^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^
PAGES OF MADNESS
The Crazy Japanese Underground and Counter-Culture Cinema
ปลุกตำนานหนังใต้ดินสุดขบถจากญี่ปุ่น
^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

ณ ห้องเรวัต พุทธินันท์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุด ปรีดี พนมยงค์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0-2613-3530
ชมฟรี!!! (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณาแต่งกายสุภาพ)
อาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน 2551
12.30 น. A Page of Madness (1926) กำกับโดย Teinosuke Kinugasa
14.00 น. Donald Richie’s Shorts (1962-1967) กำกับโดย Donald Richie
15.00 น. Five Filosophical Fables (1967) กำกับโดย Donald Richie
อาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน 2551
12.30 น. The Desert Archipelago (1969) กำกับโดย Katsu Kanai
13.30 น. Good-Bye (1971) กำกับโดย Katsu Kanai
15.00 น. Funeral Parade of Roses (1969) กำกับโดย Toshio Matsumoto

12.30 น. Coup d’etat (1973) กำกับโดย Yoshishige Yoshida
14.30 น. Eros+Massacre (1969) กำกับโดย Yoshishige Yoshida
อาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน 2551
12.30 น. Death Powder (1986) กำกับโดย Shigeru Izumiya
14.00 น. While the Right Hand Is Sleeping (2002) กำกับโดย Shirakawa Koji

โปรแกรมพิเศษ ‘หนังคู่ผวน’
12.30 น. Moju (1969) กำกับโดย Yasuzo Masumura
14.30 น. Mujo (1970) กำกับโดย Akio Jissoji
อาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม 2551
12.30 น. Diary of a Shinjuku Thief (1968) กำกับโดย Nagisa Oshima
14.30 น. Death by Hanging (1968) กำกับโดย Nagisa Oshima
อาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม 2551
12.30 น. The Man Who Put His Will on Film (1970) กำกับโดย Nagisa Oshima
14.30 น. The Ceremony (1971) กำกับโดย Nagisa Oshima
เรื่องย่อภาพยนตร์
A Page of Madness (1926)

Donald Richie’s Shorts (1962-1967)




ผลงานเรื่องที่สองที่ตอกย้ำความบ้าระห่ำแบบไม่เกรงใจใครของผู้กำกับ Katsu Kanai ได้เป็นอย่างดี หนังเริ่มต้นเรื่องราวด้วยชายหนุ่มที่มีปัญหาในการออกเสียงพูด เขาต้องใช้เวลาและความพยายามอยู่นานกว่าจะสามารถเปล่งเสียงเพียงเพื่อสั่งบะหมี่ในร้านจากพ่อครัวได้ หลังจากนั้นหนังก็เริ่มพลิกผันเรื่องราวไปสู่ประเด็นใหม่กันแบบไม่อาจจะคาดเดา เมื่อเราจะได้เห็นตัวละครสำคัญกระโดดเข้ามาร่วมวงศ์ไพบูลย์กับพ่อหนุ่มหน้าตี๋รายนี้กันแบบไม่ต้องมีตรรกะเหตุผลอะไรใด ๆ อีกต่อไป คงเหลือไว้แต่การบิดมิติหนังกันอย่างบ้าคลั่งตามอำเภอใจ ก่อนจะ Good-Bye ลาจากไปทิ้งคนดูไว้ให้จมอยู่กับอาการอ้ำอึ้ง!
Funeral Parade of Roses (1969)

Coup d’etat (1973)
ผลงานเด่นอีกเรื่องของ Yoshishige Yoshida หรือ Kiju Yoshida ผู้กำกับ Japanese New Wave รุ่นบุกเบิกที่อาจจะไม่โด่งดังเท่า Shohei Imamura, Nagisa Oshima, Hiroshi Teshigahara หรือ Seijun Suzuki แม้ว่าฝีไม้ลายมือจะไม่ได้ด้อยไปกว่ากันสักเท่าไร Coup d’etat เป็นหนังกึ่งชีวประวัติของ Ikki Kita นักคิดหัวสังคมนิยมผู้ผลักดันให้เกิดการรัฐประหารในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ปี 1936 แม้ว่าหนังจะอ้างอิงจากเหตุการณ์จริง แต่ผู้กำกับ Yoshishige Yoshida กลับใช้จริตลีลาเชิงหนังอันอาบเอิบไปด้วยอารมณ์กวีมาสร้างบรรยากาศแปลกใหม่กึ่งจริงกึ่งฝันได้อย่างน่าประหลาด นับเป็นงานลายเซ็นที่สะท้อนความเป็นผู้กำกับหัวขบถของ Yoshishige Yoshida ได้เป็นอย่างดี
Eros+Massacre (1969)

Death Powder (1986)

While the Right Hand Is Sleeping (2002)
หนังทดลองใต้ดินระดับมหากาพย์ของผู้กำกับหนุ่มไฟแรง Shirakawa Koji ถ่ายทอดฝันร้ายของครอบครัวครอบครัวหนึ่งเมื่อจิตรกรผู้เป็นพ่อเกิดอาการติดเชื้อจนไม่สามารถขยับเขยื้อนมือขวาได้อีก ภรรยาของเขาซึ่งทำงานเป็นผู้ให้คำปรึกษาก็เริ่มหมดอาลัยตายอยากกับชีวิตของตัวเอง ส่วนลูกชายเพียงคนเดียวของทั้งสองก็เริ่มยุติการสื่อสารทางคำพูดเมื่อเขาสามารถอ่านใจคนอื่นได้ และขณะที่ครอบครัวนี้กำลังดำดิ่งไปสู่ความพลังทลาย เกย์หนุ่มนายหนึ่งก็เข้ามามีบทบาทในชีวิตพวกเขาและทำให้ชะตากรรมของครอบครัวต้องเปลี่ยนแปลงไปอีกครั้ง หนังทดลองแนวกวีความยาว 208 นาทีที่ใช้ภาษาภาพได้อย่างทรงพลังและน่าทึ่ง!

