9.12.10

โปรแกรมฟิล์มไวรัส หนังไทย 16 มม. สุดเปรี้ยว ที่ขอนแก่น

โปรแกรมฟิล์มไวรัส '16 มม. สุดเปรี้ยว' ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 12 ธันวาคม ฉายกลางแปลง ยกโรงบุกโดย ฟิล์มซิค และ ชาญชนะ หอมทรัพย์ เจ้าเก่าครับท่าน 


วันที่ 12 ธันวาคม

สุรีรัตน์ล่องหน (2504)
หนังพล็อตเก๋ซึ่งเป็นการพบกันครึ่งทางระหว่างหนังชีวิตเศร้า เคล้าน้ำตา + หนังไซไฟมนุษย์ล่องหนสุดพิลึก! ผลงานกำกับของนักแสดงและผู้กำกับระดับ ตำนานอย่าง ส.อาสนจินดา สร้างจากบทประพันธ์ของ ประดิษฐ์ กัลป์จารึก เล่าเรื่องสาวสวย...ชีวิตรันทดนาม ‘สุรีรัตน์’ ที่ต้องเผชิญวิบากกรรมกลั่นแกล้งจากทีมแม่ใหญ่ที่จงเกลียดชังเธอเป็นเท่าทวี หลังมรดกเครื่องเพชรเลอค่าของคุณย่าตกเป็นของสุรีรัตน์ แต่แผนกำจัดสุรีรัตน์ด้วยล่อลวงให้เธอไปพบนักวิทยาศาสตร์สติเฟื่องรายหนึ่ง กลับนำพาให้เธอกลายเป็นสุรีรัตน์ล่องหน!

จุฬาตรีคูณ (2510)
จากบทประพันธ์อมตะของพนมเทียน สู่มหากาพย์หนังเพลงชิงเมืองหักสวาท เล่าเรื่องราวความรักของอริยวรรต จอมกษัตริย์แห่งมคธ ผู้ต้องมนต์ เจ้าหญิงดารารายพิลาส แห่งกรุงพาราณศรี เมืองคู่แค้นสองแคว้นนี้เกือบจะรวมเป็นหนึ่งด้วยรักแต่ด ้วยแรงริษยา ทำให้ความรักของทั้งคู่กลับไปจบลงที่พระแม่คงคา ..จุฬาตรีคูณ โดยตัวหนังฉบับนี้ได้สองพระเอก ใหญ่ มิตร ชัยบัญชา มารับบทประกบ สมบัติ เมทะนี ร่วมด้วย เพชรา เชาวราษฎร์ และ เนาวรัตน์ วัชรา กำกับโดย ดอกดิน ‘ล้านแล้วจ้า’ กัญญามาลย์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในหนังไม่กี่เรื่องของเจ้าตัวที่ยิ่งใหญ่แปลกหูแปลกตา

แผ่นดินของใคร (2502)
หนังแอ็กชั่นยิงสนั่นเรื่องนี้ ถือเป็นหนังไทยเรื่องแรกและเรื่องเดียวที่ได้ยกกองขึ้นไป ถ่ายทำบนแผ่นดินเขาพระวิหาร ในขณะที่ยังคงเป็นดินแดนของไทยอยู่ เราจึงได้เห็นภาพธงไตรรงค์โบกสะบัดบนเขาพระวิหาร ในฉากแอ็กชั่นช่วงท้ายเรื่อง ตัวหนังเป็นหนังแนวสายลับปฎิบั ติการเพื่อชาติ ได้นักบู๊ยุคนั้นอย่าง แมน ธีระพล มาประกบนักแสดงมากฝีมือ ทักษิณ แจ่มผล ร่วมด้วยนางเอกเจ้าน้ำตา วิไลวรรณ วัฒนพานิช และดาวร้ายเซ็กส์ซี่ ปรียา รุ่งเรือง ที่ได้ฉายา ‘อกเขาพระวิหาร’ จากหนังเรื่องนี้เอง

4.12.10

โปรแกรมภาพยนตร์ Filmvirus ที่หอศิลป์ จามจุรี ในงาน Art Square 8

Art Square 8 & Filmvirus

Black & White Like Day and Night

ฉายกลางแปลง- เริ่มเวลา 6 pm


14 ธันวาคม 2553
Avida “โลกอ้วนคนต๊อง”
กำกับโดย Gustave de Kervern, Benot Delpine

ร่วมแสดงโดยยอดผู้กำกับหนังระทึกจิตชาวฝรั่งเศส Claude Chabrol และผู้กำกับละครเวที (และคนทำหนังหัวหอก) ของกลุ่ม Panic Movement คือ Fernando Arrabal

Haxan “ประวัติศาสตร์แม่มด”
กำกับโดย Benjamin Christensen

Vampyr “แวมไพร์สยองไม่ต้องใช้เสียง”
โดยผู้กำกับระดับตำนาน Carl Dreyer

15 ธันวาคม 2553
College “ทิ้งเรียนไปจับสาวแอโรบิค”
หนังตลกนำแสดง – ร่วมกำกับโดย Buster Keaton

Sherlock, Jr. “หนุ่มนักฉายหนังหัวใจเชอร์ล็อค โฮล์มส์”
นำแสดงและกำกับโดย Buster Keaton

The Cameraman “กดชัตเตอร์สะกิดรัก”
นำแสดง – ร่วมกำกับโดย Buster Keaton

16 ธันวาคม 2553
The Goddess “มารดรกลางวัน โสภากลางคืน” (Shen nu)
หนังจีนกำกับโดย Yonggang Wu

Mr.Thank You “รถเมล์หัวใจ”
หนังญี่ปุ่นกำกับโดย Hiroshi Shimizu

The Masseurs and a Woman “หมอนวดบอดตรึงใจนาง”
หนังญี่ปุ่นกำกับโดย Hiroshi Shimizu

29.11.10

โปรแกรมภาพยนตร์ ลาก่อน...ที่รัก Condolences Program

โปรแกรมภาพยนตร์ ลาก่อน...ที่รัก 
Condolences Program


 
CONDOLENCES PROGRAM 

 ปี 2010 เป็นปีอันโหดร้ายสำหรับวงการภาพยนตร์เมื่อเราต้องสูญเสีย ผู้กำกับ นักแสดง โปรดิวเซอร์คนทำงานเบื้องหลังชั้นเลิศไปแบบที่แทบจะเรียกว่ารายสัปดาห์ หรือพระเจ้าปราถนาจะไปสร้างโรงถ่ายบนสรวงสวรรค์จึงริบคืนผู้คนบนโลกภาพยนตร์ ไปเรียงตัวเช่นนี้  

ตามธรรมเนียมชาวพุทธถือผีแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีอะไรดีไปกว่าการทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้กับวงการภาพยนตร์โลกเล่า วิธีหนึ่งที่เป็นที่เลื่องลือว่าได้ผล ก็คือการแสร้งทำเป็นว่าตายเพื่อต่ออายุ ดังนั้น ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับ สำนักหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขอเชิญทุกท่านร่วมปิดท้ายปีวิปโยคด้วยโปรแกรมสะเดาะเคราะห์ ฉายหนังคนตายในโปรแกรม

ลาก่อน...ที่รัก Condolences Program

Admission Free 
ชมฟรี ฉาย ที่ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U 2 ของ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ (ตึกสีขาวสูงริมน้ำ) - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ชมฟรี แต่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์)

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม 2553 – 6 กุมภาพันธ์ 2554 ตั้งแต่ 12.30 น. และ 14.30 น. เป็นต้นไป (เวลาอาจขยับเปลี่ยนเล็กน้อยตามความยาวของหนังแต่ละเรื่อง)

12/12/53

1. CLAUDE CHABROL เจ้าพ่อหนังอาชญากรรมฝรั่งเศสและหนังผัวเมียแสยงอารมณ์


NADA (CLAUDE CHABROL /1974) 

Nada คือ ชื่อกลุ่มผู้ก่อการร้ายหัวเอียงซ้ายที่ประกอบด้วยสมาชิก 6 คนที่มีพื้นเพแตกต่างกันไป Diaz หัวหอกของกลุ่มวางแผนที่จะลักพาตัวท่าน ทูตอเมริกัน Richard Poindexter เพื่อจะเรียกร้องความสนใจจากมวลชน ส่วน Treuffaisdครูสอนปรัชญาขี้กลัว สมาชิกอีกคนของกลุ่มไม่ยอมเข้าร่วมฏิบัติการครั้งนี้และขอลาออก สมาชิกที่เหลือทั้งห้าประสบความสำเร็จในการลักพา Pointdexterไปกักตัวไว้ในบ้านไร่ไกล ผู้คน โชคร้ายที่พวกเขาไม่รู้เลยว่านายตำรวจหัวหน้าชุดปฏิบัติการไล่ล่าเห็นว่าการ กำจัดผู้ก่อการร้ายนั้นมีค่ากว่าการรักษาชีวิตท่านทูต! http://www.dailymotion.com/video/x7252x_1973-nada-sample-claude-chabrol_shortfilms


PLEASURE PARTY (CLAUDE CHABROL /1975) 

Phillipe และ Esther ดู เหมือนเป็นคู่ผัวตัวเมียในอุดมการณ์พร้อมลูกสาวหนึ่งคนนาม Elise และเพื่อจะ คงความสดใหม่เร้าใจในชีวิตคู่ Phillipe ติดว่าทั้งเขาและ Esther ควรจะคบชู้ ในขณะเดียวกันก็ต้องเอามาเล่าให้อีกฝ่ายฟังอย่างเปิดเผยด้วย ! หากใน ที่สุดแผนดังกล่าวกลับย้อนมาแผลงฤทธิ์กับพวกเขาเองนำพาเรื่องราวไปสู่โศกนาฏกรรมเมื่อ Phillipe ถูกกลืนกินด้วยแรงริษยาเสียเอง

หนังนำแสดง โดย Paul Gégauff มือเขียนบทคู่หูของ Chabrolเอง ตัวภรรยาและลูกสาวก็เป็นภรรยาและลูกสาวในชีวิตจริง (ซึ่งหย่ากันในช่วงที่ถ่ายทำหนัง) ที่ชวนขนหัวลุกคือหลังจากหนังฉายไปไม่กี่ปี ก็เกิดโศกนากฎกรรมกับครอบครัวนี้เข้าจริงๆ เมื่อเขาถูกภรรยาคนใหม่แทงจนถึงแก่ความตายเพราะความหึงหวง!
http://www.metacafe.com/watch/4881117/pleasure_party_movie_trailer/ 
 

19/12/53

2. ALAIN CORNEAU กับ 2 หนังอาชญากรรมระบบสตูดิโอขายดาราฝรั่งเศส


SERIE NOIRE (ALAIN CORNEAU /1979)

Frank Poupart เป็น เซลล์แมนขายของตามบ้านที่กำลังระหองระแหงกับภรรยาเจ้าอารมณ์ วันหนึ่งเขาเข้าไปตามทวงหนี้ลูกค้า แต่กลับพบกับยายแก่เจ้าของบ้านที่อาศัยอยู่กับหลานสาว ที่ยายใจโฉดยินดีขายแลกกับข้าวของ แทนที่จะมีอะไรกับสาวน้อย Frank สัญญาจะช่วยเธอให้พ้นจากยายแก่ใจยักษ์ เด็กสาวเองก็ถึงกับตามมาหาเขาที่บ้าน ทั่งคู่ยิ่งเตลิดไปใหญ่ เมื่อเมียเขาทิ้งเขาไป และเด็กสาวมาบอกความลับว่ายายแก่ซ่อนเงินจำนวนมากไว้ใต้เตียง Frankจึงคิดแผนอาชญากรรมขึ้น ซึ่งนั่นทำให้เรื่องทั้งหมดยุ่งเหยิงขึ้นไปเรื่อยๆ และเจ็บปวดมากขึ้นทุกที 

หนังฝรั่งเศสเรื่องนี้ดัดแปลงอย่างยอดเยี่ยมและจบสวยกว่าต้นแบบนิยายอเมริกันเรื่อง POP 1280 ของนักเขียนอาชญากรรมเกรดบีตัวเอ้ Jim Thompson (ไม่เกี่ยวกับคนที่ขายผ้าไหมเมืองไทย) ซึ่งแต่งเรื่อง The Grifters และ The Killer inside Me  
 

LA MENACE (ALAIN CORNEAU /1977)

หนัง เล่าเรื่องของ Dominique สาวเจ้าของธุรกิจรถบรรทุกที่เธอร่วมบริหารกับแฟนหนุ่ม แต่โดยที่เธอไม่ระแคะระคาย แฟนเธอแอบกิ๊กอยู่กับ Julie สาวแคนาดาทั้งๆ ที่เธอกำลังตั้งท้องลูกของเขาอยู่ Henri ตัดสินใจบอกเลิก Dominique ซึ่งนั่นทำให้เธอตามไปหาเรื่อง Julie หลังจากทะเลาะตบตีกัน Dominique โดดตึกฆ่าตัวตายตำรวจสงสัยว่า Julie เป็นฆาตกรฆ่า Dominique เพื่อช่วยคนรัก Henri ถึงกับปลอมหลักฐานให้ตัวเองมีส่วนร่วมในการฆาตกรรมด้วย เมื่อ Julieหลุดจากการเป็นผู้ต้องหา แผนของเขาคือการจัดฉากความตายให้ตัวเองหมายจะไปเริ่มชีวิตใหม่กับ Julie ที่แคนาดา แต่แผนก็มักมีผิดพลาดเสมอ

26/12/53

3. WERNER SCHROETER - เยอรมันออเตอร์นอกกรอบทุกกระเบียด


DEUX (WERNER SCHROETER /2002)

