30.4.08

ประกวดหนังสั้น Short 12


ประกวดหนังสั้น Short 12

รวมตัวประกวดหนังสั้นครั้งที่ ๑๒ ครบรอบนักษัตรกลับมาอีกแล้ว...กับงานประกวดหนังสั้นที่ใหญ่ และมีอายุยืนนานที่สุดในประเทศเตรียมผลงานคุณภาพของคุณให้พร้อม!!!
การประกวดหนังสั้นครั้งที่ ๑๒ เปิดรับผลงานไม่จำกัดความคิด แต่จำกัดความยาว (๓๐ นาที)ใน ๕ ประเภทรางวัลสร้างสรรค์ที่ท่านพึงสนใจรางวัลปยุต เงากระจ่าง สำหรับงานอนิเมชั่นรางวัลรัตน์ เปสตันยี สำหรับบุคคลทั่วไปรางวัลช้างเผือก สำหรับนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยรางวัลช้างเผือกพิเศษ สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา (หรือมีอายุไม่เกิน ๑๘ ปี) รางวัลดุ๊ก สำหรับงานสารคดี (ไม่จำกัดความยาว)ส่งผลงานของท่านได้แล้วนับแต่บัดนี้ ที่งานประกวดหนังสั้นครั้งที่ ๑๒มูลนิธิหนังไทย ตู้ปณจ.พุทธมณฑล นครปฐม ๗๓๑๗๐(ทางไปรษณีย์เท่านั้น...ได้โปรด)*และกรอกใบสมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.thaishortfilmfestival.com/regis12.aspปิดรับ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ไม่มีการยืดเยื้อเพิ่มเติม ๐๒-๘๐๐๒๗๑๖ข่าวคราวจาก http://www.thaifilm.com/shortFilmDetail.asp?id=103


สัมภาษณ์ Stefan Popescu ผู้ก่อตั้งเทศกาลหนัง Sydney Underground Film Festival

สัมภาษณ์ Stefan Popescu ผู้ก่อตั้งเทศกาลหนัง Sydney Underground Film Festival
โดย สำนักข่าวฟิล์มไวรัส
by d.k. filmhouse (Filmvirus)

Sydney Underground Film Festival ครั้งที่ 1 ปีที่ 1 เทศกาลหนังใต้ดินที่รวมความดิบ ห่าม ประหลาดพิลึก และเป็นตัวของตัวเอง ที่ประเทศออสเตรเลียได้เปิดเสียวไปแล้วเมื่อเดือนกันยายนปี 2550

ในงานนั้นมีการจัดเสวนา และประกวดหนังจากนานาชาติ เสริมด้วย Mini Retrospective ของคู่สามีภรรยา The Cantrills และ เปิดงานด้วยหนัง Out Yonder-Neighbor Boy ของ David Lynch (เดวิด ลิ้นช์), Tin Man ของ Ivan Kavanagh, Pop Kitsch ของ Paul Winkler และ Meet Me in Wichita ของ Martha Colburnและปีนี้ 2551 งาน Sydney Underground Film Festival ปีที่ 2 กำลังรับสมัครคนทำหนังไทยแนวแปลกประหลาดอันเดอร์กราวนด์ ทั้งประเภทเรื่องสั้นเรื่องยาวคนไหน ผู้ใดสนใจส่งหนังไปประกวด เริ่มได้แล้วตั้งแต่วันนี้

สัมภาษณ์ Stefan Popescu ผู้ก่อตั้งเทศกาลหนัง Sydney Underground Film Festival ร่วมกับ Katherine Berger และ Michelle Berger

(บทสัมภาษณ์นี้เป็นคำถามก่อนการจัดงานในปีแรก บางอย่างในเทศกาลปีที่ 2 ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามวาระ)


