8.8.07

Filmvirus 5 : ปฏิบัติการหนังทุนน้อย


ฟิ ล์ ม ไ ว รั ส เล่ม 5 (ป ฏิ บั ติ ก า ร ห นั ง ทุ น น้ อ ย)
Low Budget Films in Combat
ตำนานแห่งชัยชนะของหนังเล็กใจลุย


ย้อนกลับไปเมื่อ 13 ปีก่อน ครั้งยังมีนิตยสาร Filmview ของบรรณาธิการ
สุทธากร สันติธวัช คอลัมน์ ปฏิบัติการหนังทุนน้อย จำนวน 5 ตอนของ
สนธยา ทรัพย์เย็น เป็นบทบันทึกการกำเนิดของกลุ่มคนทำหนังหน้าใหม่ที่
เพิ่งเริ่มทำหนังใหญ่ครั้งแรก ๆ ก่อนที่พวกเขาจะกลายมาเป็นคนทำหนังชื่อดัง
ในเวลาต่อมา (ยกเว้นกรณีของดีเร็ค จาร์แมนที่โด่งดังเป็นตำนานอยู่ก่อนแล้ว)

กลุ่มคนทำหนังในคอลัมน์นั้นที่เป็นทั้งผู้กำกับและเขียนบทหนังของตัวเองประกอบด้วย

ตอนที่ 1 – เควนติน ทาแรนทีโน่ (Quentin Tarantino)

ตอนที่ 2 – โรเบิร์ต โรดริเกซ (Robert Rodriguez)

ตอนที่ 3 – แฮล แฮร์ทลี่ย์ (Hal Hartley)

ตอนที่ 4 – จิม จาร์มุช (Jim Jarmusch)

ตอนที่ 5 – ดีเร็ค จาร์แมน (Derek Jarman)

นั่นคือเหตุการณ์ก่อนหน้าที่โลกจะมี Pulp Fiction, Grindhouse,
Pan’s Labyrinth, Out of Sight, Kill Bill, Sin City,
Spy Kids, From Dusk Till Dawn,
Once Upon A Time In Mexico, Ocean’s Eleven,
Twin Peaks, Mimic, Broken Flowers,
Henry Fool หรือ School of Rock

‘ฟิล์มไวรัส 5: ปฏิบัติการหนังทุนน้อย’
ตำนานแห่งชัยชนะของหนังเล็กใจลุย คือ

การนำ 5 บทความจากนิตยสาร Filmview ดังที่เอ่ยไปแล้วในย่อหน้าก่อน ๆ
มาเขียนปรับปรุงใหม่ โดยเพิ่มเติมบทความใหม่อีก 18 เรื่องที่ไม่เคยตีพิมพ์
มาก่อน เพื่อเน้นประวัติการไต่เต้าเข้าวงการหนังครั้งแรก ปั่นบทหนังเอง
กำกับเอง (บางทีก็แสดงเองและอำนวยการสร้างเองอีกต่างหาก)
ดันทุรังยืนหยัดต่อสู้กับอุปสรรคและเงื่อนไขทางธุรกิจเพื่อให้ได้
ผลงานตามใจฝัน ซึ่งหลายครั้งก็ล้มคว่ำคะมำหงาย ไม่ได้ชัยชนะอย่าง
สวยงามง่ายดายเสมอไป

รวมพล 23 ผู้กำกับจอมอึดผู้สร้าง ตำ น า น แ ห่ ง ชั ย ช น ะ ข อ ง
ห นั ง เ ล็ ก ใ จ ลุ ย จนมีชื่อเสียงโด่งดัง และ ฟิล์มไวรัส ภูมิอกภูมิใจ
นักหนานั้นมีใครบ้าง
นอกจาก 5 ชื่อที่กล่าวไปแล้วก็มี

