists' World

A Special Premiere

*** The Artist's Fate ***

ภาพยนตร์โดย วิไลวรรณ แพร่เจริญ

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับ สำนักหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ภูมิใจเสนอ

D.K. Filmhouse (filmvirus) Special Program

The Artist’s Fate in the Artists' World

ณ ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(ชมฟรี ไม่ต้องเสียค่าเข้าห้องสมุด แต่กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และแต่งตัวสุภาพ)

ตารางจัดฉายภาพยนตร์รอบพิเศษ
วันเสาร์ ที่ 13 มิถุนายน 2552

12.30 น. Attack on a Bakery (Haruki Murakami)
13.00 น. Pina Bausch’s Café Muller
14.00 น. การแสดงดนตรีสด โดย คุณ พัชรีพร ชูศรีทอง
14.30 น. The Artist’s Fate
(เชิญร่วมพูดคุยคนหน้ากล้องและหลังกล้องผู้กำกับ)

Attack on a Bakery (Haruki Murakami)
1982 / 17 นาที / Japan
Naoto Yamakawa กำกับ

Attack on a Bakery (Panya Shujeki) เป็น 1 ในหนังเพียงไม่กี่เรื่องที่ได้รับการยินยอมจากผู้แต่ง Haruki Murakami เจ้าของเรื่องสั้นเดิมให้สร้างเป็นหนัง ตัวหนังได้รับรางวัล Grand Prix ในปี 1987 ที่เทศกาลหนังเมลเบิร์น ฟิล์ม เฟสติวัลที่ประเทศแคนาดา

* * * อ่านข้อมูลเกี่ยวกับตัวหนังและ ฮารูกิ มูรากามิ ได้ที่ นิมิตวิกาล: http://twilightvirus.blogspot.com/2007/09/bookvirus_14.html

Pina Bausch’s Café Muller
การแสดงเต้นรำของ Pina Bausch และคณะ
ความยาว 52 นาที


***************************************************************
Special Identity: A Talk with the Artists
ภาพยนตร์เรื่อง - The Artist’s Fate

โดย วิไลวรรณ แพร่เจริญ
2009 / 100 นาที

หนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งซึ่งร่ำเรียนและคลุกคลีอยู่กับศิลปะมาหลายปี กำลังอยู่ในจุดเริ่มต้นของเส้นทางศิลปินที่พวกเขาเลือกเดิน เส้นทางชีวิตของพวกเขาจะเป็นอย่างไร พวกเขาจะบรรลุถึงเป้าหมายได้หรือไม่ ยังคงเป็นความลับของกาลเวลา ที่รอการเปิดเผยในอนาคต

เราจะได้รู้จักกับบางส่วนของชีวิตของพวกเขาผ่านบทสัมภาษณ์ถึงประวัติความเป็นมา ชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน ความคิด ความฝัน ที่เป็นเรื่องราวทั้งในอดีตและปัจจุบันที่จะสะท้อนไปยังอนาคตต่อไป
(อ่านเกี่ยวกับ 1 ใน 4 ศิลปินจากภาพยนตร์ - ลำพู กันเสนาะ ได้ที่ เว็บ onopen: http://www.onopen.com/filmvirus/09-02-14/4578)

10.5.09

โปรแกรมภาพยนตร์ระดับ "บิ๊ก" ชุด NEW AGES

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เชิญชม

NEW AGES

ทุกวันอาทิตย์ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน – 9 สิงหาคม 2522 ตั้งแต่เวลา 12:30 น. เป็นต้นไป

ณ ห้องเรวัต พุทธินันท์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุด ปรีดี พนมยงค์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0-2613-3530
ชมฟรี!!! (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณาแต่งกายสุภาพ)

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน 2552

12.30 น. Surprise Film (หนังจากคาซัคสถาน)
14.30 น. Funuke Show Some Love, You Losers! (2007) กำกับโดย Daihachi Yoshida

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2552
12.30 น. In Between Days (2006) กำกับโดย So Yong Kim
14.30 น. The Puffy Chair (2005) กำกับโดย Jay Duplass