ภาพยนตร์ ‘อัตชีวประวัติเหนือจริง’ (surrealist autobiography) โดย Werner Schroeter เล่าเรื่องของตัวเขาเอง แต่แบ่งตัวเองออกเป็นตัวละครหญิงสองตัวที่เป็นฝาแฝดซึ่งไม่เคยรับรู้การมี อยู่ของกันและกัน (ทั้งคู่รับบทโดย Isabelle Huppert เจ้าแม่หนังจิตพล่านของฝรั่งเศส) หนังตัดสลับระหว่างชีวิตของสองสาวกับแม่ของเธอ ด้วยวิธีการที่หลุดพ้นไปจากการเล่าเรื่องที่คุ้นเคย ทั้งการใช้รูปแบบเหนือจริง และการแสดงแบบละครเวทีผสมโอเปร่า ไปสุดขอบเท่าที่ความเป็นพล็อตจะพาหนังไปได้ ทั้งหมดคือห้วงความทรงจำที่ Schroeter มี ทั้งต่อชีวิตของเขาเองและงานศิลปะที่มีอิทธิพลต่อตัวเขา โดยไม่จำเป็นต้องอ้างอิงความเป็นเหตุเป็นผล หรือเป็นเรื่องเป็นราว ที่คืองานที่สุดขอบในทุกกรณีซึ่งรวมถึงการแสดงที่น่าจดจำของHuppert ด้วย

DAY OF THE IDIOTS (WERNER SCHROETER/1981)

 หนัง เล่าเรื่องของ Carole หญิงสาวผู้รู้สึกแปลกแยกกับสังคมอย่างรุนแรง เธอทั้งไม่สามารถเข้ากับผู้อื่นและไม่สามารถเข้าถึงความรู้สึกของชายหนุ่มคน รักได้เลยแม้แต่น้อย และเพื่อเรียกร้องความสนใจ เธอกล่าวหาว่าเพื่อนบ้านของเธอเป็นผู้ก่อการร้าย (ในส่วนนี้ Schroeter ฉายภาพอาการวิตกจริตของคนเยอรมันที่ถูกสร้างขึ้นโดยรัฐบาลเยอรมันเพื่อตอบโต้การก่อการร้ายในช่วงปี 1977) ซึ่งนั่นทำให้เธอถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลบ้า แน่นอนว่าหนังไม่ได้เล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมา และดูเหมือนว่าหนังไม่ได้พูดผ่านตัวเรื่องอีกต่อไป หากพูดผ่านร่างกายของCarole การตอบสนองของเธอ การแสดงออกทางสีหน้าของเธอ ท่าทางของเธอ

นำแสดงโดย Carole Bouquet นักแสดงจากหนังเซอร์แตกของ Luis Bunuel อีกทั้งเธอยังเคยเป็นนางแบบให้เครื่องสำอางลังโคม และเป็นนางเอกหนัง เจมส์ บอนด์ เรื่อง For Your Eyes Only 


9/1/54

4. CHRISTOPH SCHLINGENSIEF คนทำหนังใต้ดินเยอรมันตัวจริง


DIE 120 TAGE VON BOTTROP (CHRISTOPH SCHLINGENSIEF/1997)

หนัง เล่าเรื่องของผู้กำกับเยอรมันที่คิดจะรีเมค SALO ของ ปิแอร์ เปาโล ปาโซลินี่ ไม่ต้องกล่าวให้มากความ ไม่มีอะไรเป็นไปตามแผนเลยสักนิด บางทีกระทั่งการฆ่าตัวตายยังอาจนับเป็นปัญหาจิ๋วๆในเรื่องนี้!


100 YEARS OF ADOLPH HITLER (CHRISTOPH SCHLINGENSIEF /1988)

หนัง เล่าเรื่องชั่วโมงท้ายๆในชีวิตของฮิตเลอร์ ถ้าจะเล่าเรื่องก็คงมีแค่นี้ เพราะที่เหลือคือความบ้าคลั่งของนักแสดงที่มารับบทผู้คนรอบข้างชีวิตฮิตเลอร์ อธิบายไม่ได้ ไม่มีเหตุผล มีแต่ความบ้าคลั่งสุดขอบในห้องปิดตาย หนังถ่ายทั้งหมดในบ้านร้างหรืออะไรสักอย่างโดยไม่ต้องจัดไฟ แต่ใช้แสดงสปอตไลท์คอยส่องตามนักแสดงที่กระทำการบ้าคลั่งแบบไม่ยั้งมือไป เรื่อยๆ นี่คือหนังแบบที่จินตนการไม่ได้อธิบายไม่ถูก ซึ่งดัดแปลงจากละครเวทีของ Schlingensief เอง และเป็นหนึ่งในสามหนังไตรภาคเยอรมันที่มุ่งร้ายหมายขวัญบรรดาอนุรักษ์นิยมในเยอรมัน (จนผู้กำกับกลายเป็นไอ้ตัวแสบแห่งเยอรมัน) อันประกอบด้วยเรื่องฮิตเลอร์ในเรื่องนี้ เรื่องการก่อการร้ายใน Terror 2000 และ เรื่องกำแพงเบอร์ลินใน THE GERMAN CHAISAW MASSACRE

 

16/1/54

5. ERIC ROHMER เจ้าพ่อหนังฝรั่งเศสชุดจริตเร้นซ่อนใจ

THE GREEN RAY (ERIC ROHMER /1986)

(คำเตือน : อย่าด่วนสรุปเพียงจากการอ่านเรื่องย่อ เพราะเสน่ห์ของหนังของ เอริค โรห์แมร์ นั้นอยู่ที่รายละเอียด) หลังจากโดนเพื่อนคู่หูที่นัดแนะกันไว้อย่างดีเบี้ยวนัดเที่ยววันหยุด Delphine เลาขุนาการิณีสาวปารีเซียงไม่รู้จะเอายังไงกับชีวิต เธอไม่อยากไปเที่ยวเพียงลำพัง แต่เธอก็ยังไม่มีแฟนจะไปด้วย แล้วยังดูเหมือนจะไร้หนทางจะเจอเพื่อนใหม่ เพื่อนเธอคนหนึ่งพาเธอไปเที่ยวเมือง Cherbourg ไปอยู่ได้ไม่กี่วันเธอก็หนีกลับมานั่งเศร้าที่ห้อง จากนั้นเธอลองไปเที่ยวเทือกเขา Alps แต่พอไปถึงก็กลับมาเลยในวันเดียว จากนั้นเธอลองไปชายทะเลดูบ้าง ไปได้เพื่อนใหม่เป็นสาวสวีเดนไวไฟซึ่งดูจะเป็นคู่หูที่สนุกสนาน แต่ฉับพลันทันใด แม่ Delphine ก็ทิ้งทุกสิ่งแล้วกลับปารีส ที่สถานีรถไฟเธอพบกับหนุ่มหล่อที่แอบจ้องมองหนังสือดอสโตเยฟสกี้ในมือเธอ พ่อหนุ่มกำลังจะไปพักร้อนที่เมืองเล็กๆ แถวๆนี้ ขณะที่เธอกำลังจะกลับปารีส บางทีเขาอาจเป็นเพื่อนเธอไปดูรังสีมรกตในทะเลที่เธอไม่รู้จักก็ได้ แต่บางทีไอ้นี่ก็คงเหมือนคนอื่นๆ เหมือนกันก็ได้ ของแบบนี้ใครจะไปรู้

FOUR ADVENTURES OF REINETTE AND MIRABELLE (ERIC ROHMER/1987)

นี่คือเรื่องของสองสาว Reinette สามบ้านนอก และ Mirabelle สาวปารีสที่เจอกันโดยบังเอิญในช่วงวันหยุดเมื่อ Reinette ช่วย Mirabelle ซ่อมจักรยาน และพาเธอไปเที่ยวชมความงดงามของธรรมชาติ รวมถึงพาเธอไปรู้จักับ ‘โมงยามสีคราม ( The Blue Hour)’ ทั้งคู่พูดคุยกันถูกคอกันจนถึงขนาดตกลงใจไปเช่าแฝลตอยุ่ด้วยกันใน ปารีสตอนทีทั้งคู่ไปเข้ามหาลัย แต่มันเป็นเรื่องยากที่คนสองคนที่บุคลิกแจตกต่างกันมากจะมาอยุ่ด้วยกันใน เมื่อ Reientte นั้นเป็นคนเรียบๆกหากกระตืรื้อร้นผิดกับ Mieabelle ที่เป็น คนซับซ้อนและเกียจคร้าน

23/1/54

6. ARTHUR PENN อินดี้อเมริกันยุค 60 ผู้สร้าง Bonnie and Clyde


THE CHASE (ARTHUR PENN/1966)

มันเป็นเมืองเล็กๆ ที่เงียบสงบ ผู้คนในเมืองดูเป็นคนดีแต่งตัวสวยงามพูดจาสุภาพ มีเศรษฐีน้ำมันเป็นนายทุนใหญ่ของเมืองทำทั้งน้ำมัน และ ธนาคาร ชนชั้นกลางในเมืองทำงานขยันแข็งตกเย็นวันเสาร์ไปนั่งร้านเหล้าจัดงาน ปาร์ตี้ นายอำเภอหนุ่มห้าวหาญเข้มแข็งพร้อมจะปฏิบัติงานตลอดเวลา ทุกอย่างดูสงบสวยงามเหมือนในฝันจนกระทั่งข่าวการแหกคุกของ บับบ้า รีฟส์ ที่เป็นอดีตเด็กเกเรของเมือง เดินทางมาถึงเราจึงได้เห็นอีกด้านหนึ่งของเมืองนี้ เพราะนายอำเภอแท้จริงแล้วเป็นหนี้ Val Rogers นายทุนใหญ่ เขาเป็นนายอำเภอเพื่อหวังจะเก็บเงินไถ่ฟาร์มคืนแล้วจะได้ไปมีชีวิตสมถะ Val Rogers มีปัญหากับลูกชายที่มองว่าไม่เอาไหน ลูกชายของเขาแต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่งและรักผู้หญิงอีกคนที่เป็น-หญิงต้อง ห้าม- พนักงานธนาคารลักลอบเป็นชู้กัน มีทัศนคติเหยียดผิวอย่างรุนแรง ทุกคนมีปืนในครอบครอง และหนังเล่าเรื่องเวลาเพียงหนึ่งวัน ค่อย ๆ เพิ่มความกดดันจนในคืนวันเสาร์นั้นเอง เมืองทั้งเมืองบ้าบอไปจนถึงขั้นสติแตก โดยมี บับบ้า เป็นเครื่องสังเวยทางศีลธรรมจอมปลอมของผู้คน  
 

MICKEY 1 (ARTHUR PENN/ 1965)

นี่อาจจเป็นหนังที่แปลกหูแปลกตามากที่สุดสำหรับแฟนๆของ ARTHUR PENN ที่คุ้นชื่อของเขาจากหนังรางวัลออสการ์ Bonnie and Clyde หรือ The Miracle Worker เพราะนี่คือหนังที่ Penn สร้างโดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่ม French New Wave !

รูปหล่อ Warren Beatty รับบทนักแสดงตลกตามไนต์คลับ ซึ่งบังเอิญหลุดเข้าไปในโลกประหลาดที่มีทั้ง ม็อบอันโกรธแค้น นักสอนศาสนาข้างถนน พวกนักดนตรีกลางคืนที่หัวเราะอย่างบ้าคลั่ง และต้องเผชิญหน้ากับปีศาจในตัวเขาเอง!

 

30/1/54

7. DENNIS HOPPER + WILLIAM LUBTCHANSKY หนังของนักแสดงอเมริกันระดับตำนาน Easy Rider และตากล้องแนวหน้าของหนังฝรั่งเศส


THE LAST MOVIE (DENNIS HOPPER/1971)

หนัง เล่าเรื่องของ Kansas ชายหนุ่มที่รับผิดชอบเรื่องที่มีนักแสดงตายคากองถ่ายในเปรู เขาตัดสินใจออกจากกองถ่าย และปักหลักอยู่ในเปรูกับ Maria โสเภณีประจำหมู่บ้าน แรกทีเดียวเขาคิดว่านี่คือสรวงสวรรค์กระทั่งเขาถูกเรียกตัวไปช่วยในกองถ่าย ประหลาดซึ่งเป็นกองถ่ายหนังของชาวพื้นเมืองเปรูที่คิดจะถ่ายหนังจากกล้องที่ทำด้วยไม้ โดยที่ที่จริงแล้งบรรดาชาวเปรูเหล่านั้นหาได้เข้าใจความแตกต่างของหนังกับชีวิตจริงเลยแม้แต่น้อย

DUELLE (UNE QUARANTINE) (JACQUES RIVETTE/1976)

เราขอตั้งชื่อไทยของหนังเรื่องนี้ว่า 'ศึกเจ้าแม่ตะวันจันทรามหาภัย!' เพราะนี่คือหนังแบบที่เราจะเห็นก็แต่ในพล็อต ของหนังกำลังภายในเท่านั้น พลอตของหนังคือการชิงความเป็นใหญ่ในการตามหาหินวิเศษ ระหว่างเจ้าแม่ตะวัน (บูล โอลเจียร์ ในชุดสีแดงเพลิงหรือ ทอง ) และเจ้าแม่จันทรา (จูเลีย แบร์โตในชุดสีน้ำเงิน เงิน ม่วง) ทั้งสองเจ้าแม่เสด็จลงมาบนโลกมนุษย์ในคืนเพ็ญแรกของฤดูใบใบไม้ผลิเพื่อตามหา หินวิเศษที่จะช่วยให้พวกนางมีชีวิตอยู่บนโลกมนุษย์ได้ยาวนานขึ้น วิธีการนั้นหรือก็คือการร่ายมนต์ใส่มนุษย์ทั้งหลายให้กลายเป็นข้าช่วงใช้ออก ตามล่าหาหินวิเศษซึ่งอยู่ที่ใครคนใดคนหนึ่งในเหล่าตัวละครนั่นแหละ

พลอ ตอาจจะฟังดูอลังการงานสร้างแต่ตัวหนังราวกับเป็นฉบับทำเองก็ได้ง่ายจังเพราะ ที่เราจะได้เห็นคือบรรดาตัวละครในเครื่องทรงอลังการ เดินกรีดกรายไปมาในฉากที่เหมือนเมืองแถวบ้าน สเปเชียลเอฟเฟคต์เป็นสิ่งเกินจำเป็น อาศัยแค่การจัดไฟ การตัดต่อ และการแสดงท่าทางง่ายๆก็สร้างมนต์ขลังได้โดยไม่ต้องพึ่งพาโปรแกรม คอมพิวเตอร์แต่อย่างใด บรรดาดาราก็พาเหรดกันมาวางท่าเขื่องโข กรีดกรายกรุ้มกริ่มชนิดไม่มีใครยอมแพ้ใคร (โดยเฉพาะสองราชินีที่มีรัศมีแบบกลืนกันไม่ลง คนหนึ่งในแสงและอีกคนในความมืด