ช่วยเล่าประวัติความเป็นมาของผู้จัดงานหน่อยครับ

โดยหลัก ๆ แล้วทีมผู้จัดงานของเทศกาลมีทั้งหมด 5 คน ซึ่งทุกคนล้วนอยู่ในแวดวงศิลปะกับแวดวงภาพยนตร์ พวกเราทุกคนต่างเป็นนักทำหนังทดลองและนักทำหนังอิสระที่มองเห็นคุณค่าในระบบหนังทางเลือกและอยากจะหล่อเลี้ยงวัฒนธรรมกลุ่มนี้ให้คงอยู่ต่อไป แคธเธอรีน เบอร์เจอร์ (Katherine Berger) กับตัวผม เป็นประธานบริหารเทศกาล เราทั้งคู่ทำหนังทดลองขนาดสั้นร่วมกันมาหลายเรื่อง และเพิ่งทำหนังยาวเรื่องแรกชื่อ Roseberry 7470 เสร็จไป ส่วนทีมงานคนอื่นๆ ของเทศกาล คือ Siouxxi Connor, Pamela Otto กับ Rachel Brown ต่างก็ยังผลิตผลงานต่างๆ ตั้งแต่มิวสิควีดีโอ, หนังดราม่าจิตวิทยาแนวเซอร์เรียล และหนังนาฏศิลป์เชิงทดลอง

ข้อดีข้อด้อยในงานเทศกาลของคุณ

การขอเงินทุนสนับสนุนเป็นปัญหาหลัก เพราะองค์กรรัฐบาล (Australian Film Commission (AFC) มีมาตรฐานเฉพาะเจาะจงซึ่งเรียกร้องให้เราต้องปฏิบัติเพื่อจะได้รับเงินทุนสนับสนุน และเพราะกฎข้อบังคับของเขานั้นเข้มงวดมาก เราไม่อยากจะถูกบีบให้ต้องประนีประนอมกับเขาเพื่อจะได้ทุนมา แต่แล้วก็ต้องเสียจุดยืนของเราเอง เราจึงเลือกที่จะยืนด้วยตัวของเราเองโดยไม่ขอทุนจากเขาเลย ดังนั้นทุนสนับสนุนหลัก ๆ ของ Sydney Underground Film Festival มาจากแหล่งเงินทุนส่วนตัวและบริษัทต่าง ๆ จึงน่าจะอำนวยให้เราได้จัดงานเทศกาลหนังในระดับมืออาชีพและมีรางวัลมอบให้ในระดับที่เหมาะสม

อะไรที่ทำให้งานเทศกาลหนังของคุณแตกต่างจากงานอื่น ๆ

มีข้อแตกต่างอยู่พอสมควรทีเดียว ที่สำคัญที่สุดคงเป็นเรื่องจุดยืน ไม่ใช่เพียงจุดยืนทางศิลปะเท่านั้น แต่รวมถึงด้านกระบวนการที่เป็นธรรมด้วย เราพยายามที่จะคัดเลือกหนังอย่างเป็นธรรมและเปิดกว้างให้มากที่สุด โดยคณะทีมงานจะชมภาพยนตร์และคัดเลือกหนังแต่ละเรื่องโดยการมองถึงคุณภาพของตัวงานจริง ๆ โดยไม่ใส่ใจกับการเมืองในวงการหนัง หรือลำเอียงเข้าหาข้อได้เปรียบ ประเภทเล่นพรรคเล่นพวก ในกรณีที่หนังเรื่องไหนอยู่ในประเภทที่ได้รับเชิญให้มาร่วมฉายโชว์ จะไม่สามารถเข้าร่วมประกวดได้ โดยหนังที่ถูกรับเชิญให้มาฉายในเทศกาลได้นั้น เราพิจารณาจากเพราะความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ ผลสำเร็จในแวดวงอุตสาหกรรม และความสำคัญในเชิงศิลปะเท่านั้น

นอกจากนั้นเท่าที่ผมทราบมา เรายังเป็นเทศกาลเดียวเท่านั้นที่ให้ส่วนลดแก่ผู้สมัครซึ่งเคยถูกปฏิเสธมาจากที่อื่น ๆ เหตุผลนี้เป็นเพราะว่า เรารู้ว่าหนังยอดเยี่ยมหลายเรื่องที่ล้ำยุคล้ำสมัยนั้นมักได้รับการต้อนรับในเชิงลบมาก่อนอยู่เสมอ ดังนั้นเราจึงอยากสนับสนุนให้คนทำหนังกลุ่มนั้นแสดงตัวตนออกมา เพื่อว่าเราจะได้ค้นพบอัจฉริยะภาพของพวกเขา