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2552
12.30 น. Chalk (2006) กำกับโดย Mike Akel
14.30 น. Great World of Sound (2007) กำกับโดย Craig Zobel

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม 2552
12.30 น. Garage Olimpo (1999) กำกับโดย Marco Bechis
14.30 น. Train of Shadows (1997) กำกับโดย Jose Luis Guerin

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม 2552
12.30 น. Hounds (2007) กำกับโดย Ann-Kristin Reyels
14.30 น. Body Rice (2006) กำกับโดย Hugo Vieira da Silva

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2552

12.30 น. The Art of Crying (2006) กำกับโดย Peter Schonau Fog
14.30 น. Tricks (2007) กำกับโดย Andrzej Jakimowski

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม 2552
12.30 น. Boogie (2008) กำกับโดย Radu Muntean
14.40 น. Fissures (2006) กำกับโดย Alante Kavaite

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม 2552
12.30 น. La Zona (2007) กำกับโดย Rodrico Pla
14.30 น. 25 Watts (2001) กำกับโดย Juan Pablo Rebella, Pablo Stoll

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม 2552

12.30 น. Alice's House (2007) กำกับโดย Chico Teixeira
14.30 น. Paraguayan Hammock (2006) กำกับโดย Paz Encina

*******************************************************************
เรื่องย่อภาพยนตร์

Funuke Show Some Love, You Losers!
Daihachi Yoshida, Japan, 2007, 112min

ดัดแปลงจากนิยายของยูคิโกะ โมโตยะ ผ่านการถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์โดยผู้กำกับหน้าใหม่ไดอิฮาจิ โยชิดะ ฉายภาพความสัมพันธ์ประหลาดของครอบครัวตระกูลซาโตะ เมื่อเสาหลักของตระกูลคือปู่และย่าจากไปอย่างกะทันหันด้วยอุบัติเหตุ สุมิกะลูกสาวคนกลางที่เดินทางไปตามฝันการเป็นดาราในโตเกียวได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด การกลับมาของเธอได้พาความหลังบางอย่างกับครอบครัวมาด้วย ทั้งความสัมพันธ์อันน่าเคลือบแคลงกับชินจิพี่ชายผู้ค่ำเคร่ง ซึ่งแต่งงานไปกับมาชิโกะสาวไม่เต็มเต็งในหมู่บ้าน และเคียวโอมิน้องสาวเนิร์ดที่มีพรสวรรค์ในการเขียนการ์ตูนซึ่งกินแหนงแคลงใจกันอยู่ในที

In Between Days
So Yong Kim, South Korea/USA, 2006, 82min

ภาพยนตร์โดยโซยองคิมผู้กำกับหญิงเกาหลีใต้ที่เติบโตในอเมริกา ตีแผ่เรื่องราวการดิ้นรนของชีวิตผู้อพยพที่หวังกับชีวิตใหม่ในเมืองใหญ่ ติดตามชีวิตของไอมี่เด็กสาวเกาหลีที่เพิ่งอพยพมายังแคนาดา ความแปลกถิ่นและโดดเดี่ยว ได้สร้างความยากลำบากอย่างสูงต่อการดำรงชีวิตในดินแดนใหม่ จะมีก็เพียงแต่หนุ่มทรานเพื่อนเพียงคนเดียวเท่านั้นที่คอยเป็นคู่หูรู้ใจ แต่ความยุ่งยากก็เริ่มก่อตัวในจิตใจ เมื่อไอมี่เริ่มรู้สึกมีใจให้กับทรานแต่ก็กลัวว่าหากเผยใจออกไป มิตรภาพระหว่างทั้งคู่จะสูญสลาย

