12.2.14

ฉลอง 19 ปี FilmVirus โปรแกรมหนังควบ Double Bill


FILMVIRUS DOUBLE BILL


ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เชิญชม โปรแกรมภาพยนตร์ Filmviirus Double Bill คัดสรรโดยคอหนังหลายท่าน

ทุกวันอาทิตย์ระหว่างวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2557 -27 เมษายน 2557 ตั้งแต่เวลา 12:30 น. เป็นต้นไป

ณ ห้องเรวัต พุทธินันท์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุด ปรีดี พนมยงค์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0-2613-3530

ชมฟรี!!! (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณาแต่งกายสุภาพ)





ฉายหนังกันมาก็หลายปี ในที่สุดชาว Filmvirus ขอจัดโปรแกรมตามใจตัวเองสักครั้งหนึ่ง โดยมีข้อเสนอง่าๆยเช่นให้บรรดาทีมคัดเลือกหนังช่วยกันเลือกโปรแกรมหนังควบของตัวเอง เลือกเอาหนังที่ตัวเองอยากฉายมากที่สุดมาคนละสองเรื่อง และจัดโปรแกรมให้ทุกท่านชมแบบไม่สนใจอะไรมากไปกว่าความอยากฉายและน่คือโปรแกรมหนังควบโดยชาวFilmvirus ที่มีตั้งแต่ โปรแกรมควบหนังทดลองสองประเทศ หนังใต้ดินอังกฤษ หนังปินอยตบกัน หนังยากูซ่าญี่ปุ่น หนังการเมืองข้ามประเทศ หนังคาวบอยตกสำรวจ หนังยุโรปบ้าระห่ำ ไปจนถึง หนังอเมริกันอินดี้โคดๆ

23/2/57 Selected by Md. J. : Experimental Territories

12.30 : HSP: There is No Escape From the Terrors Of the Mind(2013, Rouzbeh Rashidi, Ireland, 120min)
14.45 : Birth Of Seanema(2004, Sasithorn Ariyavicha, Thailand, 70min)

2/3/57 Selected by Mr. G.: Introducing Jack Bond and Jane Arden

12.30 : Separation (1968 , Jack Bond ,UK)
14.30 : The Other Side of the Underneath (1972 ,Jane Arden ,UK)

9/3/7 Selected by Mr.W. :Soap Save the World

12.30 : All Be Damned (1990 ,Lino Brocka, Philippines)
14.30 : Working Girl (1984 ,Ishamel Bernal , Philippines)




16/3/57 Selected by Mr. R. : Eurocentric Cinema

12.30 : Dillinger is Dead (1969, Marco Ferreri, Italy )
14.30 : Dossier 51 (1978 , Michel Deville , Italy )

23/3/57 Selected by Mr. Cy. : Cinema Politics

12.30 : Silent Wedding (2008 ,Horatiu Malale , Romania)
14.30 : After the Battle (2012 ,Yousry Nasrallah, Egypt)

30/3/57 Selected by Mr. Cc . : Japanese Gangster

12.30 : Battles Without Honor And Humanity (1973 , Kinji Fukasaku , Japan)
14.30 : A Colt Is My Passport (1967 , Takashi Nomura, Japan)




20/4/57 Selected by Ms. M. : Late Cowboy

12.30 : Purgatory (1999, Uli Edel, US)
14.30 : The Shootist (1976,Don Siegel , US)

27/4/53 Selected by Mr. S. : A Little Gem

12.30 : The Dish & the Spoon (2011, Alison Bagnall , US)
14.30 : Housekeeping (1987 , Bill Forsyth ,US)





HSP: There is No Escape From the Terrors Of the Mind (2013, Rouzbeh Rashidi, Ireland, 120min)

เรื่องย่อจากเว็บไซต์ของผู้กำกับ
“ไม่มีหนทางใดที่จะหลบหนีได้ ไม่ว่าจะอยู่ตรงจุดไหนของโลก ไม่มีทางที่จะหลบหนีใบหน้า ไม่มีทางที่จะหลบหนีมโนภาพ ไม่มีทางที่จะหลบหนีกล้องที่คอยเฝ้ามองอยู่ตลอดเวลา ไม่มีทางที่จะหลบหนีหน้ากาก ไม่มีทางที่จะหลบหนีการสะท้อนกึกก้องกันไปมาระหว่างภาพและเสียงที่ไหลซ้อนทับกัน ไม่มีทางที่จะหลบหนีภาพยนตร์ ไม่มีทางที่จะหลบหนีความน่าสะพรึงกลัวแห่งจิตใจ”