1. สตีเว่น โซเดอร์เบิร์ก (Steven Soderbergh)
นักทดลองผู้อยู่ไม่สุขที่ทำได้หมดทั้งหนังขาย, และหนังอาร์ต ผลงานตั้งแต่
Traffic, Erin Brockovich, Schizopolis,
Full Frontal, Ocean’s Eleven
และ sex, lies and videotape

2. กิญแญร์โม่ เดล โตโร่ (Guillermo del Toro)
เซียนหนังพีเรียดแฟนตาซีฉบับโลกมืดวัยเยาว์แบบ Pan’s Labyrinth,
The Devil’s Backbone รวมถึงหนังแวมไพร์พันธุ์เก๋ใน Cronos
รวมทั้งหนังคอมมิคฮีโร่แบบ Hellboy กับ Blade 2
และหนังผจญแมลงยักษ์แสนสนุกอย่าง Mimic

3. เดวิด ลิ้นช์ (David Lynch) ป๋าสติหลุดผู้ที่ เดนนิส ฮอปเปอร์ เรียกว่า
เป็นศิลปินเซอร์เรียลลิสต์ชาวอเมริกันคนแรก ด้วยหนังเพี้ยนพิลึกอย่าง
Twin Peaks, Mulholland Drive, The Lost Highway
และ Eraserhead

4. โรเจอร์ คอร์แมน (Roger Corman)
เจ้าพ่อผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับหนังชื่อดังที่ปั้นมดงานอย่าง เจมส์
คาเมร่อน, แจ็ค นิโคลสัน, ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปล่า, โจนาธาน เด็มมี่,
จอห์น เซลส์ และ มาร์ติน สกอร์เซซี่ (ที่ใส่คลิปหนังเรื่อง Tomb of
Ligeia ของคอร์แมนในหนัง Mean Streets เพื่อคารวะเจ้านายเก่า)

5. จอร์จ เอ. โรเมโร่ (George A. Romero) เจ้าพ่อหนังไตรภาคซอมบี้อย่าง
Night of the Living Dead และล่าสุดกับ Land of the Dead

6. ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปล่า (Francis Ford Coppola)
กับประสบการณ์ทำหนังสยองขวัญราคาประหยัด Dementia 13
ก่อนการก้าวขึ้นสู่ความยิ่งใหญ่ในไตรภาค The Godfather

7. จิม แม็คไบร์ด (Jim McBride) ต้นแบบหนังไดอารี่ส่วนตัวอย่าง
David Holzman’s Diary ที่ต่อมาทำหนังเล็กชั้นดีอย่าง
The Big Easy และ Glen and Randa
รวมทั้งหนังอเมริกันรีเมคเรื่อง Breathless กับ ริชาร์ด เกียร์ และ
ส่งให้วีโนน่า ไรเดอร์ เป็นที่จดจำจาก The Great Balls of Fire

8. นีล ลาบิวต์ (Neil Labute) มือฉมังเจ้าของหนังชวนชายหญิงทะเลาะกันอย่าง
The Shape of Things, The Wicker Men และ
In the Company of Men

9. ริชาร์ด ลิ้งค์เลเตอร์ (Richard Linklater) ผู้กำกับหนุ่มที่เข้าใจหัวอกวัยรุ่น
(ที่ไม่ได้มีแค่ใจแตก) ด้วยผลงาน Before Sunrise / Before Sunset,
School of Rock, Dazed and Confused และ Slacker

10. จอห์น เซลส์ (John Sayles)
ชื่อที่ไม่ต้องแนะนำว่าเป็นโก๋อินดี้ตัวจริงที่ยังอยู่ทนถึงยุคปัจจุบันด้วยงานอย่าง
Lone Star, Limbo, Matewan (นรกเมืองเดือด), City of Hope
และ The Return of Secaucus Seven

