ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เชิญชม โปรแกรมภาพยนตร์ Po-Co Cine
ทุกวันอาทิตย์ระหว่างวันที่ 29 กันยายน 2556 - 20 ตุลาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 12:30 น. เป็นต้นไป
ณ ห้องเรวัต พุทธินันท์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุด ปรีดี พนมยงค์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0-2613-3530
ชมฟรี!!! (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณาแต่งกายสุภาพ)
Po-co Cine
Postcolonial Cinema
นำทีมถางพงอดีตแดนอาณานิคม โดย New Programmer รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค (คนละคนกับในรูปข้างล่าง)
ฟรานซ์ ฟานอน (1925 - 1961) นักจิตวิเคราะห์ผิวดำชาวมาร์ตีนิก (มาร์ตีนิกเป็นเกาะในทะเลแคริบเบียนที่ปัจจุบันมีสถานะเป็น ‘จังหวัดโพ้นทะเลของฝรั่งเศส’) เล่าว่าตอนเขาอยู่ที่บ้านเกิด เขาไปดูหนังฮอลลีวู้ดเรื่องทาร์ซานในโรงหนัง ในหมู่คนดูผิวสีทั้งโรงทุกคนหัวเราะชอบใจเมื่อเห็นทาร์ซานปราบเหล่าร้ายที่เป็นคนป่าผิวดำได้ ต่อมาเมื่อฟานอนเดินทางไปปารีสเพื่อศึกษาต่อ เขาได้ดูหนังเรื่องนี้ในโรงอีกครั้ง แต่คราวนี้แทนที่เขาจะสนุกกับหนังเหมือนเคย เขากลับรู้สึกตะขิดตะขวงใจ พอคนดูสว่นใหญ่ในโรงเป็นคนขาวพวกเขาก็พากันเอาใจช่วยทาร์ซานพระเอกผิวขาวกำจัดคนป่าผิวดำ ฟานอนในฐานะคนดำไม่กี่คนในโรงจึงรู้สึกอดไม่ได้ที่เขาจะรู้สึก ‘เห็นใจ’ คนผิวสีบนจอภาพยนตร์ เขานึกกลับมาถึงตัวเองว่าทำไมในการดูหนังครั้งแรกเขาไม่รู้สึกอะไรเลย ทำไมเขาไม่รู้สึกว่าคนดำบนจอเป็นคนร่วมเชื้อชาติสีผิวกับเขา ทำไมเขาสามารถเข้าข้างคนขาวได้ง่ายดาย
เรายังดูทาร์ซานแบบเดิมอย่างใสซื่อได้อีกไหม เรายังสนุกกับปรากฏการณ์บนจอโดยไม่อินังต่อกระบวนการกดขี่ภายในภาพได้หรือไม่
postcolonial studies คือการศึกษาอิทธิพลที่ตกค้างมาจากลัทธิอาณานิคมตามพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก อาณานิคมได้เปลี่ยนแปลงระบบความสัมพันธ์ สังคม ภาษา ลักษณะประชากรของโลกสมัยใหม่ไปอย่างถอนรากกระชากโคน และแม้เราจะไม่ได้อยู่ในยุคอาณานิคมแล้ว แต่สิ่งที่ตกค้างจากยุคสมัยนั้นยังทิ้งค้างไว้ให้เราได้เห็นอยู่จนถึงทุกวันนี้ postcolonial cinema ไม่จำกัดแต่หนังที่พูดถึงแต่อาณานิคมโดยตรง (แต่โดยแท้จริงแล้ว postcolonial cinema ก็ไม่ใช่สิ่งที่มีนิยามแน่ชัดตายตัว) แต่ยังรวมไปถึงหนังที่สำรวจประเด็นอันหลากหลายตั้งแต่ผลกระทบของการอพยพประชากรโลกหนังของคนทำหนังโพ้นทะเล หนังพร็อบพาแกนด้าชาตินิยม หนังตลกภาษาถิ่น ฯลฯ หนังในโปรแกรมนี้เป็นการรวบรวมหนังที่หลากหลายทั้งในแง่เนื้อหาและประเทศที่มา เพื่อลองสำรวจความสลับซับซ้อนในโลกของเราทั้งในด้านวัฒนธรรม สังคม การเมือง ศิลปะ เพศสภาพ อัตลักษณ์ และอื่น ๆ ถ้าทาร์ซานที่ฟานอนได้ดูคือ colonial cinema ที่กดขี่ประชากรส่วนใหญ่ของโลกไว้ในคราบของความป่าเถื่อน postcolonial cinema คือหนังที่ท้วงถามและชี้แย้งกลับไปที่ทาร์ซาน โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว
Week 1
Colonial (Re)Encounter
And Then There Was Light (1989, Otar Iosseliani, Italy, France, West Germany)
ผลงานรางวัลสิงโตเงินเรื่อง
เยี่ยมของ Otar Iosseliani ผู้กำกับฝีมือเอกอุชาวจอร์เ
จียที่ปัจจุบันทำหนังอยู่ใน
ฝรั่งเศส ในงานชิ้นนี้เขาได้พาคนดูไป
ยังสังคมชาวแอฟริกันในป่าที
่ความเป็นสมัยใหม่ยังเข้าไม
่ถึง หนังถ่ายทอดชีวิตประจำวันขอ
งชาวบ้านประดุจสารคดีที่เหน
ือจริง นั่นคือภาพกิจวัตรของชาวบ้า
นแม้จะอยู่ในไวยากรณ์แบบสาร
คดีแต่กิจกรรมของพวกเขาก็ชว
นเหวอตกเก้าอี้มาก ๆ เช่นชายหนุ่มจะจีบผู้หญิงอี
กหมู่บ้านหนึ่ง ต้องนั่งจระเข้ข้ามแม่น้ำไป
หา หรือคนหัวขาดก็สามารถเอาสมุ
นไพรมาบดทาที่รอยขาดแล้วติด
หัวใหม่ได้ ฯลฯ ลีลาแบบ magical realism ของหนังสร้างรสที่แปร่งปร่า
ชวนตื่นตาตื่นใจกับความสัมพ
ันธ์ทางสังคมแบบที่เราไม่เค
ยพบเห็นมาก่อน
Even the Rain (2010, Icíar Bollaín , Spain, Mexico, France)
Iciar Bollain เป็นผู้กำกับหญิงชาวสเปนที่
สร้างชื่อจากหนังน้ำดีหลายเ
รื่อง ใน Even the Rain เธอร่วมทัพกับ Paul Laverty มือเขียนบทประจำตัวเคน โลช (และจริง ๆ ก็เป็นสามีเธอเอง) รังสรรค์หนังวิพากษ์จักรวรร
ดิตะวันตกอันแสนคมคายจนได้เ
ป็นตัวแทนสเปนเข้าชิงออสการ
์ หนังเรื่องนี้ กาเอล การ์เซีย เบอร์นัลรับบท เซบาสเตียน ผู้กำกับหนังจากเม็กซิโกที่
เดินทางกับทีมงานมาโบลิเวีย
เพื่อทำหนังว่าด้วยการค้นพบ
ทวีปอเมริกาของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส โดยตัวเซบาสเตียนหมายมั่นจะ
ให้หนังเรื่องนี้เป็นบทโจมต
ีอาณานิคมของสเปนที่เข้ามาป
ล้นและกดขี่ชาวพื้นเมือง แต่โชคร้ายเสียหน่อยที่ตอนก
องถ่ายเข้ามาในโบลิเวียมีกา
รประท้วงเรื่องการขายสิทธิ์
การจัดการน้ำในประเทศให้กับ
บริษัทเอกชนต่างชาติ ทำให้ประชาชนโบลิเวียไม่มีส
ิทธิ์จะดื่มน้ำจากแหล่งน้ำธ
รรมชาติใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำใต้ดิน ลำธาร "หรือแม้แต่น้ำฝน" แล้วเส้นแบ่งระหว่างเหตุการ
ณ์ในหนังที่กำลังสร้างกับเร
ื่องจริงทางสังคมภายนอกก็ยิ
่งพร่าเลือน นักแสดงอินเดียนที่มาแสดงเป
็นคนพื้นเมืองในหนังก็ออกไป
ต่อสู้เพื่อสิทธิในการดื่มน
้ำบนถนนจริง ๆ อีกด้วย บทหนังของลาเวอร์ตี้แหลมคมม
าก ๆ ในการเชื่อมโยงการปล้นทองจา
กชนพื้นเมืองจากจักรวรรดิสเ