คุณวางแผนทัวร์เทศกาลหนังนอกประเทศบ้างไหม

แน่นอนว่าเราวางแผนทัวร์เทศกาลหนังทั้งในประเทศออสเตรเลียและต่างประเทศ ขณะนี้เราพยายามวางแผนงานมาทัวร์ที่ประเทศไทย เยอรมนี และอเมริกา แต่ถ้าปีนี้เรายังไม่พร้อมหรือลงตัวพอ แต่เหล่านี้ได้เป็นส่วนหนึ่งในแผนงานระยะยาวของเราอยู่แล้ว

การประกวดหนังของเทศกาลคุณมีกี่สาขา ?

แบ่งประเภทเป็นแบบง่าย ๆ หนังสั้น หนังยาว หนังนักศึกษา เรารับหนังทุกแนวทุกประเภท รวมทั้งแบบลูกผสม เหตุผลก็คือในฐานะของกลุ่มคนทำหนังทดลองก็มักจะพบเจอการก้าวข้ามรูปแบบแนวทางของหนังหลากหลายแบบ เราจึงไม่ใส่ใจเรื่องประเภทของหนังมากนัก

งานของคุณมีรางวัลอะไรให้บ้าง
เรายังอยู่ในช่วงแรก ๆ ของการหาผู้สนับสนุนรางวัล แต่ในขณะนี้เรามีสปอนเซอร์จาก Illeagally Parked
Vehicle Productions ที่จะเข้ามาสร้างเว็บไซต์สำหรับผู้ชนะ และยังมีสปอนเซอร์อื่น ๆ อีก เช่นจาก Fleeze Flame ที่จะทำสตอรี่บอร์ดให้หนังเรื่องถัดไปของผู้ชนะ

(หมายเหตุปี 2551: หนึ่งในรางวัลสำคัญของงานเทศกาลหนัง Sydney Underground ชนิดที่เรียกกันว่า Trophy เป็นงานสร้างสรรค์รูปตุ๊กตาในโลงศพซึ่งทำจากจอภาพโทรทัศน์ ฝีมือการออกแบบของ Mark Wotherspoon)


คุณจะมีฉายหนังของปรมาจารย์หนังด้วยไหม?
อาจไม่เชิงเป็นหนังของปรมาจารย์รุ่นเก่าเสียทีเดียว แต่จะมีงานเด่นของคนทำหนังดังร่วมสมัยอย่าง Bill Morrison, E Elias Merhige, David Lynch และ Martin Arnold เรากำลังพยายามจัดซีรี่ส์หนังร่วมสมัยของศิลปินออสเตรเลีย เช่น Paul Winkler, Tracy moffat และอีกหลายคนจาก UBU films/Sydney Filmmakers Co-Operative.

คุณอยากจะบอกอะไรเป็นพิเศษกับคนทำหนังไทยบ้างไหม?
เราทราบว่าศิลปินนักทำหนังไทยนั้นมีศักยภาพและความสร้างสรรค์เหลือเฟือ เราอยากชักชวนให้พวกเขาส่งหนังมาที่เทศกาลของเรา และหวังว่าเราคงจะมีโอกาสร่วมรับรู้และแบ่งปันสิ่งสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมนี้ยาวนานสืบไป


ข่าวประกาศจาก ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส)
เทศกาลหนัง Sydney Underground Film Festival ปีที่ 2


ด่วน !!! กำลังเปิดรับสมัครผู้สนใจส่งหนังเข้าประกวด ในเทศกาลหนัง Sydney Underground Film Festival ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 และจัดฉายรอบปฐมทัศน์ที่ The Factory Theatre ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 11-14 กันยายน 2551 ทั้งนี้ทางเทศกาลฯ เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้หนังทุกแนว ทุกสไตล์ โดยไม่จำกัดทั้งความยาวและปีสร้าง

สำหรับหนังที่ส่งเข้าประกวดครั้งนี้และไม่ผ่านการคัดเลือก ทางเทศกาลจะมีจดหมายแจ้งให้ทราบถึงเหตุผลและคำวิจารณ์เกี่ยวกับหนังถึงเจ้าของหนังโดยตรง (รับประกันความสุภาพไม่มีการซ้ำเติม)

เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการส่งหนังเข้าประกวด ทางเทศกาลมอบสิทธิพิเศษสำหรับหนังทุกเรื่องที่เคยส่งงานอื่นๆ แต่ไม่เข้ารอบ ท่านสามารถแนบจดหมายรับรองจากเทศกาลนั้นๆ เพื่อจะได้รับสิทธิ์ลดหย่อนค่าสมัครเป็นพิเศษอีก 5 เหรียญ

อัตราค่าสมัคร (เงินดอลล่าร์ออสเตรเลีย AUD)
สำหรับหนังที่ส่งก่อน 30 พ.ค. 51
-หนังความยาวปกติ (ตั้งแต่ 30 นาที ขึ้นไป) ค่าสมัคร $45 (ถ้ามีจดหมายรับรองการเคยถูกปฏิเสธเหลือ 40 เหรียญ)
-หนังสั้นความยาวปกติ (น้อยกว่า 30 นาที) ค่าสมัคร $35 (ถ้ามีจดหมายรับรองการเคยถูกปฏิเสธเหลือ 30 เหรียญ)
-นักเรียนนักศึกษา ค่าสมัคร $30 (พร้อมเอกสารบัตรนักศึกษา) (ถ้ามีจดหมายรับรองการเคยถูกปฏิเสธเหลือ 25 เหรียญ)
สำหรับหนังที่ส่งหลังจาก 30 พ.ค. 50 – 13 มิถุนายน 2551
-หนังความยาวปกติ (ตั้งแต่ 30 นาที ขึ้นไป) ค่าสมัคร $ 55 (ถ้ามีจดหมายรับรองการเคยถูกปฏิเสธเหลือ 50 เหรียญ)
-หนังสั้นความยาวปกติ (น้อยกว่า 30 นาที) ค่าสมัคร $45 (ถ้ามีจดหมายรับรองการเคยถูกปฏิเสธเหลือ 40 เหรียญ)
-นักเรียนนักศึกษา ค่าสมัคร $35 (ถ้ามีจดหมายรับรองการเคยถูกปฏิเสธเหลือ 30 เหรียญ)

รายละเอียดในการจัดส่งหนัง
-ส่งหนังในรูปแบบ DVD จำนวน 2 แผ่น (โดยเขียนชื่อผู้กำกับ, ชื่อหนัง และความยาวลงบน DVD ทั้งสองแผ่นให้ชัดเจน) พร้อมชำระค่าสมัครผ่านระบบ paypal หรือ ผ่าน credit card
-เพื่อไม่ให้ถูกเปิดซองระหว่างขนส่ง ให้ระบุหน้าซองว่า For cultural purposes only, no commercial value
แล้วส่งมาที่
Sydney Underground Film Festival
PO Box 202
Summer Hill
N.S.W. 2130 Australia

สอบถามข้อมูลหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.sydneyundergroundfilmfestival.com/

Email: info@suff.com.au

สำหรับการจัดฉายหนังจาก Sydney Underground Film Festival ในเมืองไทย โปรดติดตามข่าวตอนต่อไปจาก ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) http://www.dkfilmhouse.blogspot.com/

คนลักหลับ

My photo
Filmvirus เป็นนามปากกาเดิมของสนธยา ทรัพย์เย็น จากคอลัมน์ “นิมิตวิกาล” ที่ใช้ในนิตยสาร Filmview ปี 2537 ต่อมาในปี 2538 สนธยาได้ก่อตั้ง “ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์” หรือ DK.Filmhouse (Filmvirus) จัดฉายหนังด้อยโอกาสให้ผู้สนใจชมฟรี พร้อมจัดพิมพ์หนังสือด้านหนัง และวรรณกรรม ชุด Filmvirus / Bookvirus (ส่วนหนังสือ “คนของหนัง” ปี 2533 นั้นเป็นผลงานก่อนตั้งฟิล์มไวรัส) ส่วนผลงานอื่นๆ ปี 2548 เป็นกรรมการเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok , ปี 2552 กรรมการ Sydney Underground Film Festival, งาน Thai Short Film and Video Festival ของมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 1 และปี 2548-2549 เป็นเจ้าภาพร่วมจัดเทศกาลประกวดหนังนานาชาติ 15/15 Film Festival, Australia