รุซเบห์ ราชิดีเป็นผู้กำกับชาวอิหร่านที่มาทำงานอยู่ในไอร์แลนด์ เขาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนักทำหนังทดลองในไอร์แลนด์รุ่นใหม่ ที่มี Maximilian Le Cain, Dean Kavanagh, Esperanza Callado, Alan Lambert และ Michael Higgins รวมอยู่ด้วย รุซเบห์ทำหนังยาวมาแล้ว 23 เรื่อง ซึ่งเป็นหนังทดลองทั้งหมด และแต่ละเรื่องก็มีสไตล์แตกต่างกันไป หนังเรื่องที่นำมาฉายนี้มีจุดเด่นตรงการเล่นกับบรรยากาศลึกลับของหนังสยองขวัญ โดยไม่มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน ผู้ชมแต่ละคนสามารถผูกโยงเรื่องราวต่างๆได้เองตามใจชอบจากภาพ, เสียง และฉากต่างๆที่ตัวเองได้เห็น ถ้าหากคุณชื่นชอบบรรยากาศในหนังของ Jean Rollin แต่ไม่ชอบเนื้อเรื่องในหนังของเขา บางทีคุณอาจจะเหมาะสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้

Birth Of the Seanema (2004, Sasithorn Ariyavicha, Thailand, 70min)

เรื่องย่อจากสูจิบัตรเทศกาลหนังสั้นปี 2004

“ทะเลคือที่ๆเก็บงำความทรงจำทั้งหมดของสรรพสิ่งทั้งมวลในโลก มันถักใยบางๆระหว่างความทรงจำ ความฝัน ความรู้สึกของผู้คน และสรรพสิ่งในเมืองแห่งหนึ่ง ผ่านภาพจากเสี้ยวส่วนเล็กๆของความทรงจำที่รั่วผ่านรอยร้าวของมัน”

วิวัฒน์ “ฟิล์มซิค” เลิศวิวัฒน์วงศา นักวิจารณ์ภาพยนตร์ชื่อดัง เขียนถึงหนังเรื่องนี้ว่า “เราอาจกล่าวได้ว่านี่คือหนังที่พูดถึงการก่อกำเนิดของภาพยนตร์ โดยมีธาตุเบื้องต้นเพียงธาตุเดียว นั้นคือ -ภาพ- ภาพจากหลากหลายสถานที่ หลากหลายสาระเนื้อหา หากทั้งหมดถูกร้อยเชื่อมกันอย่างคลุมเครือ โดยมีเส้นด้ายบางๆเป็นเรื่องเล่าจากตัวอักขระที่เราไม่รู้จัก...( นี่เป็น)ภาพยนตร์ที่ยืนอยู่ตรงชายขอบของความจริงกับความฝัน ภาพเคลื่อนไหวกับภาพนิ่ง การตื่นรู้และการหลับไหล การฝันกลางวันและการนอนไม่หลับ สิ่งที่สาบสูญและสิ่งซึ่งเพิ่งเกิดใหม่ ”
แนะนำชมเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ชื่นชอบภาพยนตร์ของธีรนิติ์ เสียงเสนาะ, วชร กัณหา, เฉลิมเกียรติ แซ่หย่อง และธณัฐชัย บรรดาศักดิ์

