3.12.14

“สวรรค์ 35 มม.” Once Upon a Celluloid Planet

อัลบั้มภาพ “สวรรค์ 35 มม.”
Once Upon a Celluloid Planet : Where Cinema Ruled
Hearts & Houses of Films in Thailand



ย้อนดูภาพเก่าที่เคยถ่ายไว้ อินเดียน่า โจนส์, เดอะ เปียโน, หมีเพื่อนเดอะ, นิกิต้า, พั้ลพ์ ฟิคชั่น, ลีออง เดอะโปรเฟสชั่นแนล, ชินด์เลอร์ ลิสต์ โรงหนังที่เคยฉายหนังเหล่านี้ล้มตายไปเกือบหมด วัฒนธรรมหนังแบบแผ่นฟิล์มที่เคยมีความสำคัญมากในยุคหนึ่งเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอล หนังสือเล่มนี้คือบทบันทึกภาพจำส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์โรงภาพยนตร์ไทยประเภทใบเลี้ยงเดี่ยว หรือโรงหนังแสตนด์อโลน

นี่คือหนังสือรวมภาพถ่ายโรงหนังแสตนด์อโลนในประเทศไทย , ภาพอุปกรณ์และองค์ประกอบอื่นๆ ที่แวดล้อมวัฒนธรรมการชมภาพยนตร์ในสมัยที่วัฒนธรรมหนังฉายฟิล์มยังเฟื่องฟูและได้รับความนิยม ที่ผู้ถ่ายภาพบันทึกไว้ตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปัจจุบัน

ถ่ายภาพโดย สนธยา ทรัพย์เย็น / โมรีมาตย์ ระเด่นอาหมัด

Gone are the golden days of the Stand-Alone Cinemas. This photo album contains many photos from FILMVIRUS personal archive, from the period of Indiana Jones, La Femme Nikita, The Piano, Schindler’s List, Leon: The Professional, Pulp Fiction to their decline. From North to South, East and West, the scatter of their remains. No matter dead or alive these cinemas meant something for us all.

Photos by Sonthaya Subyen and Morimart Raden-Ahmad


 
พร้อมกับบทความรับเชิญพิเศษ

จดหมายเหตุความทรงจำจากผู้ทรงคุณวุฒิในวงการวรรณกรรมและภาพยนตร์ โดย
1. สุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ
2. แดนอรัญ แสงทอง ศิลปินศิลปาธร และ อัศวินวรรณกรรมเหรียญอิสริยาภรณ์ของฝรั่งเศส
3. อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์รางวัล Palm d’ Or เมืองคานส์และรางวัลนานาชาติอีกมากมาย,
ศิลปินศิลปาธร และ เหรียญอิสริยาภรณ์ของฝรั่งเศส 2 ครั้ง
4. Fred Kelemen ผู้กำกับชาวเยอรมัน เจ้าของผลงานหนังกลางคืนสุดหมองหม่น
5. มโนธรรม เทียมเทียบรัตน์ นักวิจารณ์ภาพยนตร์ ผู้คร่ำหวอดกับงานวิจารณ์หนังมายาวนานกว่า 20 ปี
6. ปราบดา หยุ่น นักเขียนรางวัลซีไรต์ เจ้าของร้านหนังสือ Bookmoby และบรรณาธิการสำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น
7. อุทิศ เหมะมูล นักเขียนรางวัลซีไรต์ และบรรณาธิการนิตยสารปรากฏและไรเตอร์


รายละเอียดของหนังสือ
ความหนา 516 หน้า กระดาษอาร์ตสี (ทั้งเล่ม)
ปกแข็ง เย็บกี่, หุ้มแจ๊คเก็ต (all in color, hard cover, 516 pages)
ขนาด 21.5 x 18.8 ซม.
เนื้อหาสองภาษา texts in Thai / English


หนังสือพิมพ์จำนวนจำกัด วางขายเฉพาะบางร้าน เช่น คิโนะคุนิยะ, เอเชียบุ๊คส์, บุ๊คโมบี้ หรือร้านซีเอ็ดเฉพาะบางสาขา 

ติดต่อสั่งซื้อได้ที่ บริษัท เคล็ดไทย จำกัด ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 006-2-25481-5

หากประสบปัญหา สอบถามได้ที่ เฟซบุ๊ค bookvirus & filmvirus



ประวัติผู้บันทึกภาพ

1. สนธยา ทรัพย์เย็น บรรณาธิการหนังสือ FilmVirus / BookVirus รวมทั้งเป็นผู้ก่อตั้งดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ฉายหนังให้ชมฟรีตั้งแต่ปี 2538 ที่ร้านดวงกมลซีคอนสแควร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, หอศิลป์กรุงเทพ ฯ, The Reading Room ฯลฯ

2. โมรีมาตย์ ระเด่นอาหมัด ผู้จัดการดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) บรรณาธิการสำนักพิมพ์ฟุ้ง และมีผลงานภาพถ่ายลงในนิตยสาร



บางภาพในหนังสืออยู่ในคลิปหนัง “ภูตเงาเฝ้าฝัน” Phantoms of Sleepless Cinema เรื่องนี้ (แต่ภาพในหนังสือเป็นภาพสี)

The clip below is our film-in progress about the same subject, but on the different emphasis.



No comments:

คนลักหลับ

My photo
Filmvirus เป็นนามปากกาเดิมของสนธยา ทรัพย์เย็น จากคอลัมน์ “นิมิตวิกาล” ที่ใช้ในนิตยสาร Filmview ปี 2537 ต่อมาในปี 2538 สนธยาได้ก่อตั้ง “ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์” หรือ DK.Filmhouse (Filmvirus) จัดฉายหนังด้อยโอกาสให้ผู้สนใจชมฟรี พร้อมจัดพิมพ์หนังสือด้านหนัง และวรรณกรรม ชุด Filmvirus / Bookvirus (ส่วนหนังสือ “คนของหนัง” ปี 2533 นั้นเป็นผลงานก่อนตั้งฟิล์มไวรัส) ส่วนผลงานอื่นๆ ปี 2548 เป็นกรรมการเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok , ปี 2552 กรรมการ Sydney Underground Film Festival, งาน Thai Short Film and Video Festival ของมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 1 และปี 2548-2549 เป็นเจ้าภาพร่วมจัดเทศกาลประกวดหนังนานาชาติ 15/15 Film Festival, Australia