 

6/2/54

8. DINO De LAURENTIIS + LUIS GARCIA BERLANGA โปรดิวเซอร์หนังระดับตำนานชาวอิตาลี่และผู้กำกับสเปนที่ถูกหลงลืม


EUROPA’51 (ROBERTO ROSSELLINI/1952) 

Ingrid Bergman นักแสดงคู่บุญของ Roberto Rosellini รับบทหญิงสาวที่ชีวิตล่มสลายหลังการฆ่าตัวตายของลูกชายของเธอ และเพื่อที่จะทำให้ชีวิตมีคุณค่าบ้าง เธอเดินทางไปเป็นนางพยาบาลดูแลคนไข้ในในกรุงโรม หากสามีของเธอเห็นว่านี่เป็นงานที่ต่ำทราม และเมื่อโอกาสมาถึงเขาก็พยายามจะจับภรรยาตัวเองเข้าโรงพยาบาลบ้า

THE EXCUTIONER (LUIS GARCIA BERLANGA/1963)

หนังเล่าเรื่องของเพชฌฆาตวัยใกล้เกษียณ ที่นึกสงสัยว่าหลังจากนี้ใครจะเข้ามารับตำแหน่งนี้แทนเขา เขามีลูกสาวอยู่คนหนึ่งแต่โชคร้ายที่ดูเหมือนเธอจะต้องขึ้นคานเพราะมีพ่อ เป็นเพชฌฆาต บรรดาหนุ่มๆ ที่มาจีบต่างแขยงความจริงในข้อนี้จนหนีไปหมด นั่นจนกระทั่งมีชายหนุ่มหน้าใหม่เข้ามาในเมือง ชายหนุ่มแสนดี ประเภทที่ไม่มีใครจะอยากแต่งงานด้วยเหมือนกัน เพราะเขาเล่นประกอบอาชพเป็นสัปเหร่อ ทุกอย่างดูลงล๊อคเขาทีถ้าไม่เพียงแต่ว่า เขามีข้อแม้ว่าจะยกลูกสาวให้ก็ต่อเมื่อชายหนุ่มหันมารับหน้าทีเพชฌฆาตแทน เมื่อเขาเกษียณอายุเท่านั้นเอง

27.10.10

โปรแกรมภาพยนตร์ ‘ประพันธกรต้องตาย!’ “Death of the Authors” Film Program

ระหว่างที่ Big Pathompong วุ่นวายกับการจัดโปรแกรม world film festival คราวนี้ filmsick ฉายเดี่ยวโซโล่โปรแกรมหนังเด็ดมาฝากกัน เพื่อฉลองโอกาสที่ปีนี้รัฐบาลจัดเฉลิมฉลองวาระคนเลิกอ่านหนังสือโดยเฉพาะ

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับ สำนักหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และ The Reading Room ขอเชิญชม

 โปรแกรมภาพยนตร์ ‘ประพันธกรต้องตาย!’ 
“Death of the Authors” Film Program


 ร่วม ชมภาพยนตร์สายพันธุ์เสพสังวาสกับฝั่งฟากวรรณกรรมที่ทั้งหวานชื่นและขื่นขม ด้วยรักและชัง การสู้รบปรบมือ ปรับแปลงพันธุกรรม เสพสมบ่มิสม ระหว่างภาพเคลื่อนไหวและตัวหนังสือ ทั้งที่ผู้ประพันธ์ลงมากำกับเองหรือถูกผู้อื่นนำไปตีความใหม่แบบไม่เหลือเค้า แน่นอนว่าประพันธกรต้องตายก่อน แต่ผู้อ่านและผู้ชมจะตายช้ากว่าหรือไม่ มีแต่ตัวบทแบบไหนที่จะดำรงคงอยู่ท่ามกลางสมรภูมิที่ไม่มีใครยอมใครนี้ Filmvirus ขออนุญาติมอบโปรแกรมนี้กำนัลล่วงหน้าก่อนการมาถึงของบรรดากลุ่ม “นักอ่านมรณา” ที่จะมา ‘อ่าน’ บรรดาหนังสือไทยเทศในอนาคตอันใกล้ ที่บล็อก ‘อ่านเอาตาย’ http://thedeadreader.com โปรดติดตามชม ดวยความระทึกในหทัยพลัน

โปรแกรมภาพยนตร์ชุดที่ 1- ฉายทุกวัน อาทิตย์ ระหว่างวันที่ 7 พฤศจิกายน – 28 พฤศจิกายน 2553 
รอบแรกเวลา 12.30 น. และรอบสอง 14. 30 น. (โดยประมาณ) ณ ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุด ปรีดี พนมยงค์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 
โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0-2613-3530

 ชมฟรี!!! (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณาแต่งกายสุภาพ)

 * สำหรับโปรแกรมภาพยนตร์ชุดที่ 2 ฉายที่ The Reading Room สีลม ซอย 19
- เริ่มฉายวันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน และชมฟรีเช่นกัน (โทร 02-635-3674) - โปรดตรวจสอบวันเวลาอีกครั้งที่เว็บไซต์ http://www.readingroombkk.org 

 7 พ.ย. 2553 

The Dancing Girl of Izu 
(Heinosuke Gosho กำกับ /1935/ ญี่ปุ่น) 

จากเรื่องสั้นที่เคยแปลไทยเรื่อง “นักระบำเมืองอิซุ” คาโอรุ หญิงสาวในคณะละครรำญี่ปุ่นเดินทางเร่มาถึงเมืองอิซึ เกาะกลางน้ำ เธอหลงรักกับนักเรียนหนุ่มคนหนึ่งซึ่งเข้าร่วมคณะด้วย หนังถ่ายทอดภาพความอ่อนหวานของความรักหนุ่มสาว ท่ามกลางความยากลำบากของคณะละครเร่ ทั้งหมดยังไปเกี่ยวข้องกับตระกูลใหญ่ ที่เป็นเพื่อนรุ่นพี่ของนักเรียนหนุ่มอีกด้วย

หนังดัดแปลงจาก เรื่องสั้นของ Yasunari Kawabata นักเขียนญี่ปุ่นเจ้าของรางวัลโนเบล เรื่องสั้นเรื่องนี้มีการสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้ง แต่ฉบับที่มีชื่อมากที่สุดคือฉบับหนังเงียบนี้ซึ่งกำกับโดย Heinosuke Gosho ผู้กำกับที่หนังของเขามักจะสะท้อนภาพชีวิตประจำวันที่สมจริง ปรุงผสมด้วยอารมณ์ขันกรุ่นความเจ็บปวดระหว่างคนในครอบครัว ถ้าเทียบกับหนังของครูหนังคนอื่นๆ อย่าง Mikio Naruse หรือ Yasujiro Ozu หนังของเขามักจะมีตัวละครหลากหลายและถ่ายทำในโลเกชั่นมากแห่งกว่า ส่วนเรื่องการใช้กล้องที่บอกอารมณ์ตัวละครและกำกับนักแสดงหญิงนั้นเขาถือ เป็นยอดฝีมือคนหนึ่งเลยทีเดียว (ดัดแปลงข้อมูลจาก Bookvirus เล่ม 1)

 Fate: Tales about Darkness
(Zeki Demirkubuz กำกับ /2001 / ตุรกี)

 Musa หนุ่มพนักงานบัญชีในสำนักงานศุลกากรเป็นคนที่เชื่อในความว่างเปล่าและไร้สาระของชีวิต เขาไม่เคยต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความเปลี่ยนแปลงใดๆ เพียงปล่อยให้ตัวเองลอยละล่องอยู่กลางเหตุการณ์ต่างๆ เพราะเขาเชื่อว่าอย่างไรเสียสุดท้ายมันก็จะจบลงเหมือนๆกัน ความตายของแม่ไม่ได้มีผลอะไรกับชีวิตเขา แม้ว่าเขาจะรักเธอ จะว่าไป อันที่จริงความตายของแม่ทำให้เขารู้สึกเบิกบานด้วยซ้ำไป และเพื่อหลีกเลี่ยงการต้องตัดสินใจใดๆ เขาแต่งงานกับหญิงสาวที่เขาไม่ได้รักชอบ เพียงแค่เพราะเธอต้องการแต่งกับเขาเท่านั้น ท่ามกลางในโลกจริงๆ ผู้คนล้วนต่างต้องเผชิญหน้ากับชะตากรรมด้วยเจตจำนงและ อำนาจที่เขามี Musa กลับเลือกวางเฉย ต่อมาเขาถูกจับจากอาชญากรรมที่เขาไม่ได้เป็นคนก่อ แต่เขาว่าเขาก็ไม่ได้สนใจมันเหมือนกัน  

ดัดแปลงจากเค้าโครงนิยายเรื่อง “คนนอก” (L’ Etranger) ของ Albert Camus นักเขียนฝรั่งเศสเจ้าของรางวัลโนเบลปี 1957 (สำนักพิมพ์สามัญชน) หนังกำกับโดย Zeki Demirkubuz ผู้กำกับชาวตุรกีคนสำคัญที่ยังตกสำรวจ ผู้ซึ่งต้องหาทุนทำหนังเอง และไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนอกตุรกี ด้วยรูปแบบการทำหนังแบบ ‘น้อยแต่มาก’ และเล่าเรื่องที่มุ่งหมายตรวจสอบชะตากรรมอันหดหู่ของมนุษย์

14 พ.ย. 2553

The Crucible
(Raymond Rouleau กำกับ /1957/ ฝรั่งเศส) 

 ย้อน ไปในปี 1692 ในเมือง SALEM ประเทศฝรั่งเศส ช่วงขวบปีแห่งการล่าแม่มดของจริง ช่วงเวลาของเรื่องเล่า ข่าวลือ การใส่ร้ายป้ายสี และอาการฮิสทีเรียหมู่ John Proctor หนุ่มชาวนา เผลอไผลไปมีความสัมพันธ์กับกับAbigail เด็กหญิงอายุ 17 เนื่องจาก Elizabeth ภรรยาผู้เคร่งศาสนาปฏิเสธการมีสัมพันธ์กับเขา เมื่อหล่อนรู้เรื่อง หล่อนก็ขับไล่Abigail ออกจากบ้านด้วยความเห็นชอบของสามี และนั่นทำให้Abigail สาบานว่าเธอจะล้างแค้น โอกาสมาถึงเมื่อ เมื่อเธอประกาศว่าElizabeth เป็นแม่มด และเกลี้ยกล่อมบรรดาสตรีในหมู่บ้านให้คล้อยตามเธอ ไม่เพียงแต่ Elizabeth เท่านั้น แม้แต่ John ก็ถูกกล่าวหาด้วย Abigail เสนอทางเลือกให้กับเขาเพื่อให้รอดพ้นจากการถูกแขวนคอ นั่นคือการใส่ร้ายภรรยาตนเอง

 ภาพยนตร์ดัดแปลงจากบทละครของ Arthur Miller ที่เขียนบทละครเรื่องนี้ขึ้นเพื่อระบายความอึดอัดคับข้องในสมัยที่อเมริกา ‘ล่าแม่มด’ ในรูปของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่นำโดยท่านวุฒิสมาชิก โจเซฟ แมคคาร์ธี ซึ่งฉบับนี้ดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์โดยนักเขียนและนักปรัชญาคนสำคัญของฝรั่งเศส Jean-Paul Sartre (บทละครเรื่องนี้มีแปลเป็นไทยในชื่อ “หมอผีครองเมือง”)

 The Joke
(Jaromil Jires กำกับ /1969/ เช็ก)

ใน ช่วงทศวรรษที่ 1950 Ludvik Jahn โดนขับไล่ออกจากพรรคคอมมิวนิสต์โดยฝีมือลูกศิษย์ของเขาเอง โดยมีเหตุเนื่องจากโน้ตเล็กๆ แผ่นเดียวที่เขาส่งให้แฟนสาว สิบห้าปีต่อมา Ludvik จะกลับมาทวงแค้นโดยการเป็นฝ่ายยั่วยวน Helena ภรรยาของลูกศิษย์คนหนึ่งของเขาเอง

ภาพยนตร์ขำขื่นคมคาย แสบทรวงเรื่องนี้ กำกับโดย Jaromil Jires ผู้กำกับหนังเหวอวาบหวามอย่าง Valeries and Her Weeks of Wonder และเขียนบทภาพยนตร์โดย Milan Kundera (ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต, อมตะ) นักเขียนนามอุโฆษ ว่ากันว่านี่เป็นครั้งเดียวที่เขาเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานภาพยนตร์และเขาไม่ ค่อยพอใจมันนัก แม้ว่าตัวหนังจะได้รับคำชมไม่น้อย ก็ตาม 

21 พ.ย. 2553

A Very old man With Enormous Wings
(Fernando Birri / 1988 / คิวบา + อิตาลี + สเปน)

 จากหนังสือแปลในชื่อเดียวกัน ชาย แก่ที่มีปีกขนนกยักษ์ตกมาจากท้องฟ้าลงมาในเล้าไก่ของผัวเมียชาวบ้านคู่ หนึ่ง เจ้าตัวประหลาดนี้กลายเป็นของโชว์ในงานคาร์นิวัลที่มีผู้เข้ามาแห่ชมอย่างล้นหลาม  งานสร้างจากเรื่องสั้นชื่อเดียวกันของ การ์เบรียล การ์เซีย มาร์เกซ นักเขียนรางวัลโนเบลชาวโคลัมเบีย ซึ่งร่วมเขียนบทเองด้วย (ดัดแปลงข้อมูลจาก Bookvirus เล่ม 1)