ปนเข้ากับการปล้นน้ำของบรรษ
ัทนานาชาติ
Week 2
Problem of Identities
Surname Viet Given Name Nam (1989, Trinh T. Minh-ha, Viet Nam-America)
สารคดีทดลองของผู้กำกับ-นักทฤษฎีชาวเวียดนามที่ไปโตในอเมริกา Trinh T. Minh-ha ในงานชิ้นนี้เธอตั้งโจทย์ที่ทั้งซับซ้อนและทะเยอทะยานมาก ๆ เธอพาเราไปรู้จักกับชีวิตผู้หญิงเวียดนามที่ใช้ชีวิตในช่วงสงครามเวียดนามผ่านบทสัมภาษณ์ของแต่ละนาง แม้จะฟังดูธรรมดา แต่แท้จริงแล้วตัวหนังเล่นกับการรับรู้ของคนดูหลายระดับมาก ๆ ตั้งแต่การที่ผู้หญิงกลุ่มนี้พูดอังกฤษได้ไม่ชัดนักทำให้คนดูทั่วไปมีปัญหาในการติดตามเรื่องราวที่พวกเธอเล่า แต่พอหนังผ่านไปเกือบ 1 ชั่วโมงเหมือนหนังจะรู้ตัวก็เลยใส่ซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษข้างใต้ไว้ให้เราอ่านได้ง่าย ๆ แต่จู่ ๆ เสียงของผู้กำกับก็ดังขึ้นมาถามว่า ‘คุณรับรู้บทสัมภาษณ์ของผู้หญิงพวกนี้ผ่านหู (ฟังเสียงของพวกเธอโดยตรง) หรือคุณใช้ตา (ต้องพึ่งพาตัวหนังสือที่หนังเขียนให้)’ ถ้าคุณต้องใช้ตาอ่านซับ ฯ แสดงว่าคุณเชื่อใจซับ ฯ ใช่ไหม แปลว่าคุณไว้ใจความจริงในตัวหนังสือที่คุณคุ้นเคย มากกว่าเสียงที่แปลกแปร่งติดสำเนียงของผู้หญิงประเทศโลกที่สามเหล่านี้ใช่ไหม สารคดีเรื่องนี้เลยเป็นมากกว่าแค่บทบันทึกชีวิตของผู้หญิงเวียดนามแต่เป็นบทบันทึกที่ย้อนถามการบันทึกของตัวมันเองด้วย
Lamerica (1994, Gianni Amelio, Italy, France, Switzerland)
Gianni Amelio เป็นผู้กำกับอิตาลีมือดีที่
โด่งดังในยุค 90 Lamerica หนังเจ้าของรางวัลผู้กำกับย
อดเยี่ยมจากเวนิสได้รับการก
ล่าวขานจากนักวิจารณ์หลาย ๆ คนว่านี่อาจเป็นงานที่ดีที่
สุดของเขา Lamerica ไปสำรวจผลตกค้างของจักรวรรด
ิตะวันตกที่คนไม่ค่อยพูดถึง
เท่าไหร่ นั่นคือจักรวรรดิของอิตาลี อิตาลีเป็นชาติยุโรปที่เริ่
มล่าอาณานิคมช้ากว่าชาติอื่
น ๆ มาก และอัลบาเนียก็เป็นพื้นที่ไ
ม่กี่ที่ที่เคยตกเป็นของอิต
าลี หนังเกิดขึ้นในยุคร่วมสมัย 2 กระทาชายแก๊งค์ต้มตุ๋นชาวอิ
ตาเลี่ยนที่ต้องการจะเข้าไป
เปิดบริษัทปลอมในอัลบาเนียเ
พื่อรับเงินช่วยเหลือจากรัฐ
แล้วค่อยเชิดเงินหายไป แต่เงื่อนไขที่เขาจะได้เงิน
นั้นบริษัทจะต้องมีคนอัลบาเ
นียมาเป็นเจ้าของด้วย ทั้งสองคนเลยไป ‘แคสต์’ เจ้าของบริษัทจากในคุก จนได้เจอกับ ‘สไปโร’ ตาแก่ชราภาพนายหนึ่งที่สติไ
ม่ค่อยเหลือความจำหลง ๆ ลืม ๆ น่าจะง่ายต่อการใช้เป็นหุ่น
เชิดได้ แต่เมื่อเรื่องดำเนินไปเรื่
อย ๆ ความทรงจำของสไปโรค่อยผลุบโ
ผล่เข้ามา อันเป็นความทรงจำในสมัยสงคร
ามโลกและยุคอาณานิคมอิตาลีใ
นอัลบาเนีย ความทรงจำที่ว่าสร้างแรงสั่
นสะเทือนไปถึงตัวตนของนักต้
มตุ๋น ทำให้เขาต้องมาถามตัวเองว่า
ฉันเป็นใคร?