Introducing: Jack Bond / Jane Arden





สัปดาห์นี้ ฟิล์มไวรัสขอแนะนำสองคนทำหนังใต้ดินอังกฤษที่ตกสำรวจจากทุกสำนัก Jack Bond และ Jane Arden คู่รักที่ทำหนังหนักข้อในช่วงทศวรรษที่ 60s-70s การทำงานของสองคนรักจบลงด้วยโศกนาฏกรรมเนื่องจาก Jane Arden ได้ฆ่าตัวตายหลังจากทำหนังเรื่องสุดท้าย หลังจากนั้นหนังของทั้งคู่จึงไม่ถูกนำมาฉายอีกเลย จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการรีมาสเตอร์และนำกลับมาฉายใหม่จนออกดีวีดี Jack Bond สมัยหนุ่มๆ เริ่มต้นจากการทำงานโทรทัศน์, เขาเคยทำสารคดีสัมภาษณ์ Salvador Dali ก่อนจะผันตัวมาทำหนังเองเมื่อเขาได้พบกับ Jane Arden นักเขียน นักแสดง และหัวหน้าคณะละครแนวทดลองสุดขั้ว เมื่อพบรัก ทั้งคู่ได้สร้างงานอาวองการ์ดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1965-1979 (ในช่วงยุคพีคมากๆ ของทั้งคู่ Bond นั้นกำกับมิวสิควีดีโอของ The Pet Shop Boys ส่วนหนังของ Bond-Arden เรื่องสุดท้ายนั้นได้รับเกียรติเป็นหนังเปิดเทศกาลหนังลอนดอนเลยทีเดียว) หากคุณคิดว่าคุณชอบหนังที่ดูแล้วบอกว่า "ไม่รู้เรื่องอัลไลกันอีกแล้วชีวิตนี้" ถ้าคุณชอบหนัง "ผู้หญิงจิตแตกเป็นเสี่ยงๆ" นี่คือสัปดาห์ของคุณ

Separation (1968 , Jack Bond ,UK)

กำกับโดย Jack Bond เขียนบทและนำแสดงโดย Jane Arden

"คุณเกิดผิดประเทศ" Louise Malle เคยบอกกับ Jack Bond เอาไว้ ซึ่งดูจากหนังเรื่องนี้ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น Separation เป็นหนังที่ไม่ได้ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์หนังอังกฤษ แต่ถ้าเราดูมันตอนนี้ เราก็อาจมองได้ว่านี่คือจดหมายโต้ตอบกับ Alphaville ในแบบผู้หญิง โลกขาวดำที่เหมือนกึ่งอนาคตถูกออกแบบมาเพื่อนำเสนอสภาพจิตที่แตกเป็นเสี่ยงๆ ของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังเผชิญหน้ากับชีวิตสมรสที่พังทลาย หนังดำเนินเรื่อง, เท่าที่จะเล่าเป็นเรื่องเป็นราวได้, ผ่านทีมงานวิทยาศาสตร์ที่นำผู้หญิงจิตแตกนางนี้ (Jane Arden) มานั่งวิเคราะห์ว่ามีอะไรอยู่ในหัวในใจของเธอบ้าง หนังเต็มไปด้วยภาษาภาพ/เสียงที่รุนแรงมากๆ ในแบบที่ดูแล้วก็คิดว่า "ทำไมไม่มีใครเคยใช้ภาพ/เสียงแบบนี้มาก่อนนะ" การเล่าเรื่องวกวนฉงนสนเท่ห์ไม่ลำดับเวลาถูกออกแบบเพื่อนำเสนอบุคคลิกที่แตกต่างหลากหลายในมนุษย์นางหนึ่งไปพร้อมๆ กับการซึมซับลอนดอนในยุค 60 ที่ดูเหมือนโลกกึ่งอนาคต แถมท้ายด้วยซาวนด์แทรกของวง Procal Harum

The Other Side of the Underneath (1972 ,Jane Arden ,UK)

กำกับและเขียนบทโดย Jane Arden โปรดิวซ์โดย Jack Bond

ราวกับว่า Separation นั้นรู้เรื่องเกินไป (ทั้งที่มันแทบจะไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว) Jane Arden ตัดสินใจเขยิบความบ้าคลั่งให้ชิดขอบหรือล้นขอบไปเลยผ่านเรื่องราวของผู้หญิงที่ถูกลากออกจากทะเลสาปแล้วไปเข้าร่วมกลุ่มบำบัดในทัศนียภาพต่างจังหวัด โดยมีผู้นำกลุ่ม (Arden) ซึ่งก็ไม่น่าจะมีสภาพจิตที่ปกตินัก แต่เธอก็เป็นผู้นำให้คณะผู้ป่วยเข้าสู่เส้นทางของความชิบหาย ทีมนักแสดงส่วนใหญ่ของเรื่องนี้มาจากคณะละคร Holocaust Theatre Company ของ Arden ซึ่งในภายหลังนักแสดงให้สัมภาษณ์ว่าพวกเธอใช้ยา LSD ขณะถ่ายหนัง ภาพผู้หญิงกรีดร้องอย่างบ้าคลั่งในหนังเรื่องนีอาจทัดเทียมกับหนังหญิงจิตแตกทั้งหลายไม่ว่าจะ Possession หรือ The Devils หรือหนังของ Alejandro Jodorowsky นี่คือหนังที่ทำให้เห็นถึงกระบวนการที่ปัญญาชนเฟมินิสต์สุดขั้วปรารถนาที่จะเข้าใจตัวเธอเองผู้ซับซ้อนแตกเป็นเสี่ยง เข้มแข็งแกร่งกล้า ปฏิวัติและศิโรราบในขณะเดียวกัน หนังเรื่องนี้ทำให้ Jane Arden นั้นขึ้นชื่อว่าเป็นผู้กำกับหญิงคนเดียวในประเทศอังกฤษที่ได้ทำหนังขนาดยาวในยุค 70