The Puffy Chair
Jay Duplass, USA, 2005, 85min

หนังโร้ดทริปฝีมือการกำกับเรื่องแรกของเจย์ ดูปลาส ว่าด้วยเรื่องราวของโจช ชายผู้ล้มเหลวจากชีวิตในเมืองใหญ่ตัดสินใจกลับบ้านที่จากมาด้วยความหวังเรืองรอง แต่การกลับอย่างมือเปล่านั้นดูจะเป็นการเสียฟอร์มไม่น้อย และเพราะภาพของโซฟาม่วงครามตัวน้อยที่พบในเวปไซต์อีเบย์ทำให้โจชนึกถึงโซฟาสุดรักสุดหวงของพ่อเมื่อครั้งยังที่เขายังเด็ก โจชบังเกิดไอเดียทีจะซื้อโซฟาตัวนี้เพื่อเป็นของขวัญให้แก่พ่อและแก้เก้อให้กับตัวเอง แต่ทว่าค่าขนส่งที่แพงหูฉี่นั้นดูจะไม่เป็นมิตรต่อกระเป๋าสะตางค์แบนๆเท่าไรนัก เขากับเอมิลี่แฟนสาวจึงเลือกขับรถข้ามรัฐเพื่อไปรับโซฟาตัวนี้ด้วยตัวเอง และระหว่างทางก็ได้แวะรับน้องชายสุดแสบของเอมิลี่ร่วมทริปด้วย ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ได้ช่วยงัดแงะภาพความสัมพันธ์ที่ถูกเก็บดองมาเนิ่นนานของทั้งสามออกมา

Chalk
Mike Akel, USA, 2006, 84min

The Class ภาคอเมริกันที่มาก่อนภาคฝรั่งเศสอันโด่งดังถึงสองปี ถ่ายทอดด้วยสไตล์ของสารคดีลวงโลก (Mockumentary) ได้อย่างสนุกมีชั้นเชิงและตีแผ่วงการการศึกษาของอเมริกาได้อย่างถึงรส แม้แต่มอร์แกน สเปอร์ล็อคผู้กำกับสารคดีชื่อดัง Super Size Meยังออกปากชื่นชม หนังพาเราไปติดตามชีวิตของครูสี่คนต่างบุคลิคในโรงเรียนไฮสคูลแฮริสันไฮท์ กับช่วงหนึ่งปีการศึกษาที่พวกเขาต้องเผชิญกับปัญหามากมายที่ประดังประเดเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นการต้องผจญกับเหล่านักเรียนลิงทะโมนทีคอยแต่จะสร้างปัญหาในชั้นเรียนไม่หยุดหย่อน การต่อสู้กับความมุ่งหวังแรกเริ่มในการเป็นครูในอุดมคติ รวมไปถึงความขัดแย้งทางความคิดและการชิงดีชิงเด่นระหว่างบรรดาครูด้วยกันเอง

Great World of Sound
Craig Zobel, UนSA, 2007, 106min

เคร็ก โซเบลเคยเป็ผู้ช่วยผู้กำกับและผู้อำนวยการสร้างของเดวิด กอร์ดอน กรีนหลายต่อหลายเรื่อง ก่อนจะผันตัวมากำกับหนังเรื่องแรกที่ผสมระหว่างงานสไตล์การเรียนรู้ชีวิตและโร้ดมูฟวี่ บอกเล่าเรื่องราวของมาร์ติน หนุ่มนักขายที่บังเอิญได้มาเป็นเซลส์แมนขายฝันให้กับบริษัทที่มีชื่อว่า Great World of Sound เขาพบคู่หูต่างสีผิวนามว่าคลาเรนซ์ชายผิวดำวัยกลางคนผู้กำลังตามหาความเปลี่ยนแปลงใหม่ของชีวิต ขณะที่ยุคสมัยของอเมริกันไอดอลครองเมือง ผู้คนต่างดิ้นรนที่จะมีชื่อเสียงในเส้นทางบันเทิง แต่ทว่าในความเป็นจริงหนทางไปสู่จุดนั้นไม่ได้สะดวกสบายเหมือนปูด้วยซีแพคโมเนีย เหตุนี้ทั้งคู่จึงมีหน้าที่ในการปูพรมให้กับความฝันเหล่านั้น ด้วยข้อเสนอพาเข้าสู่วงการแลกกับเงินค่านายหน้า ในช่วงต้นนั้นดูเหมือนว่าทั้งมาร์ตินและคลาเรนซ์จะสนุกสนานกับงานที่กำลังแล่นฉิวด้วยดี แต่เมื่อเวลาผ่านไปทั้งสองเริ่มบังเกิดคำถามว่าบริษัทได้เสนอหนทางที่ดีแก่คนเหล่านั้นจริงหรือ