Week 3
Other Aesthetics: Nollywood and Brazilian Garbage
The Figurine - Araromire (2009, Kunle Afolayan, Nigeria)
ปัจจุบันไนจีเรียติด 3 อันดับแรกของประเทศที่มีการ
ผลิตหนังเยอะที่สุดในโลกไปแ
ล้ว (เป็นรองแค่อเมริกาและอินเด
ีย) วงการหนังวิดีโอหรือที่เรีย
กกันว่า Nollywood เป็นเหมือนต้นธารใหญ่ของวงก
ารหนังประเทศแอฟริกาที่ใช้ภ
าษาอังกฤษ (โดยมี Ghallywood จากกาน่ากำลังเข้ามาแชร์พื้
นที่) หนัง Nollywood แตกต่างจากหนังประเทศแอฟริก
าที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสที่เริ่
มทำหนังตั้งแต่ยุค 60 ในขณะที่คนทำหนังจากประเทศพ
ูดฝรั่งเศสมักหยิบยกปัญหาสั
งคม ความยากจน การเหยียดผิว ฯลฯ ที่เกิดขึ้นมาทำเป็นประเด็น
หลักด้วยความเชื่อประหนึ่งห
นังคือเครื่องมืออาวุธทางวั
ฒนธรรมและสังคม หนัง Nollywood กลับเพลิดเพลินไปกับชีวิตปร
ะจำวันของตัวละครในลากอส มีความเพ้อเจ้อแฟนตาซีไปบ้า
งตามประสา หนังกลายเป็นมหรสพหรรษาที่ท
ำให้คนดูหัวเราะ ร้องไห้ ไปพร้อมกัน
The Figurine ได้รับรางวัลจาก African Movie Academy Awards ไป 5 รางวัล รวมทั้งภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้
วย เนื้อเรื่องของหนังว่าด้วยเ
พื่อนซี 2 คนที่เดินทางไปในป่าเจอกับร
ูปปั้นเทพธิดา Araromire ที่จะมอบ 7 ปีแห่งความสุขโชคลาภให้กับท
ุกคนที่ได้สัมผัส แต่พอหมด 7 ปีแห่งโชคลาภ คนจับก็ต้องเจอกับ 7 ปีแห่งทุกข์ที่จะพรากความดี
ทุกอย่างจากชีวิตไป พอเพื่อนทั้ง 2 คนกลับเมืองต่างฝ่ายต่างก็ร
่ำรวย มีงานการที่ดี ได้แต่งงาน พอ 7 ปีผ่านไปพวกเขามาเจอกันจู่ ๆ ชีวิตก็เหมือนหักเลี้ยวเปลี
่ยนทิศ ชีวิตเริ่มแย่ขึ้น ๆ นี่มันเพราะคำสาปใช่ไหม หรืออะไร? ก่อนที่หนังจะจบอย่างหักมุม
ที่สุด!!!!!!!
