9.2.11

ภาพยนตร์ ฟิล์มไวรัส ที่ธรรมศาสตร์ กุมภาพันธ์-มีนาคม 2554

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
ชมฟรี Admission Free as usual!  
ณ ห้องกิจกรรมเรวัต พุทธินันทน์ ชั้นใต้ดิน 2 ศูนย์บริการสื่อการศึกษา หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ทุกวันอาทิตย์ เวลา 14.00 น. (2 PM)

20 ก.พ. Tex Avery’s Screwball Classics
27 ก.พ. โปรแกรมหนังจาก Sydney Underground Film Festival (Program 2)
6 มี.ค. Foolish Wives by Eric von Stroheim
13 มี.ค. Queen Kelly by Eric von Stroheim
20 มี.ค. Tune in Tomorrow  
27 มี.ค. Surprise Film!  

Tex Avery’s Screwball Classics
การ์ตูนของ เท็กซ์ อเวอรี่ คงความคลาสสิกข้ามทศวรรษ ตัวละครประเภท หมาป่าเจ้าเล่ห์ หนูน้อยหมวกแดงสุดเซ็กซี่ ซินเดอเรลล่าอ้อนแอ้นแอ่นอนงค์ อาจจะทำให้คุณหวนไปมองการ์ตูนด้วยสายตาใหม่ ไม่เชื่อถามอาจารย์ ทรงยศ หรืออ่านหนังสือ “คุยกับหนัง” (ที่อาจารย์เขียน)

Sydney Underground Film Festival เทศกาลหนังใต้ดินจากเมืองซิดนี่ย์ ประเทศออสเตรเลียได้เปิดเสียวไปครั้งแรกตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2550 นับเป็นเทศกาลหนังที่รวมความดิบ ห่าม ประหลาดพิลึก และเป็นตัวของตัวเองจากคนทำหนังทั่วโลก รวมสางสำแดงทุกรส ตั้งแต่ อนิเมชั่น, สารคดี, ดราม่า, สยองขวัญ, คั้ลท์พิลึก, อวอง-การ์ด หรือหนังทดลองใต้ดิน เรียกได้ว่า รสเปรี้ยว แสบ มัน เค็ม มีหมด แต่อารมณ์เดียวที่หนังจากเทศกาลหนังแห่งนี้มีน้อย คือ ความหวาน (ส่วนหนึ่งของโปรแกรมที่ 1 นั้นแยกไปฉายในวันเสาร์ที่ 26 กุมภา ที่ The Reading Room เลขที่ 2 ซอย สีลม 19 ตั้งแต่เวลาบ่ายสองโมงและ 1 ทุ่มตรง - ตามเว็บไซต์ - http://www.readingroombkk.org/ ) 

(ภาพยนตร์ทุกเรื่องได้รับอนุญาตลิขสิทธิ์การฉายถูกต้องจากผู้สร้างและทางเทศกาลหนังซิดนี่ย์ อันเดอร์กราวนด์)

Dogra Shahab (Mr. Dogra)
กำกับโดย Gurpreet Singh, India, 24 นาที
สารคดีเกี่ยวกับคุณ Dogra วัย 84 ปี

I Covered My Eyes (2008)
กำกับโดย Paul Turano, 45 นาที

และหนังสั้นเรื่องอื่นๆ เช่น  
Split (Kitty Green) 8. 24 นาที
Fyre (Maria Sinclair-Ferguson) 3.25 นาที
Better Military Modelling (Jill Kennedy) 6.54 นาที
Removed (Hobart John Hughes) 5.50 นาที

Foolish Wives (1922)
เขียนบทดั้งเดิมและกำกับโดย Erich von Stroheim, USA, 140 นาที 