All Be Damned (1990 ,Lino Brocka, Philippines)

นี่คือเรื่องของสองลูกพี่ลูกน้อง นางลูซินด้ามาจากสลัมแต่ตอนนี้ได้เป็นถึงเมียสส. ในขณะที่ เทเรซ่า ยังคงตกอับดิ้นรนอยู่ วันหนึ่ง เทเรซ่าและสามีมาของความช่วยเหลือนางลูซินดาถึงบ้าน นางก็ให้ความช่วยเหลืออย่างดีโดยที่เทเรซ่าไม่รู้เลยว่า เรนัลโต้สามีของเธอ เป็นคนรักเก่าของลูซินด้า ลูซินด้าพยายามแลกเปลี่ยนรักจากแฟนเก่ายากจนที่ลืมไม่ลงกับความช่วยเหลือของเธอ ในขณะที่ เจอรัลด์ สามีจอมเจ้าชู้ของลูซินด้าก็อยากจะเคลมเทเรซ่า สองผัวเมียยากจนถูกบีบคั้นให้ตกเป็นเหยื่อของสองผัวเมียร่ำรวย ที่พยายามจะเอาประโยชน์และพยายามพรากผัสพรสกเมีย นางลูซินด้า ยังมีแม่ที่หล่อนชิงชังเที่ยวเวียนมาขอเงิน และหล่อนพยายามหลบหน้าลืมกำพืดตัวเอง วันหนึ่งหล่อนแสร้งใช้ให้ชู้รักอีกคนของหล่อนไปข่มขืนเทเรซ่าเพื่อให้ผัวเมียแยกทางแต่เรื่องกลับไม่เป็นไปตามแผนแล้วไปสู่จุดของโศกนาฏกรรม

นี่สิหนังน้ำเน่าระดับช่องเจ็ดต้องยอมแพ้ของ Lino Brocka ผู้กำกับคนสำคัญของฟิลิปปินส์

Working Girls (1984 ,Ishamel Bernal , Philippines)

อีกหนึ่งหนังน้ำเน่าเลอค่ารวดาวสาวปินอยที่ว่าด้วยเรื่องสาวออฟฟิซเบญจรงค์ห้าสี ที่ต่างก็มีชีวิตเป็นของตัวเอง คาร์ลาเป็สาวแบงค์ที่การงานกำลังก้าวหน้า เธอเป็นกิ๊กกับราอูล เสือผู้หญิงตัวแสบที่นอกจากฟาดเธอยังฟาดอิซาเบลจนตั้งท้องด้วย หากราอูลก็ยะงพยายามคั่ว อแมนด้า สาวทำงานนายหน้าอสังหา ที่กำลังแขั้นกับบริษัทของนิมฟา สาวแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่หาเงินด้วยการขายเครื่องเพชรให้บรรลูกจ้างในออฟฟิศทั้งสองแริษัท โดยจะมาเก็บเงินพร้อมเสนอสินค้าใหม่ทุกสัปดาห์ วันหนึ่ง โรสมีเงินไม่พอจ่ายนิมฟา เธอจึงไปขายตัวมาจ่ายหนี้ ในขณะที่แอนน์อาจจะไม่มีปัญหาารเงินแต่มีปัญหาครอบครัวเพราะผัวกำลังจะขอเลิก ในขณะเดียวกันยังมีซูซานสาวร่านที่ล่าแต้มเรื่อเปื่อยในออฟิศอีกต่างหาก