Garage Olimpo
Marco Bechis, Italy/Argentina, 1999, 98min

ในกลางยุค 70 อาร์เจนติน่าเมื่อครั้งระบอบเผด็จการยังฝังรากความโหดร้ายอยู่ทั่วหัวระแหง การจับกุมผู้ต่อต้านรัฐบาลพบเห็นเป็นปกติบนท้องถนน มาเรียเป็นครูสาวผู้เร้นโฉมนักกิจกรรมการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลทหารไว้เบื้องหลัง เธอพบรักกับเฟลิกซ์หนุ่มขี้อายที่เช่าห้องในบ้านแม่ของเธออยู่ ในเช้าวันที่อากาศแจ่มใส เจ้าหน้าที่รัฐบาลบุกจับตัวมาเรียไปยังโกดังร้างซึ่งเป็นที่คุมขังนักโทษการเมือง ที่นั่นเธอพบกับการทรมานอันแสนโหดร้าย และมันก็ทวีความรวดร้าวขึ้นไปอีกเมื่อเธอพบว่าหนึ่งในผู้คุมนั่นคือ เฟลิกซ์หนุ่มคนรักของเธอเอง ขณะที่อีกด้านหนึ่งผู้เป็นแม่ก็กำลังออกตามหาลูกสาวด้วยหัวใจแตกสลาย

Train of Shadows
Jose Luis Guerin, Spain, 1997, 81min

ผลงานในยุคแรกของ โฮเซ่ หลุยส์ เกอริน ก่อนที่จะโด่งดังเป็นที่รู้จักใน In the City of Sylvia ซึ่งแสดงถึงความหลงไหลในมนต์ขลังของหนังเงียบยุคแบเบาะของภาพยนตร์ Train of Shadows นั้นเป็นการผสมผสานกันของฟุตเตจหนังบ้านของครอบครัวชาวปาริเซียงที่สาบสูญไปกว่า 70 ปี ตัดสลับกับภาพเหตุการณ์สมัยปัจจุบัน ซึ่งพาเราไปดื่มด่ำกับความรื่นรมย์ทางภาพและเสียงอันเป็นแบบฉบับของเกอริน ทั้งสองส่วนถูกร้อยโยงกลมกลืนราวกับภาพการหยอกล้อของยุคสมัย ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเบาะแสชั้นดีต่อการติดตามร่องรอยการเติบโตทางความคิดของ โฮเซ่ หลุยส์ เกอริน รวมถึงยังเป็นดั่งภาพฉายที่แสดงการขับเคลื่อนของวงล้อนวัตกรรมภาพยนตร์ที่แล่นผ่านหน้าต่างแห่งยุคสมัย

Hounds
Ann-Kristin Reyels, Germany, 2007, 86min

ช่วงเวลาสุขสมแห่งเทศกาลคริสมาสต์ ลาร์สเด็กหนุ่มวัย 16 ปีที่ครอบครัวเพิ่งแตกแยก ต้องระเหเซซังตามพ่อจากเบอร์ลินมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในหมู่บ้านไกลปืนเที่ยง ความเป็นคนเมืองแปลกถิ่นนั้นสร้างความแปลกแยกต่อสองพ่อลูกอยู่ไม่น้อย และบรรยากาศภายในบ้านเองก็ใช่จะแตกต่าง ความเงียบได้ก่อตัวขึ้นเป็นกำแพงขวางกั้นความสัมพันธ์ของพ่อลูกในท่ามกลางบรรยากาศยะเยือก แต่แสงสว่างยังพอมี เมื่อลาร์สได้สานสัมพันธ์มารีสาวใบ้ผู้จูงมือลาร์สหันเหออกจากสภาวะเศร้าหมองที่เกาะกุมอยู่ภายใน Hounds เป็นผลงานเรื่องแรกและเป็นภาพยนตร์จบการศึกษาของผู้กำกับสาวอาน คริสติน เรเยลส์ ซึ่งคว้ารางวัลนักวิจารณ์ในสายฟอรั่มจากเทศกาลภาพยนตร์เบอร์ลินปี 2007