The Key 
(Kon Ichikawa กำกับ /1959/ ญี่ปุ่น) 107 นาที

เคนโมชิ พยายามกู้อารมณ์ทางเพศที่เสื่อมถอยในวัยชราด้วยกลวิธีสารพัด เริ่มจากไดอารี่ลับของเขาและภรรยา ถ่ายภาพเปลือยของเธอ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เธอมีความสัมพันธ์กับหมอหนุ่มแฟนของลูกสาว ฝ่ายภรรยาของเขาที่มักมากในกามก็ได้ที วางแผนคบชู้กับว่าที่ลูกเขยโดยตั้งใจจะปรนเปรอ เคนโมชิ ให้ตายในกามกิจ

 ฉบับหนังดัดแปลงแตกต่างพอสมควรจาก “The Key” ฉบับนิยายของ Junichiro Tanizaki (ฉบับแปลไทยโดย สุจินดา ขันตยาลงกต / สำนักพิมพ์บ้านหนังสือ) ดูเหมือนว่าจะไม่มีที่ว่างให้ความดีงามของคนเหลืออยู่เลย Kon Ichikawa ผู้กำกับหนังคลาสสิกรุ่นลายครามของญี่ปุ่นกล่าวว่าตัวละครเหล่านี้ไม่มีวิญญาณของมนุษย์จึงไม่นับเป็นผู้เป็นคน พวกเขาสมควรตาย (ดัดแปลงข้อมูลจาก Bookvirus เล่ม 1)

 
28 พ.ย. 2553

I, Pierre, Rivere (Rene Allio กำกับ / 1976/ ฝรั่งเศส) - 124 นาที 

 Pierre Rivière ฆาตกรรม มารดา พี่สาว และพี่ชายของเขา เพื่อปลดปล่อยให้พ่อของเขาเป็นอิสระจากชีวิตอันน่าเบื่อหน่าย โดยหนังแสดงภาพการฆาตกรรมนี้จากหลากหลายมุมมอง รวมถึงพยานหลักฐานที่ชวนให้ประหลาดใจทั้งจากบันทึกที่ตัว Pierreเองเขียนขึ้นในคุก จากเรื่องเล่าเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ในขณะเกิดเหตุ รวมไปถึงความเข้าใจของเราที่มีต่อ ‘ความจริง’

 นี่คือหนังที่ น่าตื่นตาตื่นใจ Rene Allio ผู้กำกับหนังเลือกใช้นักแสดงหน้าใหม่ที่เป็นชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุจริงๆ ทำให้หนังเต็มไปด้วยความน่าเชื่อถือ และความเป็นธรรมชาติแบบที่หาไม่ได้นักแสดงอาชีพ หนังสร้างจากหนังสือของMichel Foucault นักปรัชญาคนสำคัญของฝรั่งเศส เจ้าของความคิดเกี่ยวกับ ‘วาทกรรม’ และผู้ศึกษารูปแบบของอำนาจในสังคมร่วมสมัย

Charulata
(Satyajit Ray กำกับ /1964/ อินเดีย) 117 นาที 

 หนึ่งในภาพยนตร์ชั้นยอดของ Satyajit Ray เล่าชีวิตของภรรยาสาวที่ถูกสามีบ้างานการเมืองทอดทิ้งอยู่กับชีวิตที่สะดวกสบายน่าเบื่อหน่าย เมื่อเธอมีโอกาสคบหากับ อามาล นักศึกษาหนุ่มผู้เปี่ยมความกระตือรือร้นช่างคิดช่างฝันและมีความสนใจใกล้ เคียงกัน ทั้งความโรแมนติค ศิลปะ วรรณกรรม มิตรภาพซึ่งเบ่งบานระหว่างทั้งสองจึงนำไปสู่การค้นพบตัวเองที่เธอไม่คิดฝันมาก่อน

 ในฐานะเป็นคนใกล้ชิด ระพินทรนารถ ฐากูร มาตั้งแต่เด็ก Ray จึงเป็นคนที่มีสมบัติครบในการทำหนังจากบทประพันธ์ของ ระพินทรนารถ ฐากูร อย่างยิ่ง (ดัดแปลงข้อมูลจาก Bookvirus เล่ม 1)

 ****************************************************************************
โปรแกรมภาพยนตร์ชุด 2- ฉายเฉพาะที่ The Reading Room สีลม ซอย 19 (โทร 02-635-3674)

 A Page of Madness
(Teinosuke Kinugasa กำกับ/ 1926 / ญี่ปุ่น) 60 นาที  

 หนัง เงียบระดับตำนานที่ได้ชื่อว่าเป็น The Man With a Movie Camera หรือ The Cabinet of Dr. Caligari ของวงการหนังญี่ปุ่น ผลงานการกำกับของ Teinosuke Kinugasa จากบทภาพยนตร์ดั้งเดิมของ Yasunari Kawabata นักเขียนรางวัลโนเบลปี 1968 เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชายชาวประมงที่พยายามสมัครเข้าทำงานเป็นภารโรงประจำโรงพยาบาลประสาทแห่งหนึ่ง เพียงเพื่อลักลอบนำตัวภรรยาของเขาซึ่งเป็นหนึ่งในคนไข้ออกมา ผู้กำกับ Teinosuke Kinugasa นำเสนอเรื่องราวด้วยเทคนิคการถ่ายภาพขาวดำอันหนักแน่นหวือหวาผนวกกับการตัด สลับเหตุการณ์ไปมาด้วยลีลาใกล้เคียงงาน Expressionist ของเยอรมนี สร้างภาพหลอนของผู้มีอาการป่วยทางจิตออกมาได้อย่างน่าตื่นตะลึง จนตัวหนังถึงกับเคยถูกนำไปใช้เป็นกรณีศึกษาของบรรดาจิตแพทย์และนักจิตวิทยากันมาแล้ว! หนังเรื่องนี้เคยหายสาบสูญไปเกือบ 50 ปี ก่อนที่ผู้กำกับจะค้นพบฟิล์มหนังอีกครั้งในปี 1971

 Orlando
(Sally Porter กำกับ /1992 / สหราชอาณาจักรอังกฤษ / รัสเซีย) 93 min 

นวนิยาย ปี 1928 ของ Virginia Woolf นักประพันธ์หญิงแนวกระแสสำนึกคนแรก ๆ ของวงการ ตัวหนังนั้นกลายเป็นภาพยนตร์ที่คนทั่วโลกชื่นชม เรื่องราวของออร์ลันโด้ หนุ่มขุนนางคนโปรดในราชสำนักของพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 1 ที่ได้รับพระราชทานคฤหาสน์โอฬารระหว่างสงครามครั้งใหญ่กับสุลต่านที่คอนแสตนติโนเปิล เขาหลงรักและเลิกราจากเจ้าหญิงรัสเซีย เป็นกวีและราชทูตในแถบเอเชียกลาง ก่อนจะตื่นนอนและพบตัวเองกลายร่างเป็นหญิง ได้อย่างปาฏิหาริย์ เธออยู่ร่วมประวัติศาสตร์อังกฤษกว่า 400 ปี ผ่านสงครามกลางเมือง ยุคล่าอาณานิคมสมัยวิคตอเรียน ในศตวรรษที่ 18 เธอจำเป็นต้องเลือกที่จะแต่งงานมีบุตรสืบสกุล มิเช่นนั้นจะพลาดโอกาสสูญเสียทรัพย์สินทุกอย่าง จนมาถึงศตวรรษที่ 20 ซึ่งเธอกลายเป็นแม่ของเด็กหญิงคนหนึ่ง Woolf แต่งเรื่องนี้โดยอิงถึงเรื่องการรับมรดกของเพื่อนหญิงคนหนึ่ง ที่เธอผูกสัมพันธ์รักใคร่มากเกินเพื่อน ในชีวิตจริงหญิงคนนั้นสูญเสียคฤกหาสน์ที่เธอควรได้รับจากพระราชินีอลิซาเบธ เพระเธอเกิดเป็นผู้หญิง

 หนังกำกับโดย Sally Potter ผู้กำกับหญิงชาวอังกฤษเจ้าของหนังอย่าง Yes ที่เข้าฉายในบ้านเราสามสี่ปีที่แล้วที่ใช้เวลาทำหนังเรื่องนี้ถึง 3 ปีครึ่ง (ดัดแปลงข้อมูลจาก Bookvirus เล่ม 1)

 The Chinese Botanist’s Daughters
(Sijie Dai กำกับ /2006/ สาธารณรัฐประชาชนจีน / ฝรั่งเศส) 

 Li Ming ลูกครึ่งพ่อจีนแม่รัสเซียโตขึ้นในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า เธอศึกษาด้านพฤกษศาสตร์และกำลังเข้าฝึกงานกับศาสตราจารย์ Chen นักพฤกษศาสตร์ ที่พาเธอไปอยุ่ยังเกาะห่างไกล ที่ที่เขาอศัยอยู่กับ Ann ผู้เป็นลูกสาว

โดยสตรีทั้งสองนางทำหน้าที่เก็บสมุนไพร และดูแลสวนพฤษศาสตร์ของศาสตราจารย์ พวกเธอใกล้ชิดกันและกันท่ามกลางบรรยากาศเขียวขจีอันสวยสดงดงาม และเริ่มตกหลุมรักกันโดยที่ศาสตราจารย์ไม่รู้เรื่องอะไรเลย จนกระทั่งศาสตราจารย์ แนะนำให้ Li Ming แต่งงานกับ Dan พี่ชายของAn และนั่นอาจจะเป็นหนทางเดียวที่พวกเธอจะได้อยู่ด้วยกัน ยิ่งเมื่อ Dan ไปอยู่กองทหารมากกว่าอยู่บ้าน ดูเหมือนทุกอย่างจะเหมาะเจาะสำหรับคู่รัก หากมันก็ยังคงเดินหน้าไปสู่โศกนาฏกรรมอยู่ดี

นี่คือภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ Dai Sije นักเขียนและผู้กำกับชาวจีน ที่บ้านเรารู้จักกันดีจากนิยาย(และหนัง) ‘บัลซัคกับสาวน้อยช่างเย็บผ้าชาวจีน’ Dai Sije เกิดในปี 1954 ในครอบครัวชนชั้นกลาง ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม เขาเคยถูกรัฐบาลของเหมาเจ๋อตุงส่งไปใช้แรงงานใน Sichuan หลังจากกลับจากการใช้แรงงานเขาเรียนจนจบมหาวิทยาลัยในสาขา ประวัติศาสตร์ศิลป์ ปี 1984 เขาได้รับทุนการศึกษาและออกจากจีนไปยังฝรั่งเศส จากนั้นเขาก็เริ่มสนใจทำหนัง ก่อนจะขยับมาเขียนหนังสือ ปัจจุบันยังคงอาศัยอยู่ในปารีส 

Successive Slidings of Pleasure
(Alain Robbe-Grillet กำกับ /1974/ ฝรั่งเศส) 

หนังเล่าเรื่องของคอนแวนต์ที่มีสภาพคล้ายคุกซึ่งกลุ่มเด็กสาวถูกควบคุมโดยแม่ชี หญิงสาวคนหนึ่งถูกตำรวจและผู้พิพากษาสอบสวน เธอโดนกล่าวหาว่าเป็นแม่มดฆ่าเพื่อนแล้วดื่มกินเลือด เธอท้าทายอำนาจสถาบันและยั่วยวนผู้บริหารหญิงชาย แม้แต่คณะชีก็ไม่มีเว้น 

หนัง ของ Alain Robbe –Grillet นักเขียนและผู้กำกับฝรั่งเศสคนสำคัญ เจ้ากระแสงานเขียนทศวรรษที่ 50-60 ที่เรียกกันว่า Nouveau Roman ที่ที่รูปแบบภาษาและบรรยากาศ ถูกให้ความสำคัญมากกว่าเนื้อเรื่องหรือปมจิตของตัวละคร Robbe –Grillet ชอบผสมผสานพล็อตเรื่องของนิยายตลาดราคาถูก (โดยเฉพาะแนวเรื่องนักสืบ) และเรื่องอาชญากรรมอีโรติกเข้ากับวัฒนธรรมศิลปะมีระดับทำให้เกิดงานที่วิพากษ์กรอบหนังแนวนั้นๆ ส่องขยายสัมพันธ์ซ้อนเหลื่อมระหว่างจริตจริงลวงของตัวสื่อหนังเอง อีกทั้งยังปูดโปนความหมกมุ่นทรมานทางเพศที่เน้นเลือดโชกชุ่ม การข่มขืนหมู่ การเสพผงกระชากวิญญาณ ความพิศวงต่อวัฒนธรรมแปลกตาของชนตะวันออก ความหลงใหลในเศษกระจก เงาภาพสะท้อนละคนคู่เหมือน อันทั้งหมดเป็นเอกลักษณ์ในงานเขียนและในภาพยนตร์ของเขา (ดัดแปลงข้อมูลจาก Bookvirus เล่ม 1)

เกี่ยวกับ “วงกตแห่งเนื้อนาง” - Alain Robbe –Grillet: http://twilightvirus.blogspot.com/2007/10/alain-robbe-grillet.html

23.9.10

สลับโปรแกรมหนัง งาน เผาฟิล์มไวรัส เผ็ด สวย ดุ ณ เก๋ไก๋

แจ้งสลับโปรแกรมหนัง งาน เผาฟิล์มไวรัส เผ็ด สวย ดุ ณ เก๋ไก๋ (ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์) 

หนังสั้น + มิวสิควีดีโอของชาวคณะฟิล์มไวรัสและผองเพื่อน
Don’t Mess with Us: Filmvirus and Friends

ฉายที่ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U 2 ของ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ (ตึกสีขาวสูงริมน้ำ) - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน 
เริ่มงาน 12.30 น.  