กองทัพนักแสดงหญิงพาเหรดกันมาแสดงภาพสาวทำงานรูปแบบต่าๆงที่ร้ายกาจ มีเลือดมีเนื้อและงดงามนี่คือหนังที่อาจจะหรืออาจจะไม่เฟมินิสต์ก้ได้ แต่มันฉายภาพผู้หญิงในโลกสมัยใหม่ ชัยชนะและความพ่ายแพ้ของเธอออกมาอย่างหมดจดงดงาม โดฝีมือของ Ishmael Bernal อีกหนึ่งผู้กำกับที่สำคัญเท่าเทียมกับ Lino Brocka

Silent Wedding (2008 ,Horatiu Malale , Romania )




บ่าวสาวก็คงจัดงานรื่นเริงฉลองมงคลสมรสกันไปได้อยู่หรอก ชาวบ้านญาติพี่น้องในหมู่บ้านเล็กๆ ของโรมาเนียแห่งนี้ก็คงจะได้รื่นเริงกับงานแต่งอยู่หรอก ถ้าเกิดว่าโรมาเนียไม่ได้อยู่ใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต และถ้าเกิดว่า โจเซฟ สตาลิน ไม่มาตายเอาในวันนี้พอดี - ทั้งชาวบ้านและคนดูจึงได้แต่รื่นเริงกันแบบลักลั่น ก็คนสำคัญของชาติตายไปแบบนี้จะมาจัดงานรื่นเริงกันได้ไง!

After the Battle (2012 ,Yousry Nasrallah, Egypt)

เฟมินิสต์สาวของมวลชนปฏิวัติที่กำลังจะหย่าผัว สานสัมพันธ์กับชายเลี้ยงอูฐวัยกลางคนผู้ถูกตราหน้าว่าเป็นปฏิปักษ์ เพราะเขาขี่อูฐเข้าโจมตีมวลชนก่อนมูบารัคจะถูกโค่น แล้วดันถูกกล้องสำนักข่าวรัสเซียถ่ายเห็นหน้าซะชัดเจน - เรื่องรักของทั้งคู่ถูกเล่าผสานไปกับบรรยากาศการเมืองหลังชัยชนะที่โค่นล้มฮอสนีย์ มูบารัค ความแตกต่างทางชนชั้นและวัฒนธรรมเชิงสังคมของผู้คน ซึ่งกลายเป็นการทำนายอันแม่นยำ เมื่อการรัฐประหารโค่นล้มโมฮัมเหมด มอร์ซี ที่ชนะเลือกตั้ง ได้ยืนยันอย่างเป็นรูปธรรมว่างานของฝ่ายประชาธิปไตยไม่ได้จบลงหลังชัยชนะอันหอมหวานของอาหรับสปริง

Dillinger e Morto (1969, Marco Ferreri)

Marco Ferreri คือออเตอร์อิตาลีตกสำรวจที่ในยุค 60-70 เขาถือว่าเป็นผู้กับยุโรปตัวร้ายที่แผลงทธิ์เดชอย่างหาตัวจับยาก หนังของเขามักสร้างความอื้อฉาวตามงานพรีเมียร์เทศกาลหนังของยุคสมัยนั้น ๆ (จนอาจเรียกได้ว่าเขาคล้ายกับลารฺส ฟอน เทรียร์สมัยก่อน) หนังของเขาหลายเรื่องทำเอาคนดูสะดุ้งจนต้องเยือนหน้าหนีอย่าง Le Grande Bouffe (1973) เรื่องของชาย 4 คนที่นัดกันมาฆ่าตัวตายโดยการกินแล้วไม่ขี้ ทำเอา อิงกริด เบิร์กแมน ประธานกรรมการเทศกาลหนังเมืองคานส์ปีนั้นดูเสร็จออกจากโรงมาสาปส่งหนังว่า ‘Disgusting!’ The Last Woman (1976) ทำเอาแฟนหนังพระเอกเจอราร์ด เดอปาร์ดิเยอช็อกด้วยฉากใช้มีดหั่นเนื้อตัดจู๋ตัวเอง! House of Smiles (1991) หนังชนะเลิศหมีทองคำก็ว่าด้วยคนแก่แอบเล่นเซ็กส์ในบ้านพักคนชรา!
Dillinger e Morto เป็นหนังเกี่ยวกับวิศวะหนุ่มที่ทำงานดึกกลับบ้านมาเมียหลับ เลยต้องไปทำอาหารทานเอง แม้เรื่องราวจะดูไม่แรง แต่นี่เป็นหนังเกี่ยวกับผู้ชายทำงานเลทกลับบ้านดึกจนเมียหลับแล้วต้องทำอาหารทานเองที่ดีที่สุดในโลกภาพยนตร์ ถ้าฉากจบดูแล้วไม่ตกเก้าอี้นี่ก็แปลว่าคุณยืนดู