Bang Bang (1971, Andrea Tonacci, Brazil)
ที่บราซิลสมัยยุค 60 Glauber Rocha ได้เป็นหัวหอกของกลุ่มภาพยน
ตร์คลื่นลูกใหม่ Cinema Novo ที่ต้องการใช้สื่อภาพยนตรเป
็นพื้นที่ในการเรียกร้องควา
มยุติธรรมของสังคม ได้บัญญัติสิ่งที่เรียกว่า ‘สุนทรียะแห่งความหิวโหย’ ด้วยเชื่อว่าหนังที่ต้องการ
จะเปลี่ยนแปลงสังคมต้องไม่เ
พียงแปลกใหม่ทางเนื้อหาเท่า
นั้น แต่ต้องค้นหาภาษาไวยากรณ์หน
ังแบบใหม่ ๆ โดยไม่ต้องไปอินังว่าหนังที
่ได้จะมีคุณภาพดีงามได้ตามม
าตรฐานหนังทั่วไปไหม (อันหมายถึงหนังฮอลลีวู้ด) แต่พอเวลาผ่านไปถึงยุค 70 Esthetics of Hunger กลายเป็นของล้าสมัยที่เสื่อ
มความนิยม คนทำหนังบราซิลอีกกลุ่มนำที
มโดยคนทำหนังอย่าง Rogerio Sganzerla และ Julio Bressane ได้เสนอ ‘สนุทรียะแห่งขยะ’ ออกมา หนังในกลุ่มนี้ไม่ได้แคร์ปั
ญหาสังคมอีกต่อไป แต่เล่นสนุกกับการทดลองความ
ตื่นตาตื่นใจทางภาพยนตร์เพื
่อให้คนดู enjoy ก็พอ
Bang, Bang งานสำคัญชิ้นหนึ่งของกลุ่มท
ี่ผู้ชมไม่ต้องแคร์เนื้อเรื
่องอะไรอีกต่อไปแล้ว หนังเด็ดดวงด้วยความแพรวพรา
วของภาษาหนัง ทั้งลูกเล่นงานถ่ายภาพที่วิ
จิตรพิศวงพงไพร การตัดต่อที่พิสดารล้านลึก และดนตรีที่สร้างจังหวะชวนข
ยับหรรษา หนังมีฉากโจร ฉากขับรถไล่ล่าแสนพิสดาร แต่ดูอย่างไรก็ไม่รู้เรื่อง
จนตัวละครในหนังเองก็ทนไม่ไ
ด้ที่หนังไม่รู้เรื่องถึงกั
บขอ pause แล้วมานั่งเล่าเรื่องซ้ำใหม
่ให้คนดูฟัง แต่ก็ถูกตัวละครอีกตัวขัดจั
งหวะไม่ให้เล่าด้วยการปาพาย
ใส่หน้า!?
Week 4
My Father and His Fatherland
Congorama (2006, Philippe Falardeau, Canada-Belgium)
แคว้นควิเบกในแคนาดาเป็นแคว้นที่ประชากรใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก แม้ว่าแคนาดาจะมีภาษาราชการ 2 ภาษาทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ชาวควิเบกก็มีความรู้สึกแปลกแยกจากส่วนอื่นของประเทศอยู่ดี Philippe Falardeau ผู้กำกับชาวควิเบกรุ่นใหม่มาแรงนิยมทำหนังที่สำรวจสังคมควิเบกมาอย่างต่อเนื่อง Congorama หนังชนะรางวัล Jutra สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เข้าไปสำรวจความสัมพันธ์อีรุงตุงนังยุ่งขิงของชีวิตตัวละครหลายตัว หลายชาติ ทั้งแคนาดา เบลเยี่ยม และคองโก!