* * * อย่าจ่ายค่าเข้าห้องสมุด เพียงแจ้งเจ้าหน้าที่หอสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณางดใส่กางเกงขาสั้น กระโปรงสั้น และรองเท้าแตะ เนื่องจากเป็นสถานศึกษาและสถานที่ราชการ * * *

ขอเชิญชมหนังที่ทำโดยสมาชิกกลุ่มฟิล์มไวรัสและคนใกล้ชิด เชิญร่วมทัศนา พูดคุย และวิจารณ์ยำใหญ่ได้แบบไม่ยั้งมือ  

ร่วมด้วยคุณ สุชาติ สวัสดิ์ศรี จะนำหนังสั้นเรื่องใหม่สดที่ไม่เคยฉายที่ไหนมาก่อนมาเปิดตัวที่นี่ รวมทั้งจะให้เกียรติมาร่วมสนทนาด้วย

(ร่วมวิจารณ์ยำใหญ่ ฟิล์มไวรัส แบบไม่ยั้งมือ โดย กฤติยา กาวีวงศ์ และ ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์)

โปรแกรมภาพยนตร์ ตอน 1 (อาจเปลี่ยนแปลงตามจำเป็น) 

วันที่ดวงจันทร์เข้ามาใกล้โลกมากที่สุด (The Day the Moon Encounter the Earth’s Orbit) (2010) / วีระพงษ์ วิมุกตะลพ / 9 นาที  
VCD คำถาม กำกับและนำแสดงโดย ฌัฏฐ์ธร กังวาลไกล / 15 นาที
'Wherever You Will Go' (2009) / คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง / 5 นาที
'สู่เส้นชัย' / Run a Race (2005) /กำกับโดย 'อลงกต' / 1 นาที (animation)
'ฯยามวิกาลฯ' / Nocturnal Happening (2004) / 'อลงกต' / 13 นาที (สยองขวัญแนวทดลอง)
ประวัติย่อของบางสิ่งที่ยังไม่จบสิ้น (pulsatile mass) / 2009 / นฆ ปักษนาวิน / 40 นาที

พักแลกเปลี่ยนความเห็น 1
โปรแกรมภาพยนตร์ ตอน 2 (อาจเปลี่ยนแปลงตามจำเป็น) 

พายุผีเสื้อ /The Butterfly Effect (2008) วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา / 17 นาที
เพ็ญ /La Lunar (2009) วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา / 8 นาที
Weekend News / 5 นาที / ไกรวุฒิ จุลพงศธร
Tunyares / 12 นาที / ไกรวุฒิ จุลพงศธร
Sorry... / 5 นาที / ไกรวุฒิ จุลพงศธร 
'ชุติมา' (2007) / รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค / 16 นาที (สร้างจากบทกวีรางวัลซีไรต์ของ มนตรี ศรียงค์)
Ma vie incomplet et inacheveee' (2007) / รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค / 4 นาที (animation)
รอยยิ้มในคืนที่ 5 (Smiles of the 5th Night) (จากชุดหนังสึนามิ) / 2005 / สนธยา ทรัพย์เย็น / 16 นาที (unreleased version)


พักแลกเปลี่ยนความเห็น 2
โปรแกรมภาพยนตร์ ตอน 3 (อาจเปลี่ยนแปลงตามจำเป็น) 

I’m Nobody, Who are You? (1987) / สมเกียรติ์ วิทุรานิช / 15 นาที
'ขุนนางป่า' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'บ้านของพรุ่งนี้' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'ไม้เหลือง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'คนฉายหนัง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'ดำกับแดง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
MV ลูกตะกั่ว 3 ลูกในหัวลูกหมู / ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ / 6 นาที 
พิภพบรรฑูรย์ / 25 นาที / อุทิศ เหมะมูล
MV สว่างไป สว่างมา (improvised version) ของวง Vinegar Syndrome / สนธยา ทรัพย์เย็น / 8 นาที  

22.9.10

โปรแกรมหนัง งาน เผาฟิล์มไวรัส เผ็ด สวย ดุ ณ เก๋ไก๋

โปรแกรม งาน เผาฟิล์มไวรัส เผ็ด สวย ดุ ณ เก๋ไก๋ (ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์) 

หนังสั้น + มิวสิควีดีโอของชาวคณะฟิล์มไวรัสและผองเพื่อน
Don’t Mess with Us: Filmvirus and Friends

ฉายที่ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U 2 ของ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ (ตึกสีขาวสูงริมน้ำ) - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน 
เริ่มงาน 12.30 น.  

* * * อย่าจ่ายค่าเข้าห้องสมุด เพียงแจ้งเจ้าหน้าที่หอสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณางดใส่กางเกงขาสั้น กระโปรงสั้น และรองเท้าแตะ เนื่องจากเป็นสถานศึกษาและสถานที่ราชการ * * *

ขอเชิญชมหนังที่ทำโดยสมาชิกกลุ่มฟิล์มไวรัสและคนใกล้ชิด เชิญร่วมทัศนา พูดคุย และวิจารณ์ยำใหญ่ได้แบบไม่ยั้งมือ  

ร่วมด้วยคุณ สุชาติ สวัสดิ์ศรี จะนำหนังสั้นเรื่องใหม่สดที่ไม่เคยฉายที่ไหนมาก่อนมาเปิดตัวที่นี่ รวมทั้งจะให้เกียรติมาร่วมสนทนาด้วย

(ร่วมวิจารณ์ยำใหญ่ ฟิล์มไวรัส แบบไม่ยั้งมือ โดย กฤติยา กาวีวงศ์ และ ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์)

โปรแกรมภาพยนตร์ ตอน 1 (อาจเปลี่ยนแปลงตามจำเป็น) 

VCD คำถาม กำกับและนำแสดงโดย ฌัฏฐ์ธร กังวาลไกล / 15 นาที
'Wherever You Will Go' (2009) / คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง / 5 นาที
'สู่เส้นชัย' / Run a Race (2005) /กำกับโดย 'อลงกต' / 1 นาที (animation)
'ฯยามวิกาลฯ' / Nocturnal Happening (2004) / 'อลงกต' / 13 นาที (สยองขวัญแนวทดลอง)
พายุผีเสื้อ /The Butterfly Effect (2008) วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา / 17 นาที
เพ็ญ /La Lunar (2009) วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา / 8 นาที
ประวัติย่อของบางสิ่งที่ยังไม่จบสิ้น (pulsatile mass) / 2009 / นฆ ปักษนาวิน / 40 นาที
วันที่ดวงจันทร์เข้ามาใกล้โลกมากที่สุด (The Day when the Moon Encounter the Earth’s Orbit) (2010) / วีระพงษ์ วิมุกตะลพ / 9 นาที  
Marianne Quartet (2003) / ไกรวุฒิ จุลพงศธร
'ชุติมา' (2007) / รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค / 16 นาที (สร้างจากบทกวีรางวัลซีไรต์ของ มนตรี ศรียงค์)
Ma vie incomplet et inacheveee' (2007) / รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค / 4 นาที (animation)
รอยยิ้มในคืนที่ 5 (Smiles of the 5th Night) / 2005 / สนธยา ทรัพย์เย็น / 16 นาที (unreleased version)


พักแลกเปลี่ยนความเห็น

โปรแกรมภาพยนตร์ ตอน 2 (อาจเปลี่ยนแปลงตามจำเป็น) 

'ขุนนางป่า' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'บ้านของพรุ่งนี้' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'ไม้เหลือง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'คนฉายหนัง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'ดำกับแดง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
MV ลูกตะกั่ว 3 ลูกในหัวลูกหมู / ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ / 6 นาที 
ทางลัดสู่สวรรค์ / 2551 / ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ / 10 นาที 
I’m Nobody, Who are You? (1987) / สมเกียรติ์ วิทุรานิช / 15 นาที
พิภพบรรฑูรย์ / 25 นาที / อุทิศ เหมะมูล
MV สว่างไป สว่างมา (improvised version) ของวง Vinegar Syndrome / สนธยา ทรัพย์เย็น / 8 นาที /  

20.9.10

ประกาศย้ายวิก งาน เผาฟิล์มไวรัส

งาน เผาฟิล์มไวรัส เผ็ด สวย ดุ ณ เก๋ไก๋  
โปรแกรมหนังสั้น + มิวสิควีดีโอของชาวคณะฟิล์มไวรัสและผองเพื่อน

Don’t Mess with Us: Filmvirus and Friends

เปลี่ยนสถานที่จาก ตูดยุง แกลเลอรี่ กลับไปที่เดิม คือห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U 2 ของ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ (ตึกสีขาวสูงริมน้ำ) - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน 
เริ่มงาน 12.30 น. – ประมาณ 17.30 น. 

* * * ไม่ต้องจ่ายค่าเข้าห้องสมุด แต่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่หอสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณางดกางเกงขาสั้น กระโปรงสั้น และรองเท้าแตะ เนื่องจากเป็นสถานศึกษาและสถานที่ราชการ * * *

วิจารณ์และฉายหนังคนอื่นมามากแล้ว คราวนี้ขอเชิญชวนชมหนังที่ทำโดยสมาชิกกลุ่มฟิล์มไวรัสและคนใกล้ชิดกันบ้าง เชิญร่วมทัศนา พูดคุย และวิจารณ์ยำใหญ่ได้แบบไม่ยั้งมือ

มากันครบทีม ตั้งแต่ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา (Filmsick), อุทิศ เหมะมูล (ลับแล, แก่งคอย), อลงกต, นฆ ปักษนาวิน, ไกรวุฒิ จุลพงศธร, สมเกียรติ์ วิทุรานิช (October Sonata), ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ, คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง, ทีฆะเดช วัชรธานินท์, รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค, นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์, ฌัฏฐ์ธร กังวานไกล, วีระพงษ์ วิมุกตะลพ, สนธยา ทรัพย์เย็น และหนังสั้นเรื่องใหม่ ๆ ของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี (ซึ่งให้เกียรติมาร่วมสนทนาด้วย) 

รายชื่อภาพยนตร์บางส่วนที่จะจัดฉาย (ไม่เรียงตามลำดับการฉายก่อนหลัง) 

'ขุนนางป่า' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'บ้านของพรุ่งนี้' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'ไม้เหลือง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'คนฉายหนัง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
'ดำกับแดง' กำกับโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี
I’m Nobody, Who are You? กำกับโดย สมเกียรติ์ วิทุรานิช
'สู่เส้นชัย' / Run a Race (2005) กำกับโดย 'อลงกต' ความยาว 1 นาที (animation)
ฯยามวิกาลฯ' / Nocturnal Happening (2004) / กำกับโดย 'อลงกต' ความยาว 13 นาที (สยองขวัญแนวทดลอง)
'ก่อนเดินทาง' / Before Departure (2004) กำกับโดย 'อลงกต' ความยาว 15 นาที (สยองขวัญแนวทดลอง)
พายุผีเสื้อ /The Butterfly Effect (2008) วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา ความยาว 17 นาที
เพ็ญ /La Lunar (2009) วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา ความยาว 8 นาที
เดียวดายทุกหนแห่ง / Loneliness Everywhere วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา ความยาว 9 นาที 
ประวัติย่อของบางสิ่งที่ยังไม่จบสิ้น pulsatile mass (2009)นฆ ปักษนาวิน ความยาว 40 นาที
Marianne Quartet (2003) ไกรวุฒิ จุลพงศธร 30 นาที
'Wherever You Will Go' (2009) กำกับโดย คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง / 5 นาที
Ma vie incomplet et inacheveee' (2007) กำกับโดย รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค / 4 นาที (animation)
'ชุติมา' (2007) กำกับโดย รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค / 16 นาที (สร้างจากบทกวีรางวัลซีไรต์ของ มนตรี ศรียงค์)
หนังสั้นและ MV โดยไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ
วันที่ดวงจันทร์เข้ามาใกล้โลกมากที่สุด / 9 นาที โดย วีระพงษ์ วิมุกตะลพ
พิภพบรรฑูรย์ / 25 นาที โดย อุทิศ เหมะมูล
VCD คำถาม โดย ฌัฏฐ์ธร กังวานไกล

เคี้ยง + แค้น โดย สนธยา ทรัพย์เย็น

MV สว่างไป สว่างมา ของวง Vinegar Syndrome โดย สนธยา ทรัพย์เย็น (ในภาพประกอบ)

คืนที่ 6 โดย สนธยา ทรัพย์เย็น

และเรื่องอื่น ๆ ที่ยังไม่ยืนยันในขณะนี้

11.9.10

ประกาศรับสมัครโปรแกรมฉายหนัง Filmvirus Wild Type 2010

ประกาศรับสมัครโปรแกรมฉายหนัง Filmvirus Wild Type 2010

สำหรับพวกเราแล้ว เดือนกรกฎาคม และ สิงหาคม ของแต่ละปี เป็นเสมือนช่วงเวลาศักดิ์สิทธิ์ เพราะมันคือช่วงเวลาที่มูลนิธิหนังไทย จัดฉายหนังในรอบมาราธอน นั่นหมายถึงฉายหนังทุกเรื่องที่ส่งมาเพื่อร่วมประกวดในเทศกาลหนังสั้นประจำปี หนังจำนวนเกือบห้าร้อยเรื่อง ถูกจัดฉายเรียงลำดับตัวอักษร ในทุกวัน บางคราวใช้เวลาเป็นเดือน ๆ ก่อนที่บรรดาหนังสั้นเหล่านั้นจะถูกคัดเลือกเหลือเพียงจำนวนสามสิบหรือสี่สิบเรื่องเพื่อเข้าฉายและเข้าประกวดในเทศกาลหนังสั้นช่วงปลายเดือนสิงหาคม