Le Dossier 51 (1978, Michel Deville)





แม้ Michel Deville จะเป็นผู้กำกับฝรั่งเศสที่ขึ้นทำเนียบว่าเป็นเจ้าของรางวัล Prix Louis Delluc ถึง 2 ครั้ง (อันเป็นรางวัลที่ถือว่ามีเกียรติที่สุดภายในฝรั่งเศส โดยในปัจจุบันมีคนที่ได้รางวัล 2 ครั้งอยู่เพียง 5 คนตั้งแต่มีการแจกกันมาตั้งแต่ปี 1937) แต่กระนั้นเลย Deville ก็ไม่ใช่ผู้กำกับฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียง เขาเริ่มทำหนังพร้อม ๆ กับกลุ่มนิวเวฟ แต่หนังของเขาก็ตลาดและ ‘ปกติ’ เกินกว่าจะเป็นนิวเวฟ พอมาในยุค 70 หนังของเขาก็เป็น genre และปรุงแต่งมากเกินกว่าพวกโพสต์นิวเวฟ และหลังจากนั้นเขาก็แก่และหวือหวาน้อยกว่ากลุ่ม cinema du look เสียแล้ว Deville เหมือนผู้กำกับอีกหลายคนในฝรั่งเศสที่ตกหล่นทางประวัติศาสตร์เพราะยืนอยู่นอกกระแสหลักในแต่ละยุค

Le Dossier 51 คือภาพยนตร์ที่มาก่อนกาล มันกล้าหาญชาญชัยและบ้าบิ่นสุด ๆ มันเป็นเรื่องขององค์กรลับที่พยายามจะแทรกซึมเข้าไปหา ‘ท่านทูต’ ท่านหนึ่งเพื่อเอาข้อมูลลับของท่านทูตมาแบล็กเมล์ ในยุคสมัยที่กระบวนการทำงานของสายลับหรือตำรวจสืบสวนเป็นหัวข้อยอดฮิตของซีรียส์ทีวีหรือภาพยนตร์ แต่ Le Dossier 51 ผลักการถ่ายทอดกระบวนการทำงานขององค์กรลับใด ๆ ให้ไปสุดทางที่สุดจนเราไม่เห็นมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อใด ๆ นอกจากหมากและเบี้ยของกระบวนการที่ไม่ไยไพสิ่งใดนอกจากเป้าหมาย อาจเรียกได้ว่านี่คือหนังที่นำเสนอมนุษย์ได้อย่างเลือดเย็นที่สุดเรื่องหนึ่งของโลกภาพยนตร์

Battles Without Honor And Humanity (1973, Kinji Fukasaku , Japan)





หนังเอพิคยากูซ่าเรื่องสำคัญโดยเจ้าพ่อหนังยากูซ่า Kinji Fukasaku เล่าเรื่องลากยาวหลายสิบปี จากไอ้หนุ่มหลังสงครามที่รวมตัวกับเพื่อนๆตั้งแกงค์ยากูซ่า และชีวิตลากยาวหลายทศวรรษที่พาเราไปชมนาฏกรรมของเลือดปืน ความตาย แบบไม่มีลิมิตและไม่มีศักดิ์ศรีอะไรทั้งสิ้น ว่ากันว่านี่คือหนึ่งในหนังยากูซ่าที่สำคัญที่สุด สไตล์จัดจ้านที่สุด แลเดือดที่สุดเรื่องหนึ่ง

A Colt Is My Passport (1967 , Takashi Nomura, Japan)

หนึ่งในหนังแถวหน้าของหนังแอคชั่นจากบริษัทนิคคัทสุอันโด่งดังเล่าเรื่องของสองมือปืนที่หลังจากทำงานใหญ่ก็ต้องโดนตามเก็บตามระเบียบ ทำให้ทั้งคู่ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้กับองค์กรของตนเอง นี่เป็นหนังเรื่องแรกๆของ Joe Shishido ฮีโร่เลือดเดือดที่กลายเป็ขวัญใจชาวญี่ปุ่นไปตลอดยุค70’s อันเป็นยุคเฟื่องฟูของนิคคัตสุ

