22.7.10

ปฏิบัติการหนังทุนข้ามชาติ (ปกจริงสีเงิน) และ "นารีนิยาม" bookvirus ฟุ้ง 07

ปฏิบัติการหนังทุนข้ามชาติ: ตำรับชีวิตสามัญโกอินเตอร์
Filmvirus Collection 

จัดทำโดย สนธยา ทรัพย์เย็น, ทีฆะเดช วัชรธานินท์, กัลปพฤกษ,์ ณัฐธรณ์ กังวานไกล และ นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์

รวมบทสัมภาษณ์คนทำหนังอิสระไทย 13 ราย ที่ได้รับการสนับสนุนทุนสร้างภาพยนตร์จากต่างประเทศ ชัยชนะเล็ก ๆ ของคนทำหนังไทยนอกระบบสตูดิโอ ร่วมด้วยบทความแนะนำการติดต่อแหล่งทุนจากต่างประเทศ ลักษณะเฉพาะของแหล่งทุนแต่ละแห่ง พร้อมแนะนำตัวอย่างหนังนานาชาติที่ได้รับทุน

ทุนข้ามชาติ = โครงการภาพยนตร์ที่คนไทยเองมองไม่เห็นคุณค่า หรือความคุ้มค่าในการลงทุน
ทุนข้ามชาติ = ทางเลือกของคนทำหนังไทยที่ไม่อยากถูกจำกัดด้วยระบบธุรกิจ

โอกาสของนักทำหนังที่มุ่งมั่นจะบอกเล่าในสิ่งที่ตนเองเชื่อ
พร้อมกับยังหลงเหลือศักดิ์ศรีของตัวเอง ไม่ต้องง้อให้ ฝรั่งเหลียวมอง
ด้วยการไล่แจกของชำร่วย จำพวก นกยักษ์ และภัยอสูร
หรือห่มห่อเปลือกไทยด้วยช้าง ชุดแต่งกายประจำชาติ แหล่งท่องเที่ยว และหมัดมวยหัวไม้

หนังดีต้องมีทุนสร้างก้อนโต - ข้ออ้างนี้เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์เสียแล้วในยุคดิจิตอล
หนังส่งประกวดไม่ได้มีเพียงการแช่ภาพอืดชืด ใส่สัญลักษณ์กำกวม
หรือซื้อใจคนดูด้วยเซ็กส์

การรีเมคหรือทำหนังแอ็คชั่นพูดอังกฤษ หาใช่หนทางเดียวที่เราควรเจริญรอยตาม
คนทำหนังจีนเกาหลี ญี่ปุ่น
เช่นเดียวกับ รางวัลออสการ์ ซึ่งไม่อาจเป็นยันต์ประกันคุณภาพหนังได้เสมอไป

  การกระตุ้นต่อมอารมณ์ไม่ควรเป็นคำตอบสุดท้าย
  เพราะบางครั้งชีวิตคนธรรมดาเดินดินที่ไม่ต้องปรุงแต่งมากมาย
  ก็สามารถชนะใจคอหนังสากล (และทำกำไร) ได้ยืนนานกว่า

นารีนิยาม - bookvirus ฟุ้ง 07 

update 22 กรกฏาคม 2553 

4 + 1 = 5 เรื่อง (เพิ่มเรื่องสั้นของ มาร์การ์เร็ต แอ็ตวูด จากแคนาดา แปลโดย แดนอรัญ แสงทอง) 

เบิกม่านเรื่องสั้นหญิงเกินนิยาม ต่อเนื่องจากเล่ม bookvirus ฟุ้ง 06 ก่อนหน้า - นางเพลิง

5 เรื่องของนักเขียนตัวจริงที่อยากให้คุณรู้จัก

5 เรื่องจาก ญี่ปุ่น, อิหร่าน, บราซิล, อเมริกา และแคนาดา


1. จบให้สนุก ของ มาร์การ์เร็ต แอ็ตวูด จากแคนาดา แปลโดย แดนอรัญ แสงทอง
2. นักว่ายน้ำ มิแรนดา จูลาย (แปลโดย ไกรวุฒิ จุลพงศธร)
3. เกมที่ค้างคา โกลี ทารากี (แปลโดย ชลเทพ ณ บางช้าง)
4. ม้าน้ำ ฮิโรมิ คาวาคามิ (แปลโดย มัทนา จาตุรแสงไพโรจน์ )
5. ลอกลายกุหลาบ แคลริซ ลิสเปคเตอร์ (แปลโดย ดิษพล ศิวะรัตนธำรงค์)

* *  พิมพ์จำนวนจำกัด เริ่มวางขายแล้ววันที่ 19 กรกฏาคม - นารีนิยาม วางจำหน่ายเฉพาะที่ร้าน คิโนะคุนิยะ ห้างพารากอน และอิเซตัน (ราชประสงค์) และศูนย์หนังสือจุฬา ทุกสาขา* * * (วางแผงเพิ่มแล้ววันนี้ที่ร้านดอกหญ้า สยามสแควร์, ร้านก็องดิด สี่แยกคอกวัว ตัดถนนราชดำเนิน)

No comments:

คนลักหลับ

My photo
Filmvirus เป็นนามปากกาเดิมของสนธยา ทรัพย์เย็น จากคอลัมน์ “นิมิตวิกาล” ที่ใช้ในนิตยสาร Filmview ปี 2537 ต่อมาในปี 2538 สนธยาได้ก่อตั้ง “ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์” หรือ DK.Filmhouse (Filmvirus) จัดฉายหนังด้อยโอกาสให้ผู้สนใจชมฟรี พร้อมจัดพิมพ์หนังสือด้านหนัง และวรรณกรรม ชุด Filmvirus / Bookvirus (ส่วนหนังสือ “คนของหนัง” ปี 2533 นั้นเป็นผลงานก่อนตั้งฟิล์มไวรัส) ส่วนผลงานอื่นๆ ปี 2548 เป็นกรรมการเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok , ปี 2552 กรรมการ Sydney Underground Film Festival, งาน Thai Short Film and Video Festival ของมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 1 และปี 2548-2549 เป็นเจ้าภาพร่วมจัดเทศกาลประกวดหนังนานาชาติ 15/15 Film Festival, Australia