สำหรับพวกเราแล้วความสุขประการหนึ่งคือการได้นั่งในห้องมืดของรอบมาราธอน ดูหนังสั้นจากทุกสารทิศทั่วประเทศไทย ค้นหาภาพและเสียงใหม่ เรื่องราวใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ ความแปลกพิสดารพันลึก ความดิบหยาบของงานสร้าง ความกล้าหาญ กระทั่งความไร้เดียงสาในการนำเสนอประเด็นหนักหน่วง แน่นอนว่าไม่ใช่หนังสั้นทั้งหมดจะเป็นหนังสั้นชั้นเลิศประหนึ่งเพชรในตมจากดินแดนห่างไกล บางเรื่องเป็นผีมือของเด็กมัธยมที่เพิ่งเริ่มจับกล้อง หรืออาจจะเป็นเพียงคนเดินถนนสามัญที่ไม่เคยเรียนรู้เรื่องหนังมาก่อน เป็นเพียงหนังที่ทำขึ้นเพื่อความบันเทิงภายในบ้าน นำเสนอในหน่วยงาน ไปจนถึงการบันทึกเหตุการณ์สำคัญโดยบังเอิญ ทำส่งอาจารย์ในวิชาต่างๆ หรือกระทั่งตั้งใจทำเพื่อสอนสั่งศีลธรรมอันดีแก่สังคม ความสนุกสนานเหล่านั้น ความน่าเบื่อหน่ายเหล่านั้น ความตลกโปกฮาเหล่านั้น ความไม่ได้เรื่องได้ราวเหล่านั้นคือพลังของสื่อใหม่อย่างภาพยนตร์ ซึ่งในที่สุดได้ปลดแอกออกจากเรื่องของมืออาชีพ นักเรียนหนัง นายทุน สตูดิโอ เจ้าของอุปกรณ์ หรือผู้รู้ไดๆ ใครก็อาจบอกได้ว่าถึงที่สุดภาพยนตร์ก็หล่นจากสวรรค์ลงมาอยู่ในมือคนเดินดินด้วยความอุดหนุนของเทคโนโลยีซึ่งทำให้อุปกรณ์ถ่ายทำถูกลง และใช้ง่ายขึ้น จนในที่สุดใครก็ทำหนังได้แล้ว

อย่างไรก็ดี ใครต่อใครอาจจะเชื่อเรื่องความมักง่าย เชื่อว่า หนังเหล่านี้ไม่ได้มีคุณค่าอะไร เป็นเพียงของเล่นที่ไร้สาระ เป็นเพียงเรื่องขำๆของเด็กจิตป่วย ไม่มีสิ่งใดพอให้ใส่ใจ แต่สำหรับเราแล้วเราคิดต่างไป เราคิดว่านี่ต่างหากคือขุมทองของภาพใหม่เสียงใหม่ ภาพและเสียงซึ่งไม่ได้รับการขัดเกลา หากเต็มไปด้วยความกล้าหาญและจริงใจ หนังซึ่งคว้าจับภาพชีวิตธรรมดาสามัญของมนุษย์ทั่วไปซึ่งไม่เคยถูกกระทำในฐานะมนุษย์ที่ไม่ใช่ตัวละครในหนังมาก่อน หรือการคว้าจับภาพสะท้อนความเป็นไปของสังคมอันสดใหม่ วัฒนธรรมย่อยซึ่งถูกกดให้อยู่ชายขอบ ปากเสียงของคนที่ไม่เคยมีปากเสียงหรือถูกทำให้มีเสียงเพียงรูปแบบเดียว ไปจนกระทั่งสุนทรียศาสตร์แบบใหม่ๆในการรับรู้โลกเดิม ความหลากหลายอันงดงามเหล่านี้เองทำให้เรารู้สึกว่าหนังสั้นมาราธอน คือปรากฏการณ์ที่น่าทึ่ง คือแสงแวววาวของเหลี่ยมเพชรจำนวนมากซึ่งบางครั้งการเจียระไนต่างหากที่ทำให้หมองไป

ด้วยข้อจำกัดของการประกวด และปริมาณหนังสั้นที่มีเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ถึงที่สุดแล้วดูเหมือนการประกวดของมูลนิธิหนังไทย อาจไม่เพียงพอรองรับการขยายตัวทั้งทางกว้างและทางลึกของหนังสั้น จำนวนมากได้อีกต่อไป เรากลุ่ม filmvirus ซึ่งไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าการรวมตัวกันหลวมๆของนักดูหนังจำนวนหนึ่ง เห็นว่ามีนหนังสั้นจำนวนมากที่ตกสำรวจไปในแต่ละปี และเราเสียดายอย่างยิ่งที่หนังเหล่านั้น หรือคนทำหนังเหล่านั้นจะต้องสูญหายไปท่ามกลางกระแสหนังสั้นที่มีเป็นจำนวนมาก

ดังนั้น เท่าที่กำลังเราพอจะทำได้คือการรวบรวมหนังสั้นเหล่านี้กลับมาฉายอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ผู้ชมที่พลาดได้พบปะกันอีกครั้ง และให้หนังเหล่านี้ถูกพูดถึงอีกครั้ง เมื่อสองปีที่แล้วเราเริ่มจากการจัดโปรแกรมหนังสั้น Filmvirus Shorts : Wild Type เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน งานครบรอบสิบสามปี ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (Filmvirus) และก็พยายามสานต่อโปรแกรมฉายนี้อีกในปีต่อมา

ในปีนี้ เราจะยังคงจัดโปรแกรมนี้ต่อ เรายังคงเลือกหนังจากรอบมาราธอนมาหาที่ทางจัดฉายกันอีกครั้ง หากในปีนี้เราพยายามจะขยายโปรแกรมนี้ออกไปอีก ดังนั้น นอกจากเราจะจัดฉายหนังที่เราคัดเลือกไว้ เรามีความยินดีจะชวนเชิญทุกท่านร่วมกันส่งหนังมาฉายในโปรแกรมฉายนี้ด้วย โดยมีข้อแม้แค่ว่าขอให้ยาวไม่เกินหนึ่งชั่วโมงและสร้างภายในปี2552

อย่างไรก็ดี เราขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกหนังของท่าน ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นเพียงรสนิยมส่วนบุคคลของเราเองเพียงเท่านั้น การที่หนังของท่านไม่ได้รับการคัดเลือกไม่ได้หมายความว่าหนังของท่านไร้คุณค่าแต่อย่างใด หากสิ่งที่เรามุ่งหน้าไปคือการมองหาภาพและเสียงใหม่ๆ ภาพที่ยังไม่ถูกมองเห็นและเสียงที่ยังไม่เคยได้ยิน ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะได้เห็นและได้ยินมัน รวมทั้งได้ช่วยเป็นกระบอกเสียงสำหรับเสียงเหล่านั้น

ส่งหนังของท่านพร้อมข้อมูลเบื้องต้น มาที่ Filmvirus 135 ถนนภูเก็ต อ.เมือง ภูเก็ต 83000

หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ filmsick@gmail.com ก่อนวันที่ 30 พฤศจิกายน ศกนี้ เพื่อเราจะได้คัดเลือกและจัดเป็นโปรแกรมสำหรับฉายต่อไป

จากโลกของคนกระจอก : หนังและวรรณกรรมบนพื้นที่ของสามัญชน- วารสารอ่าน และ ฟิล์มไวรัสออนทัวร์


จากโลกของคนกระจอก : หนังและวรรณกรรมบนพื้นที่ของสามัญชน

จัดโดย วารสารอ่าน และ ฟิล์มไวรัส

ที่ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช

พฤหัสบดี 16 กันยายน 

10.00-12.00 ฉายหนัง Kaki Bakar/The Arsonist (U-wei Haji Saari, 1995, Malaysia, 70 นาที) + กระเป๋านักเรียนของหงสา

(ศุภโมกข์ ศิลารักษ์, 2551, 23 นาที)

13.00-15.00 ประวัติวรรณคดีกับการสร้างความเป็นไทย โดย ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 

16.00-18.00 ฉายหนัง กาลานุสติ (สิทธิพร ราชา, 2553, 29 นาที) + เจ้านกกระจอก (อโนชา สุวิชากรพงศ์, 2553, 82 นาที)

ศุกร์ 17 กันยายน

10.00-12.30 ฉายหนัง Butterflies Have no Memories (Lav Diaz, 2009, Philippines, 60 นาที) + La Noire de../Black Girl (Ousmane Sembene, Senegal, 1966, 65 mins)

13.30-16.00 ฉายหนัง สัตว์วิบากหนักโลก (ไพสิฐ พันธ์พฤกษชาติ, 2546-7, 60 นาที) + มอแกน, ป่ะ? (พิศาล แสงจันทร์, ทายาท เดชเสถียร, ณัฐวิทย์ ขาวศรี, 2550, 40 นาที) 

ฟิล์มไวรัส สนทนากับผู้ชมหลังการฉาย 

16.30-18.00 หล่อนไปร้องไห้ในโรงหนัง : ประวัติหนังไทยในหนังอินเดีย โดย อาดาดล อิงคะวณิช (University of Westminster)

เรื่องย่อ

Kaki Bakar/The Arsonist (U-wei Haji Saari, 1995, Malaysia, 70 นาที)

ครอบครัวชาวมาเลย์เชื้อสายชวาอพยพย้ายถิ่นเพื่อหาที่ทำกินใหม่ลึกเข้าไปในชนบท

ใน ดินแดนทางใต้ของมาเลเซีย ที่นั่นพวกเขาลงหลักปักฐาน โดยเช่าบ้านและที่ทำกินของครอบครัวเศรษฐีทรงอิทธิพลของแถบนั้น เรื่องราวชีวิตเหมือนจะเป็นไปด้วยดี ทว่าเพียงแค่ความผิดพลาดเพียงครั้งเดียวของผู้เป็นพ่อผู้ทระนงที่เกิดต่อพรม ราคาแพงสุดหวงแหนของเจ้าของบ้าน นั้นก่อให้เกิดความยุ่งยากที่ไม่มีใครคาดคิดตามมา Kaki Bakar หรือ The Arsonist ดัดแปลงจากเรื่องสั้น Barn Burning ของ William Faulkner

กระเป๋านักเรียนของหงสา (ศุภโมกข์ ศิลารักษ์, 2551, 23 นาที)

หง สา เด็กชายชาวมอญวัย 11 ปี เพิ่งได้มีโอกาสเข้าโรงเรียนไทยในชั้นเรียนพิเศษสำหรับลูกหลานแรงงานอพยพ ซึ่งหาได้ไม่ง่ายนักในมหาชัย ชุมชนแรงงานอพยพจาก พม่านับหมื่นแสน หนังคือเรื่องจริงของหงสาและเพื่อน ๆลูกหลานแรงงานทั้งชาวพม่า มอญ ยะไข่ ไทใหญ่ ฯลฯ ที่เกิดหรือเติบโตในเมืองไทย ชีวิตบริสุทธิ์ที่เปี่ยมไปด้วยความหวัง อันสดใส ท่ามกลางสังคมคนพลัดถิ่นที่ต้องดิ้นรน ถูกละเมิด ถูกเลือกปฏิบัติ และถูกปฏิเสธ จากสังคมไทย ความใฝ่ฝันของด.ช.หงสาขณะนี้มีเพียงสองประการ คือ กระเป๋านักเรียนดี ๆสักใบ และการเรียนรู้ภาษาที่เหมาะสมพอจะพูดกับพระมหากษัตริย์ไทยได้...

กาลานุสติ (สิทธิพร ราชา, 2553, 29 นาที)

บ่อย ครั้งเราได้ยินว่า ‘หนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง’ ซึ่งแปลเป็นนัยๆ ว่าสิ่งที่เรากำลังดูอยู่นั้นเป็นเรื่องปลอม แต่นั่นมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นกับกาลานุสติ เพราะแม้มันจะออกตัวว่าเป็นการสร้างความจริงขึ้นมาใหม่แต่ด้วยสไตล์ที่เลือกมาอย่างดีแล้ว ก็ทำให้ขอบเขตของความจริงและ เรื่องแต่งเลือนเข้าหากันได้ภายใต้รูปลักษณ์ที่สมจริง การทิ้งระยะห่างที่ทำให้คนดูต้องมนต์สะกด มันเป็นเรื่องชีวิตประจำวันของ พระบ้านนอกรูปหนึ่ง กับเงื่อนไขอีกประการ ที่ในแง่หนึ่งก็แสนธรรมดาต่อชีวิตมนุษย์ แต่ในอีกแง่ก็กระแทกเข้ามาเหมือนน้ำป่าไหลซัด โดยมีกลิ่นคาวเลือดของการเมือง ที่แม้ลอยอยู่เหมือนห่างไกลแต่ก็ใกล้กับชีวิตเกิดกว่าจะคาดคิดได้

เจ้านกกระจอก (อโนชา สุวิชากรพงศ์, 2553, 82 นาที)

ในมิติ ที่เป็นหนังเล่าเรื่อง เจ้านกกระจอกเล่าถึงเด็กหนุ่มคนหนึ่งซึ่งประสบอุบัติเหตุ ทำให้ร่างกายช่วงล่างเป็นอัมพาต หนังไม่เฉลยว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่บอกใบ้ว่าพ่อของเขาอาจเป็นคนก่อเหตุ

สัตว์วิบากหนักโลก (ไพสิฐ พันธ์พฤกษชาติ, 2546-7, 60 นาที)

เริ่ม จากเรื่องของผู้ชายในตู้รถไฟ คนตัวสูงท่าทางไม่น่าไว้วางใจที่หลบหนีจากกล้อง หรือที่จริงหลบหนีการติดตามไล่ล่าจากเครือข่ายดาวเทียมเขาเลือกนอนในตู้รถไฟร้าง

18.8.10

ฟิล์มไวรัส ออนทัวร์ ณ อุบลราชธานี - สาปสันติภาพ (PEACE IS CURSED!)