Body Rice
Hugo Vieira da Silva, Portugal, 2006, 118min

แคทรินและจูเลีย สองสาวน้อยวัยแรกแย้มถูกส่งไปดัดสันดานพร้อมกับกลุ่มหนุ่มสาวชาวเยอรมัน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับทัศนคติและเรียนรู้การอยู่ร่วมกันยังภูมิภาคกันดารแดนใต้ของโปรตุเกส โดยไม่ลืมพกพาความแปลกแยกต่อสังคมติดตัวมาด้วย ที่นี่เอง ทั้งสองได้สนิทสนมกับเปโดรเด็กหนุ่มเจ้าถิ่นที่แบกความผิดแผกไว้บนใบหน้าไม่ต่างกัน แต่กระนั้นการเข้าไปปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆก็เป็นเรื่องน่าเบื่อหน่ายเหลือกำลัง ภูมิทัศน์แห้งผากเคว้งคว้างนั้นก็รังแต่เป็นตัวบีบเร้าบรรยากาศความตึงเครียดให้สุมรุมขึ้นภายในจิตใจ มีเพียงแต่การเต้นรำอย่างเมามันส์กับปาร์ตี้ดนตรีแทรนซ์เท่านั้น ที่ดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมเดียวที่ปลดปล่อยทุกคนจากสภาวะซึมกระทือได้ชั่วขณะ Body Riceเป็นหนังเรื่องแรกของ ฮูโก้ วิเอร่า ดา ซิลวา ผู้กำกับฯดาวรุ่งของโปรตุเกส ที่มีสไตล์ใกล้เคียงกับ กัส แวงต์ ซองต์ หรือรุ่นพี่ร่วมชาติอย่างเปโดร คอสต้า ด้วยภาษาหนังที่เนิบนิ่ง ใช้ภูมิทัศน์อันเวิ้งว้างของสถานที่และดนตรีจังหวะเมามันส์เป็นส่วนช่วยขับเร้าบรรยากาศ

The Art of Crying
Peter Schonau Fog, Denmark, 2006, 106min

ภาพยนตร์ตลกร้ายชิ้นเยี่ยมสร้างจากนิยายของเออริ่ง เยปเซ่น ที่ทำให้ผู้ชมทั้งหัวเราะร่าน้ำตารินไปเรื่องราวของอัลลันเด็กวัย 11 ปี ผู้พยายามรักษาบรรยากาศความอบอุ่นของครอบครัวเล็กๆที่ผิวเผินเหมือนจะอุ่นหนาแต่ความเว้าแหว่งได้ซ่อนตัวอยู่ในหล่มลึกใต้เงามืด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับตัวการสำคัญคือพ่อผู้ขี้ใจน้อย ที่ขู่จะฆ่าตัวตายทุกครั้งหากไม่ได้ดั่งใจ ในงานศพของลูกชายเพื่อนบ้านคู่อริ เขาค้นพบว่าพ่อนั้นมีพรสวรรค์ในการกล่าวถ้อยคำสรรเสริญในงานศพ อัลลันพยายามทำทุกวิถีทางในการสร้างความสุขขึ้นในใจพ่อ โดยไม่ได้นึกมาก่อนเลยว่าความไม่เดียงสาของตัวเองนั้นได้เป็นมูลเหตุสำคัญ ที่พอรู้สึกตัวอีกทีความเจ็บปวดก็สวาปามเขาและครอบครัวเสียเต็มอิ่มแล้ว