Purgatory (1999, Uli Edel, US)






หนังคาวบอยลงทีวีเรื่องนี้มีดีอย่างไรวานให้คุณมาพิสูจน์ นี่คือเรื่องของแกงค์โฉดปล้นธนาคาร ที่จู่ๆฆ่าผู้หญิงคนหนึ่งตายโดยบังเอิญ ชาวแกงค์ใจชั่วจึงหนีเตลิดฝ่าพายุทรายออกนอกเมืองแล้วได้พบกับเมืองประหลาชื่อ เรฟูจี ในเมืองนี้ไม่มีใครพกปืน สบถ หรือก่อเรื่องก่อราว และหากระฆังของโบสถ์ตีเมื่อไหร่ พวกชาวเมืองที่หน้าตาคุ้นๆจะรีบไปโบสถ์ทันทีไม่มีอิดออด หนำซ้ำดูเหมือนชาวเมืองจะไม่อยากมีเรื่อง อะไรยังไงก็ได้ ว่าแต่ว่านี่มันคือแดนสวรรค์ของชาวแกงค์โจรใจบาป หรือมันคือนรกแห่งศีลธรรมกันแน่ !

The Shootist (1976, Don Siegel , US)

หนังเรื่องสุดท้าของ จอห์น เวย์น ที่เป็นเหมือนบทสรุปคำอำลาชีวิตอันรุ่งโรจน์ชั่วนิรันดร์ของดาราคาวบอยที่ยิ่งใหญ่ที่สดในโลกคนนี้ หนังเล่าเรื่องของมือืนแก่ใกล้ตาย ที่กะจะมาใช้ชีวิตสุขสงบสู้รบกับมะเร็งในเมืองเล็กๆสงบๆ แต่ก็ไม่วายต้องสู้รบกับนายอำเภอที่กลัวเขาจะมาก่อเรื่อง คู่แค้นเก่าที่มาดหมายจะมาล้างแค้น นักข่าวหนังสือพิมพ์ที่จะมาเขียนเรื่องของเขา พวกคนอยากดำงที่จะมาฆ่ามือปืนเพื่อสร้างชื่อ หรือสาวที่กะจะรวยทางลัดด้วยการขต่งานกับเขาจะได้เอาชีวิตของหล่อนไปเขียนหนังสอเมียม่ายของมือปืน เขาเช่าห้องของสองแม่ลูกและเริ่มผูกพันกับลูกชายของแม่ม่าย ในช่วงเวลาท้ายๆของเขา หนึ่งในหนังคาวบอยคลาสสิคจากทศวรรษที่ 70ที่เป็นสมือนคำอำลา การจบส้ิน กลายๆของของหนังคาวบอย

The Dish and the Spoon (2011, Alison Bagnall , US)





หนังน่ารักน่าใคร่เล่าเรื่องของสาวใหญ่ที่สามีดันมีกิ๊กเลยฟูมฟายเสียใจจะขับรถไปหาเบียร์กินให้เมาปลิ้นลืมทุกข์แต่ดันไปเจอกับหนุ่มน้อยหน้าตาท่าทางยังกะบ๊อบ ดีแลน นอนหนาวรวยรินอยู่ในตึกร้าง ไอ้หนุ่มอุตส่าห์ตามแฟนมาจากอังกฤษเพื่อจะรู้ว่าเธอมาเที่ยวกับแฟนใหม่ คนถูกทิ้งสองคนเลยมากองกันอยู่ในบ้านไม่ริมทะเล เล่นเกมความสัมพันธ์ประหลาดพิลึกของสาวใหญ่กับหนุ่มน้อย ที่อบอุ่น น่ารัก เจ็บปวด และงดงาม

