25.3.10

นารีนิยาม bookvirus ฟุ้ง 07


นารีนิยาม bookvirus ฟุ้ง 07  

เบิกม่านเรื่องสั้นหญิงเกินนิยาม  

5 นักเขียนตัวจริงที่อยากให้คุณรู้จัก

5 บุญ 5 บาปจาก ญี่ปุ่น, อิหร่าน, บราซิล, อเมริกา  

1. นักว่ายน้ำ มิแรนดา จูลาย (แปลโดย ไกรวุฒิ จุลพงศธร)

2. เกมที่ค้างคา โกลี ทารากี (แปลโดย ชลเทพ ณ บางช้าง)

3. ม้าน้ำ ฮิโรมิ คาวาคามิ (แปลโดย มัทนา จาตุรแสงไพโรจน์ )

4. ลอกลายกุหลาบ แคลริซ ลิสเปคเตอร์ (แปลโดย ดิษพล ศิวะรัตนธำรงค์)

5 จบให้สวย มาร์กาเร็ต แอ็ตวูด (แปลโดย แดนอรัญ แสงทอง)

ผ่านร้านหนังสือใกล้บ้าน อย่าลืม `bookvirus ฟุ้ง 06 “เว็นดิโก้ อสูรไพรทมิฬ” ฉบับครบรอบ 100 ปีเรื่องเขย่าขวัญอมตะของ แอลเจอร์นอน แบล็ควูด สำนวนแปลอลังการของ แดนอรัญ แสงทอง จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ openbooks


และอย่าทอดทิ้งสาวอาภัพ “นางเพลิง” bookvirus ฟุ้ง 05 
3 เรื่องสั้นหญิงเกินขีดปรอทจากจีน, อังกฤษ และ เกาหลี 
ช่วยอุดหนุนสาวตาดำ ๆ “นางเพลิง” bookvirus ฟุ้ง 05 ได้ที่ร้าน คิโนะคุนิยะ ทั้ง 2 สาขา คืออิเซตัน เซ็นทรัลเวิล์ด และสาขาห้างพารากอน (เฉพาะเล่ม นารีนิยาม - เพิ่มวางตลาดที่ร้านดอหญ้า สยามสแควร์, ร้านก็องดิด ที่สี่แยกคอกวัว ตัด ถ. ราชดำเนิน)

23.3.10

เว็นดิโก้ ฉบับครบรอบ 100 ปี และ ปฏิบัติการหนังทุนข้ามชาติ (bookvirus + filmvirus)

2 หนังสือใหม่ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ มีนาคม 2553

ระหว่างเดือนสองเดือนนี้ ฟิล์มไวรัส และ บุ๊คไวรัส กำลังจะมีหนังสือใหม่ออกวางแผง เล่มแรกเป็นหนังสือแปลใหม่เอี่ยมของ แดนอรัญ แสงทอง ส่วนอีกเล่ม ปฏิบัติการหนังทุนข้ามชาติ เป็นเล่มที่ถูกดองไว้นาน ตั้งแต่งานหนังสือคราวก่อน เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว

เว็นดิโก้ ฉบับครบรอบ 100 ปี - หนังสือแปลเล่มใหม่ของ แดนอรัญ แสงทอง 

bookvirus ฟุ้ง 06 “เว็นดิโก้ อสูรไพรทมิฬ” ฉบับครบรอบ 100 ปี 

“เว็นดิโก้ อสูรไพรทมิฬ” เป็นหนังสือของ แอลเจอร์นอน แบล็ควูด ที่ แดนอรัญ แสงทอง ชื่นชมและอยากแปลมานาน จนเมื่อได้แปลแล้วก็เห็นว่าเป็นงานแปลที่โหดหินที่สุดในชีวิต บัดนี้สำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊คส์และ bookvirus ได้ร่วมใจกันนำเสนอในโอกาสครบรอบ 100 ปีของหนังสือเล่มนี้ (1910-2010) ตัวเรื่องนั้นมีที่มาจากตำนานปรัมปราที่เล่าขานกันมานานเกี่ยวกับอสูรร้ายโฉบกระชากวิญญาณในป่าหิมะ ซึ่งชาวป่าต่างคุ้นเคยกันดี แต่แทบไม่เคยมีใครได้เห็นหน้าตาแล้วรอดชีวิตกลับมาเล่าสู่กันฟัง 