Tricks
Andrzej Jakimowski, Poland, 2007, 95min

สเตเฟ็กหนูน้อยวัย 6 ขวบ อาศัยอยู่กับแม่และพี่สาวในเมืองเล็กเงียบสงบมุมหนึ่งของโปแลนด์ เด็กน้อยดำเนินชีวิตวัยใสไปกับการเล่นสนุกกับจินตการและอยากรู้อยากเห็นไปเสียทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นกับของเล่นที่สมมุติเป็นตัวละคร การเล่นเดิมพันในเหตุการณ์รายทางกับพี่สาว หรือแอบปล่อยนกพิราบของเพื่อนบ้าน รวมถึงการไปเล่นซนที่สถานีรถไฟเป็นงานอดิเรก ที่ทำให้วันหนึ่งเด็กน้อยเกิดความสงสัยในตัวของชายแปลกหน้าที่เขาพบเห็นที่สถานีทุกวันว่าอาจจะเป็นพ่อที่ทิ้งครอบครัวไปตั้งแต่ยังจำความไม่ได้ ความอยากรู้อยากเห็นและความซุกซนอันสดใสของสเตเฟ็กนี่เอง ที่ได้สร้างความยุ่งขิงให้กับผู้คนรายล้อมอย่างช่วยไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นพี่สาวที่กำลังพยายามสมัครงานกับองค์กรอิตาเลียน แฟนหนุ่มของพี่สาว และชายกลางคนที่ถูกเด็กน้อยแอบติดตาม Tricks เป็นหนังน่ารักอบอุ่นที่ถ่ายทอดความสัมพันธ์ของผู้คนหลายชีวิต ผลงานของอันเดรจ จาคิโมวสกี้ ผู้กำกับที่น่าจับตาชาวโปแลนด์ ที่เคยฝากผลงานที่ดีไม่หย่อนไปกว่ากันอย่าง Squint Your Eyes

Boogie
Radu Muntean, Romania, 2008, 119min

กระแสภาพยนตร์จากแดนผีดิบนั้นมาแรงแซงโค้งหลายชาติในช่วงที่ผ่านมา ผู้กำกับสายเลือดใหม่ต่างพากันตบเท้าบนพรมแดงของเทศกาลภาพยนตร์ทั่วโลกกันขวักไขว่ ราดู มุนเตียนในวัยสามสิบก็เป็นหนึ่งในคนเหล่านั้น Boogie ผลงานเรื่องที่ 3 นั้นฉายภาพของ บ๊อกดานชายวัยสามสิบต้นที่สูญเสียวัยหนุ่มไปกับชีวิตครอบครัว ในช่วงวันหยุดพักผ่อนของครอบครัวที่ริมหาด เขาได้บังเอิญพบกับสองเกลอเก่าที่เคยกอดคอกันเมาป่วงสมัยวัยเฮ้ว เมื่อทั้งสามออกตระเวนราตรีกันในค่ำคืนเพื่อรื้อฟื้นความทรงจำอันแสนสุข เขาพบว่าสองซี้นั้นแทบไม่เปลี่ยนไปเลยจากอดีต อารมณ์ถวิลหาชีวิตในวัยอิสระได้หวนคืนเข้ามาในความคิดคำนึง แต่จะให้ตัดสินใจเช่นไรในเมื่อเหลียวมองไปข้างหลัง ยังมีทั้งลูกวัยชายวัยกระเตาะกับภรรยาขี้หึงที่เขารักให้ต้องรับผิดชอบ