ที่จริงมันเป็นเรื่องง่ายๆ แต่มันอาจจะง่ายเกินไปเราเลยไม่ค่อยเห้นมันถูกเล่าออกมาอย่างง่ายๆ มันเป็นเรื่องคนแปลกหน้าสองคนที่ใช้ชีวิตช่วงที่หลุดคว้างออกจากโลกไปด้วยกัน โดยไม่มีอะไรมากกว่านั้น เวลาเราเห็นหนังที่ขึ้นต้นด้วยความสัมพันธ์ของสาวแก่กับหนุ่มรุ่นกระทง มันก็ไม่วายจะหลายเป้นอะไรระหว่าง คนขี้แพ้สองคนช่วยกันคลายปมในอดีตของตัวเองในรูปรอยของ พลาโตนิคเฟรนด์ชิป ไม่อย่างนั้นก็เป็นหนังในทำนองข้ามขอบศีละรรมแก่ปรารถนาเด็ฏ เด็กยั่วสาวแก่ ความสัมพันธ์ที่ต้องท้าทายกับสังคมรอบข้างสารพันปัญหาดราม่าที่โถมเข้ามาในความสัมพันธ์ข้ามเส้นที่ยอมรับได้ของสังคม น้อยครั้งที่เราจะได้เห็นหนังมหัศจรรย์อย่าง Harold and Maude แต่หนังเรื่องนี้ไม่ได้มหัศจรรย์ มันเป็นหนังง่ายๆ ที่ง่ายจนมหัศจรรย์ นี่แหละความมหัศจรรยื คือมันไม่มีอะไรมหัศจรรย์เล

นี่คืองานเดบิวท์ชิ้นแรกของ Alison Bagnall คนเขียนบทBuffalo ’66 งานของเธออบอุ่น นุ่มนวลมาก ๆ พร้อมการแสดงแสนพิเศษโดยเจ้าแม่อินดี้ที่ทุกคนรัก Greta Gerwig

Housekeeping (1987 , Bill Forsyth ,US)





เรื่องของสองศรีพี่น้องที่อาศัยอยู่กับยายในบ้านริมทะเลสาบ ที่ที่แม่ฆ่าตัวตายด้วยการโดดทะเลสาบ จนเมื่อยายตาย วันหนึ่งป้าซิลวีก็มารับเด็กๆไปอยู่ด้วย ป้าซิลวีเป็นคนเพี้ยนแบบที่คนทั้งเมืองไม่รู้จะทำไง เธอชอบเก็บกระป๋อง นอนตามม้านั่งในสวนสาธารณะ เก็ยสะสมหนังสือพิมพ์ งานบ้านก็ทำไม่เป็น จะทำครัวก็เหือบทำไฟไหม้บ้าน แม้จะเป็นคนอบอุ่นเปี่ยมอารมณ์ขัน ป้าซิลวีก็ยังเป็นเพียงเด็กไม่รู้จักโตที่พึ่งพาไม่ได้ จนเมื่อคนพี่ที่อยากเป็นคนสามัญดาษดื่นเสียที เสือกไสไล่ส่งป้าออกไปจากบ้าน ซิลวีจึงเริ่มต้นเล่าเรื่องการเดินทางอันแสนวิเศษเมื่อครั้งเธอยังเป็นเด็กให้หลานสาวคนเล็กของเธอฟัง เรื่องราวสุกสว่างปลอบประโลมอนังดงามจากคุรป้าเพี้ยพิลึกของพวกเธอ

ภาพยนตร์โดย Bill Forsyth เจ้าของเดียวกับ Local Hero อันลือชื่อ

No comments:

Blog Archive

คนลักหลับ

My photo
Filmvirus เป็นนามปากกาเดิมของสนธยา ทรัพย์เย็น จากคอลัมน์ “นิมิตวิกาล” ที่ใช้ในนิตยสาร Filmview ปี 2537 ต่อมาในปี 2538 สนธยาได้ก่อตั้ง “ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์” หรือ DK.Filmhouse (Filmvirus) จัดฉายหนังด้อยโอกาสให้ผู้สนใจชมฟรี พร้อมจัดพิมพ์หนังสือด้านหนัง และวรรณกรรม ชุด Filmvirus / Bookvirus (ส่วนหนังสือ “คนของหนัง” ปี 2533 นั้นเป็นผลงานก่อนตั้งฟิล์มไวรัส) ส่วนผลงานอื่นๆ ปี 2548 เป็นกรรมการเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok , ปี 2552 กรรมการ Sydney Underground Film Festival, งาน Thai Short Film and Video Festival ของมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 1 และปี 2548-2549 เป็นเจ้าภาพร่วมจัดเทศกาลประกวดหนังนานาชาติ 15/15 Film Festival, Australia