เรื่องราวของ เคาน์ วลาดิสลาฟ หนุ่มมาดผู้ดีมีสกุลนักปอกลอกสาวรวยทรัพย์ ที่สร้างอาณาจักรของตัวเองขึ้นมาที่มอนติคาร์โล งานกำกับและนำแสดงเองของผู้กำกับ เอริค ฟอน สโตรไฮม์ ที่เมื่อแรกสร้างเป็นหนังที่ลงทุนสูงที่สุด ณ เวลานั้น โดยผู้กำกับ ฟอน สโตรไฮม์ ต้องการให้หนังมีความยาวระหว่าง 6- 10 ชั่วโมง และฉายในช่วงเย็นของสองวัน แต่ถูกสตูดิโอสั่งหั่นเสียเรียบ

ในฉากนึ่งมีฉากที่ ฟอน สโตรไฮม์ กำลังอ่านนิยายที่ชื่อ Foolish Wives และชื่อนักเขียนบนปกหนังสือ (ที่ทำขึ้นมาโดยเฉพาะ) ก็คือชื่อของตัว ฟอน สโตรไฮม์เอง 

Queen Kelly (1929) (บูรณะฟิล์มและทำเพลงประกอบใหม่ปี 1985)
เขียนบทและกำกับโดย Erich von Stroheim, USA, 101 นาที 

หนังพิศรักแรงริษยาในรั้ววังออสเตรียของผู้กำกับ เอริค ฟอน สโตรไฮม์ ที่กลายเป็นข้อพิพาทให้ไล่ผู้กำกับออกกลางคัน โดยนักแสดงสาว กลอเรีย สวอนสัน และผู้อำนวยการสร้างถ่ายตอนจบใหม่เอง แต่แม้กระนั้นฝีมือเลื่องลือของ สโตรไฮม์ ก็ยังอื้ออึงและประสบความสำเร็จในยุโรป และกลายเป็นหนังคลาสสิกที่ฟ้ากลั่นแกล้งอีกหนึ่งเรื่อง 

ต่อมาคลิปบางตอนจากหนังเรื่องนี้กลับไปโผล่ในหนังคลาสสิกของ บิลลี่ ไวล์เดอร์ เรื่อง Sunset Boulevard (1950) ซึ่งทั้ง กลอเรีย สวอนสัน ในบทดาราฮอลลีวู้ดวัยชรา และ ฟอน สโตรไฮม์ กลับมาพบหน้ากันอีกครั้ง (คราวนี้เขามาในฐานะพ่อบ้านของเธอซึ่งมีความหมายสำคัญกับตัวเรื่อง)

Tune in Tomorrow (1990) 
กำกับโดย Jon Amiel, USA, 107 นาที (บรรยายไทย)

นำแสดงโดยพระเอกหล่อ คีนู รีฟส์ และ บาบาร่า เฮอร์ชีย์ (Portrait of A Lady) และ ปีเตอร์ ฟอล์ค (สารวัตรนักสืบโคลัมโบ) ดัดแปลงจากนิยายเรื่อง Aunt Julia and the Scriptwriter ของนักเขียนรางวัลโนเบลปี 2010 - Mario Vargas Llosa

Surprise Film!  
โปรแกรมพิเศษสุด

No comments:

Blog Archive

คนลักหลับ

My photo
Filmvirus เป็นนามปากกาเดิมของสนธยา ทรัพย์เย็น จากคอลัมน์ “นิมิตวิกาล” ที่ใช้ในนิตยสาร Filmview ปี 2537 ต่อมาในปี 2538 สนธยาได้ก่อตั้ง “ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์” หรือ DK.Filmhouse (Filmvirus) จัดฉายหนังด้อยโอกาสให้ผู้สนใจชมฟรี พร้อมจัดพิมพ์หนังสือด้านหนัง และวรรณกรรม ชุด Filmvirus / Bookvirus (ส่วนหนังสือ “คนของหนัง” ปี 2533 นั้นเป็นผลงานก่อนตั้งฟิล์มไวรัส) ส่วนผลงานอื่นๆ ปี 2548 เป็นกรรมการเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok , ปี 2552 กรรมการ Sydney Underground Film Festival, งาน Thai Short Film and Video Festival ของมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 1 และปี 2548-2549 เป็นเจ้าภาพร่วมจัดเทศกาลประกวดหนังนานาชาติ 15/15 Film Festival, Australia