Fissures
Alante Kavaite, France, 2006, 87min

หนังที่อาจทำให้คลอด ชาโบรลละสังขารด้วยความโล่งใจเสียที เล่าเรื่องของสาวน้อยชาร์ลอต ช่างบันทึกเสียงประจำกองถ่ายสารคดี ที่ข่าวการตายอย่างกะทันหันของแม่ได้พาเธอกลับไปเยี่ยมเยียนบ้านเก่าซึ่งเป็นที่เกิดเหตุ ความหวังเดียวในการคลี่คลายปริศนาคือสารวัตรสืบสวนประจำท้องที่ แต่ก็เหมือนว่าความเชื่องช้านั้นจะเป็นเครื่องหมายของตำรวจ หากในเมื่อกฎของเวลานั้นคือไม่เคยคอยท่าสิ่งใด ชาร์ลอตต์จึงลงมือสืบเสาะเรื่องราวด้วยตนเอง หากราวกับยมทูตผู้อารีได้ยื่นมือเข้าโอบรัด เครื่องบันทึกเสียงของเธอนั้นเกิดถ่ายทอดแว่วเสียงจากอดีตได้ ภาพเหตุการณ์หลากหลายได้ผุดเข้ามาในมโนภาพราวกับเม็ดเหงื่อ เงื่อนงำการฆาตกรรมได้เขม็งเกลียวเช่นเดียวกับเส้นด้ายที่เธอใช้ผูกโยงเรื่องราวจากเสียงกระซิบพรายจากอดีต ท่ามกลางบรรยากาศขมุกขมัวไหลเลื่อนอย่างเชือนชา โฉมหน้าแห่งอดีตนั้นไม่เพียงแต่เปิดเผยฆาตกรตัวจริงให้รับรู้ แต่มันยังนำพาความทรงจำอันปวดร้าวของเธอและครอบครัวกลับมาอีกครั้ง

La Zona
Rodrico Pla, Mexico, 2007, 97min

นอกจากคาร์ลอส เรย์กาดาส, อามัต เอสคาลันเต้ และเฟอร์นานโด เอมบ์คเค ที่หนังอุดมด้วยความเอื่อยเฉื่อยเนือยนิ่งแล้ว โรดริโก้ พลาดาวรุ่งอีกคนหนึ่งของวงการหนังเม็กซิกันที่สไตล์ของเขาแตกต่างไปจากรุ่นพี่ข้างต้นอย่างสิ้นเชิง La Zona ภาพยนตร์เรื่องแรกเปรียบเสมือนกับภาพจำลองของความเหลื่อมล้ำของสองสังคม บอกเล่าเรื่องราวของกลุ่มชนชั้นกลางผู้มีอันจะกิน พวกเขารวมตัวกันก่อตั้งสังคมปิดซึ่งโดดเดี่ยวตัวเองจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง ในหมู่บ้านที่ชื่อว่า La Zona ที่ภายนอกขอบเขตของกำแพงมโหฬารเยือกเย็นไปแล้วก็คือชุมชนสลัมของผู้ยากจนที่ล้อมรอบอยู่ ภายในหมู่บ้านแห่งนี้กฏเกณฑ์ภายนอกนั้นไร้ความหมาย เพราะพวกเขามีกฏหมายบังคับใช้ของตัวเอง การดำรงชีวิตอยู่โดดตัดขาดจากโลกภายนอกนั้นดูจะไม่เป็นปัญหา ทุกอาณาบริเวณถูกจับตาด้วยกล้องวงจรปิดตลอดเวลา จนกระทั่งในค่ำคืนหนึ่งที่ฝนฟ้าคะนอง เหตุฆาตกรรมหญิงหม้ายที่ฆาตกรเป็นกลุ่มเด็กหนุ่มไร้หัวนอนปลายเท้าจากภายนอก ซึ่งนั่นนำไปสู่การกระตุ้นเร้าสัญชาติญาณดิบในตัวพวกเขาออกมา

25 Watts
Juan Pablo Rebella / Pablo Stoll, Uruguay, 2001, 90min

กลางกรุงมอนเตวิเดโอประเทศอุรุกวัย เลเช่ ชาบี้ และ เชบา สามหนุ่ม นั้นเป็นดั่งตัวแทนของวัยกระทงที่กำลังก้าวผ่านช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อชีวิตวัยคะนอง กิจวัตรของสามหน่อ คือโต๋เต๋ไปมาเที่ยวตบหมูเตะหมาด่าแม่เจ็กก่อกวนชาวบ้านร้านตลาดไปทั่ว นอกจากนี้คือปัญหาส่วนตัวที่ไม่มีอะไรมากไปกว่า เรื่องระหองระแหงกับแฟน หลงรักอาจารย์สาวและหวังแอ้มอยู่ลึกๆ หรือสุมหัวกันดูหนังโป๊ สองผู้กำกับ ฮวน พาโบล รีเบลล่า และ พาโบล สตอล ใช้รูปแบบทมึนทึมของภาพยนตร์ขาวดำและมุมกล้องสวิงสวาย ถ่ายทอดความเคว้งคว้างสับสนในชีวิตวัยรุ่นออกมาอย่างโดดเด่น จนคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์ร็อตเตอร์ดามปี 2001