ปฏิบัติการหนังทุนข้ามชาติ: ตำรับชีวิตสามัญโกอินเตอร์
Filmvirus Collection 

จัดทำโดย สนธยา ทรัพย์เย็น และ ทีฆะเดช วัชรธานินท์ และ กัลปพฤกษ์

รวมบทสัมภาษณ์คนทำหนังอิสระไทย 11 ราย ที่ได้รับการสนับสนุนทุนสร้างภาพยนตร์จากต่างประเทศ ชัยชนะเล็ก ๆ ของคนทำหนังไทยนอกระบบสตูดิโอ 

ร่วมด้วยบทความแนะนำการติดต่อแหล่งทุนจากต่างประเทศ ลักษณะเฉพาะของแหล่งทุนแต่ละแห่ง พร้อมแนะนำตัวอย่างหนังนานาชาติที่ได้รับทุน

‘ปฏิบัติการหนังทุนข้ามชาติ’ เล่มนี้ แม้จะเป็นเกี่ยวกับคนทำหนังไทยล้วน ๆ แต่ก็น่าจะเหมาะอ่านเสริมกับ “ฟิล์มไวรัส เล่ม 5 – ฉบับ ปฏิบัติการหนังทุนน้อย” ซึ่งเป็นเรื่องของคนทำหนังอินดี้ชาวต่างชาติได้พอเหมาะ (และแม้ไม่มี FILMVIRUS ออกมาอีกก็พอเรียกได้ว่าจบสวย) เพราะ ‘ปฏิบัติการหนังทุนข้ามชาติ’ เล่มนี้นั้นแตกต่างจาก ฟิล์มไวรัส เล่มก่อน ๆ ทั้งหมด ตรงที่ไม่ได้เจาะจงพูดถึงหนังเฉพาะในแง่สุนทรียศาสตร์เช่นดั่งเคย แต่กลับเปลี่ยนมาพูดถึงหนังในมุมของธุรกิจการลงทุนบ้าง ด้วยคาดการณ์ว่าเรื่องราวของตัวเลขอาจจะสื่อความกับชนหมู่มากได้ชัดเจนกว่า

กำหนดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ คือ 26 มีนาคม-6 เมษายน 2553 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

จำหน่ายที่บู้ทของ โอเพ่นบุ๊คส์ - โซน C1 บู้ท 009
วารสารหนังสือใต้ดิน อันเดอร์กราวด์ (โซน C2 บู้ท T27)
บู้ทอัลเทอร์เนทีฟไรเตอร์ (โซน C1 บู้ท M12)
และ ฟ้าเดียวกัน / อ่าน (โซน C1 บู้ท N39)

คนลักหลับ

My photo
Filmvirus เป็นนามปากกาเดิมของสนธยา ทรัพย์เย็น จากคอลัมน์ “นิมิตวิกาล” ที่ใช้ในนิตยสาร Filmview ปี 2537 ต่อมาในปี 2538 สนธยาได้ก่อตั้ง “ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์” หรือ DK.Filmhouse (Filmvirus) จัดฉายหนังด้อยโอกาสให้ผู้สนใจชมฟรี พร้อมจัดพิมพ์หนังสือด้านหนัง และวรรณกรรม ชุด Filmvirus / Bookvirus (ส่วนหนังสือ “คนของหนัง” ปี 2533 นั้นเป็นผลงานก่อนตั้งฟิล์มไวรัส) ส่วนผลงานอื่นๆ ปี 2548 เป็นกรรมการเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok , ปี 2552 กรรมการ Sydney Underground Film Festival, งาน Thai Short Film and Video Festival ของมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 1 และปี 2548-2549 เป็นเจ้าภาพร่วมจัดเทศกาลประกวดหนังนานาชาติ 15/15 Film Festival, Australia