จะเริ่มแล้วพรุ่งนี้ 

ฟิล์มไวรัส ออนทัวร์ ณ อุบลราชธานี

PEACE IS CURSED! ฉายหนัง อาทิ Waltz With Bashir, Legacy, Buddha Collapsed Out of Shame, Punishment Park

วันที่ 19 นี้ที่ โรงละครคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลับอุบลราชธานี หนังฉายบ่ายสอง

14.8.10

"หนังรักมาโช่" - ฟิล์มไวรัสออนทัวร์ขอนแก่น

ชาวขอนแก่นชวนชม โปรแกรมภาพยนตร์ ฟิล์มไวรัสออนทัวร์ในตอน "หนังรักมาโช่"

วันที่ 27 ส.ค.53 ที่คณะมนุษยศาสตร์ มข. งานเริ่มบ่ายสี่โมง

วันที่ 28 ไปฉายกันที่โฮมมุมมัง ริมบึงแก่นนคร งานเริ่มบ่ายสอง

รายชื่อหนังในโปสเตอร์คือ In the City of Sylvia, 500 Days of Summer และ I Can No Longer Hear the Guitar ชาวขอนแก่นมาเบิ่งกันเยอะๆ นะเด้อ 

** ขอบคุณน้อง Chanchana Kapoor และ Filmsick ที่ช่วยกันจัดงานขยันขันแข็ง

13.8.10

Cabaret Balkan

BALKAN FILM PROGRAM

โปรแกรมภาพยนตร์ ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ประจำเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2553

ที่ ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้น U2 ณ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

(ชมฟรี แต่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์)

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม

12.30 น. Time of the Gypsies - TV version (Yugoslavia, 1988, 270mins) กำกับโดย Emir Kusturica


วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม
12.30 น. Three (1965) กำกับโดย Aleksandar Petrovic
14.30 น. I Even Met Happy Gypsies (1967) กำกับโดย Aleksandar Petrovic


วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม
12.30น. Special Therapy (Yugoslavia, 1980, 94mins) กำกับโดย Goran Paskaljevic
14.30 น. Cabaret Balkan (Yugoslavia, 1998, 102mins) กำกับโดย Goran Paskaljevic


วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน
12.30 น. When I Am Dead and Gone (Yugoslavia, 1967, 79min) กำกับโดย Zivojin Pavlovic
14.30 น. The Medusa Raft (Yugoslavia ,1980, 101min) กำกับโดย Karpo Acimovic-Godina


วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน
12.30 น. Reconstruction (Romania, 1968, 99min) กำกับโดย Lucian Pintilie
14.30 น. A Bomb Was Stolen (Romania, 1961, 65min) กำกับโดย Ion Popescu-Gopo


วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน
12.30 น. The Stone Wedding (Romania, 1972, 90min) กำกับโดย Dan Pita, Mircea Veroiu
14.30 น. Where It Is Cold in the Sun (Romania, 1991, 91min) กำกับโดย Bogdan Dumiterscu


วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน
12.30 น. The Peach-Garden Trespasser (Bulgaria, 1964, 84min) กำกับโดย Vulo Radev
14.30 น. The Goat Horn (Bulgaria, 1972, 95min) กำกับโดย Metodi Andonov


วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม
12.30 น. A Matter of Dignity (Greece, 1957, 112min) กำกับโดย Mihalis Kakogiannis
14.30 น. The Idlers of the Fertile Valley (Greece, 1978, 118mins) กำกับโดย Nikos Panayotopoulos

8.8.10

เปิดตัวหนังสือ นารีนิยาม + ฉายหนังผู้หญิง


bookvirus talk+ film screening


Chez Lodin +Toot Yung Gallery ร่วมกับดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (Filmvirus) เชิญทุกท่านร่วมงาน เปิดตัวหนังสือ รวมเรื่องสั้น Bookvirus ฟุ้ง 07 :นารีนิยาม

ร่วมพูดคุยกับ สนธยา ทรัพย์เย็น บรรณาธิการผู้คัดสรรเรื่อง และทีมนักแปล พร้อม ชมหนังสั้นโปรแกรม Cinema Feminine
ที่ Chez Lodin + Toot Yung Gallery 19 ถนนประชาธิปไตย (หลังสะพานวันชาติ) กรุงเทพ

8 สิงหาคม 2553

14.00-15.30

เปิดตัวหนังสือ นารีนิยาม (Bookvirus ฟุ้ง 07 – เปิดม่านเรื่องสั้นแปลจากนักเขียนหญิงนานาชาติ) บรรณาธิการ และคัดสรรเรื่องสั้นโดย สนธยา ทรัพย์เย็น

“นักว่ายน้ำ” (มิแรนดา จูลาย – เขียน) แปลโดย ไกรวุฒิ จุลพงศธร
“เกมที่ค้างคา” (โกลี ทารากี – เขียน) แปลโดย ชลเทพ ณ บางช้าง
…“ม้าน้ำ” (ฮิโรมิ คาวาคามิ – เขียน) แปลโดย โดยมัทนา จาตุรแสงไพโรจน์
“ลอกลายกุหลาบ” (แคลริซ ลิสเปคเตอร์ – เขียน) แปลโดย ดิษพล ศิวะรัตนธำรงค์
“จบให้สวย” (มาร์กาเร็ท แอ็ตวูด – เขียน) แปลโดย แดนอรัญ แสงทอง

อ่านบทกวีโดยนักเขียนหญิง
บรรณาธิการและคณะผู้แปลร่วมสนทนากับผู้ฟัง

ฉายหนังสั้น นิยามนารี 1
Agnes Varda – Happiness? The People of Fontenay Response + Bonheur : Proper Name or Concept / ฝรั่งเศส 8 min
Naomi Kawase – See Heaven (1995) / ญี่ปุ่น10 min
Lucrecia Martel – Rey Muerto (1995) / อาร์เจนตินา12 min
วสุนันท์ หุตเวช เธอชื่อพระจันทร์ (2010) 8 min / ไทย** (กำลังติดต่อผู้กำกับ)
Marina De Van – La Promenade (2007) / ฝรั่งเศส 35 min

ฉายหนังสั้น นิยามนารี 2
Magaret tait – A Portrait of Ga (1952) / อังกฤษ 5 min
Helke Sanders – Subjectivity (1966) /เยอรมัน 5 min
Su Friedrich – Gently Down the Stream (1981)/อเมริกัน 11 min
Christelle Lhereux All The Mountains Are Look ALike (2008)/ฝรั่งเศส 12 min
Sara Driver – You are not i (1981) /อเมริกา 50 mins (วีดีโอ)

ร่วมพูดคุยกับคุณ ไกรวุฒิ จุลพงศธร และวิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา หลังหนังจบครับ

สอบถามเพิ่มเติมที่

http://www.facebook.com/event.php?eid=148142668535013#!/group.php?gid=125187560852695

แผนที่

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj3rMygaQsFsgMwZPnySiKlERLMRNda8hyphenhyphenczQb58-3RxgP_M2l0yXQgqR9xvk0yO6qXHgdQZkOj4mMh7nymdGD2QbltWmX0NxmHewrw7x5QZqm4WOESapCoxl5ldSw_Xnd6l03BtUKUGc8/s1600/map.gif

22.7.10

ปฏิบัติการหนังทุนข้ามชาติ (ปกจริงสีเงิน) และ "นารีนิยาม" bookvirus ฟุ้ง 07

ปฏิบัติการหนังทุนข้ามชาติ: ตำรับชีวิตสามัญโกอินเตอร์
Filmvirus Collection 

จัดทำโดย สนธยา ทรัพย์เย็น, ทีฆะเดช วัชรธานินท์, กัลปพฤกษ,์ ณัฐธรณ์ กังวานไกล และ นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์

รวมบทสัมภาษณ์คนทำหนังอิสระไทย 13 ราย ที่ได้รับการสนับสนุนทุนสร้างภาพยนตร์จากต่างประเทศ ชัยชนะเล็ก ๆ ของคนทำหนังไทยนอกระบบสตูดิโอ ร่วมด้วยบทความแนะนำการติดต่อแหล่งทุนจากต่างประเทศ ลักษณะเฉพาะของแหล่งทุนแต่ละแห่ง พร้อมแนะนำตัวอย่างหนังนานาชาติที่ได้รับทุน

ทุนข้ามชาติ = โครงการภาพยนตร์ที่คนไทยเองมองไม่เห็นคุณค่า หรือความคุ้มค่าในการลงทุน
ทุนข้ามชาติ = ทางเลือกของคนทำหนังไทยที่ไม่อยากถูกจำกัดด้วยระบบธุรกิจ

โอกาสของนักทำหนังที่มุ่งมั่นจะบอกเล่าในสิ่งที่ตนเองเชื่อ
พร้อมกับยังหลงเหลือศักดิ์ศรีของตัวเอง ไม่ต้องง้อให้ ฝรั่งเหลียวมอง
ด้วยการไล่แจกของชำร่วย จำพวก นกยักษ์ และภัยอสูร
หรือห่มห่อเปลือกไทยด้วยช้าง ชุดแต่งกายประจำชาติ แหล่งท่องเที่ยว และหมัดมวยหัวไม้

หนังดีต้องมีทุนสร้างก้อนโต - ข้ออ้างนี้เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์เสียแล้วในยุคดิจิตอล
หนังส่งประกวดไม่ได้มีเพียงการแช่ภาพอืดชืด ใส่สัญลักษณ์กำกวม
หรือซื้อใจคนดูด้วยเซ็กส์

การรีเมคหรือทำหนังแอ็คชั่นพูดอังกฤษ หาใช่หนทางเดียวที่เราควรเจริญรอยตาม
คนทำหนังจีนเกาหลี ญี่ปุ่น
เช่นเดียวกับ รางวัลออสการ์ ซึ่งไม่อาจเป็นยันต์ประกันคุณภาพหนังได้เสมอไป

  การกระตุ้นต่อมอารมณ์ไม่ควรเป็นคำตอบสุดท้าย
  เพราะบางครั้งชีวิตคนธรรมดาเดินดินที่ไม่ต้องปรุงแต่งมากมาย
  ก็สามารถชนะใจคอหนังสากล (และทำกำไร) ได้ยืนนานกว่า

นารีนิยาม - bookvirus ฟุ้ง 07 

update 22 กรกฏาคม 2553 

4 + 1 = 5 เรื่อง (เพิ่มเรื่องสั้นของ มาร์การ์เร็ต แอ็ตวูด จากแคนาดา แปลโดย แดนอรัญ แสงทอง) 

เบิกม่านเรื่องสั้นหญิงเกินนิยาม ต่อเนื่องจากเล่ม bookvirus ฟุ้ง 06 ก่อนหน้า - นางเพลิง

5 เรื่องของนักเขียนตัวจริงที่อยากให้คุณรู้จัก

5 เรื่องจาก ญี่ปุ่น, อิหร่าน, บราซิล, อเมริกา และแคนาดา


1. จบให้สนุก ของ มาร์การ์เร็ต แอ็ตวูด จากแคนาดา แปลโดย แดนอรัญ แสงทอง
2. นักว่ายน้ำ มิแรนดา จูลาย (แปลโดย ไกรวุฒิ จุลพงศธร)
3. เกมที่ค้างคา โกลี ทารากี (แปลโดย ชลเทพ ณ บางช้าง)
4. ม้าน้ำ ฮิโรมิ คาวาคามิ (แปลโดย มัทนา จาตุรแสงไพโรจน์ )
5. ลอกลายกุหลาบ แคลริซ ลิสเปคเตอร์ (แปลโดย ดิษพล ศิวะรัตนธำรงค์)

* *  พิมพ์จำนวนจำกัด เริ่มวางขายแล้ววันที่ 19 กรกฏาคม - นารีนิยาม วางจำหน่ายเฉพาะที่ร้าน คิโนะคุนิยะ ห้างพารากอน และอิเซตัน (ราชประสงค์) และศูนย์หนังสือจุฬา ทุกสาขา* * * (วางแผงเพิ่มแล้ววันนี้ที่ร้านดอกหญ้า สยามสแควร์, ร้านก็องดิด สี่แยกคอกวัว ตัดถนนราชดำเนิน)

27.6.10

โปรแกรมหนัง Asian Earthquake

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เชิญชม  

Asian Earthquake

ชมภาพที่: http://library.tu.ac.th/staff/user4/dk/DK_June-Aug%2010_poster.pdf

ทุกวันอาทิตย์ระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน – 8 สิงหาคม 2553

ตั้งแต่เวลา 12:30 น. เป็นต้นไป ณ ห้องเรวัต พุทธินันท์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุด ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0-2613-3530

ชมฟรี!!! (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณาแต่งกายสุภาพ)

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2553 12.30 น. The Housemaid (1960, South Korea) กำกับโดย Kim Ki-young 14.30 น. The Insect Woman (1972, South Korea) กำกับโดย Kim Ki-young

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553 12.30 น. Promise of the Flesh (1975, South Korea) กำกับโดย Kim Ki-young 14.30 น. Io Island (1977, South Korea) กำกับโดย Kim Ki-young

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน 2553 12.30 น. Children of Hiroshima (1952, Japan) กำกับโดย Kaneto Shindo 14.30 น. House (1977, Japan) กำกับโดย Nobuhiko Obayashi

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม 2553 12.30 น. Muddy River (1981, Japan) กำกับโดย Kohei Oguri 14.30 น. The Sting of Death (1990, Japan) กำกับโดย Kohei Oguri

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม 2553 12.30 น. Black Snow (1990, China) กำกับโดย Xie Fei 14.30 น. The Re-Incarnation of Golden Lotus (1989, Hong Kong) กำกับโดย Clara Law

วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม 2553 12.30 น. And Quiet Rolls the Dawn (1979, India) กำกับโดย Mrinal Sen 14.30 น. The Case Is Closed (1982, India) กำกับโดย Mrinal Sen

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม 2553 12.30 น. Mansion by the Lake (1999, Sri Lanka) กำกับโดย Lester James Peries 14.30 น. The Wrestlers (2000, India) กำกับโดย Buddhadev Dasgupta

วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม 2553 12.30 น. Tiga Abdul (1964, Malaysia) กำกับโดย P. Ramlee 14.30 น. The Arsonist (1995, Malaysia) กำกับโดย U-Wei Haji Saari

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม 2553 12.30 น. Still Life (1974, Iran) กำกับโดย Sohrab Shahid Saless 14.30 น. The Road (2001, Kazakhstan) กำกับโดย Darezhan Omirbayev  

25.3.10

นารีนิยาม bookvirus ฟุ้ง 07


นารีนิยาม bookvirus ฟุ้ง 07  

เบิกม่านเรื่องสั้นหญิงเกินนิยาม  

5 นักเขียนตัวจริงที่อยากให้คุณรู้จัก

5 บุญ 5 บาปจาก ญี่ปุ่น, อิหร่าน, บราซิล, อเมริกา  

1. นักว่ายน้ำ มิแรนดา จูลาย (แปลโดย ไกรวุฒิ จุลพงศธร)