Alice's House
Chico Teixeira, Brazil, 2007, 94min

ภาพยนตร์สไตล์หญิงแกร่งชีวิตต้องสู้สัญชาติบราซิล เล่าเรื่องของอลิซหญิงช่างเสริมสวยวัยกลางคน เธออาศัยอยู่ในห้องซอมซ่อกับสามีและแม่แก่ชรารวมถึงลูกชายอีก3 คน ปัญหามากมายสุมรุมอยู่ในห้องแคบๆให้เธอต้องขบคิดไม่เว้นแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นชีวิตแต่งงานกว่า20 ปีกับสามีที่ระหองระแหงมาร่วมปี ลูกชายทั้ง 3 ก็ขยันสร้างเรื่องปวดหัวมาให้และไม่เคยใส่ใจในตัวเธอเลย ความสัมพันธ์หวานชื่นกับหนึ่งในลูกค้าของเธอที่เหมือนจะเป็นน้ำทิพย์ชโลมใจได้บ้าง กลับยิ่งทำให้เธอว้าวุ่นจากความรู้สึกผิดอยู่ภายใน หนำซ้ำยังมาจับได้ว่าชู้รักของสามีแท้ที่จริงแล้วเด็กสาวที่เธอให้ความไว้ใจเสียอีก

Paraguayan Hammock
Paz Encina, Paraguay, 2006, 78min

หนึ่งในห้าภาพยนตร์โครงการ New Crowned Hope ที่มีขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวาระ 250 ปีประพันธกรโมซาร์ต ที่นักวิจารณ์หลายคนลงความเห็นว่าเป็นชิ้นที่เยี่ยมที่สุด ผลงานเรื่องแรกของผู้กำกับหญิงชาวปารากวัยปาซ เอนซิน่า ย้อนกลับไปในปี 1935 ในพื้นที่รกเรื้อของดินแดนสงบสงัด มันเป็นช่วงเวลาที่สงครามกำลังก่อตัวอยู่ ณ พื้นที่ห่างไกล บนเปลญวนที่สายลมอบอุ่นกำลังโบกโบย สองคู่ชีวิตวัยชรากำลังสนทนากันถึงดินฟ้าอากาศ บ้างชี้ชวนกันดูสรรพสิ่งรอบกาย โน่นแหนะนกเขากรู โน่นแหนะเสียงหมาเห่า โน่นแหนะกิ่งไม่ไหว พลางรำพึงรำพรรณถึงการจากไปสงครามของลูกชาย และเฝ้าถวิลถึงวันเวลาที่เขาจะกลับมา

Blog Archive

คนลักหลับ

My photo
Filmvirus เป็นนามปากกาเดิมของสนธยา ทรัพย์เย็น จากคอลัมน์ “นิมิตวิกาล” ที่ใช้ในนิตยสาร Filmview ปี 2537 ต่อมาในปี 2538 สนธยาได้ก่อตั้ง “ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์” หรือ DK.Filmhouse (Filmvirus) จัดฉายหนังด้อยโอกาสให้ผู้สนใจชมฟรี พร้อมจัดพิมพ์หนังสือด้านหนัง และวรรณกรรม ชุด Filmvirus / Bookvirus (ส่วนหนังสือ “คนของหนัง” ปี 2533 นั้นเป็นผลงานก่อนตั้งฟิล์มไวรัส) ส่วนผลงานอื่นๆ ปี 2548 เป็นกรรมการเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok , ปี 2552 กรรมการ Sydney Underground Film Festival, งาน Thai Short Film and Video Festival ของมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 1 และปี 2548-2549 เป็นเจ้าภาพร่วมจัดเทศกาลประกวดหนังนานาชาติ 15/15 Film Festival, Australia