หนังเปิดเรื่องที่เบลเยี่ยม มิเชล นักประดิษฐ์ชาวเบลเยี่ยมที่ล้มเหลวในการคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เขามีพ่อเป็นนักต่อต้านอาณานิคมคองโกเก่าที่ปัจจุบันเป็นนักเขียนชื่อดังของเบลเยี่ยมในแคว้นเวโลเนีย (แคว้นที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส) ตัวมิเชลเองมีเมียเป็นคนคองโก และทั้งคู่มีลูกชายที่ดูจากกายภาพแล้วดูจะรับมาแต่แม่ เพราะดูไม่มีเชื้อคนขาวเลย วันนึงลูกชายมิเชลถามมิเชลว่า 'พ่อ ผมได้อะไรมาจากพ่อบ้าง' มิเชลก็ไม่รู้ว่าตัวเองมีอะไรเหมือนกับลูกบ้าง เขาก็บอกว่าลูกวาดรูปเก่งเหมือนพ่อ อีกอย่างพ่อกับปู่หน้าตาก็ไม่เหมือนกัน แต่เราก็เป็นพ่อลูกกันได้ แต่แล้วคืนนั้นพ่อของมิเชลก็เรียกมิเชลไปเซอร์ไพรส์ว่า 'มิเชลเอย ลูกเป็นลูกบุญธรรมนะ พ่อกับแม่แอบรับลูกอย่างผิดกฎหมายมาจากโบสถ์ในควิเบก' มิเชลเลยยิ่งงงไปใหญ่ว่าอ้าว จริง ๆ ฉันเป็นใครมาจากไหน วันนึงเขาต้องไปแคนาดาเพื่อขายงานลูกค้า เขาเลยใช้เวลาที่เหลือตามหาว่ารากเหง้าเขามาจากไหน?
A Borrowed Life (1994, Wu Nien-jen, Taiwan)
หนังเรื่องเยี่ยมในกลุ่มไต้หวันนิวเวฟ Wu Nien-jen ผู้กำกับที่แม้จะทำหนังเองไม่เยอะ แต่เขาเป็นมือเขียนบทที่พิสูจน์ฝีมือไว้ในหนังของโหวเสี่ยวเสี่ยน เอ็ดเวิร์ด หยาง แอนน์ ฮุย A Borrowed Life เป็นงานกำกับเองเรื่องแรกของเขาเป็นเหมือนงานกึ่งอัตชีวประวัติว่าด้วยสัมพันธ์ของเขาและพ่อ ตั้งแต่สมัยเขายังเป็นเด็ก ๆ พ่อยังเป็นคนหนุ่ม จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่แต่งงานมีครอบครัวแล้วพ่อของเขาก็ป่วยชรา
หนังสำรวจความต่างกันของวัย
ตัวเอกของเรื่องเป็นเด็กที่
เกิดในยุคก๊กมิ๋นตั้งปกครอง
ไต้หวันอยู่ ส่วนพ่อของเขาเป็นคนที่โตมา
ในรุ่นที่ไต้หวันเป็นอาณานิ
คมญี่ปุ่น พ่อและผู้ใหญ่หลาย ๆ คนในรุ่นเดียวกัน ต่างเป็นคนที่ชื่นชมชื่นชอบ
วัฒนธรรมญี่ปุ่นมากมาย พวกเขาพูดภาษาญี่ปุ่น ดูหนังญี่ปุ่น นิยมสินค้าญี่ปุ่น แม้พวกเขาจะไม่เคยได้ไปเห็น
‘แผ่นดินพ่อ’ เองจริง ๆ เลย และอาการนิยมญี่ปุ่นนี่เองน
ำมาซึ่งความขัดแย้งกับคนรุ่
นลูกที่โตมากับการศึกษาด้วย
ภาษาจีนกลาง (ที่คนรุ่นก่อนไม่เข้าใจ) และการเรียนประวัติศาสตร์ว่
าญี่ปุ่นเป็นตัวร้าย หนังสำรวจอัตลักษณ์ความเป็น
ไต้หวันอันเปราะบาง เมื่อพิจารณาว่าไต้หวันเป็น
เกาะที่เหมือนถูกเปลี่ยนมือ
ผู้ปกครองไปตามยุคสมัย (ตั้งแต่สมัยมีชนพื้นเมือง จนคนจีนฮั่นเข้ามาอาศัย ก่อนโดนโปรตุเกส สเปน ดัทช์เข้ามาปกครอง และเปลี่ยนมือไปเป็นราชวงศ์
ฉิงในแผ่นดินใหญ่ ก่อนมาเป็นญี่ปุ่น และไปเป็นของก๊กมิ่นตั้ง) แล้วอะไรคือสิ่งที่เหลืออยู
่ คนไต้หวันจริง ๆ คือใครกัน
No comments:
Post a Comment