11. โจนาธาน เด็มมี่ (Jonathan Demme)
ผู้กำกับที่ชำนาญการดึงฝีมือดารานักแสดงได้โดนใจกรรมการออสการ์
ด้วยหนังอย่าง Philadelphia, The Silence of the
Lambs แต่การเข้าสู่วงการของเขานั้นเริ่มด้วยการปั้นกลุ่มดารา
สาวแกร่งในหนังคุกสาวโหดเรื่อง Caged Heat

12. แอนน์ ฮุย (Ann Hui) ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ผู้หญิงจะสู้ทนในวงการหนัง
และสำหรับหนังฮ่องกง เธอคือหนึ่งในตำนาน ใครอยากรู้ว่า July Rhapsody,
Song of the Exile และ Summer Snowไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
ต้องย้อนอ่าน ประสบการณ์ปากกัดตีนถีบถ่ายทำเรื่อง Boat People

13. จอห์น แคสซาเวทส์ (John Cassavetes) อเมริกันอินดี้ทุกคนตั้งแต่
สตีฟ บุสเชมี่ (Trees Lounge) ยัน จิม จาร์มุช ไม่มีใครที่ไม่ทึ่งผลงานของเขา
และยังอยากจะทำหนังให้ได้คุณภาพสักครึ่งหนึ่งของเขาก็ยังดี

14. เวย์น หวัง (Wayne Wang) เป็นได้ทั้งศิลปินและมือปืนรับจ้าง
แม้หนังของเขาบางเรื่องจะหาตัวตนไม่เจอ แต่กับหนังอย่าง Chan is Missing
ที่บุกเบิกชื่อเขาจนประเทือง และ Smoke ที่นักวิจารณ์หนังชื่นชม เขาก็ยังมี The
Joy Luck Club ที่ชนะใจหัวใจอ่อนไหวของคนดูทั่วเมือง

15. ทอม นูแนน (Tom Noonan) หาคนรู้จักหนังของเขาได้ยากเย็น
แต่กับคนที่ทึ่งกับงานของเขาอย่าง เรย์ คาร์นี่ย์
นักเขียนและอาจารย์สอนภาพยนตร์ที่มหาวิทยาลัยบอสตั้น กล่าวว่า
เขาคือคนทำหนังอเมริกันอินดี้ที่เยี่ยมยอดที่สุดในปัจจุบัน ถัดจากการจากไปของ
จอห์น แคสซาเวทส์

16. เฮนรี่ แจ็กกล็อม (Henry Jaglom) นอกจาก EricRohmer แห่งฝรั่งเศส
และ ริชาร์ด ลิ้งค์เลเตอร์ กับ จอห์น แคสซาเวทส์ ในอเมริกา
อีกสักกี่คนที่จะถ่ายทอดภาพคนนั่งคุยกันได้เนียนเท่าเขา

17. เฮิร์ค ฮาร์วี่ย์ (Herk Harvey) แม้จะทำหนังเรื่องเดียว
แต่ Carnival of Souls ก็กลายเป็นหนังสยองขวัญคลาสสิก และถูกรีเมคไปแล้ว

18. คริสโตเฟอร์ มึ้นช์ (Christopher Munch)
คนทำหนังเรียบง่ายขนาดเล็กที่เก็บรายละเอียดลึกซึ้งกินใจ