ผลงานสุดแปร่งของผู้กำกับ Yasuzo Masumura ที่ดัดแปลงมาจากเรื่องสั้นของ Edogawa Rampo ถ่ายทอดเรื่องราวความลุ่มหลงในความงามของเรือนร่างอิสตรีของนักประติมากรรมตาบอดจิตป่วยที่ต้องลักพาตัวหญิงสาวมาเป็นนางแบบให้กับผลงานแห่งความงามอันสมบูรณ์พร้อมของเขาเองภายในห้องโกดังที่ประดับประดาไปด้วยชิ้นส่วนของร่างกายมนุษย์อันชวนขนหัวลุก! นับเป็นหนังใต้ดินสุดเพี้ยนที่กำกับศิลป์ได้อย่างชวนผวาและน่าซูฮกเสียจริง ๆ
ผลงานเด่นหาชมยากในยุคแรกของผู้กำกับ Akio Jissoji ที่บอกเล่าเรื่องราวความวุ่นวายอันเกิดจากความสัมพันธ์ต้องห้ามระหว่างสองพี่น้องชายหญิงคู่หนึ่งในเมืองเล็ก ๆ ริมทะเลสาบ โดยฝ่ายพี่ชายนั้นเป็นศิลปินผู้หลงใหลในศิลปะการประติมากรรมพระพุทธรูป ในขณะฝ่ายน้องสาวก็ปฏิเสธที่จะมอบหัวใจให้ใครนอกจากพี่ชายของเธอคนเดียว หนังใช้เรื่องราวหมิ่นเหม่ศีลธรรมมาถ่ายทอดสัจธรรมแห่งความ ‘อนิจจัง’ ไม่เที่ยงแท้ของมนุษย์ตามปรัชญาพุทธผ่านงานการกำกับภาพสุดขรึมขลังอลังการไม่แพ้งานของผู้กำกับระดับบรมครูอย่าง Carl Theodor Dreyer, Andrei Tarkovsky หรือแม้แต่ Miklos Jancso เลยทีเดียว

เรื่องราวชีวิตคนนอกของ Birdie โจรขโมยหนังสือหนุ่มที่ถูกพนักงานสาวประจำร้านคนหนึ่งจับได้ แต่เมื่อทั้งสองได้กลับกลายมาเป็นคนรักกันฝ่ายหญิงจึงร่วมมือกับฝ่ายชายรวมหัวกันขโมยหนังสือจากย่านชินจุกุกันแบบไม่เกรงใจใคร นับเป็นหนังที่เล่นกับมิติสีจากช่วงแรกที่เป็นขาวดำกลายเป็นการเล่นกับความแปร๋นแปร๋นด้วยสีสันและความบ้าคลั่งในช่วงหลังได้อย่างแปลกใหม่และน่าสนใจ
Death by Hanging (1968)


เมื่อนักศึกษาหนุ่มได้ใช้กล้องถ่ายหนังถ่ายการประท้วงครั้งหนึ่งไว้ กล้องและฟิล์มของเขาก็ถูกขโมยไป เมื่อเขาพยายามแกะรอยตามหาคนขโมยเขาก็พบว่าตัวการรายนั้นได้ฆ่าตัวตายไปเสียแล้ว เรื่องราวเริ่มทวีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเมื่อฟิล์มชุดนี้ดันไปถึงมือตำรวจและพวกเขาอิดออดที่จะคืนให้กับเจ้าของ จากการบันทึกภาพการประท้วงธรรมดา ๆ มันอาจจะมีอะไรมากกว่าสิ่งที่เห็นก็เป็นได้
The Ceremony (1971)
ผลงานเด่นอีกเรื่องหนึ่งของ Nagisa Oshima ที่ถ่ายทอดวิถีวัฒนธรรมและประเพณีแบบญี่ปุ่นด้วยภาพการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเฉลิมฉลองครบครอบ การแต่งงาน งานศพ ผ่านสายตาของเด็กชายผู้เป็นทายาทของครอบครัวใหญ่ครอบครัวหนึ่ง นับเป็นหนังที่วิพากษ์วิจารณ์ความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างแสบลึกและคมคายชวนให้ได้ใช้วิจารณญาณในการชมยิ่งนัก
หมายเหตุ ขอขอบคุณคุณ Oleg Evnin เป็นอย่างสูงสำหรับภาพยนตร์บางเรื่องที่ฉายในโปรแกรมนี้
1 comment:
ทุกท่าน
เนื่องจากวันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน นี้ ห้องสมุด ม.ธรรมศาสตร์จะปิดบริการ ดังนั้นโปรแกรมฉายหนังของวันที่ 16 พฤศจิกายน จะเลื่อนไปเป็นวันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม 2551 แทนนะครับ (เวลาฉายเหมือนเดิม) จึงเรียนมาเพื่อแจ้งประชาสัมพันธ์การเปลี่ยนแปลงโปรแกรมด้วยครับ
ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์
Post a Comment