2. เกมที่ค้างคา โกลี ทารากี (แปลโดย ชลเทพ ณ บางช้าง)

3. ม้าน้ำ ฮิโรมิ คาวาคามิ (แปลโดย มัทนา จาตุรแสงไพโรจน์ )

4. ลอกลายกุหลาบ แคลริซ ลิสเปคเตอร์ (แปลโดย ดิษพล ศิวะรัตนธำรงค์)

5 จบให้สวย มาร์กาเร็ต แอ็ตวูด (แปลโดย แดนอรัญ แสงทอง)

ผ่านร้านหนังสือใกล้บ้าน อย่าลืม `bookvirus ฟุ้ง 06 “เว็นดิโก้ อสูรไพรทมิฬ” ฉบับครบรอบ 100 ปีเรื่องเขย่าขวัญอมตะของ แอลเจอร์นอน แบล็ควูด สำนวนแปลอลังการของ แดนอรัญ แสงทอง จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ openbooks


และอย่าทอดทิ้งสาวอาภัพ “นางเพลิง” bookvirus ฟุ้ง 05 
3 เรื่องสั้นหญิงเกินขีดปรอทจากจีน, อังกฤษ และ เกาหลี 
ช่วยอุดหนุนสาวตาดำ ๆ “นางเพลิง” bookvirus ฟุ้ง 05 ได้ที่ร้าน คิโนะคุนิยะ ทั้ง 2 สาขา คืออิเซตัน เซ็นทรัลเวิล์ด และสาขาห้างพารากอน (เฉพาะเล่ม นารีนิยาม - เพิ่มวางตลาดที่ร้านดอหญ้า สยามสแควร์, ร้านก็องดิด ที่สี่แยกคอกวัว ตัด ถ. ราชดำเนิน)

23.3.10

เว็นดิโก้ ฉบับครบรอบ 100 ปี และ ปฏิบัติการหนังทุนข้ามชาติ (bookvirus + filmvirus)

2 หนังสือใหม่ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ มีนาคม 2553

ระหว่างเดือนสองเดือนนี้ ฟิล์มไวรัส และ บุ๊คไวรัส กำลังจะมีหนังสือใหม่ออกวางแผง เล่มแรกเป็นหนังสือแปลใหม่เอี่ยมของ แดนอรัญ แสงทอง ส่วนอีกเล่ม ปฏิบัติการหนังทุนข้ามชาติ เป็นเล่มที่ถูกดองไว้นาน ตั้งแต่งานหนังสือคราวก่อน เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว

เว็นดิโก้ ฉบับครบรอบ 100 ปี - หนังสือแปลเล่มใหม่ของ แดนอรัญ แสงทอง 

bookvirus ฟุ้ง 06 “เว็นดิโก้ อสูรไพรทมิฬ” ฉบับครบรอบ 100 ปี 

“เว็นดิโก้ อสูรไพรทมิฬ” เป็นหนังสือของ แอลเจอร์นอน แบล็ควูด ที่ แดนอรัญ แสงทอง ชื่นชมและอยากแปลมานาน จนเมื่อได้แปลแล้วก็เห็นว่าเป็นงานแปลที่โหดหินที่สุดในชีวิต บัดนี้สำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊คส์และ bookvirus ได้ร่วมใจกันนำเสนอในโอกาสครบรอบ 100 ปีของหนังสือเล่มนี้ (1910-2010) ตัวเรื่องนั้นมีที่มาจากตำนานปรัมปราที่เล่าขานกันมานานเกี่ยวกับอสูรร้ายโฉบกระชากวิญญาณในป่าหิมะ ซึ่งชาวป่าต่างคุ้นเคยกันดี แต่แทบไม่เคยมีใครได้เห็นหน้าตาแล้วรอดชีวิตกลับมาเล่าสู่กันฟัง 

ปฏิบัติการหนังทุนข้ามชาติ: ตำรับชีวิตสามัญโกอินเตอร์
Filmvirus Collection 

จัดทำโดย สนธยา ทรัพย์เย็น และ ทีฆะเดช วัชรธานินท์ และ กัลปพฤกษ์

รวมบทสัมภาษณ์คนทำหนังอิสระไทย 11 ราย ที่ได้รับการสนับสนุนทุนสร้างภาพยนตร์จากต่างประเทศ ชัยชนะเล็ก ๆ ของคนทำหนังไทยนอกระบบสตูดิโอ 

ร่วมด้วยบทความแนะนำการติดต่อแหล่งทุนจากต่างประเทศ ลักษณะเฉพาะของแหล่งทุนแต่ละแห่ง พร้อมแนะนำตัวอย่างหนังนานาชาติที่ได้รับทุน

‘ปฏิบัติการหนังทุนข้ามชาติ’ เล่มนี้ แม้จะเป็นเกี่ยวกับคนทำหนังไทยล้วน ๆ แต่ก็น่าจะเหมาะอ่านเสริมกับ “ฟิล์มไวรัส เล่ม 5 – ฉบับ ปฏิบัติการหนังทุนน้อย” ซึ่งเป็นเรื่องของคนทำหนังอินดี้ชาวต่างชาติได้พอเหมาะ (และแม้ไม่มี FILMVIRUS ออกมาอีกก็พอเรียกได้ว่าจบสวย) เพราะ ‘ปฏิบัติการหนังทุนข้ามชาติ’ เล่มนี้นั้นแตกต่างจาก ฟิล์มไวรัส เล่มก่อน ๆ ทั้งหมด ตรงที่ไม่ได้เจาะจงพูดถึงหนังเฉพาะในแง่สุนทรียศาสตร์เช่นดั่งเคย แต่กลับเปลี่ยนมาพูดถึงหนังในมุมของธุรกิจการลงทุนบ้าง ด้วยคาดการณ์ว่าเรื่องราวของตัวเลขอาจจะสื่อความกับชนหมู่มากได้ชัดเจนกว่า

กำหนดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ คือ 26 มีนาคม-6 เมษายน 2553 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

จำหน่ายที่บู้ทของ โอเพ่นบุ๊คส์ - โซน C1 บู้ท 009
วารสารหนังสือใต้ดิน อันเดอร์กราวด์ (โซน C2 บู้ท T27)
บู้ทอัลเทอร์เนทีฟไรเตอร์ (โซน C1 บู้ท M12)
และ ฟ้าเดียวกัน / อ่าน (โซน C1 บู้ท N39)

12.2.10

ขี้เกลือบนกองวีดีโอ (Salty Video Day)

ฟิล์มไวรัส นำเสนอ โปรแกรมหนังควบ: ขี้เกลือบนกองวีดีโอ

โดย ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ และ วีระพงษ์ วิมุกตะลพ

Salty Video Day Double Bill (Extended Version)

The Cruelty of Soy Sauce Man +
Color of the Streets


จอมโหดมนุษย์ซีอิ๊ว
+ สีบนถนน
(Special Edition)


28 กุมภาพันธ์ 2010 พบกันที่เดิม เวลาเก่า ตั้งแต่ 12.30 น. เป็นต้นไป
ห้องเรวัติ พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
(ชมฟรี -กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์)

8.2.10

Pinoy Classics (Filipino Films at Thammasat University)

ต้องละวางงานเมืองมาลงโปรแกรมอีกแล้วครับท่าน ประกาศข่าวช้าไปหน่อย เรื่องย่อก็ไม่มี คงไม่ว่ากัน (อ้อ และงานนี้ไม่มีเสวนาอย่างที่ประกาศไป)


ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับสำนักหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขอเชิญชม


โปรแกรมหนังคลาสสิกจากฟิลิปปินส์ by Filmvirus
Pinoy Classics


ทุกวันอาทิตย์ ระหว่างวันที่ 31 มกราคม 2553 ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2553

ตั้งแต่เวลา 12.30 น. เป็นต้นไป

ณ ห้องเรวัต พุทธินันท์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุด ปรีดี พนมยงค์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0-2613-3530

ชมฟรี!!! (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณาแต่งกายสุภาพ)


This program is dedicated to Alexis Tioseco and Nika Bohnic

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2553
12.30 น. Manila in the Claws of Neon (1975) กำกับโดย Lino Brocka
14. 45 น. You Have Been Weighed andFound Wanting (1974) กำกับโดย Lino Brocka


วันอาทิตย์ ทึ่ 7 กุมภาพันธ์ 2553
12.30 น. Manila by Night (1980) กำกับโดย Ismael Bernal
15.15 น. Himala (1982) กำกับโดย Ismael Bernal


วันอาทิตย์ ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553
12.30 น. Perfumed Nightmare (1977) กำกับโดย Kidlat Tahimik
(อ่านที่ลงในหนังสือ 151 Cinema) +
14.30 น. The Video Diaries of Kidlat Tahimik (19XX) กำกับโดย Kidlat Tahimik

วันอาทิตย์ ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553
12.30 น. The Criminal of Barrio Concepcion (1998) กำกับโดย Lav Diaz
14.30 น. Hesus the Revolutionary (2002) กำกับโดย Lav Diaz

17.1.10

หวานฝัน วันวานร - Lopburi, Mon Amour

ขณะที่มีคนอ่านข้อความนี้ ข้าน้อยก็คงจะลาจรไปปักหลักเก็บข้อมูลทำบทหนังอยู่ลพบุรีเป็นที่แน่นอนแล้ว อย่างน้อยประมาณ 3 เดือนจากนี้คงไม่มีการอัพเดทอะไรเพิ่ม งดดูหนัง - งดการฉายหนัง - งดการจัดทำหนังสือ ทั้ง filmvirus และ bookvirus แต่จะเป็นชั่วคราวหรือตลอดไป ตัวเองยังสงสัย ก็โปรเจ็คท์หนังสือที่ดองเองและถูกสนพ. ดองก็ยังมีอยู่น่ะ หวังว่าทางโอเพ่นคงจัดพิมพ์ออกมาในเร็ววัน แอบหวังด้วยว่าคงจะมีคนรีวิวหนังสือบ้างสักนิดหนึ่ง

กำแพงวังนารายณ์ที่ลพบุรีกำลังทาสีใหม่ เป็นเรื่องที่แย่ที่สุดของคนที่อยากจะถ่ายกำแพงเก่า เท่าที่ทราบจากคุณ โดม สุขวงศ์ ผู้เป็นที่เคารพรักแห่งหอภาพยนตร์แห่งชาติ ยังไม่เคยมีใครถ่ายหนัง fiction ความยาวปกติที่ถ่ายในลพบุรีเลยสักที หลายครั้งมันแค่มีคุณค่าเป็นเพียงเมืองผ่านทาง มันเป็นความฝันสูงสุดในชีวิตของข้าน้อยเลยทีเดียวที่จะทำหนังสักเรื่องที่ถ่ายหนังที่นั่น ให้เป็นลพบุรีในความรักความศรัทธาแบบที่ฝัน ถึงจะเป็นจินตนาการส่วนตัวที่ยัดเยียดบ้างก็เถอะ แต่ก็จะพยายามคงความเป็นเมือง ความเป็นท้องถิ่น ไม่ให้เสียวิญญาณผู้คนที่นั่นมากนัก เพราะในชีวิตบูดเบี้ยวนี้มีโครงการหนังเพียง 2 เรื่องเท่านั้น ที่มีความหมายส่วนตัวอย่างมากจริง ๆ และเรื่องนี้ก็คืออันหนึ่งในสองเรื่องที่ว่า ที่หากไม่ได้ทำออกมาคงรู้สึกชีวิตที่ผ่านมาไร้ค่าสิ้นดี โอเค ถ้าหาสตางค์ถ่ายไม่ได้ ก็เอาแค่ได้บทหนัง หรือทำเป็นหนังสือการ์ตูนน่ะ

ในฐานะของคนที่โตมาในยุคที่หนังไทยคุณภาพแทบทุกเรื่องมักจะได้ชื่อว่าสร้างจากนวนิยาย แต่ ฟิล์มไวรัส ก็ยังย้ำเน้นถึงการทำหนังแบบหนังบริสุทธิ์ที่ปฏิเสธอิทธิพลของวรรณกรรม และโปรหนังแบบ pure cinema อยู่บ่อยครั้ง ไอเดียหนังเรื่องนี้ ‘หวานฝันวันวานร’ หรือ Dream of the Red Monkeys อาจเชย ตกยุค คบชู้กับพล็อตเรื่องมากมาย และอาจจะฟังดูขัดแย้งกับสิ่งที่ ฟิล์มไวรัส มักเทศนา แต่ก็นั่นล่ะ จะเป็นหนังเล่าเรื่อง หรือหนังไร้เรื่อง จะมีกระบวนท่า หรือไร้กระบวนท่า กระบี่บิน คุมกระบี่ เหนือกระบี่ หรือไร้กระบี่ อันนั้นเอาไว้ให้นักวิจารณ์ตัดสิน

ใครตัดต่อหนังเป็นบอกที อยากได้คนช่วยตัด MV ในระบบภาพ AVCHD

Blog Archive

คนลักหลับ

My photo
Filmvirus เป็นนามปากกาเดิมของสนธยา ทรัพย์เย็น จากคอลัมน์ “นิมิตวิกาล” ที่ใช้ในนิตยสาร Filmview ปี 2537 ต่อมาในปี 2538 สนธยาได้ก่อตั้ง “ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์” หรือ DK.Filmhouse (Filmvirus) จัดฉายหนังด้อยโอกาสให้ผู้สนใจชมฟรี พร้อมจัดพิมพ์หนังสือด้านหนัง และวรรณกรรม ชุด Filmvirus / Bookvirus (ส่วนหนังสือ “คนของหนัง” ปี 2533 นั้นเป็นผลงานก่อนตั้งฟิล์มไวรัส) ส่วนผลงานอื่นๆ ปี 2548 เป็นกรรมการเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok , ปี 2552 กรรมการ Sydney Underground Film Festival, งาน Thai Short Film and Video Festival ของมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 1 และปี 2548-2549 เป็นเจ้าภาพร่วมจัดเทศกาลประกวดหนังนานาชาติ 15/15 Film Festival, Australia