คนพวกนี้แทบจะเริ่มต้นจากจุดศูนย์
ก่อนหน้านั้นกุหลาบไม่ได้โรยเป็นพรมแดงไปที่สกาล่า
พวกเขาต้องฟันฝ่าอะไรมาบ้างกว่าจะได้มายืนบนยอดดอย
แต่ก็ใช่ว่าหนังของพวกเขาจะต้องดูยากเย็นแบบต้องปีนบันไดดูหรอกนะ
(Scala ในภาษาอิตาเลี่ยน แปลว่าบันได)
บางคนเป็นพนักงานร้านเช่าวีดีโอที่บ้าหนังระดับเซียน
บางคนรับจ้างเป็นหนูทดลองยาเพื่อนำเงินมาทำหนังบู๊เทคเดียวผ่าน
บ้างแยกทางจากครอบครัว เฝ้าขลุกอดมื้อกินมื้ออยู่กับหนังเรื่องเดียวถึง 5 ปี
บ้างยอมทำหนังพิลึกทุกประเภท รับงานทุกจ๊อบ
เพียงเพื่อให้ได้มีโอกาสกำกับหนังเรื่องแรก
บ้างตั้งตัวเป็นเจ้าพ่อหัวใส ปั่นหนังสัตว์ประหลาดราคาย่อมเยาได้ฉับไว
ทันใจวัยทีน
บ้างขอแค่ทำหนังที่ทุกคนดูสนุกก็อิ่มใจนัก
บ้างเหลวไหลกับงานทุกประเภท
กว่าจะรู้ตัวว่าชาตินี้เกิดมาเพื่อทำหนังที่ประหลาดแหวกแนว
บ้างตั้งเป้าไม่ขอทำหนังเด็ดขาด
หากไม่ได้ถ่ายทอดชีวิตในแบบที่จริงใจต่อมุมมองของตัวเองเท่านั้น
และอีกหลายคนที่ถูกหัวเราะเยาะดูแคลน แต่ก็ยังมุ่งหน้าสร้างฝัน
โดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเมื่องานเสร็จจะมีคนเห็นคุณค่า หรือมีบริษัทใด
ยอมซื้อหนังไปฉาย


ฟิ ล์ ม ไ ว รั ส เล่ม 5 (ป ฏิ บั ติ ก า ร ห นั ง ทุ น น้ อ ย)
Low Budget Films in Combat
ตำ น า น แ ห่ ง ชั ย ช น ะ ข อ ง ห นั ง เ ล็ ก ใ จ ลุ ย

304 หน้า ราคา 210 บาท (กระดาษถนอมสายตาอย่างดี)
((((( วางจำหน่ายแล้ววันนี้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป และหาได้ง่ายที่
ร้าน คิโนคูนิยะ (สาขาสยามพารากอน, สาขาอิเซตัน), ร้านดอกหญ้า
สยามสแควร์ ซอย 3, ร้านบุ๊คเชสท์ สยามสแควร์ ซอย 2 )))))

สำหรับต่างจังหวัดมีขายที่ ร้านสุรวงศ์บุ๊คเซ็นเตอร์ เชียงใหม่ และ
ร้านซีเอ็ด เชียงใหม่
และขายในงานสัปดาห์หนังสือปีละ 2 ครั้ง ประมาณเดือนเมษายนและตุลาคม ที่
บู้ทอัลเตอร์เนทีฟไรเตอร์
หรือ ติดต่อ 02-925-0141
หรือ filmvirus@yahoo.com

No comments:

Blog Archive

คนลักหลับ

My photo
Filmvirus เป็นนามปากกาเดิมของสนธยา ทรัพย์เย็น จากคอลัมน์ “นิมิตวิกาล” ที่ใช้ในนิตยสาร Filmview ปี 2537 ต่อมาในปี 2538 สนธยาได้ก่อตั้ง “ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์” หรือ DK.Filmhouse (Filmvirus) จัดฉายหนังด้อยโอกาสให้ผู้สนใจชมฟรี พร้อมจัดพิมพ์หนังสือด้านหนัง และวรรณกรรม ชุด Filmvirus / Bookvirus (ส่วนหนังสือ “คนของหนัง” ปี 2533 นั้นเป็นผลงานก่อนตั้งฟิล์มไวรัส) ส่วนผลงานอื่นๆ ปี 2548 เป็นกรรมการเทศกาลหนัง World Film Festival of Bangkok , ปี 2552 กรรมการ Sydney Underground Film Festival, งาน Thai Short Film and Video Festival ของมูลนิธิหนังไทยครั้งที่ 1 และปี 2548-2549 เป็นเจ้าภาพร่วมจัดเทศกาลประกวดหนังนานาชาติ 15/15 Film Festival, Australia